Quantcast
Channel: FILMSICK
Viewing all 148 articles
Browse latest View live

LIKE SOMEONE IN LOVE (ABBAS KIAROSTAMI/2012/JP) คล้ายคนมีความรัก

$
0
0

like-someone-in-love-

1.เหมือนใึึครสักคนที่กำลังมีรัก เอ๊ะนี่มันชื่อเรื่องของเรื่องที่แล้วหรือเรื่องนี้ นี่คือเรื่องของคนที่ ‘ทำเหมือนว่ามีรัก’ ชายแก่จ้างเด็กสาวมาสนทนาหรืออาจจะมาร่วมรัก อุตส่าห์ต้มซุปซื้อไวน์ แต่มาถึงเธอก็เอาแต่นอนเป็นนางนอน เด็กสาวมาทำงานพิเศษรับนัดเดทผู้ชาย แต่เธอก็มีความรักหรือเหมือนว่าจะมีรักกับแฟนหนุ่มที่ปลายสาย บยายเธอจะมาหาแต่เธอก็ทำเหมือนว่าไม่รุ้เรื่อง แล้วนั่งร้องให้ในแทกซี่ที่ผ่านสถานี

2.และเมื่อเรามีความรัก เราคล้ายคนบ้าคลั่ง เราทำลงไปเพราะรัก ตัวละครในเรื่องพากันแสร้งว่ามีความรักแล้วกลายเป็นคนอื่น ถลำลึกลงไปเพราะรัก สุดท้ายกลายเป็นคนอื่น แสดงเป็นคนอื่น ชายชราแสดงเป็นคุณตา หญิงสาวแสดงเป็นหลาน และคนรักแสดงเป็นคนดี การถลำลึกในห้วงรักที่เป็นเพียงของปลอมๆ แล้วทำให้ตัวเองพาลติดบ่วงไปด้วย หรือันที่จริงตัวเราไม่ใช่ตัวเรา เหมือนที่ลากองว่า ตัวเราประกอบขึ้นจากคนอื่น เรามีบทบบาทให้ได้รับเสมอ ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ เรามีบทบาทหลากหลายมากเสียจนเราไม่มีวันกลับไปสู่ตัวเราได้อีก เมื่อกลับสู่ตัวเราเองเราเป็นเพียงเด็กสาวขี้เซาที่หลับตลอดเวลาเท่านั้นเอง

3.หนังละเอียดละเมียดละไมตั้งแต่บท โครงสร้างของเรื่อง ไปจนถึงการถ่ายทำ ตลอดเวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นนอกจอแต่เราจะไม่ได้เห็น ตั้งแต่ฉากแรกเราได้เยินเสียงแต่ไม่เห็นตัวเธอ เราไปเห็นเพื่อนเธอแทน เราเิร่มเดาเรื่องจากตรงนั้น พอเราเห็นผู้ชาย เราก็คิดว่าคงเดินมาหาเธอแต่เราเห็นเขาไปโต๊อื่น อีกนานเราถึงรู้ว่าเขาเป็นเจ้านายของเธอ เธอทพเลาะกับแฟนบอกว่าไม่ทำงาน แฟนเธอชอบควบคุมเธอ สั่งเธอไปนับกระเบื้องในผับวันหลังเขาจะไปเชคว่าเธอไปที่นั่นจริงไหมแต่สุดท้ายแม้จะขึ้นเสียงเธอก็ขึ้นแทกซี่ไปทำงานไปหาชายแก่ เธอไม่ไดเป็นตัวเธอเองเลย เธอเป็นคนอื่น like someone ตลอดเวลา พอขึ้นแทกซี่เธอฟังเมสเสจในโทรศัพท์ยายเธอโทรมาบอกว่าจะมาจากบ้านนอก เธอร้องให้ แต่ไม่ยอมไปหายาย ยายเก็นรูเธอในอะไรที่ไม่ดีแต่ยายไม่เชื่อหรอก เธอไม่อยากเป็นเด็กไม่ดีของยาย like someone เธออยากจะlike someone แต่ being other ตลอด แล้วเราจะไม่รู้ว่า someone เป็นใคร ฉากที่ที่วนแทกซี่เราไม่เห็นว่ายายเธออยู่ไหม เราเห็นคนที่ม้านั่ง ตอนวนรอบแรก แต่ไม่รู้อาจจะไม่ใช่ยายเธอก็ได้ พอเธอให้วนซ้ำ เราเห็นผู้หญิงแก่สวมกิโมโนท่าท่างเด๋อด๋า เธอมองเหลียวหลัง อาจจะเป็นยายเธอแต่เราไม่มีทางรู้หรอก มันอาจจะเป็นother แต่เราคิดว่ามันเป็นเป็น someone ประเด็นทั้งหมดของหนังจึงไม่ได้อยู่ที่love หรือ someone มันอยุ่ที่ like การทำเหมือนว่าเป็นทั้งที่ไม่รู้ว่าเป็นหรือไม่เป็น ฉากนี้ฉากเดียวให้รสที่ทั้งเศร้าสร้อย งดงาม และไม่สามารถอธิบายได้

4. ในหนังมีภาพสองภาพเป็นภาพผู้หญิงสองคนที่แทนตัวเธอ คนนึงเป็นผู้หฯญิงคุยกับนกแก้วในห้องของชายเฒ่าเธอบอกว่าลุงวาดภาพนั้นให้เธอ ชายเฒ่าเล่าว่ามันเป้นภาพที่ดังเพราะมันมีความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆภาพแรกในขณะที่ภาพอื่นๆมีอิทธิพลตะวันตกภาพแทนของหญิงสาวในกิโมโนที่สอนนกแก้วให้พูด เธอถึงกับเอาดินสอมามวยผมแล้วทำให้เป็นภาพแทนของผู้หญิง แต่มันเลือ่นความหมายออก เพราะเธอรับเอาภาพนี้มาเป้นภาพแทนของเธอแต่มันผิดด้วย เพราะเธอคิดเอาเองว่า นกแก้วต่างหากที่สอนให้ผู้หญิงพูด เธอถูกทำให้เป็นหญิงในภาพวาดแต่เธอไม่ได้เป็น

อีกภาพคือภาพเธอในโฆษณาขายบริการ ภาพเอผูกแกละ ทำท่าเย้ายวนมีเบอร์โทรศัพท์ เธอปฏิเสธว่าภาพนี้ไม่ใช่เธอ แต่มันเป็นเธอ เธอกลายเป้นอีกภาพเสมอ ภาพที่เป็๋นเธอแต่ไม่ใช่เธอ เธอถูกลดรูปเป็นภาพแทนของ หญิงงามและโสเภณี ตัวของเธอขัดขืนเสมอ แต่ไมไ่ด้ไกล เธอติดอยุ่ระหว่างสองภาพนั้นแต่ไม่ใช่ทั้งสองภาพ เธอเป็นหญิงสาวหลับไหลท่ามกลางผู้ชายสามคน เจ้านาย ลูกค้าและคนรัก ซึ่งผู้ชายสามคนมีภาพที่บิดเบือนในการควบคุมเธอ ลูกค้าทำตัวเยี่ยงคนมีรักปกป้องเธอ คนรักเยี่ยงคนมีรักไม่ยอมเชื่อว่าเธอเป็นนางทางโทรศัพท์ โกรธเกรี้ยวเพ้อคลั่ง เจ้านายเป็นคนที่เราไม่รู้ แต่เขาไม่มีรัก อาจจะมีรักก็ได้ เขาถึงส่งเธอให้กับคนที่เขาเคารพ เลือกเธอไม่เลือกสาวผมแดง

5. หนังเต็มไปด้วยร่องรอยของเครื่องหมายคำถาม การแทนที่ซึ่งไมใ่แนบสนิท การดูเหมือนที่ไม่ใช่จงใจทำให้เหมือนแต่มันเพียงดูคล้ายๆและถูกทึกทักไปเอง ชายเฒ่าและหญิงสาวถูกทึกทักจากคนอื่นว่าเป็นตากับหลานกัน เล่นบทคลุมเครือคล้ายคลึงไม่ตอบรับไม่ปฏิเสธ เพื่อปกป้องอีกฝ่าย การกระทำแบบ like someone in love อันสุนทรีย์ ชายเฒ่าถึงกบัละทิ้งกองหนังสือ การงาน เพื่อไปหาหญิงสาวที่ที่เขาคิดว่าเหมือน เหมือนภรรยา เหมือนลูกสาว เหมือนหญิงสาวในภาพถ่าย แต่ที่เขาได้รับคือหญิงสาวที่หลับ เขาเองก้หลับเหมือนกัน หลับหลังจากมีรัก หลังจากไปส่งเธอเล่นบทคุณตาใจดี ให้คำปรึกษาคนรัก ตัวตนของเขาก็แกว่งไปมาระหว่าไงอ้แก่ตัณหากลับ และคุณตาใจดี นักวิชาการที่น่าเคารพ เขาไม่ได้เป้นตัวเขาอีก เขาหลับไป ตัวตนที่แท้หลับไหลที่ไหนสักแห่ง ถูกปลุกให้ตื่นรุนหลังให้ไปข้างหน้าในบทใหม่ๆ ทำเทียมว่าเป็นคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ การเป็นเหมือนใครสักคน ทำให้เราไม่ได้เป็นตัวเรา เราเป็นคนอื่นเสมอ ในทุกๆเวลาที่เราเป็นตัวเรา

6.การซ้อนทับของกระจก (หน้าร้าน หน้ารถ) การหลงทิศผิดทาง เสียงซึ่งแทรกเข้ามาในความสัมพันธ์ เสียงโทรศัพท์ เสียงไมโครเวฟ เสียงกริ่งประตู มีคนอื่นแทรกเข้ามาในตัวเราเสมอ เรากำลังจะเป้นตัวเรา กำลังจะเป็นเหมือนสิ่งหนึ่งสิ่งอื่นก็แทรกเข้ามา ดึงเราออกหรือทับเราลงไป (ฉากแรกของหนัง เจ้านายของเด็กสาวมีเงาอยู่เหนือเธอทาบลงในการปฏิเสธของเธอ หรือภาพของเธอที่สะท้อนสลัวในทีวีที่ปิดอยุ่ เราเห็นแค่นั้น เธอถอดเสื้อผ้าแต่เราเห็นภาพมัวซัว เคียงอยู่หับชายเฒ่า ภาพสะท้อน ภาพที่แทรกเข้ามา บทสนทนากสั้นกุด ทั้งหมดคือควาเมป้นอื่นที่แทรกเข้ามาในความเป็นอื่น หนังดำเนินไปเช่นนี้

7.จน someone in love ปรากฏตัวขึ้นทุกอย่างจึงพังพินาศ ฉากจบอันงดงาม สะพรึง ประหลาด น่าตระหนกของหนังตบหน้าเราด้วยการบอกว่า like someone in love นั้นงดงาม รื่นรมย์ แต่ someone in love นั้นบ้าคลั่งร้ายกาจ รักคือความป่วยไข้ อาการฮิสทีเรีย การทำลายล้าง

8.เราทำตัวlike someone in love เสมอ เราชอบด้วยซ้ำ ที่จะlike someone in love มากกว่า in love จริงๆ ในอีกทางหนึ่ งเราlike someone แต่ไม่ได้ไเป็นตัวเอง ตัวของเราหลับอยู่ มีแต่การเสแสร้งแกล้งทำที่takeover ความจริงไปจากตัวเรา หลังจาก intellectดเต็มที่ในcertified copy อับบาส พูดเรื่องนี้อีก ผ่านทางเรื่องใหม่ขยับเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้น จากความไม่จริงของศิลปะ ความสัมพันธ์ของคนรักกันจริงๆ กลายเป้นเรื่องของคนที่แกล้งว่ารักกัน แล้วทั้งหมดคือการกลายเป๋นอื่นผ่านทางความรักนั่นแหละ



เกรียนฟิคชั่น (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล /2013/ไทย)เพราะเป็นวัยรุ่นจึงมีความหวัง

$
0
0

11481_10151440111243576_1856346647_n

เปิดเผยเนื้อหาของเรื่องทั้งหมดเลยนะมึง ขอบอก

จำได้ว่านับจาก กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ ก็มีแค่ ฮักนะ สารคามเท่านั้นที่เราคิดว่าเป้นหนังวัยรุ่นที่พูดอะไรที่น่าสนใจ และมีความเป็นวัยรุ่น มีฮอร์โมนแบบวัยรุ่นสูงมากๆ จริงจะนับซํคซี้ดเข้าไปด้วยก็ได้ แต่ก็นึกขึ้นได้ว่า เกรียนฟิคชั่นนี่ต่างหากคือหนังที่แก้ไขปัญหาที่ซัคซี้ดทำไม่สำเร็จนั่นคือการเล่าสวนที่ยากลำบากมากกว่าความหอมหวาน โดยยังคงฮอร์โมนแบบวัยรุ่นอยุ่ จริงๆถ้าหนังมีอารมณ์เงี่ยนเพิ่มเติมอีกนิดมันคงเป็นหนังวัยรุ่นที่สมบูรณืแบบ พูดเรื่อง เป็นวัยรุ่นมันเหนื่อยได้ครบรส

ชอบตัวละคร พลอยดาวในเรื่องมากๆด้วย เพราะเธอเป็นตัวละครที่ถูกเรียกด้วยชื่อจริงในขณะที่ตัวอื่นเป็นชื่อเล่น พวกคนที่ถูกเรียกด้วยชื่อจริงมักจะมีแค่สองแบบคือคนที่แปลกอยกจากคนอื่นจนไม่สนิทใจที่จะก้าวข้ามความสัมพันธ์ กับคนที่อยู่ไกลจากเพื่อนๆ เป้นพวกที่เกิดมาเป็นคนดังอะไรแบบนั้น ตัวละครพลอยดาวจึงน่าสนใจมาก เพราะเธอเป็นคนที่อาจจะแปลกแยกกับคนอื่นมากกว่าทุกคน (ทั้งเรื่องมีเพียงฉากเดียวที่เธอถูกเรียกว่าพลอย) เธออาจจะเป็นคนดี แต่ไม่ได้มีใครคบหาเป้นเพื่อนสนิท เวลาทุกคนไปตามหาตี๋เธอยังไม่ได้ไปด้วยเลย เธอเป็นคนที่อยู่สูงอยู่ไกล และอยุ่คนเดียว เป็นวัยรุ่นสวยๆรวๆยมันก็เหนื่อย

หนังเล่นสนุกกับเรื่องการสางปมในใจด้วยการทำให้มันไม่สำเร็จ ค้างคา ครั้งแล้วครั้งเล่า ส่วนที่งดงามที่สุดคือการแสดงรจนาเบลือกคู่ที่คืนนั้นที่สุดตี๋ไม่ได้สางปมอะไรกับใครเลย ไม่ว่าจะเป็นทิพยืหรือ พลอยดาว ความเจ็บปวดของตี๋จึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องชอบสาวคนเดียวกับเพื่อนหรือโดนทิพย์ด่า แต่มันคือปมสะสมของคนที่สร้างบาดแผลให้ผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วไม่สามารถลบเลือนหรือแก้ไขได้ ฉากเกมสามวิ บรรยายโครงสร้างความสัมพันธ์ซับซ้อนของตี๋กับพลอยดาวไว้ได้งดงามมากๆ (จริงๆตัวละครพลอยดาว กับก้อย(หรือเก่วะ) คือตัวละคร โดนัท กับ หญิง ในรักแห่งสยามด้วยประมาณหนึ่ง

ชอบที่หนังแสดงให้เห็นว่าทั้งหมดคือการลงโทษตัวเองของตี๋มากกว่าจะเป็นปมขัดแย้งจริงๆ สุดท้ายตี๋แก้ปมด้วยการแก้ผ้า ฉากอะโกโก้บอยเป็น)ากที่วัยรุ่นมากๆ เพราะมันคือการล้างบาปของตี๋ที่เป็นเรื่องที่ขี้หมามากๆ ไม่ใช่ว่าพลอยดาวคืนดีหรือไม่คืนดี แต่การสางผมกับเพื่อนไม่ใช่แค่สางปมกันและกันแล้วจะจบมันต้องสางปมในใจด้วย การไม่ติดค้างกันอีกแล้วในฉากนี้จึงเป็นฉากที่ทั้งตลกและเจ็บปวดมากๆ

สิ่งที่งดงามที่สุดในหนังเรื่องนี้คือการที่มันพาตัวเองออกไปไกลพ้นขอบเขตของการเป็นเรื่องของวัยรุ่นชนชั้นกลางในเมือง ที่มีปม สับสนอ่อนไหวในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต มันกลับพาเราไปพบวัยรุ่นแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้ต้องสอบเข้ามหาลัย หรือไม่ต้องมีปัญหากับสาวในโรงเรียน เพราะลำพังแค่มีชีวิตรอดก็ยากพออยุ่แล้ว เมื่อหนังแตกเส้นเรื่องพาเรามาถึงพัทยา หนังก็เข้าสู่โหมดใหม่ทันที ช่วงเวลาที่ทั้งตลก สนุก พิลึกพิลั่นของหนังทำให้นึกถึงอารมณ์พิลึกพิลั่นใน เฉิ่ม และ กอด ของคงเดช ที่พาหนังไปได้ไกลกว่าการเป็นหนังพลอตหลักพลอตเดียว คณะตลกประหลาด หรือโมนผมทอง เป็นทั้งตัวละครที่มีบาดแผล และ เป็นตัวละครที่ประหลาด สร้างโมเมนต์ยากจะลืมให้กับหนังเยอะมากๆ

ที่น่าสนใจมากๆคือการที่หนังโฟกัสที่วัยรุ่นชนชั้นกลางในเมืองตลอด จนเมื่อตี๋มาถึงพัทยา (ชอบพัทยาในเรื่องนี้มากๆๆๆ หนังอีกเรื่องที่ถ่ายพัทยาได้น่าสนใจมากๆคือ อีติ๋มตายแน่ ของยุทธเลิศ) เราได้เห็นความหวั่นไหวในสถานะทางสังคมผ่านปากไอ้ม่อนที่สงสัยว่าถ้าไม่ได้สอบแล้วชีวิตจะชิบหายอย่างไร จริงๆหนังเล่นกับความหวั่นไหวของสถานะทางสังคมของวัยรุ่นทั้งเรื่อง ตั้งแต่ความชิบหายของพลอยดาว จนมาถึงการหนีไปของตี๋ และการออกตามหาของเพื่อนๆ เรื่องใหญ่ของพวกเขาคือการสูญเสียสถานะมั่นคงของการเป็นเด็กม.หก สอบเข้ามหาลัย ของความเป็นเพื่อนซึ่งแยกกันไปแต่จตจำกันไว้ด้วยโมเมนต์ดีๆ แต่กับโมนผมทอง โลกมันต่างไปเลย การให้นักแสดงคนเดียวกันรับสองบททำให้มันน่าสนใจมากว่านี่คือโลกของคนที่ได้เรียน ได้มีชีวิตแบบคนชั้นกลาง (โมนเพื่อนตี๋)และคนที่ไม่ได้เรียน คนชั้นล่างปากกัดตีนถีบ (โมนผมทอง) โลกสองใบนี้มันวางคู่ขนานกัน แต่ในหนังวัยรุ่นเรามักจะเลือกหยิบโลกอันแรกหรือโลกอันหลังมาพูดโดยทำเหมือนว่าอีกโลกไม่ได้ดำรงคงอยุ่ด้วย การจากลาของโมนผมทองกับตี๋เป็นฉากที่ร้ายกาจและเจ็บปวดมากๆ ในทางหนึ่งมันง่ายที่จะมองว่าพวกจนๆคบไม่ได้ แต่หนังต่อด้วยฉากของลุงหอยยิ้มที่พูดกับตี๋เพื่อแสดงให้เห็นเป็นนัยว่า แต่ละคนมีเหตุผลของตัวเอง และการยึดเอาความเป็นเพื่อน แทนศีลธรรมเป็นเรื่องชวนหัวว มากกว่าการหักหลัง ฉากนี้งดงามมาก ๆเพราะหนังจบลงด้วยอารมณืแสนดีแบบเพื่อนรัก เราจะจดจำนายไปชั่วกาล แต่ลุงหอยยิ้มบอกแล้วว่า ไม่มีหรอด สุดท้ายทุกคนต้องตายคนเดียว ความเป็นเพื่อนเป็นเรื่องชั่วคราว และเราไม่สามารถเอามันมาเป็นมาตรฐานตัดสินคนได้ อันที่จริงฉากเล็กๆที่งดงามมากๆ คือฉากที่โมนกับตี๋นั่งที่ทะเล แล้วโมนถามตี๋ว่าคิดถึงบ้านไหม ความคิดถึงบ้านของโมนกับตี๋มันต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับตี๋มันยังมีที่มั่นคงรออยู่มีสถานะที่รอการเลื่อนขึ้นแต่กับโมนมันจะไม่ได้เป็นการหนีออกจากบ้านแบบนั้น ฉากที่โมนพูดสั้นๆว่ากูคิดถึงบ้านมันจึงเป็นฉากสั้นๆที่เจ็บปวดและเอาอยู่มากๆ

 

จริงๆแล้วตัวละครโมนผมทองจะทำให้เรานึกถึงตัวละคร นกแล ในกาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ จริงๆหนังมีความเชื่อมโยงกันอยุ่มาก เพราะมันล้วนพูดถึงตัวละครเดฏ้รุ่นที่หนีออกจากบ้านแล้วพบเพื่อนใหม่ ในตอนจบของกาลครั้งหนึ่ง ตัวละครนกแลหนีออกจากบ้านเด็ก ใครจะรู้เขาอาจจะโตมาเป็นอีกหนึ่งโมนผมทองก้ได้

อีกตัวละครที่คิดถึงคือตัวละคร แก่นในฮักนะ สารคาม แก่นเป็นเด็กวินที่อาจจะไม่ได้ไปเรียนต่อในกรุงเทพ เหมือนภูมิกับมุกในบทหนึ่งของฮักนะสารคาม

การโยงตัวละครสามตัวนี้เข้าหากันโดยไม่ได้ตั้งใจทำให้เรามองเห็นภาพ กำแพงปริญญาขิงสังคมที่ชนชั้นกลางจะขยับฐานะตัวเองผ่านการเรียนหนังสือปริญญาตรี และขยับสูงขึ้นไปเรื่อยๆถีบตัวออกจากชนชั้นล่างที่ไม่มีทางขยับฐานะ เพราะเขาไม่มีครอบครัว ไม่มีเงิน ไม่มีโอากาส ตี๋จึงได้มายืนอยู่ขอบเหวของสิ่งนี้และเติบโตขึ้น การแตะประเด็นนี้ในหนังมันเลยยิ่งงดงามมากๆ

ยิ่งหนังเลือกจบโดยการให้ตี๋กลับคืนสู่สังคมที่ตนสังกัด โดยไม่มีใครได้พบโมนผมทอง เขาก็จะค่อยๆลืมเรื่องนี้ไปช้าๆ กลับไปเป็นตี๋คนเดิมที่สอบเข้ามหาลัย และมีชีวิตต่อไป

สายตาของหนังเป็นสายตาวัยรุ่นมากๆ ตัวละครในหนังทุกตัวจึงเป็นวัยรุ่นทั้งหมด ไม่ใช่แค่ แกงค์เกรียน แต่เลยไปจนถึงอีแดงน้อย อ.เสน่ห์ และทิพย์ด้วย ตัวละครทิพย์นี่ถือว่าสุดขอบมากๆ จริงๆในขณะที่หนังโฟกัสที่ตี๋และเพื่อนๆตัวละครทิพย์ กับ โมนผมทองต่างหากที่เป้นวัยรุ่นจริงๆ และประสบเหตุเภทภัยของจริง ตัวละครทิพย์เป็นไม้เด็ดที่มะเดี่ยวเอาไว้น๊คอคนดู และที่งดงามาคือหนังให้ตัวละครนี้จบลงโดยไม่ได้โตขึ้น การลงรถไฟไปหาผัวของทิพย์ในหนังกลายเป็นการกะทำที่วัยรุ่นกว่าการหนีออกจากบ้านของไอ้ตี๋ด้วยซ้ำ และการเฉลยความจริงของทิพย์ก็ทำให้เราได้เห็น ผลที่ตามมา ของการเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย มันไม่ได้เป็นบทลงโทษของใครที่จะมาพูดใส่หน้าว่าทำตัวไม่ดีเลยต้องโดนลงโทษ แต่เรามีทางเลือกเองและดิ้นรนต่อสู้ไปตามทางเลือกของเราเหมือนการต่อสู้ของทิพยื จนกลายเป้นว่าทางเลือไม่กี่ทางในโมโนลอกของตี๋ต่างหากที่เป็นข้อจำกัดกันความเป็นวัยรุ่นออกไปจากชีวิตพวกเขา ผลักให้เดินหน้าตามทางเลือกที่เลือกไม่ได้

หนังเลือกจบผ่าปากของตี๋ ที่ขอจะทำให้ทุกคนมีความสุขฉากนี้มันเจ้บปวดมากๆ มากกว่าการฉายภาพอนาคตเลวร้ายที่แท้จริงของทุกคน และไม่ได้ทำหน้าที่เป็นภาพฝันปลอมๆของอนาคตแสนดีของทกุคนด้วย แต่มันเป็นภาพแทนของความหวังเมื่อครั้งที่เรายังมองเห็นโลกสวยงามต่างหาก ความฝันแบบนี้มันโหด เพราะกนังตอย้ำกับเราว่าตี๋แค่พยายามวาดมันขึ้นเพื่อที่จะเห็นคนที่เขารักเป็นสุขซึ่งในชีวิตจริงของตัวละครเราจะยังไม่เห็นและเราก็ไม่มีทางรู้ เรมีแต่ความหวัง เพราะเป็นวัยรุ่นจึงมีความหวังจะบอกว่างั้นก็ได้

 


THE ACT OF KILLING (JOSHUA OPPENHEIMER/2012/INDONESIA +NORWAY+DENMARK +UK) แสดงว่าฆ่ากัน

$
0
0

vlcsnap-2013-04-22-20h48m07s237
ในS21 ฤทธีปาห์น พาขเมรแดงที่เคยฆ่าคนไปมากมายกลับไปโตลเสลงเพื่อให้แสดงภาพว่าพวกเขาทำอะไรบ้างในขณะนั้น ให้แสดงการทรมานผู้คนกับอากาศ แล้วให้พบเหยื่อที่รอดชีวิต ยิ่งหนังเดินทางไป พวขเมรแดงที่ครั้งนั้นยังไม่ทันแตกเนื้อหนุ่มดี ก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองนั่งไทม์แมชชีนกลับไป การแสดงยิ่งเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งกับอากาศเราก็มองเห็นความน่ากลัวสยองขวัญต่อหน้า แต่คนพวกนั้นเป็นชาวบ้านธรรมดา ตอนนี้พวกเขาไม่ได้อยู่เป็นสุขนัก เป็นชาวบ้านยากจนที่พยายามกลบฝังอดีต เมื่อภูมิใจพวกเขาพูดได้ไม่เต็มปาก

ต่างกับตัวละครใน ACT OF KILLING พวกเขาคือแกงค์สเตอร์ที่ทหารยื่นใบอนุญาติฆ่าให้จัดการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ในช่วงปี 65 -66 ว่ากันว่าฆ่ากันเป็นพัน วิธีการฆ่าพิสดารล้ำลึก ที่น่าตระหนกคือ บรรดาลูกเสือชาวบ้านพวกนี้ยังมีชีวิตอยู่ ได้รับเกียติสูงยิ่ง เป็นที่เคารพของนักการเมืองท้องถิ่น ก่อตั้งลูกเสือชาวบ้านพิทักษ์ชาติที่มีสมาชิกถึงสามแสน กล่าวให้ถูกต้อง ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ การฆ่าไม่ได้เป็นเรื่องบัดสี แต่เป็นเกียรติยศ

หนังติดตาม Anwar Congo หัวหน้าแกงค์ที่นำทีฆ่าคนอย่างไม่ปรานีปราศรัย ตอนนี้เขายังเป็นหัวหน้าแกงค์ เป็นคนที่ทุกคนกลัวนับหน้าถือตา เป็นบิดาลูกเสือชาวบ้าน อยู่ดีมีสุข แถมเป็นคอหนังว ตอนรุ่นหนุ่มอันวาร์เป็นซีเนไฟลื เขายืนขายตั๋วผี โกรธที่พวกคอมมิวนิสต์ไม่อยมให้ฉายหนังของเอลวิส เพื่อจะมีส่วนร่วมกับสารคดีเรื่องนี้ โจชัวผู้กำกับยื่นข้อเสนอให้อันวาณืทำหนังเรื่องหนึ่ง หนังที่เกี่ยวกับเกียรติยศในการฆ่าของพวกเขาเอง หนังที่จะแสดงว่าพวกเขาฆ่าโหดแค่ไหน และเก่งกาจเพียงใด พวกคอมมิวนิสต์กระจอกต้องถูกเขาฆ่าอย่างทารุณ มันเป็นหนังที่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าพวกคอมมิวนิสต์โหดที่สุด แต่แสดงว่าพวกกูนี่แหละที่โหดที่สุด ใครคนหนึ่งนิยามหนังไว้อย่างนั้น แล้วพวกเขาก็ถ่ายหนังเป็นหนังคาวบอย เป็นหนังแฟนตาซี เป็นหนังมิวสิคัลที่พวกเขาเล่นกันเอง แล้วโจชัวก็ตามถ่าย ตามสัมภาษณืพวกเขาตลอดการทำหนังนี้

ที่มันน่าตื่นเต้น เพราะมันคือการติดตามพวกขวาฆ่าคน ที่ตอนนี้ยังคงถือครองอำนาจของตัวอยู่อย่างเจ้มแจ็งและไม่เคยสำนึกผิดบาปในสิ่งที่กระทำลงไป หนังมีฉาก โชว์การฆ่าคนบนดาดฟ้าตึกที่ฆ่ากันเป็นร้อย แรกทีเดียวก็ตีจนตายแต่วิธีนั้นเลือดสาดเกินไป เลยเปลี่ยนมาเป็นรัดคอด้วยลวดไม้แขวนเสื้อ ตายง่ายไม่เปื้อนเลือด สาธิตกันเสร็จสรรพ หนังมีฉากไล่ไถตังค์คนจีนโดยกล้องตามติดฝั่งคนไถ เห็นคนจีนหยิบตังค์ใต้โต๊ะด้วยความกลัว หรือสัมภาษณ์ว่ากุไม่กลัวศาลโลก ที่ทำเนี่ยถูกแล้ว พวกนี้สมควรตาย หรือพูดว่าถ้าพวกคอมมิวนิสต์จีนไม่ต้องรีบฆ่าไถตังค์ก่อน ไม่มีตังค์ค่อยฆ่า หรือฉากชุมนุมกลุ่มปัญจัตศีลัต ลูกเสือชาวบ้านอินโดที่ปลุกระดมอาการคลั่งชาติแย่างต่อเนื่องจนชวนขนหัวลุก หรือการที่ตัวอันวารืเองใช้ตัวเองทางการเมือง หักหลังลุกน้องตัวเองที่ลงเลือกตั้ง หรือฉากหัวหน้ากลุ่มลูกเสือชาวบ้านที่พูดจาลามกระยำหมาตลอดเวลา ทุกอย่างแสดงภาพว่าคนกลุ่มนี้ที่เคยฆ่าคนเป็นพันมีความสุขดี และคิดว่าช่างเป็นเกียรติที่ได้ฆ่าคน

ที่แสบที่สุดคือการที่หนังแสดงให้เห็นว่าในที่สุดผู้คนที่เลวชาติที่สุดกลับสำนึกบาปได้ในความเพลิดเพลินของตนกล่าวคือในการทำหนังนั่นเอง หนังที่เขาว่าทำเพื่อประกาศความเหี้ยมหาญ และเกียรติยศของพวกเขาเองกลับกลายเป็นหอที่มาทิ่มแทงพวกเขาเอง ตัวหนังประหลาดมาก เพราะมันเป็นหนังคาวบอยจอห์น เวย์น หนังที่เต็มไปด้วยการทรมานนักโทษ หนังแฟนตาซีฝันร้าย ไปจนถึงหนังมิวสิคัลที่พวกเขาร้องเพลง BORN FREE กัยใต้น้ำตก ทำไมน่ะหรือทุกคนย้ำตลอดเวลาว่าคำว่า gangster มาจากคำว่าfree man ดังนั้นเพลงBORN FREE จึงเหมาะทีสุด

เรือ่งที่น่าสนใจมากๆอีกเรื่องหนึ่งคือการที่ อันวารืกับพวกวิจารณ์หนังฮอลลีวุ้ดในฐานะแหล่งบ่มเพาะความรุนแรงที่พวกเขาพยบายมทำให้เหนือกว่า มันไม่ใช่การตำหนิแบบ คนนอกมอง (คนนอกหมายถึงคนทีเหลียดฮอลลีวู้ด) แต่มันคือการตำหนิป่านการเชิดชุหลงไหลของคนใน จนกลายออกมาเป็นหนังจริงๆ

หนังว่าด้วย ‘act’ ของการฆ่าซึงมันซ้อนกันสองความหมายทั้งในแง่ของการกระทำ การฆ่าโดยตรง(ในฐานะสารคดีสอบสวนการฆ่า) และact ที่เป็นการแสดงซึ่งมีตั้งแต่การแสดงให้เห็นการฆ่าด้วยการจำลองซ้ำเป็นหนังแฟนตาซีสีพิลึกของอันวาณืเอง การ act เพื่อแสดงความเหี้ยมโหดของพวกเขา ในอีกระดับ การ act ของชาวบ้านที่มาเล่นหนัง ไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือความกลัว พวกที่แสดงเป็นเหยื่อเล่นกันอย่างสุดิ่มทิ่มประตู เล่นกันจนพวกเชาเชื่อจริงๆ เด้กๆร้องให้จ้า กลัวพวกอันธพาบจะฆ่าปู่เขาจริงๆ พวกเขาแสดงเป็นเหยื่อ แสดงเป็นผู้ล่า แล้วก้เป็นไปตามนั้นจริงๆ ฉากที่โหดมากคือฉากซ้อมบทที่คนเล่นถูกลากจริงมัดจริงจนหลานๆร้องให้จริงๆ และอีกฉากที่มีการเผาหมู่บ้านในการปลุกระดมลุกเสือชาวบ้าน มันดูจริงจนนักการเมืองที่เล่นด้วยถึงกับบอกว่ามันจริงเกินไปจนอาจทำลายภาพลักษณ์ลูกเสือชาวบ้านได้ !

แต่ act ที่รุนแรงที่สุด คือact ที่ผู้ฆ่าต้องแสดงเพื่อจะมีชีวิตสืบไป บางคนแสดงจนเป็นจริง หรือบางทีเขาอาจจะไม่ได้แสดง หนังติตตามหนึ่งสมาชิกที่ตอนนี้เป็นสุขดี มีเมียลูกสาวสวยเดินห้างวันหยุด เขาบอกว่า อาชญากรสงครามคือคำที่ผลิตจากปากผุ้ชนะ สักวันเขาจะโยนอนุสัญญษเจนีวาทิ้งแล้วเขียน อนุสัญญาจาการ์ต้า เขาบอกว่าการฆ่าเป็นเรื่องถูกต้องเขาภูมิใจ แต่เขาก็ถามว่า ถ้ามึงฆ่าพอ่กูมันจะเป็นไงวะ

อีกคนเป็นนักข่าวในตึกเดียวกันกับที่พวกเขาใช้ฆ่าคน คนนี้ปฏิเสธว่าเขาไม่เคยรับรู้เรื่องนี้เลย พวกนายปกปิดได้แนบเนียนจริงๆ ซึ่งเขาโดนตอกหน้าว่า มึงจะไม่รู้ได้ไง หัวหน้ามึงเป็นคนเลือกคนที่จะฆ่า ่ แล้วก็ฆ่าอยู่บนหัวมึงบนดาดฟ้าน่ะ เขาปฏิเสธ ไม่ขอเกี่ยวข้องไม่รู้จริงๆ ไม่เคยรู้เลย หลับตาลงแล้วมีชีวิตสืบต่อ

แต่คนที่act จนเจ้บที่สุดกลับเป็นอันวาร์เอง

อันวาร์ actในหนังเป็นคอมมิวนสิต์ที่ถูกฆ่าครั้งหนึ่ง เขาค่อยๆสะเทือนใจ ค่อยๆรู้สึกกลัว เขาเค่อยๆเล่าเรื่องฝันร้าย การนอนไม่หลับ แล้วเขาเอามาทำเป็นชอตหนึ่งในหนังด้วย เขาฝันว่าถูฏผีตามฆ่า แล้วเขาก็ได้เล่นบทคนที่ถูกฆ่า ในฉากนี้เขาถึงกับมือสั่นตัวสัน ควบคุมตัวเองไม่ได้ เขาขอดูมันใหม่ เรียกหลานมานั่งดุฉากนี้ด้วย พยายามจะต่อสู้กับความรู้สึกว่าในที่สุดเขาได้รู้สึกแบบเดียวกับคนที่ถูกฆ่าแต่เราไม่มีทางรู้ว่ามันเพียงชั่วครู่ชั่วคราว หรือมันกลายเป็นว่าหนังที่เขาจะทำขึ้นเพือ่เขียนประวัติศาสตร์ของพวกเขา ประวัติศาสตร์อันเกรียงไกรได้ย้อนมาทิ่มแทงเขาเอง จนเขากลายเป็นเข้าใจความรู้สึกของคนนับพันที่เขาฆ่าไป การact of killing ทำให้เขาเข้าใจ act ของการฆ่าจริงๆขึ้นมา

ฉากจบของหนังเจ็บปวดที่สุด รุนแรงที่สุด อันวารืกลับไปยังที่ที่เขาฆ่าคน หลังจากเขามีที่ทาสบายๆในการฆ่าคน ใส่กางเกงขาวยังกะไปปิคนิค เขาพบว่าเมื่อเขาขึ้นมาอีกครั้งหลังจากact ว่าโดนฆ่าดูมั่งจนน้ำตานองหน้า เขารู้สึกหายใจติดขัด สิ่งที่โหดเหี้ยมรุนแรงที่สุดในฉษกนี้คือเสียงไอ ขากถุย คลื่นเหียนอาเจียนของอันวาร์เอง ราวกับภูติผีกลับมารัดคอเขาด้วยเลือด ฉากนี้ยาวนา ทารุณผู้ชมด้วยเสียงครอกแครกอันชั่วร้ายในลำคอของเขา และเมื่อเราเห็นเขาเดินไหล่ลู่ไร้เรี่ยวแรงลงบันใดไปมันก็รุนแรงอย่างถึงที่สุด

การ act ในหนังจึงกลายเป็นเครื่องมือในการเดินไปสู่การ killimg จริงๆ การฆ่าที่ถูกทำให้เป็นอื่น ได้ถูก act ซ้ำ และแสดงตัวตนที่แท้ออกมาภายใต้บรรยากาศที่ไม่ใกล้เคียงการฆ๋าที่สุด และมันทำให้หนังทรงพลังมากเหลือเกิน


DYING AT A HOSPITAL (JUN ICHIKAWA /1993 /JP)

$
0
0

vlcsnap-2013-04-26-21h57m10s187

สามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กันมาจนแก่เฒ่า สามีป่วยเป้นมะเร็งลำไส้ ภรรยาเป็นมะเร็งปอด แรกทีเดียวทั้งคู่อยู่ในห้องพักโรงพยาบาลเดียวกันแต่อาการของภรรยาหนักมากจนต้องส่งต่อไป แล้วทั้งคู่อาจจะไม่ได้พบกันเลยไปจนตาย

หนุ่มนักดนตรีมาผ่าตัดอะไรเล็กๆน้อยแล้วพบว่าตัวเองเป็นมะเร็ง เขามีลูกเล็กสองคน มีภรรยาที่เข้มแข็ง แต่ไม่รุ้ว่าเขาจะอยู่พ้นปีนี้หรือไม่

หญิงวัยกลางคนมาโรงพยาบาลด้วยอาการโรคกระเพาะอาหาร สามีอาจจะเมาตลอดเวลา แต่เธอก็กัดฟันเลี้ยงลูกมาจนโต พอเธอคิดว่าจากนี้ไปชีวิตจะสบายขึ้นเธอก็ล้มป่วย

คนจรจัดมาโรงพยาบาลเพราะหกล้ม เขาไม่มีใครให้ต้องห่วงหาอาทร อาการเขาดูเหมือนจะดีขึ้นพอจะซ่อมวิทยุเล็กๆได้เครื่องหนึ่งไม่กี่วันต่อมาเขาก็ต้อใส่ท่อช่วยหายใจ

เหล่านี้คือผู้คนที่ผ่านเข้าและออกในโรงพยาบาล ปีเดือนเคลื่อนคล้ิย ชีวิตล่องไหล บางผู้คนมันกำลังจบสิ้นลง

ชื่อหนังบอกตั้งแต่แรกแล้วว่านี่คนที่ ‘มาตายที่โรงพยาบาล’ หนังเล่าผ่านเสียงเล่าเศร้าสร้อยของหมอ ของญาติคนไข้ ของผู้คนซึ่งยืนมองคนที่ตัวเองรู้จัก รักและรักษาค่อยๆตายไปต่อหน้า หนังไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ระบบการรักษาอะไร ไม่ใช่หนังที่พูดถึงการผเชิญหน้ากับความตายด้วยซ้ำ มันคือหนังที่เฉลิมฉลองการมีชีวิตอยู่ซึ่งเป็นเพียงแสงเรื่อเรืองชั่วคราวก่อนความตายอันทุกข์เศร้า มืดมน จะเดินทางมาถึงความตายที่เป็นเรื่องของการไปเพียงลำพังจนไม่ว่าจะรักกันขนาดไหนก็ตามไปด้วยไม่ได้

หนังมีฉากที่งดงามมาก อย่างเช่นฉากที่สามีพยายามจะไปหาภรรยาที่ตอนนี้นอนอยู่กับที่แล้ว เขาต้องไปก่อนที่เขาเองจะไปไม่ไหวเหมือนกัน ทั้งคู่ใช้เวลาอยู่ก้วยกันราวสามสิบนาที พูดถึงเรื่องเก่าๆที่เศร้าและงดงาม หรือฉากที่หนุ่มนักดนตรีดึงมือภรรยาของเขาไปกอดในความมืด ฉากสั้นๆที่เขาบรรยายเรื่องการออกจากโรงพยาบาลไปอยู่บ้านสี่ห้าวัน เฝ่้าดูลูกๆเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต หรือก่อนหน้นั้นหนังติดตามภรรยาของเขาเดินไปตามถนน เฝ้าครุ่นคิดว่าจะอยู่อย่างไรต่อไป

หนังมีเพียงกล้องสองแบบเท่านั้น กล้องแบบที่หนึ่งในโรงพยาบาล กล้อตั้งนิ่งตรงปลายเตียงจ้องมองเหตุการณ์จากอีกมุมหนึ่งของห้องโดยไม่ก้าวล่วงไปในชีวิตของผู้ป่วย จ้องมองเฉยชาอยู่กับที่เยี่ยงกล้องวงจรปิด  อีกแบบหนึ่งกล้องกวัดกวาดไปในเมือง ไปสอดส่องดูชีวิตผู้คนตามถนนรนแคม ภาพสวยงดงามแบบโปสการ์ด ภาพดอกซากุระ ท้องฟ้า เด็กน้อย งานรื่นเริง แสงแดด หมู่เมฆ แม่น้ำ คนหนุ่ม คนสาวผู้เฒ่าผู้แก่ ภาพชีิวตอันไม่จำเพาะเจาะจง กระจัดกระจายในเสียงเพลงหวานเสร้าขณะพักช่วงเล่าเรื่องความตาย

ภาพสองแบบที่ขัดแย้งกันได้ส่งเสริมภาพอีกภาพหนึ่งคือภาพของชีวิต หนังคือการเฉลิมฉลองการมีชีวิต จากสายตาของคนที่ในที่สุดไปตายที่โรงพยาบาล เมื่อไรก็ตามที่กล้องเคลื่อนคล้อยออกจากภาพของคนป่วยไข้ไปสู่ภาพชีวิตอันงดงาม ความรู้สึกสองประการจะผุดบังเกิด หนึ่งคือความหดหู่รุนแรงที่จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ได้ผ่านเลยบางคนไปแล้ว และพวกเขาจะไม่ได้เห็นมันอีก ในขณะเดียวกันหนังก้บอกเราว่าชีวิตนี้เป็นเรื่องงดงามมาก ความตายในตอนท้ายยิ่งทำให้มันงดงามมากขึ้นไปอีก ชีวิตคือความงามที่งดงามจนน่าร้องให้


เสียงถึงยูโทเปียชำรุด (2)

$
0
0

566406_10151260401153972_419326907_n

อ่าน Review โดย ทราย เจริญปุระ และ ภู กระดาษ ที่นี่

http://filmsick.wordpress.com/2012/12/05/damagedutopiacomment/

Review โดย รุจ ธนรักษ์ 

1. ก่อนอื่น ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่หนอนหนังสือ ปีนึงอ่านหนังสือไม่กี่บรรทัด ที่เขียนนี้ไม่ได้บังอาจจะวิจารณ์วรรณกรรมอะไรกับใครเขา เพียงแค่อยากเล่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นเท่านั้น

2. ผมเป็นเพื่อนกับผู้เขียน (เอาใหม่ – ผมนับว่าเขาเป็นเพื่อนผม ส่วนเขาจะคิดเหมือนกันไหมนี่ไม่รู้ แต่เรายังไม่เคยเจอหน้ากันเลยสักครั้ง – ฮา) ดังนั้นผมมี “ผลประโยชน์ทับซ้อน” แน่ๆ ซึ่งก็บอกตรงๆว่าที่เขียนนี่เพราะอยากแนะนำให้รู้จักหนังสือเล่มนี้ และถ้าใครคิดว่ามันเป็นแนวที่ตนเองชอบ ก็ขอเชิญให้ซื้อหามาอ่านกัน

3. ผู้เขียนไม่ได้ขอให้ผมเขียนแนะนำ เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผมจะซื้อหนังสือของเขา

4. พูดถึงเนื้อหา — หนังสือเล่มนี้รวมเรื่องสั้น ที่จะว่าอ่านง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก จะว่ามันแยกจากกันหมดก็ใช่ แต่จะว่ามันร้อยรวมเหมือนเรื่องเดียวกันก็พอได้เช่นกัน มันพูดถึงเรื่องดำๆ หม่นๆ มืดๆ ของพื้นที่ในสังคมที่จริงๆเราคุ้นเคย แต่เราไม่เคยนึกถึง และไม่เคยอยากเชื่อว่ามันจะมีอยู่จริงๆ

มันพูดถึงสภาพ “ชำรุด” ในสารพัดแง่มุมชีวิตของเราๆทุกคน

5. พูดถึงท่วงทำนอง — สิ่งที่น่าสนใจคือมันเดินเรื่องเหมือนหนัง (มั้ง) มันตัดไปๆมาๆ มันไม่แบ่งวรรคตอน ไม่ใช้ย่อหน้าช่วยเล่าเรื่อง และใช้สรรพนามได้กวนตีนมากที่สุด

มันคือส่วนผสมของคนที่คิดเป็นระบบระเบียบ เป็นโครง เป็นขั้น เป็นชั้น แต่เหมือนจงใจเอามาตัดไปตัดมา เขย่าๆๆๆ ให้ออกมาเป็นอะไรสักอย่างที่ดูเผินๆเหมือนไร้ระเบียบมั่วซั่ว — แต่จริงๆมันไม่ใช่ — ถ้อยคำมันละเอียดมาก มันพลาดไม่ได้แม้แต่วลีเดียว เหมือนหนังที่ดูแล้วต้องตั้งใจสุดๆ สนใจในรายละเอียด จะลุกไปฉี่ หรือก้มหยิบป็อปคอร์นมากินยังไม่ได้เลย

อ่านไปครึ่งเล่ม ผมนึกถึงดนตรีฟิวชั่นแจ๊ส ถ้าฟังเผินๆมันอาจฟังยาก เผลอๆฟังแล้วง่วงนอน แต่มันคือความเจ๋งที่ผสมๆมาให้เราต้องตั้งสติ ตั้งใจฟังมันในทุกๆห้องเพลง แล้วเราถึงจะเห็นความ “เทพ” ของท่อนฮุก กีต้าร์ กลอง เบส และอิมโพรไวส์

ซึ่งพอรวมกับความดำมืดหม่นของเนื้อหาเข้าไป มันเลยเหมือนฟังฟิวชั่นแจ๊ส ที่กำลังเล่นเพลงไซคิเดลิก!!

6. เรื่องราวที่ “ชำรุด” สมชื่อหนังสือ ทำให้อ่านแล้วอึดอัด หายใจไม่ทั่วท้อง แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะท่วงทำนองลีลาภาษาที่พิเศษของมันเรียกร้องให้เราสนใจรายละเอียดทุกคำ (มันคือฟิวชั่นแจ๊ส!!)

ผมจับหนังสือเล่มนี้อยู่ 2-3 ชั่วโมง อ่านไปได้เกินครึ่งเล่ม จนสุดท้ายต้องบอกตัวเองให้ “หยุดอ่าน” เพราะรู้สึกตัวว่าจิตใจดำดิ่งหม่นหมองมากเกินไป ทั้งที่มันเป็นวันหยุดพักผ่อนที่ผมควรจะสดใสร่าเริง

หนังสือเล่มนี้ทำให้โลกรอบตัวผมกลายเป็นสีดำได้ในเวลาเที่ยงตรง ขณะอยู่กลางเมืองท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดในประเทศ — นี่คือหลักฐาน “ความแรง” ของมันในฐานะงานศิลปะแห่งการเล่าเรื่อง

7. หนังสือเล่มนี้ราคาปก 219 บาท หนา 237 หน้า ผมไม่เทียบว่ามันถูกหรือแพง เพราะหนังสือก็เหมือนงานศิลปะอื่นๆที่หากไม่ถูกใจ มันก็ไม่ต่างจากขยะ แต่หากถูกใจ เราจะยินดีจ่ายมากกว่านี้เพียงเพื่อเก็บมันไว้แน่ๆ เหมือนหนัง เหมือนเพลง เหมือนภาพเขียน

8. ผมไม่โพสต์รายละเอียดว่าหาซื้อได้ที่ไหน เพราะคิดว่าไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะกูเกิ้ลคำว่า “ยูโทเปียชำรุด” แล้วไปหาช่องทางซื้อกันเอง ผมคิดว่างานแบบนี้มันไม่ใช่ไอติมแม็กนั่ม หรือสาหร่ายเถ้าแก่น้อย ที่ต้องอาศัย “ความสะดวก” จึงจะซื้ิอ ถ้าจะซื้อเพราะสะดวก ผมว่าอย่าซื้อให้เปลืองตังค์เลย แต่ถ้าอยากลองอ่าน ก็เชื่อว่าหาทางซื้อได้ไม่ยากเย็นแน่นอน

9. ถ้าใครชอบหนังสือแนวนี้ ชอบลีลาภาษาและการเล่าเรื่องแบบพิเศษนอกขนบ ผมแนะนำให้หาซื้อมาอ่านกัน ผมไม่รู้หรอกว่าคุณจะให้เกรดเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าคุณน่าจะชอบ

ส่วนใครที่รู้สึกว่าอาจไม่ถนัดแนวนี้ ผมก็อยากแนะนำให้ลองหามาอ่านอยู่ดี – ถ้าไม่อยากซื้อ หายืมเพื่อนอ่านก็ได้

เพราะชีวิตเราไม่ควรฟังแต่เพลงป๊อปร็อคไปจนตาย

………………………………………………………………………………………

ยูโทเปียชำรุด เช่นผม

Review โดย Haruki Masaru Victor

“คุณอ่านหนังสือเล่มนี้เถอะ บางทีคุณอาจพบตัวเองในนั้น ฉันเหนื่อยกับการซ่อมแซมคุณ”

อีกครั้ง ผมสะดุ้งตื่นจากฝันเดิม ประโยคคำพูดชุดเดิม นาฬิกาดิจิตอลหัวเตียงบอกเวลาเดิม สามนาฬิกาก่อนรุ่งเช้า ผมนอนชุ่มเหงื่ออใต้ผ้าห่มหนาหนักสีดำ เธอไม่ได้กลับมาที่ห้องผมอีกหลังจากหล่นคำพูดประโยคนั้น หนังสือเล่มนั้นยังทอดตัวอยู่บนโต๊ะเขียนหนังสือ เคร่งขรึมดำมืด ราวกับว่ากุมความลับบางอย่างของตัวผมเอาไว้ ผมไม่กล้าหยิบมันขึ้นอ่าน ไม่แม้แต่จะเหลือบแล ราวกับโต๊ะเขียนหนังสือกลายกลับเป็นสถานที่ต้องห้าม แต่บางครั้งมันกลับเย้ายวนผมอย่างบอกไม่ถูก สันปกสีส้มและภาพหน้าปกยั่วล้อผมอย่างน่าโมโห จนลืมตัวเผลอคิดไปว่าหยิบมันขึ้นและฉีกกระฉากหน้ากระดาษให้ขาดวิ่น ขว้างทิ้งออกนอกหน้าต่าง หากแต่ผมไม่ได้ทำสิ่งใดเลย ล่วงเข้าสู่วันที่สามผมดำรงอยู่ร่วมกับหนังสือเล่มนั้นแต่ไม่เหลือบมอง เสียงกระซิบแหบพร่าจากที่ไหนสักแห่งในมุมห้องไม่อาจจับใจความ แต่ผมรู้ ผมรู้ว่าเสียงนั้นมาจากที่ใด ด้วยความสัตย์จริง ผมไม่กล้าเปิดหนังสือเล่มนั้นออกอ่าน ผมกลัวการค้นพบตัวเอง สันปกหนังสือเล่มนั้นสลักตัวหนังสือดำทะมึน ยูโทเปียชำรุด

ผมตื่นเต็มตาแล้วตอนนี้ ลุกจากเตียง เปิดสวิทช์เครื่องอุ่นกาแฟ เดินไปล้างหน้าในห้องน้ำ ใบหน้าในกระจกจ้องตอบกลับมาสีหน้าเต็มไปด้วยคำถาม ใต้ตามีรอยช้ำของคนอดนอนมาหลายคืน ผมเดินออกจากห้องน้ำ เทกาแฟลงแก้วหยิบมันเดินไปที่โต๊ะเขียนหนังสือ ผมต้านความยวนเย้าของหนังสือเล่มนั้นไม่ไหวอีกต่อไป เสียงแหบพร่าเหล่านั้นเปล่งเสียงยินดีออกจากทุกรูทวาร เมื่อในที่สุดผมก็สัมผัสผิวหน้าของมันและเปิดเผยตัวมันในที่สุด อีกแง่หนึ่ง ผมกำลังจะเปิดเผยตัวเอง เสียงเพลงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงดังจากที่ใดสักแห่ง มันหมุนแล่นด้วยความเร็ว 45 รอบต่อนาที เพลงของรุ่งเพชร แหลมสิงห์ หากแต่ผู้คนลืมเลือนชื่อเรียกขานไปแล้ว บทเพลงนี้ตอนรับผมเข้าสู่ ยูโทเปีย หากแต่เป็นยูโทเปียชำรุด

ผมพบชายคนหนึ่งเดินถือเครื่องเล่นแผ่นเสียงกระเป๋าหิ้วผ่านมา ความรู้สึกบางอย่าง คำพูดบางคำถูกส่งตรงเข้าสู่จิตใต้สำนึกผม ราวกับต้องการสื่อสารบางอย่าง ชายคนนั้นเดินทางตามหาหญิงสาวคนหนึ่ง ไม่สิ มือคู่หนึ่งของหญิงสาวไร้ชื่อต่างหาก เขาได้พบมือคู่นั้นเพียงครั้งเดียวจากการได้ดื่มชาซึ่งเขาลืมรสชาติและกลิ่นไปเสียสิ้น จดจำได้เพียงมือเปล่าเปลือยคู่นั้นที่กำลังชงชา หยิบจับกาน้ำราดรดไปลงบนใบชา แต่เมื่อการเดินทางของเขาสิ้นสุด กลับได้พบเพียงแค่โลกที่หมุนวนซ้ำที่เดิมด้วยความเร็วสี่สิบห้ารอบต่อนาทีและรอยปริแตกของร่องแผ่นเสียงจนเกิดแรงกระเพื่อมไหวคล้ายแผ่นดินใต้เท้าสั่นคลอน หากแต่นั่นเป็นความสั่นไหวที่พาทั้งคู่ให้ได้พบกัน

ผมเดินผ่านมาพบโรงแรมหรูหราแห่งหนึ่งตั้งตระหง่านลำพัง หน้าต่างทุกบานถูกปิดมิดชิด มีเพียงหน้าต่างบานนั้นที่ถูกเปิดออก ชายหนุ่มร่างท้วม ผิวคล้ำ ยืนอยู่ใกล้กรอบหน้าต่าง ควันบุหรี่ในมือเขาลอยหยอกล้อสายลมด้านนอก อีกครั้งผมรับรู้ถึงสิ่งนั้นได้ ชายหนุ่มไม่ได้อยู่เพียงลำพังในห้อง ชายหนุ่มอ่อนวัยกว่าอีกคนนอนอยู่บนเตียง ที่เมื่อครู่เขาทั้งสองนอนกอดก่ายแลกเปลี่ยนบาดแผลซึ่งกันและกัน เศษแก้วหล่นกระจายเรี่ยราดเต็มพื้น เป็นเศษแก้วที่หล่นหลุดออกจากตัวเขาทั้งสอง มนุษย์ผู้ซึ่งเต็มไปด้วยความปวดร้าวทั้งจากบาดแผลในตัวเองและจากการโอบกอดมนุษย์แก้วอีกคน บาดแผลที่ไม่อาจเยียวยาสมานให้สนิทได้ ผมรู้สึกเจ็บแปลบในอก ราวกับถูกเศษแก้วของทั้งคู่บาด ราวกับโอบกอดทั้งคู่เพื่อให้คมแก้วเสียดแทงเข้าสู่ภายใน

ไม่ไกลนักผมพบร้านหนังสือเล็ก ๆ วางตัวเองอย่างเจียมตัวอยู่ก่อนถึงหัวมุมถนน ชายเจ้าของร้านหันมาสบตาผมก่อนหันกลับไปใส่ใจเด็กในชุดนักเรียนที่กำลังรอจ่ายเงินค่าหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่ ดูราวกับเขามีความสุขกับการได้อยู่ท่ามกลางเด็กๆในชุดนักเรียน ใบหน้าฉาบด้วยรอยยิ้มของคุณน้าใจดี หากแต่ภายในเต็มไปด้วยความปวดร้าวจากการกดข่มคำสาปแห่งความรักต้องห้ามที่ไม่ว่าจะกี่แสนนานก็ไม่อาจปลดเปลื้องคำสาปนั้นทิ้งไปได้ ทำได้เพียงกระถดตัวถอยลงไปอยู่ในบ่อลึกที่ชายหนุ่มขุดสร้างขึ้นมาเอง คำสาปที่ว่านั่นหาใช่เขาที่เป็นผู้เสกปั้นขึ้นมา หากแต่ผู้คนรอบข้างต่างหากที่สาปความรักแบบนั้นเอาไว้ ด้วยข้อหาฉกรรจ์ว่ารักต่างวัยไม่เหมาะควร ชายหนุ่มหันมาส่งยิ้มเหนื่อยล้าของคนที่ใกล้หมดแรง ข้างกายยังมีเด็กสาวคนหนึ่งยืนเคียง เธอเป็นลูกของภรรยาเขา เด็กน้อยผู้ซึ่งกลายมาเป็นผู้มอบความสุขท่วมท้น ของขวัญที่ห่อด้วยกระดาษแห่งความร้าวราน ทุกครั้งที่ชายหนุ่มแกะเปิดห่อของขวัญ เขาต้องแลกด้วยเศษเสี้ยววิญญาณที่ค่อยๆลอกล่อนออกจากตัว ก่อนที่ผมจะเดินจากมาร่างกายชายหนุ่มเหลือเพียงความเปลือยเปล่า เสี้ยววิญญาณของเขาถูกลอกออกจนมิอาจเหลือสิ่งใดที่เรียกว่าชีวิต เป็นเพียงภาชนะที่เต็มเป็นด้วยเศษวิญญาณซ้อนทับกันอยู่

สายตาผมเลื่อนจากการจับจ้องชายหนุ่มเจ้าของร้าน มาสะดุดที่ชั้นวางหนังสือหน้ากระจก ผมมองเห็นหัวใจ หากจะกล่าวให้ชัด มันเคยเป็นหัวใจมนุษย์ ไร้เพศ เกรอะกรังไปด้วยเลือดแห้งซีดเซียวเริ่มแข็งเป็นสีน้ำตาลอมแดง วางทับอยู่บนหนังสือของ ฟรานซ์ คาฟก้า ใกล้กับชั้นวางหนังสือ คู่รักหนุ่มสาวคู่หนึ่งยืนตัวติดกัน หากไม่เห็นมือที่เกาะเกี่ยวกันอยู่ผมคงคิดว่าทั้งคู่ใช้ร่างเดียวกัน สายตาทั้งคู่มองจ้องมาที่ผม พยายามเล่าที่มาแห่งก้อนหัวใจไร้เพศ ไม่ทันที่เรื่องราวจะพรั่งพรู เสียงปืนดังสนั่นสองนัดติด ผมหันหลังกลับไปยังฝั่งตรงข้ามที่มาของเสียงปืน มันถูกใช้งานที่นั่น ในโรงแรมที่ผมเพิ่งเดินผ่าน จากมุมนี้ผมสังเกตเห็นป้ายนีออนชื่อโรงแรม อัลฟ่าวิลล์ ภาพจากภายในโรงแรมฉายเข้ามาในมโนสำนึก ห้องสี่ศูนย์หก ชายหูเดียวปลดปล่อยกระสุนให้แล่นตรงสู่ร่างชายหนุ่มและหญิงสาว ที่ส่วนกลางของร่างยังทาบทับกันอยู่ เปลือยเปล่า เม็ดโลหะทำหน้าที่ของมันอย่างเคร่งครัด ส่งสองร่างให้ขึ้นสู่สวรรค์ตามเจตนาในท่วงท่าก่อนวายชนม์

หลังเสียงปืนสงบ ผมเร่งฝีเท้าออกจากที่ เดินผ่านร้านหนังสือแห่งนั้น ก้อนหัวใจไร้เพศยังวางตัวอยู่ที่เดิม ผมเลี้ยวที่หัวมุมถนน เดินผ่านชายหนุ่มชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งกำลังเดินไปในทางเดียวกัน ขณะนี้ผมเดินโดยใช้มือข้างซ้ายประคองที่ข้างลำตัว ราวกับเศษเสี้ยวบางส่วนจะหลุดออกจากร่างและแหลกสลายอยู่ตรงนั้น ผมรู้สึกราวกับตัวเองกำลังชำรุดดุจเดียวกับผู้คนที่ดำรงอยู่ในยูโทเปียชำรุดแห่งนี้ กลืนกลายเป็นพวกเดียวกัน หรือนี่คือสิ่งที่เธอต้องการให้ผมรับรู้ ยูโทเปียชำรุดเช่นผม หากเช่นนั้นความชำรุดเกิดขึ้นกับเธอดุจเดียวกัน เธอผู้หยิบยื่นกุญแจไขสู่โลกชำรุดแห่งนี้ ที่จะเปิดเผยตัวตนของเราทั้งคู่ คนชำรุดเว้าแหว่งสองคน

นอกหน้าต่าง แสงสว่างยังคงไม่ทำงาน นาฬิกาดิจิตอลหัวเตียงแสดงตัวเลขชุดเดิม สามนาฬิกา หากแต่ผมไม่อาจรู้ได้ว่ามันคือสามนาฬิกาของวันนี้ ของวันวาน หรือวันพรุ่ง ราวกับนิยามเวลาถูกกลืนหายไปกับหนังสือเล่มนั้น ผมลุกจากเก้าอี้ ทิ้งตัวลงบนเตียง นอนเบิกตาโพลงในความมืดสลัว เสียงกระซิบแหบพร่าจางไปพร้อมกับการสลายตัวของหนังสือเล่มนั้น

ผมคิดถึงร่างเปลือยเปล่าของเธอ บางครั้งผมไม่แน่ใจ ว่าผมหลงรักเธอ หรือหลงการร่วมรักกับเธอกันแน่ ทุกครั้งที่ร่วมรักกับเธอ ราวกับส่วนเว้าแหว่งของผมเชื่อมต่อกับบางส่วนในตัวเธอ หากจะกล่าวให้ชัด ผมรู้สึกถึงการเติมเต็ม รูโหว่กลวงเปล่าทั่วร่างถูกถมทับจนสมบูรณ์ หากแต่ตอนนี้ผมเข้าใจได้แจ่มชัด เราต่างชำรุดและเป็นอะไหล่ให้กัน

………………………………………………………………………………………

ยูโทเปียชำรุด :มันเพียงชำรุด แต่ยังไม่หายไป และอาจกลายเป็นอย่างอื่น (?)

Review   โดย Draf Angryyoungmen

ในชีวิตประจำวันเราฝันถึงอนาคตเสมอ..และตลอดลมหายใจของเรา เราทำงานหนักเพียงเพื่อให้พรุ่งนี้มีสิ่งที่ดีกว่ารอเราอยู่ สิ่งที่ดีกว่าหมายถึงสิ่งที่เราปรารถนาอยากได้ อยากครอบครอง นี่คือปกติของชีวิตมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ
ความปรารถนาทั้งหมดในชีวิตเป็นแรงขับเคลื่อนให้เราต้องทำสิ่งต่างๆ ในวันนี้และนั่นเป็นเหรียญอีกด้านที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า โลกที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนั้นมันยากลำบากสักเพียงใด ยิ่งเราปรารถนาถึงอนาคตที่ดีกว่า (วันนี้) มากเท่าไรมันก็ย่อมหมายความว่าชีวิตของเราในวันนี้มันย่ำแย่และระส่ำระส่ายขนาดไหน…
ในแทบทุกสังคมบนโลกใบนี้ แทบทุกศาสนา แทบทุกความเชื่อ ต่างก็พูดถึงโลกที่ดีงาม ปราศจากความชั่ว หรือเรียกง่ายๆ ว่า “โลกอุดมคติ” ซึ่งเป็นโลกที่ดีกว่าโลกที่เราอยู่กันในทุกวันนี้หากมนุษย์ทั้งหลายปรารถนาจะไปให้ถึงโลกอุดมคติก็ย่อมที่จะมีหนทางที่แตกต่างไปตามแต่ละความเชื่อนั้นๆ
ขึ้นชื่อว่าอุดมคติ ย่อมเป็นความดีงามที่ทุกคนต่างต้องการจะไปให้ถึง ณ จุดนั้น ความเป็นอุดมคติจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความเลวร้ายที่มนุษย์โลกต้องเผชิญในแต่ละวัน
ด้วยเหตุนี้ ความเจ็บปวดรวดร้าวในปัจจุบันกับความหวังในอนาคตเป็นแต่ละด้านของเหรียญเดียวกัน… เมื่อมนุษย์เกิดอุปสรรคในชีวิตประจำวันอาจเป็นผลมาจากจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนกฎหมาย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้กดทับความปรารถนาของมนุษย์เอาไว้ กล่าวให้ถึงที่สุด โลกของอุดมคติที่มนุษย์ต่างสร้างขึ้นนั้นเป็นความพยายามในการสร้างความหวังและต่อลมหายใจให้กับตัวเองที่จะดำรงชีวิตต่อไป เพื่อให้ถึงฝั่งฝันแห่งนั้น
และถ้าหากมันชำรุดล่ะ เมื่อโลกอุดมคติมันชำรุดจะเกิดอะไรขึ้น! ความหวังของมนุษยชาติที่แขวนเอาไว้กับความหวังในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้น มิต้องปลาศนาการไปหรอกหรือ!
“ยูโทเปียชำรุด” รวมเรื่องสั้นผลงานของ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา คนที่ติดตามบทวิจารณ์ภาพยนตร์บ่อยๆ คงจะรู้จักเขาเป็นอย่างดีภายใต้นามปากกา วิวัฒน์ Filmsick หรือ Filmsickเฉยๆ ด้วยความที่เป็นนักดูหนังอย่างฉกาจฉกรรจ์ วิวัฒน์ได้ใช้แทคนิคการเล่าเรื่องของภาพยนตร์บางอย่างมาใช้ในการเขียนของเขาอย่างสม่ำเสมอ
หากจะพูดกันให้ถึงที่สุด ในบรรดานักเขียนทั้งหลายที่มีอยู่ดาดดื่นในปัจจุบัน วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เป็นนักเขียนที่ใช้ภาษาได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่ง การเป็น “นายของภาษา” อย่างแท้จริงนั้นย่อมไม่ได้มาเพราะโชคช่วยเป็นแน่แท้
เมื่อโลกอุดมคติ “ชำรุด”
คำว่า “ชำรุด” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า “ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบสลายไป เช่น หนังสือชํารุด เกวียนชํารุด.” ฉะนั้น “ยูโทเปียชำรุด” จึงหมายถึง “โลกอุดมคติที่เสื่อมสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบสลายไป”
สำหรับผม ความชำรุดแตกต่างกับการพังทลายหรือบุบสลายไป การชำรุด เป็นเพียงอาการเสื่อมสภาพเดิม หรือบกพร่องเสียหายเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าชำรุดผมก็ยังเห็นว่ามันซ่อมได้ มันยังไม่พังทลายไป เพียงแต่ว่าสภาพของสิ่งของที่ชำรุดและเราได้ซ่อมแซมมันแล้วอาจไม่เหมือนสภาพอย่างเดิมที่มันเคยเป็น… บางทีอาจเป็นสัญญาณเตือนให้เราตระหนักว่าสิ่งของนั้นอาจจะถึงกาลมรณะในอีกไม่นาน แต่อย่างไรก็ตาม มันยังคงอยู่ ไม่พังทลายหายไปไหน
วิวัฒน์สร้างความชำรุดให้แก่ยูโทเปียในความหมายของ “โลกอุดมคติ” ในเรื่องสั้นของเขาอย่างไร? หากพิจารณารวมเรื่องสั้นเล่มนี้ในเบื้องต้นเราจะเห็นความประหลาด แปลกแยกและโสมมซึ่งทั้งหมดเป็นภาพที่ขัดแย้งกับ “โลกอุดมคติ” ของปุถุชนทั่วไปที่ฝันถึงความดีงามอันจะบังเกิดขึ้นในโลกใบนั้น แน่นอนว่ามันคือความ “ชำรุด” ของยูโทเปีย แต่ความชำรุดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะวาดฝันอันสูญสิ้นในโลกอุดมคติของคนปัจจุบัน เพราะหากโลกอุดมคติคืออีกด้านของเหรียญเดียวกันที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดรวดร้าวของมนุษย์ในปัจจุบันแล้วล่ะก็…ยูโทเปียที่ชำรุดก็ยิ่งตอกย้ำสภาพความสาหัสที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั่นเอง
ชีวิตทั้งหลายที่ดำรงอยู่ในรวมเรื่องสั้นเล่มนี้เต็มไปด้วยความเจ็บปวด โดดเดี่ยว และเต็มไปด้วยความต่ำช้าหากเราจะเอาไม้บรรทัดศีลธรรมที่เราทึกทักเอาในชีวิตประจำวันไปตัดสินพวกเขาเหล่านั้น เราจะได้เห็นชีวิตของมนุษย์ที่พิลึกพิลั่นซึ่งเดินอยู่บนไม้อันผุพังและง่อนแง่นซึ่งพาดผ่านหุบเหวแห่งความตายเพื่อนำไปสู่ชีวิตในอีกโลกหนึ่ง…และเป็นโลกที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นอย่างไร
โลกอุดมคติในแง่หนึ่งคือโลกที่ความปรารถนาของมนุษย์ถูกปลดปล่อยออกมาหลังจากที่ปรารถนาของมนุษย์ถูกกดทับด้วยอำนาจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน “ยูโทเปียชำรุด” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ความปรารถนาของมนุษย์ถูกปลดปล่อยอย่างไร
แม้มันจะต่ำช้า แต่มันก็แสดงให้เห็นสภาวะอันขมขื่นในการมีชีวิตท่ามกลางโลกปัจจุบัน การมีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้คือความทรมาน คือโรคร้ายอย่างหนึ่งที่ต้องเผชิญ ความทรงจำเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ตระหนักถึงโรคร้ายดังกล่าวที่คุกคามชีวิตในทุกลมหายใจ
แต่ก็ด้วยความต่ำช้านี้แหละเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ทุกอย่างกำลังเกิดขึ้นและดำเนินต่อไป มนุษย์ทั้งหลายจะต้องเจ็บปวดจากสิ่งที่เขาเป็นตราบนานเท่านาน…และความเจ็บปวดเหล่านั้นจะตามไปกัดกินตัวตนทุกหนทุกแห่งไม่เว้นแม้แต่โลกของคนตาย เช่นในเรื่อง “ความตายของอานนท์”
เรากล่าวได้ว่า ความเจ็บปวดเป็นลมหายใจของพวกเขาเหล่านั้น…
ชีวิตของพวกเขาเป็นความชำรุดในโลกอุดมคติ ซึ่งเป็นโลกที่คู่ขนานไปกับโลกที่เราท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในปัจจุบัน โลกของพวกเขาเป็นโลกที่กลับหัวกลับหางกับสิ่งที่เป็นสารัตถะในโลกของเรา เช่น การสมสู่กันระหว่างพ่อลูก
“ตอนที่คุณล่วงล้ำเธอเด็กสาวอายุแปดขวบ ครั้งแรกและเพียงครั้งเดียว เด็กหญิงไข้ขึ้นสูง นอนเพ้อตลอดคืน คุณไม่เป็นอันหลับนอน เฝ้าพยาบาลเธอ คุณเช็ดตัวเธอ แกะกระดุมเสื้อชุดนอน ทาบผ้าขนหนูหมาดเข้ากับผิวหนังหยุ่นนุ่ม คืบเคลื่อนเชื่องช้าลงบนแผ่นหลัง ลำแขน ใบหน้า หน้าอกแบนราบ ราวกับติดไข้มาจากเธอ ใบหน้าคุณร้อนผ่าว แดงเรื่อ รู้สึกเหมือนกำลังข่มขืนเธอ บิดผ้าขนหนูใหม่หมาดเช็ดขาสองข้างเธอ เลื่อนลึกลงไปในท้องน้อย แตะสัมผัสส่วนที่คุณไม่ควรยุ่งเกี่ยว ปีศาจเคาะฝาบ่อปริแตก ริมฝีปากของเธอแดงสุกเพราะพิษไข้ โดยไม่อาจควบคุม คุณถะถั่งหลั่งล้นราดรดกางเกงนอนของคุณเอง
“เด็กหญิงลืมเหตุการณ์นั้นไปหมดแล้ว กล่าวให้ถูกต้องมันไม่เคยเกิดอะไรขึ้นเสียด้วยซ้ำ มีก็แต่คุณที่จดจำฝังแน่น เหตุการณ์ที่เป็นรอยเปื้อนลบไม่ออกในความสัมพันธ์ของคุณกับลูกสาว คราบไคลที่ไม่อาจเอาออกจากกาลเกงนอน คุณร้องไห้ลำพังในห้องมืด คืนแล้วคืนเล่า”
 
ความสัมพันธ์ถึงขั้นสมสู่ในสายเลือดถือเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในหมู่พ่อแม่ลูกนี่เป็นกฎเหล็กของมนุษย์อย่างหนึ่งซึ่งดำรงมาแต่ตั้งครั้งโบราณกาล แต่ในยูโทเปียที่ชำรุดของวิวัฒน์ เรื่องเหล่านี้เป็นไปได้เสมอ… แน่นอนมันย่อมไม่ใช่อุดมคติ แต่มันเป็นไปได้และดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอย่างเนิบช้าและแผ่วเบา ผ่านความเจ็บปวดจากการมีชีวิตอยู่เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้พวกเขารู้ว่าเขายังมีชีวิตอยู่
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการของรวมเรื่องสั้น “ยูโทเปียชำรุด” ก็คือ สภาวะที่ตัวละครทุกตัวมีความเจ็บปวดเป็นแก่นสารในการดำรงชีวิตและเป็นความเจ็บปวดที่กัดกิน “ตัวตน” ของตัวละครแต่ละตัวจากภายในนั่นเอง สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความเจ็บปวดที่กัดกินตัวตนของตัวละครแต่ละตัวล้วนแล้วแต่เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากภายในตัวละครนั้นๆ เอง สภาวะดังกล่าวได้ทำให้มนุษย์มีความบิดเบี้ยวกลายเป็นภาพของมนุษย์ที่ไม่เต็มตน กล่าวคือเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำในเวลาเดียวกัน ตัวละครของวิวัฒน์จึงทำหน้าที่ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำในคราวเดียวกัน มนุษย์ในฐานะผู้กระทำที่สร้างความเจ็บปวดและก็เป็นมนุษย์อีกเช่นกันที่กลายเป็นผู้ถูกกระทำและเจ็บปวดจากการกระทำนั้นๆ เช่น พ่อที่สมสู่กับลูกสาวของตัวเอง
“…คุณพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะเป็นคนดี แต่ความรักทำลายความยับยั้งชั่งใจของคุณจนสาปสูญหมดสิ้น ความรักกัดกินคุณจากข้างใน ทำลายคุณจนถึงเยื่อกระดูก คุณได้ยินเสียงของการกร่อนสลายนั้น วินาทีหนึ่งคุณรู้ว่ามันจะเป็นเสียงที่จะดังไปชั่วนิรันดร์”
ความ “ชำรุด” ที่เกิดขึ้นในรวมเรื่องสั้น “ยูโทเปียชำรุด” เป็นความชำรุดของอุดมคติซึ่งแสดงให้เห็นสภาวะอีกด้านของเหรียญเดียวกันที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ผ่านความเจ็บปวดอันแสนสาหัสที่ต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
แต่…ในท้ายที่สุด โลกอุดมคติก็ยังคงอยู่ต่อไป ยังไม่หายไปไหน มันเป็นเพียงความชำรุดที่เกิดจากความเจ็บปวดในปัจจุบันและส่งผลให้ภาพของอุดมคติมันบิดเบี้ยวไปจากจินตภาพที่เราท่านทั้งหลายได้ร่วมสร้างกันเอาไว้
ความแตกกระจายของการเล่าเรื่องเพื่อนำไปสู่ “ความเป็นไปได้ของความหมาย”
กลวิธีในการนำเสนอของ “ยูโทเปียชำรุด” เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก อาจเรียกได้ว่า กลวิธีในการนำเสนอของ “ยูโทเปียชำรุด” นั้นเป็นทั้ง “วิธีการ” และ “เนื้อหา” ในคราวเดียวกัน
โดยขนบของงานวรรณกรรม สิ่งที่จะพิจารณาในเบื้องต้นที่สุดคือการแยกระหว่าง “เนื้อหา” และ “วิธีการ” ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเนื้อหาคืออะไรและเป็นอย่างไรต้องการนำเสนออะไร จากนั้นจึงดูต่อไปว่า “วิธีการ” ในการนำเสนอเป็นอย่างไร กลมกลืนกับเนื้อหาหรือทำให้เนื้อหาชัดเจนขึ้นหรือไม่ อย่างไร
“ยูโทเปียชำรุด” ของวิวัฒน์จึงเป็นรวมเรื่องสั้นที่นำทั้ง 2  ส่วนมาไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนและไม่สามารถแยกออกได้ระหว่างเนื้อหาและวิธีการ
วิวัฒน์เล่าเรื่องได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการแบ่งการเล่าเรื่องออกเป็นหลายส่วนในเรื่องสั้นเรื่องเดียวกัน การแบ่งเรื่องที่จะเล่าออกเป็นส่วนๆ เป็นการแบ่งแยกความรับรู้ของผู้อ่าน ผู้อ่านจะประหนึ่งเหมือนได้จิ๊กซอว์มาหลายชิ้นโดยที่วิวัฒน์ “อาจจะ” นำทางให้ล่วงหน้าว่าชิ้นใดควรต่อตรงไหนและอย่างไร
การแบ่งแยกความรับรู้ของผู้อ่านของวิวัฒน์เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะความรับรู้ที่ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ โดยที่ไม่ว่าส่วนต่างๆ ในการเล่าเรื่องจะมีมากมายเพียงใดภายในเรื่องเล่าเรื่องเดียวกัน ท้ายที่สุด “ส่วน” เหล่านั้นจะต้องสามารถต่อออกมาเป็น “ภาพ” ที่ผู้เขียนตั้งใจจะสื่อสารได้หรืออาจเป็น “ภาพ” ที่ผู้อ่านสามารถตีความเรื่องเล่านั้นได้อย่างชัดเจน
สิ่งที่วิวัฒน์ทำกลับกลายเป็นสิ่งตรงข้าม เพราะการแบ่งส่วนของการเล่าเรื่องภายในเรื่องเล่าเดียวกันนั้นเป็นความพยายามที่จะ “ทำลาย” “ภาพ” ที่ชัดเจนของเรื่องเล่า วิวัฒน์สร้างส่วนต่างๆ เพื่อทำให้ผู้อ่านสับสนกับประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร ฉะนั้นสิ่งที่วิวัฒน์ทำก็คือการ “ทำลาย” กระบวนการในการรับรู้และการตีความของผู้อ่านให้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ จากนั้นเศษเสี้ยวที่ถูกทำลายเหล่านั้นก็จะแยกตัวกันทำให้ผู้อ่านไม่สามารถจับต้นชนปลายเพื่อหาภาพของความหมายได้ ความน่าสนใจก็คือด้วยวิธีการในการนำเสนอแบบนี้เป็นการท้าทายขนบของการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนจะต้องส่งสารอะไรบางอย่างแก่ผู้อ่านและไม่ว่าสารนั้นจะถูกซ่อนไว้ลึกเพียงใดภายใต้ตัวบทของการเล่าเรื่องก็ย่อมจะปรากฏให้เห็น
ส่วนต่างๆ ที่ถูกแบ่งแยกในเรื่องเล่าของวิวัฒน์คือชิ้นส่วนของความหมายที่เป็นอิสระและสามารถเข้ากันได้กับชิ้นส่วนของความหมายอื่นๆ ที่แตกกระจายออกมา กล่าวคือ หากชุดของความหมายที่วิวัฒน์ต้องการจะสื่อสารกับผู้อ่านของเขาเป็น A สิ่งที่วิวัฒน์ทำก็คือ ทำลาย A ให้กระจายออกเป็น A1, A2, A3 และเมื่อนำชุดของความหมายที่แตกกระจายมาพิจารณาเป็นเอกเทศเราจะเห็นได้ว่า A1, A2, A3 ต่างก็มีความหมายอยู่ในตัวเองโดยไม่ต้องไปเพิ่งการปะติดปะต่อร้อยเรียงชุดความหมายเข้าด้วยกัน และหากนำชุดความหมายที่ถูกแบ่งแยกมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันเช่น นำชุดความหมายของ A1 มาพิจารณาควบคู่กับชุดความหมาย A2 เราก็จะได้ความหมายใหม่ออกมาอีกชุดหนึ่ง หรือนำ A1 และ A3 มาพิจารณาคู่กันก็จะได้ความหมายออกมาอีกชุดหนึ่ง ฉะนั้นด้วยวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ทำให้ “ยูโทเปียชำรุด” กลายรวมเรื่องสั้นที่รวบรวมชุดความหมายหลายชุดที่พร้อมจะจับคู่กันและสร้างความหมายชุดใหม่ได้ตลอดเวลา

ความยอดเยี่ยมของการเล่าเรื่องแบบนี้คือการสร้าง “ความเป็นไปได้” ของความหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่ “ยูโทเปียชำรุด” เป็นก็คือการเป็นอู่ของชุดความหมายที่รอให้ผู้อ่านฉวยเอาเศษเสี้ยวของชุดความหมายที่แตกกระจายมาประกอบใหม่กลายเป็นความหมายใหม่ขึ้นมาอีกชุด และความหมายชุดใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นอาจนำไปจับคู่หรือพิจารณากับชุดความหมายอื่นๆ ได้อีกไม่สุดสิ้น
ชุดความหมายใน “ยูโทเปียชำรุด” จึงไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง ตายตัว และรอให้ใครไปค้นพบ เพราะมีความเป็นไปได้ของความหมายนับไม่ถ้วน ชุดความหมายของ “ยูโทเปียชำรุด” เป็นเพียงแค่ผิวหน้าของความเคลื่อนไหวอันมหาศาลและหนักหน่วงที่อยู่ข้างใต้ชุดความหมายเหล่านั้น ฉะนั้นแล้วความหมายจึงเคลื่อนไหวตลอดเวลาตราบเท่าที่กลไกของความเป็นไปได้ในความหมายมันยังคงทำงานอยู่
การอ่าน “ยูโทเปียชำรุด” จึงเป็นการผจญภัยกับชุดความหมายที่ปะทะกับผู้อ่านโดยตรงและยังเป็นการท้าทายขนบการอ่านวรรณกรรมที่พยายามจะบอกว่ามีความหมายชุดใดชุดหนึ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ตัวบทและรอให้ผู้อ่านมาค้นพบ ดังนั้นตลอดการอ่าน “ยูโทเปียชำรุด” เราจึงพบความไม่ต่อเนื่อง การขาดและการหายไปของความหมายหลายส่วนหลายตอนซึ่งความไม่ต่อเนื่องนี้เองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราตระหนักถึงชุดความหมายที่อาจเป็นไปได้เสมอ
วิธีการเล่าเรื่องเช่นนี้ยังเป็นเนื้อหาที่สำคัญของเรื่องเล่าในงานของวิวัฒน์อีกด้วย เพราะในสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยความไม่เห็นพ้องต้องกัน ความไม่ลงรอยกันซึ่งเป็นที่มาของความเป็นไปได้ชุดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ความแน่นอน ความชัดเจนทั้งหลายถูกสลายไปภายใต้สังคมสมัยใหม่ สิ่งที่วิวัฒน์ทำผ่านวิธีการเล่าเรื่องของเขาจึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงสภาวะของสังคมปัจจุบันและกระตุ้นให้เราตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นได้อีกมากมายท่ามกลางรอยปริรอยแยกของความไม่เห็นพ้องต้องกันของคนในสังคม
หากความไม่ต่อเนื่อง ควาไม่เห็นพ้องต้องกัน เป็นความชำรุดอย่างหนึ่งของโลกปัจจุบันแล้วล่ะก็ ภาพในโลกอุดมคติก็เป็นผลจากความชำรุดนั้นนั่นเอง แต่ท้ายที่สุดแล้วมันก็เพียงแค่ชำรุด ยูโทเปียยังคงดำรงอยู่ แต่จะบิดเบี้ยวไปจากภาพที่เราจินตนาการไว้ อุดมคติของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปภายใต้รอยปริรอยแยกของสังคมในปัจจุบันซึ่งทั้งหมดเราไม่สามารถคาดการณ์ได้อีกต่อไป
ส่งท้าย
การเล่าเรื่องด้วยคำว่า “คุณ” ในแง่หนึ่งอาจหมายถึงความต้องการสื่อสารกับผู้อ่าน เป็นการเล่นกับความรู้สึกและความรับรู้ผู้อ่าน แต่ใน “ยูโทเปียชำรุด” “คุณ” ในเรื่องเล่าของวิวัฒน์ ไม่ใช่ “คุณ” ในฐานะที่เป็นผู้อ่าน แต่หมายถึง “ตัวตน” ของผู้เล่าเรื่อง ซึ่งพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันสภาวะความเป็น “ตัวตน” ออกไปจากตนเอง และเมื่อความเจ็บปวดเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชีวิตดำเนินต่อไป ความเจ็บปวดนั้นจึงถูกผลักดันออกไปเพื่อหมายที่จะสลัดความเจ็บปวดนั้นออกไปจาก “ตัวตน” ของผู้เล่าเรื่องซึ่งหากกล่าวให้ถึงที่สุด ผู้เล่าเรื่องใน “ยูโทเปียชำรุด” ไม่เป็นใครอื่นเลยนอกจากสภาวะของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามที่ดำรงอยู่ในโลกปัจจุบัน
ความเจ็บปวดเป็นแก่นสารที่ทำให้โลกในยูโทเปียดำเนินต่อไป เฉกเช่นเดียวกับปัจจุบัน เราท่านทั้งหลายถูกขับเคลื่อนด้วยความเจ็บปวดอันแสนสาหัส แต่ท้ายที่สุดเราก็ยังดำรงอยู่มิได้บุบสลายแต่อย่างใด ด้วยความทรมานเช่นนี้นี่เองที่กระตุ้นให้เราตระหนักว่าโลกในอุดมคติของเราท่านกำลังจะเปลี่ยนไป
ท่ามกลางความเจ็บปวด รอยปริรอยแยกทั้งหลาย เราไม่สามารถจินตนาการโลกอุดมคติได้เช่นที่เคยทำอีกต่อไป

………………………………………………………………………………………

ยูโทเปียชำรุดหรือเราทุกคนกำลังว่ายเวียนวนอยู่ใน ‘เกาะของคนตาย’ ?

Review  โดย Kanathorn Khaosanit

ลำลึงค์, โยนี, ชักว่าว, ชูชัน, ชื้นแฉะ, ท้นถั่งหลังไหลเปล่า — อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าเราหมกหมุ่นในกามารมณ์จนนึกอยากเขียนชุดคำเชิงสังวาสเหล่านี้ขึ้นมาลอยๆหากแต่การจะแนะนำให้รู้จักกับใครสักคน หรือหนังสือสักเล่ม เราคงหลีกหนีไม่ได้ที่จะต้องอธิบายถึงนิสัยใจคอของคนๆ นั้น หรือองค์ประกอบสำคัญของหนังสือเล่มนั้นเสียก่อนเอาล่ะ หากเราจะเริ่มต้นด้วยการสมมุติให้หนังสือรวมเรื่องสั้น(?) ที่มีชื่อว่า ยูโทเปียชำรุด ของ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่ง ชุดคำอย่าง ลำลึงค์, โยนี, ชักว่าว, ชูชัน, ชื้นแฉะ, ท้นถั่งหลังไหล ก็คงจะเปรียบได้กับสายลมเค็มๆ ที่หอบกลิ่นอายเหนอะหนะของทะเลลึกล้ำที่รายล้อมรอบเกาะให้โชยเข้าจมูกตลอดเวลาและคงไม่เกินเลยไปนักหากเราจะบอกว่า วิวัฒน์ หรือที่คอหนังรู้จักกันดีในฐานะนักวิจารณ์ผู้จัดเจนอย่าง Filmsick ช่างกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้นำสิ่งซึ่งแทบไม่มีใครเอ่ยออกมาตรงๆ อย่างเรื่องเซ็กซ์ มาอธิบายเรื่องราวอีกหลายเรื่องที่แม้จะมีความกล้าหาญเพียงใดก็คงเล่าออกมาแบบโจ่งแจ้งได้ไม่ถนัดนักอย่างไร้ความเขอะเขิน”เซ็กส์ สำหรับเราไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้ามในงานวรรณกรรม ไม่จำเป็นจะต้องเอามาเขียน หรือจะต้องเอามาทำให้มันใหญ่ สำหรับเรามันไม่ใช่สิ่งสำคัญเลย เพราะทุกคนกินน้ำใช่หรือเปล่า ทุกคนก็มีเซ็กซ์ เรามองเซ็กซ์ในแง่ที่ว่าเป็นสิ่งสามัญมาก เราไม่ได้มองว่าเป็นสิ่งยิ่งใหญ่หรือสำคัญ โอเค บางเรื่องอาจจำเป็นในแง่ที่เราเอาไปใช้มันเป็นภาพแทน แต่ว่าโดยมากเมื่อเราพูดถึงเซ็กซ์ก็เหมือนเราบอกว่าเราเดินไปกินข้าว คนหนึ่งคนกำลังกินน้ำ” วิวัฒน์ตอบคำถามในงานเปิดตัวหนังสือของตัวเอง

ยูโทเปียชำรุด ประกอบไปด้วยเรื่องสั้น 9 เรื่อง (แน่นอนแทบทุกเรื่องล้วนมีฉากเซ็กซ์ที่พ่วงมาด้วนรสนิยมอันแตกต่างของตัวละคร) แต่ละเรื่องเกิดขึ้นในสถานที่และช่วงเวลาแตกต่าง ทว่าวิวัฒน์กลับร้อยเรียงเรื่องเล่าเหล่านั้นเข้าหากันเป็นเนื้อเดียวได้อย่างแนบเนียน ด้วยสำนวนภาษาที่ได้รับการยกย่องว่าเข้าขั้น ‘เอกอุ’ บวกรวมกับเรื่องเล่าเหลื่อมซ้อนเรื่องเล่า มิติเหลื่อมซ้อนมิติ และตัวตนของตัวละครบางตัวซึ่งเหลื่อมซ้อนกับตัวละครอีกตัว ก็ทำให้หนังสือเล่มนี้ก่อเกิดเอกภาพ สร้างทางเลือกให้แก่ผู้อ่าน ที่สามารถเลือกได้ว่าจะอ่านรวดเดียวตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้าย หรือจะเลือกอ่านทีละเรื่องกระโดดข้ามไป-มาจนจบเล่มก็ยอดเยี่ยมในแง่การเสพรับงานวรรณกรรมไม่แตกต่าง

ยูโทเปียชำรุด เริ่มเปิดฉากด้วยเรื่องสั้นที่มีชื่อว่า 45RPM ซึ่งเล่าเรื่องของชายไม่ทราบชื่อผู้ตัดสินใจทิ้งบ้านเกิดแล้วออกเดินทางหลังจากบิดาของตนตายจากไป ด้วยการใช้สรรพนามมากมายราวกับจะเนรมิตดงอักษรให้กลายเป็นมุมกล้องของหนังที่กำลังเลื่อนไหล อาจเพียงแค่หนึ่งย่อหน้าวิวัฒน์ก็ใช้สรรพนามไปถึงสามประเภท (สรรพนามบุรุษที่ 1 – ผม, สรรพนามบุรุษที่ 2 – คุณ, สรรพนามบุรุษที่ 3 – เขา) และทั้งสามประเภทนั้นกลับเป็นเรื่องราวของตัวละครเพียงคนเดียว (!) ซึ่งนั้นดูเหมือนจะกลายเป็นกฏทางฟิสิกของโลกยูโทเปียที่วิวัฒน์ได้ปลูกสร้างขึ้นในอีกหลายเรื่องถัดมา

และความที่มันอ้างถึงบุคคลผู้มีตัวตนอยู่จริงในหน้าประวัติศาสตร์ เช่น ฌองลุค โกดาร์ด ทรนง ศรีเชื้อ หรือ นักปฏิวัติผู้โด่งดัง อย่าง เชเกวารา ที่ไม่แค่ยกขึ้นมาลอยๆ แต่กลับใช้รายชื่อที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเรื่องเล่า (วิญญาณของเชในเรื่อง ‘ความตายของอานนท์, เจ้าของโรงแรมผู้มีชื่อพ้องกับโกดาร์ดใน ‘โรงแรมอัลฟ่าวิลล์’ ฯลฯ) และนี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้คนอ่านไม่หลุดลอยไปกับแรงดึงดูดแปลกแปร่งจากภาษาหม่นทึบ และเรื่องเล่าเบลอเลือนราวกับชิ้นจิกซอร์ที่กระจัดกระจายในโลกยูโทเปียของวิวัฒน์

ตัวละครแต่ละตัวในเรื่องเล่าของวิวัฒน์ ถูกสร้างมาราวกับมีหมอกมัวปกคลุมไปทั่ว จนเราไม่อาจจินตนาการถึงลักษณะทางกายภาพของพวกเขาได้ถนัดนัก และนั่นอาจเป็นส่ิงที่พ้องกับเรื่องเล่าของ ‘เช’ ใน ‘ความตายของอานนท์’ ที่เอ่ยถึง เกาะแห่งหนึ่งที่บรรดาคนตายมาเฝ้ารอจนกว่าคนที่มีชีวิตอยู่จะลืมเลือนพวกเขาไปหมดสิ้น “คนแบบฉัน คนที่ถูกจดจำจากมวลชน คนพวกนั้นน่าสมเพช เพราะใบหน้าของเขาจะถูกจดจำตามที่มวลชนจำ ใบหน้าปลอมๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับใบหน้าเดิมอีกแล้ว” เชกล่าว

หรือบางที ยูโทเปียที่กำลังชำรุดสำหรับวิวัฒน์ อาจจะไม่ต้องการการซ่อมแซมใดๆ อีกต่อไปแล้ว

โดยไม่ชี้ทางออกใดๆ ให้ตัวละครในเรื่องเล่า วิวัฒน์กำลังเฝ้ารอให้โลกยูโทเปียของเขาแตกสลาย เฝ้ารอให้ทุกคนลืมเลือนมันไป เพื่อพวกเราทุกคนจะได้เดินทางออกจากเกาะของคนตายเสียที

………………………………………………………………………………………

Review โดย  Koetsak Sirisomphotvanich

 

ยูโทเปียชำรุด (วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา/ 237หน้า/ สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม/ 2556):มีหนังสือจำนวนไม่มากนัก (จากจำนวนไม่มากเช่นกันของหนังสือที่เราได้อ่าน) ที่จะทำให้เราแนบชิดกับมันและรู้สึกกับมันได้มากๆ และเล่มนี้คือหนึ่งในนั้น การอ่านหนังสือเล่มนี้แบบรวดเดียวจบเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้สำหรับเราเพราะไม่ใช่แต่เพียงการใช้สมาธิในการดื่มด่ำ (เราสามารถใช้คำนี้กับหนังสือเล่มนี้ได้ไหม? หรือมันควรเป็น “ดำดิ่ง” มากกว่า) แต่ในทุกเรื่องสั้นของมันๆเรียกร้องพลังงานหลายพันล้านกิโลเแคลลอรี่เพื่อนำมาใช้ในการเผาผลาญตัวหนังสือที่เรียบเรียงอย่างเอกอุพร้อมๆไปกับการเผาไหม้ของตัวเราเองที่ละน้อยๆจากภายใน ฉะนั้นแล้วการเริ่มต้นเรื่องสั้นต่อไปจึงมีความจำเป็นต้องพักฟื้นแรงใจให้กลับมาอยู่ในระดับเฉียดปกติเสียก่อน (และมันอาจไม่มีทางกลับมาในระดับ “ปกติ” อีกแล้วก็ได้)จะว่าไปเรื่องราวทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้แทบจะเป็นสิ่งใหม่ที่เราไม่คุ้นชิน มันคือความแปลกวิปลาศที่เราแนบเคียงอยู่กับมัน ชิดจนไม่เคยมองเห็น คือห้วงชีวิตประหนึ่งสายน้ำในคลอง น้ำอันเน่าเสียไร้การบำบัดที่แน่นิ่งรอการเปิดของประตูกั้นน้ำ(ที่อาจไม่มีวันเปิดเลย) การพูดคุยของผมและเขา เธอและฉัน คือการสะท้อนภาวะภายในของเราเองเพื่อจะทิ่มแทงคนอื่นไปพร้อมๆกับตัวเราเองในสังคมที่เต็มไปด้วยความป่วยไข้ในกรอบจารีตอันไร้สาระและยากต่อการเยียวยารักษา (เพราะเราไม่เคยคิดว่าเราป่วย) เซ็กซ์ที่ไร้การเจือจางของความสุขโดยสิ้นเชิง หรือแม้แต่การเล่นหัวกับคนอ่าน หลอกล่อให้ตายในแล้วก็โยนลงเหว!

แนะนำสุดใจขาดดิ้นกับใครก็ตามที่รู้ตัวว่าความสมบูรณ์คือเรื่อง ”ตอแหล” อย่างที่สุด

5+++++/5

………………………………………………………………………………………

Review โดย Theerapat Ngathong 

ยูโทเปียชำรุด [ฉบับทดลองอ่าน] (วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา)

สำหรับหนังสือเล่มนี้คือข้อยกเว้น เราอ่านบทไหนก่อนก็ได้ ความจริงแล้ว อ่านตอนย่อยตอนไหนก่อนก็ได้ อ่านข้ามไปข้ามมาก็ได้ อ่านโดยไม่ต้องเริ่มจากย่อหน้าแรกก็ยังได้ เพราะเรื่องราวต่างๆในนี้ยากต่อการเข้าใจด้วยการอ่านผิวเผินอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ว่าจะอ่านสลับไปมา หรืออ่านไล่ตั้งแต่บทแรกไปตามปกติ(เหมือนที่ผมอ่าน) เราก็ซึมซับเรื่องราวได้พอๆกัน

ผมว่า นี่เป็นนิยายที่แปลกที่สุดตั้งแต่เคยอ่านมาเลย การใช้ภาษาในยูโทเปียชำรุดได้คายอารมณ์อันพิลาศพิไลออกมาสุดๆมาก ผมไม่เคยเจอนิยายอะไรเขียนกันแบบนี้มาก่อน

แต่ละบทย่อยๆเว้นช่องว่างไว้เยอะมาก ตรงช่องว่างนั้นเราคนอ่านจึงใช้จินตนาการไปอุดกันได้เต็มที่ อีกทั้งการใช้สรรพนามในแต่ละบทยิ่งทำให้เราสับสนกับตัวละคร เพราะเมื่อขึ้นบทย่อยใหม่ปุ๊บ เราไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ตัวละครนั้นยังเป็นตัวละครตัวเดิมกับบทย่อยที่แล้วหรือไม่ จนกว่าเราจะถอดแกะเรื่องราวเองจนเจอ

ในเรื่องของพลังอารมณ์ที่มอบให้คนอ่านนั้นสุดยอดมาก ในบางตอนนั้นเราไม่สามารถจินตนาการสิ่งที่อ่านออกมาเป็นภาพได้ (เอกสารวิชาการก็ไม่ได้ทำให้เราเห็นเป็นภาพ แต่เพราะนี่เป็นนิยาย มันจึงเป็นเรื่องแปลก ) ในจุดนั้น ผมจะกล่าวได้ไหมว่ามันเป็นการใช้พลังวรรณกรรมเพียวๆในการเล่าเรื่อง เหมือนเวลากินกาแฟ Espresso ช็อตนึงเลย

บทที่ชอบมากๆคือ โรคชื่อความรัก ฤดูกาลระหว่างเรา และ เรื่องเล่าไม่มีชื่อ ในบทย่อยที่กล่าวถึงแสนไกล

ตอนอ่าน โรคชื่อความรัก ตัวฆาตกรในเรื่องนี้ ผมเห็นใบหน้าของ Eddie Constantine และเด็กสาวที่ติดรถไปกับเธอคือ สายป่าน อภิญญา

ฤดูกาลระหว่างเรา เป็นนิยายเกี่ยวกับ Pedophile ที่ผมประทับใจมาก เพราะผมก็มีส่วนเข้าข่ายจะเป็น Pedophile เช่นกัน ตอนแรกนึกว่าเป็นเพราะฮอร์โมนวัยรุ่น แต่ลองถามเพื่อนๆดู ไม่มีใครเป็นแบบผม แล้วพออ่านตอนนี้ ผู้เขียนบรรยายภาพและความรู้สึกออกมาโดนใจ Pedophile มากๆ เหมือนรู้ว่าคนเป็น Pedophile เขาชอบจินตนาการแบบไหน แล้วตอนนี้เป็นตอนที่เจ็บปวดรวดร้าวจริงๆ


EXPERIENCED IN MAR. 12

$
0
0

A BITTERSWEET LIFE (KIM JEE WOON/2005/ST KR)
A++++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++

ถ้าได้ดูเรื่องนี้ก๋อนอีตู้ซ่อนผัว กับอีหัวเมียในกระเป๋า คงจูบปากคิมจีวุน และดูฉันเห้นผีไปตั้งแต่ตอนมันมาใหม่ๆแล้ว (เขกหัวตัวเอง)

เขาเหมะกับหนังหักล้างgenre แบบมาโช ผีจูอนนไม่ใช่ทางพี่ เชื่อผม

LIFE WITHOUT PRINCIPLE (JOHNNY TO/2011/HK)
A++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++

what if FALSE COUNPON (Dostoyevsky in Early 1900′s) was the same thing with FAKE MONEY (Bresson in 1980) was the same thing with the STOCK MARKET in this film!

this should be screened together with L’ARGENT (ROBERT BRESSON/1980/FR)

พี่ตู้รู้แจ้งกระจ่างใจมลว่าจะทำหนังgenre อาชญากรรมพวกนี้ยังไง หนังเรื่องนี้เหมือนกับEXILED ที่เล่นกับ genre ganster เขาทดลองกันปรุว่าจะรื้อทำใหม่ยังไง เอาอะไรไว้เอาอะไรออก ศักดิ์ศรีทัดเทียมกันทั้งสองเรื่อง (จริงๆเราอาจจะบอกว่า NEEDING YOU ก็คือการเล่น GENRE โรแมนติค แต่เรื่องนั้นมีลีลา satire ไปไหน่อย

การได้เห็นหลี่ถัง(ชื่อการค้าของหวงเย่อหัว) เก็บขยะขายนั้นเป็นบุญตามากๆ พอกับได้กราบตีน หลิวชิงหวินที่อีกครั้งไปสุดทางโคตรพ่อ (MAD DETECTIVE เป็นหนังพี่ตู้/หนังฮ่องกง)ในดวงใจข้าพเจ้า

เสียดายที่มีทั้งเยิ่นเสียนฉี ทั้งหลิวชิงหวิน ถ้ามีอู๋เจิ้นหวีอีกคนก็จบครบกระบวนความ

ไอ้การเลือกดาราแบบนี้มันพิเศษตรงที่มันเชื่อมือได้เล่นมาร้อยเรื่องแล้ว เขาจะอิงอะไรเอาอะไรก็ไม่ต้องมาคิดใหม่ทำใหม่ ตัดตอนเอาได้เลย

พูดกันให้เกินเลย นี่คือการคลี่คลายของหนังฮ่องกงเหมือนกัน ในแง่ที่ว่าสืบสายพันธุ์สร้างgenre กันมาจนรู้ไส้ไปหมดแล้วตบให้มันสวยได้

จริงๆตัวละครของหลิวชิงหวิน กับน้องธนาคารเป็นด้าคู่ขนานคนตามระบบ ระบบการลงทุนคือระบบเดียวกับแกงค์มาเฟีย เพียงแค่ถูกหรือผิดกฏหมายก็เท่านั้น การตีเรื่องคู่กันของสองตัวละครนี้มันเลยสะท้อนกันอยู่ในที ทั้งการยึดถือคุณค่าบางอย่าง ที่เท่ากับการเป้นพนักงานกินเงินเดือนของอีกอย่าง ในขณะที่ตัวละครของ เยิ่นเสียนฉีกลายเป็นคนตรงกลางที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร การที่เยิ่นเสียนฉีพบชายแก่ในลิฟท์จึงเป็นการแสดงภาพการพบปะของคนฮ่องกงยุคโบราณ และหนังฮ่องกงในอดีต ที่สะท้อนกันไปมาในห้องรมแกสด้วย

แล้วไอ้การที่หนังเลือกจบแบบไม่สั่งสอนศีลธรรมโดยตัวมันเองก็ทำให้หนังเป็น Life Without Princilple ด้วยเหมือนกัน

หนังเรื่องนี้มันฉลาดหลักแหลมและอลังการจริงๆ

THE BOOK OF REVELATION (ANA KOKKINOS/2006/AUS.)
A++

หนุ่มนักเต้นโดนสาวลึกลับสามนางจับไขังล่ามโซ่ไว้ และผลัดกันล่วงละเมิดทางเพศเป็นเวลาสิบสองวัน พอปล่อยออกมาชีวิตเขาก็ล่มสลาย

หนังน่าสนใจมากในการสลับบทบาทของผู้หญิงกับผู้ชาย เมื่อผู้ชายกลายเป็นsex object อย่างเต็มที่ สุดที่เราจินตนาการกับผุ้หญิง คือการถุกจับไล่ามแล้วทำทารุณกรรมทงเพศราวกับเป้นสิ่งของ การไต่เส้นระหว่างความพึงพอใจและความเจ็บปวดทางเพศ

ฉากที่น่าสนใจมากๆคือการที่แดเนียลพระเอกโดนตุ๋ย โดยหนึ่งในสามสาว ลึงค์เป็นความเป้นชายขั้นสูงสุด การโดนอัดตูดโดยลึงคืปลอมบนร่างผู้หญิงไม่ก่อให้เกิดความสุขทางเพศ แต่คือการทำลายความเป็นชาย น่าสนใจว่าหนังไม่มีเกย์ การโดนผู้หญิงตุ๋ยไม่ใช่การร่วมเพศ แต่เป็นสุดปลายความเจ็บปวดที่ไม่มีความเพลิดเพลินมาเกี่ยวข้อง

ครึ่งหลังพูดถึงการหมกมุ่นกับการสูญเสียความเป็นชายของตัวเอก การที่หนังทั้งเรื่องมีแต่ผู้หญิงทำให้ตำรวจกลายเป็นความเป็นชายเดียวที่พึ่งพิงได้

การเต้นกับรรอยสัก หรือตำหนิบนร่างกายทำให้หนังเป็นการพูดถึงเรือนร่างล้วนๆ การเป็นเจ้าของเรือนร่างการลุ่มหลงเรือนร่างหรือการทำลายเรือนร่าง

การที่พระเอกเอากับทุกคนแต่ไม่เอากับจูลี่ แต่เป็นแฟนกับจูลี่ เพราะเธอเตี้ยล่ำดำถุย เธอเป็นคนไม่มีเรือนร่างคนเดียวในหนังเรื่องนี้

THE WOMAN IN BLACK (JAMES WATKINS/2012/UK)
A+++

โอ๊ยสนุกมากเลยทีเดียว ในฐานะหนังสยองขวัญแบบขนบมากๆๆๆๆๆ มันออกมาสนุกมากๆ

จริงๆ มันไม่ได้ใหม่อะไรเลย เดาอะไรก็ไม่ยากดูไปครึ่งเรื่องก็รู้เอวัง แล้ว ในฐานะหนังสยองขวัญมันก้ไม่ได้เล่นของใหม่ด้วย CG ไม่มากนัก เล่นท่าแบบหนังสยองขวัญรุ่นเก่าเน้นเทคนิคการตัดต่อ และเทคนิคหนังแบบเก่า แต่จังหวะมันเอาอยู่มากๆ ช่วงปลายชั่วโมงแรกที่ปล่อยพระเอกไว้ดีลกับผีคนเดียวในบ้านนี่พีคสุดๆ

ลองมองเชิงโครงสร้างมันก็น่าสนใจดีนะ แบบหนังมันก้เล่าเรื่อง คนนอกเข้าไปในหมุ่บ้านที่เชื่อเรื่องผีสางนางไม้ แล้วพิสูจน์ผี เอาชนะผีได้ ด้วยวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ อันที่จริงมันคลิเชมากๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เอาชนะไม่ได้คือความอาฆาต ตรงนี้รู้สึกมันเพิ่งเป็นสิ่งใหม่เหมือนกัน เป็นอิทธิพลของผีอาฆาตจากฝั่งตะวันออกหรือเปล่าไม่รู้

ที่มันสืกว่านั้นคือมองในเชิงclass
ต่อไปมีสปอยล์ !

ที่มันน่าสนใจมากๆคือมันเริ่มจากความชั่วของคนชั้นสูง เรื่องลึกลับตองปกปิดของคนชั้นสูงที่อาศัยอยุ่ในเกาะห่างไกล แล้วมันมาเกี่ยวกับความตายของลุกหลานชนชั้นล่างได้ยังไง เพราะชนชั้นล่างต้องแบกรับกรรมและความผิดบาปของคนชั้นสูง คนชั้นสูงก็เสียเหมือนกัน แต่มันก็ยังมีทางออก พระเอกเป็นคนนอกคนชั้นกลาง (อันนี้คือ spectator คนดู) ที่เข้ามาแก้ไขเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งนี้ ด้วยวิธีคิดแบบเหตุผล (หาให้เจอว่าผีจะเอาอะไรแล้วให้มันไป) แม้หนังไม่จบแบบชนะขาด แต่มันก็ชนะในตรรกะของคนดูเลยทีเดียว ไอ้โครงสร้างแบบนี้มันออกแบบมาเอาใจคนชั้นกลางมากๆ (ปล. ในสมัยนั้นคนชั้นกลางเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เดินทางหรือเปล่า หมายถึงเดินทางผ่านการทำงาน เพราะคนชั้นสูงจะไปเดินทางอีกแบบหนึ่ง ส่วนคนชั้นล่างไม่เดินทางมากนัก – ยุคที่การคมนาคมยังไม่ดี) การเดินทางและมุมมองของการแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ (ไปเพื่อที่จะกลับบ้าน)จึงเป็นสายตาแบบคนชั้นกลางมากๆ (เทียบว่าคนชั้นล่างคือ ไปแล้วไม่รู้จะได้กลับมาเมื่อไหร่ )

แต่ที่เราสนใจสุดๆคือการที่หนังแสดงอาการฮิสทีเรียของระบบครอบครัว ไม่แน่ใจว่าจริงๆต้นศตวรรษนี้ แนวคิดแบบรักครอบครัวเชิงเดี่ยวอะไรนี่ในยุโรปเป็นยังไง แต่สายตาของหนังคือสายตาแบบปัจจุบันมากๆ (นิยายเขียนปี 83 )คือมันเป็นเรื่องของการพรากจากกันของครอบครัว และแก้ไขด้วยการรียูเนี่ยน การพลัดพราก ของครอบครัวที่แท้และการพานพบ ความรักในครอบครัวชนะทุกสิ่ง แล้วพอตอนจบมันก็ยังอนุโลมให้ครอบครัวได้พบกัน จริงๆ สมัยก่อนเดาว่ามันมีลุกเยอะ ตายเยอะ (ยุคที่การสาสุขไม่ค่อยดี) การมีครอบครัวอาจไม่มีอาการฮิสทีเรียเท่านี้ แต่มีมันเป็นหนังออกมารับใช้คนชั้นกลาง ยุคปัจจุบัน ที่มีกรอบคิดแบบหนึ่ง เลยต้องสวมสายตาใหม่

เอาเถอะ ในฐานะหนังสยองขวัญ มันทำได้ดีมากๆทีเดียว สนุกเป็นบ้า

หมายเหตุ:จริงๆไม่คุ้นกับหนังHAmMER เท่าไหร่ เหมือนจะได้ดูไปแค่เรื่องสองเรื่อง แต่รู้สึกว่าความเชยในหนนังเรื่องนี้ไม่ได้ย้อนไปเชยแบบแฮมเมอร์ยุคตหกสิบ แต่เชยในแบบหนังยุคแปดสิบเก้าสิบ ที่ต่อมาจากแฮมเมอร์อีกที หนังเรื่องนี้เอาไปฉายช่วงปี 1995ได้ จะเป็นทำนองเดียวกันเลย

RETREAT CARL TIBBETTS/2011/UK)
A++++++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++++

โอ๊ย ทำไมปีนี้มีแต่ีหนังสยองขวัญเลอๆ เพิ่งเข้าเดือนที่สามนี่สามารถจัดทอปเทนได้แล้วนะ

เล่าเรื่องก่อน ซิลเลียน เมอร์ฟี่ กับ แธนดี้ นิวตัน เป็นคู่่ผัวเมียอมทุกข์เยี่ยง แมกซ์ วอนซีโดว กับ ลิฟ อุลแมนน์ แธนดี้แท้งลูก เลยไปเที่ยวเกาะที่เคยไป อมทุกข์ไปมาอยุ่สักยี่สิบนาที แธนดี้ก็เห็นคนสลบอยู่แถวบ้านเลยไปช่วยปรากฏกว่าเป็นเจมี่ เบลล์ นายทหารเหี้ยอะไรสักอย่าง ซึ่งบอกว่าที่รัก ตอนนี้นอกเกาะทุกคนติดไวรสัตายห่าหมดแล้ว เขาหนีมา แล้วก็ต้องปิดบ้านกันแล้ว เพราะไวรัสระบาดทางอากาศ !

ดูเหมือนคลิเชชิมิ อะถูก! ครึ่งแรกเป็น SHAME ของ BERGMAN ครึ่งหลังเป็นหนังthriller เต็มตัว แต่มันมีพลอตหักมุมอีก ซึ่งเป็นการหักมุมที่น่าสนใจดีแต่เล่าไม่ได้

หนังดูเหมือนจะเล่นกับเกมอำนาจหญิงชาย แบบSTRAW DOGS แต่ก็เล่นประเด็นหนังไวรัสอะไรต่อมิอะไรด้วย รู้สึกว่าเป้นการmix ที่มันส์ดี นักแสดงก็เล่นกันมันส์ทุกคนเลย

หนังไวรัสมันไม่ใหม่แล้ว แต่หนังเรื่องนี้ก็ทำได้ไม่เลวเลย จริงๆเอามาดูกับRIGHT AT YOUR DOOR หนังไวรัสที่โดน UNDERRATED จะพีคมากๆ

ดูคู่กับSHAME ก็เก๋ไม่หยอก เพราะมันเปลี่ยนจากสงครามมาเป็นไวรัสแทน แล้วมันมองดูว่าคนชั้นกลางแหยๆจะต่อสู้กับอะไรพวกนี้อย่างไรเพียงแต่พอมันมาเล่นgenre แบบผเกมอำนาจชของเพศชายแล้วมันก็เป็นหนังgenre ไป

SPARROW ( JONNIE TO/2008/HK) 
A+++++++++++อยากเขียนบทความชื่อ พี่ตู้ GENRE and ANTI- GENRE

พี่ตู้ทำไรอะ เนรมิตฮ่องกงให้เป็น ปารีสเหรอ อ๋อพี่ตู้อยากเป็นเดอมี หรืออยากเป็นโกดาร์ด แต่เขาแน่นดีนะ

ลองนึกสภาพกลับหัวว่าโกดาร์ดดูหนังอเมิรกันมากเลยทำ BREATHLESS แต่พี่ตู้ทำหนังมามาก ทำหนังแบบอเมริกันมามาก วันนึงเลยไปทำSPARROW รู้สึกว่าหนังมันดัดจริตได้น่ารักดี โดยเฉพาะดนตรีประกอบที่ดัดจริตมากๆ

เทียบไปมา EXILED นี่ Anti /Post Genre มือปืนรับจ้าง ส่วนLIFE WITHOUT PRINCIPLE Anti /Post Genre อาชญากรรม อันนี้ Anti/Post Genre พวกแกงค์ต้มตุ๋น สงสัยต้องไปเอาELECTIONมาดูใหม่ว่ามันAnti/Post Genre แกงค์สเตอร์ยังไง

แต่ถึงยังไงก็ตามเราชอบหนังGenre มากกว่า Anti /Post Genre ของพี่ตู้อยู่ดี

My Preferential Order forพี่ตู้

1.The Bare foot Kid 1993
2.Mad detective 2007
3.Heroic Trio 1993
4.Running on karma 2003
5.Exiled 2006
6.Life without principle 2011
7.Needing You 2000
8.A Moment of Romance 3 1996
9.Love on a Diet 2001
10.Sparrow 2008
11.justice, my foot 1992
12.A Moment of Romance2 1993
13.Breaking News 2004
14.Executionsers 1993
15.The Mad Monk 1993
16.Throw Down 2004
17.Election 2005
18.PTU 2003
19.Triangle 2007
20.Turn left, turn right 2003

MODERATO CANTABILE (PETER BROOKS/1960/FR)
A+มันเปลี่ยนอะไรจากนิยายาไปเยอะเหมือนกัน จริงๆหลายส่วนของหนังดีมากๆ แต่ที่ทำให้ไม่ชอบมากคือการที่มันทำลายความคลุมเครือทางอารมณืออกไปหมด เป็นหนังภาคผู้ชายมากกว่าตัวเรื่องที่เป็นหญิงมากๆๆ
ATM (DAVID BROOKS/2012/US)
A+++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++THIS IS A GOLDEN YEAR OF HORROR FANS LIKE ME!

สองหนุ่มหนึ่งสาวไปกดเอทีเอ็มกลางดึกในวันคริสมาสต์ ความซวยมาเยืนตรงที่นอกตู้มีผู้ชานสวมเสื้อกันหนาวมีฮู้ด ยืนจ้องมาหาเรื่อง แล้วพอมีคนผ่านมาผู้ชายคนนั้นก็ฆ่าทิ้ง สองหนุ่มหนึ่งสาวติดอยุ่ในตู้เอทีเอ็มที่ไอ้โรคจิตตัดสายเครื่องทำความร้อนแล้วเฝ้าคอยเงียบเชียบข้างนอกมองดูการดิ้นรนเอาตัวรอดที่ทำไปก็ไร้ผล

จากโลงตอกตายใน BURIED คราวนี้โลกของตัวละครจำกัดอยู่ในตู้เอทีเอ็ม(แบบที่ใหญ่ๆหน่อยไม่ได้เล็กแคบๆเหมือนบ้านเรา ตู้กระจกกลายเป็นห้องแสดงภาพของคนชั้นกลางสามคนที่ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยวิธีการต่างๆนาๆ จากคนที่ยืนอยู่ข้างนอกโดยไม่อบกจุดประสงค์

ในทางหนึ่งตู้เอทีเอ็มนี่น่าสนใจมากในการแทนภาพมนุษยืในที่สงบปลอดภัย ทั้งในแง่การรรักษาความปลอดภัย และในแง่นัยยะเกี่ยวกับโลกที่ยืนอยู่ได้ด้วยเงินทอง คือเข้าทำนองว่าแค่มีเงินก็พอจะแก้ปัญหาอะไรได้ (แล้วตัวเอกก็ซื้อพอจะลองแก้ปัยหาด้วยเงินจริงๆด้วย กล่าวให้ถึงที่สุดหนังก้เลยฉายภาพความหวาดวิตก หวั่นไหว ไม่มั่นคงของคนชั้นกลางต่อภาวะภายนอกที่ไม่รู้เหนือรู้ใต้ วางตำแหนย่งแห่งที่จัดเต็มว่า ต่อให้คุณอยู่ในที่ที่มีเงินก็เถอะ อันที่จริงตู้เอทีเอ็มที่มีลักษณะเหมือนตู้ปลาโชว์ เป็นทั้งอาณาเขตหวงห้าม(ไม่มีบัตรเข้ามาไม่ได้ แล้วในขณะเดียวกันมันก้เปิดเผยให้เห็นอย่างหมดจด กลายเป็นสัตว์ที่โชว์ความอ่อนแอให้สังเกตได้ ที่โหดไปกว่านั้นคือหนังแสดงให้เห็นว่าในโลกใหม่นี้ที่มีกล้องติดตั้งอยู่ทั่วหัวระแหง มีตำรวจสายตรวจ มีตู้เอทีเอ็มคอยรอตอบสนองกรจับจ่ายของเราตลอดเวลา โลกที่เราคิดว่าปลอดภัยไว้ใจได้นั้นไม่มั่นคงขนาดไหน แค่เพียงผู้ชายไม่ทราบชื่อยืนอยู่คนเดียวนอกตู้ เราก็ไปไม่เป็นแล้ว ความกลัวอันไม่รู้ทิศทางฝังรากติดหนึบหับสภาพจริงที่เราปลอบประโลมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีแบบต่างๆ

แต่ที่สุดขอบคือช่วงจบของหนังที่แสดงให้เห็นถึงช่องว่างของมันขีดจำกัดความสามารถของเครื่องมือ หรือระบบที่ไม่ใช่แค่ทำให้เราตกเป็นเหยื่ออย่างเดียวแต่ยังกลับข้างความจริงของเราได้ด้วย ถึงที่สุดเครื่องบันทึกความจริงได่้ทำหน้าที่ในการบันทึกความจริงส่วนเดียว และทิ้งส่วนที่เหลือไว้ให้ปะติดปะต่ออย่างผิดๆถูกๆ และเมื่อเราอยุ่ในโลกที่เชื่อถือเครื่องมือมากกว่ามนุษยื เราก็ยิ่งเห็นควาเปราะบางนี้ฉายชัด

ตัวหนังมันอาจจะเป็นแค่หนังคลิเชที่แคบเรื่องหนึ่ง แต่มันซ่อนนัยสวยงามเอาไว้มากโดยไม่ต้องหลุดออกจากโทนหนังสยองขวัญเลยแม้แต่น้อย

88 (ดอกดิน กัญญามาลย์/2012/ไทย)
A+++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++one of my favorite short films this year from one of my all time favorite director DOKDIN GUNYAMAL

you can watched the entrie film here
http://www.youtube.com/watch?v=wcp91reknVc

MAN With A MOVIE CaMERA (DZIGA VERTOV /1929/RUSSIA)
A++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++if somebody told me it was made in 2029 .I will belive it! One of the most spectacle films i’ve seen in my whole life .

จงบอกหนังที่มัน’ ตื่นตาตื่นใจ’ที่สุดของคุณมา! โยนAVATAR เข้าป่าละเมาะ เอาTRANSFORMER ไปเก็บในกล่องของเล่น หรือเอาINCEPTION ไปคืนชั้นการ์ตูนเช่าเถอะ นี่มันพ่อของทุกสรรพสิ่งเห็นๆ!

ดูจบแล้วก็งงว่า โอเค หนังเกิดแล้วตายเลย เพราะเรื่องนี้ทำไปหมดทุกอย่างแล้ว

ไม่ใช่แค่หนังสารคดีที่มาก่อนโลกจะรู้จักสิ่งที่เรียกสารคดี มันยังเป็นหนังที่เล่นกับความเป็นหนังก่อนโลกจะรู้จักความเป็นหนัง คุณจะมองสายตาของใครเมื่อคุณมองคนถ่ายถ่ายหนังบนหลังรถ สายตาของคุรไม่ใช่ตาของกล้อง แต่เป็นตาของกล้องอีกตัวที่มองกล้องตัวหนัง เมื่อซีนสุดท้ายคนหนั่งดูคนถ่ายหนังคุณถ่ายคนนั่งโรงหนังดูหนังว่าด้วยการถ่ายหนัง สายตาของคุณคือสายตาของสายตาของสายตาไปเรียบร้อยแล้ว

ปล. DZIGA VERTOV เป็นเด็กแนว!

ปล.2ผู้หญิงมอสโควืตัดปมทรงติ่งหุทุกนาง จริงๆติ่งหูต้นศตวรรษสวยกว่าติ่งหูมัธยมไทยในปัจจุบันมากว่ามาก

HYAS AND STENOEHYNCHUS ,MARINE CRUSTACEANS (JEAN PAINLEVE/1929/FR)
A+++++++++++++++++++++++++หนึงในยี่สิยสามสารคดีวิทยาศาสตรืของJEAN PAINLEVE ที่ไม่รู้ว่ามันเป็นสารคีสัตว์โลก หรือหนังทดลอง สัตว์ที่เราเห็นเป็นสัตว์จริงๆหรือเป็นสิ่งซึ่งถูกจัดวางอย่างดงามและร่ายรำต่อหน้าเรา
FINAL SOLUTION (RAKESH SHAMA/2004/INDIA)
A++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++สารคดีเหตุการณ์สังหารหมู่มุสลิมในแคว้นGujarat เป็นสารคดีtalking heads ยาวสองชั่วโมงครึ่งที่เต็มไปด้วยความโหดเหี้ยม ทรมาน เจ็บปวด ขนพองสยองเกล้า

รุนแรงในระดับเดียวกับPETITOIN ของZHAO LIANG เดี๋ยวไว้มาเขียนยาวๆ มันเอามาฉายในไทยก็ได้ คมันฉายรูปทรงของความขัดแย้งที่โหดเหี้ยมมากๆและจริงมากๆ ดูจบก็น๊อคเลย
ใครสนใจเรื่องการสร้างhate speech เอาไปดุได้เลย มันช่างน่ากลัวจริงๆ ยิ่งพอคิดว่ามันเป็นฝีมือของรัฐปลุกปั่นที่ชนะการเลือกตั้งมันก็มีอะไรตบหน้าเรามามากมาย

คำว่าหดหู่อาจจะเป็นคำที่สวยงามเกินไปในการอธิบายเหตุการณ์ในนี้

VAKRATUNDA SWAHA ( AHSHISH AVIKUNTHAK /2010 /INDIA) 
A+++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
พลังขั้นสูงสุดของหนังทดลองต่อต้านทวยเทพ !เปิดเรื่องด้วยภาพของชายคนหนึ่งบูชาพระพิคฆเนศในแม่น้ำก่อนจะขึ้นว่าชายผู้นั้นฆ่าตัวตายหลังจากถ่ายภาพนั้นในปีต่อมา ที่เหลือเป็นพลังหล่อนหวาดสยองของชายสวมหน้ากากช้าง และคนสวมหน้ากากกันแก๊ซพิษ และการทุบพระพิ๕ฆเนศแบบreverse รุนแรง หนกัหน่วงท้าทายสุดๆ ราวกับเป็นหนังสยองขวัญก็มิปาน
JAGUAR (JEAN ROUCH/1967/FR+GHANA)
A++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++ชัดๆคำเดียว JEAN ROUCH พ่อทุกสถาบัน! แทบอยากก้มกราบตีน

JAGUAR (JEAN ROUCH/1967/FR+GHANA) สามพระหน่อเดินดง

ขอตั้งชื่อไทยของหนังว่าสามพระหน่อเดินดง ตัวหนังนั้นว่าด้วยสามหนุ่มไนจีเรีย หรุ่มหน้ามนคนเลี้ยงวัว พ่อชาวประมงล่ำสัน และหนุ่มสำรวยไม่เรียนหนังสือ ทั้งสามวางแผนจะไปแสวงโชคกันที่กานา ตามรูปแบบของแรงงานพลัดถิ่น ก็โอเคไปกัน ไปขายวัวเป็นค่าเดินทางกัน ก่อนไปก็ไปหาหมอผีให้แกดูสักหน่อยว่ายังไง หมอผีบอกว่า เฮ้ยไอ้หนุ่ม ถ้าไปแพคสามข้าทำนายว่าจะไปตายกลางทางเจอโรคระบาด เรื่องชั่วร้าย พวกเอ็งน่ะให้ไปด้วยกันถึงสามแยก จากนั้นให้แยกกันไปคนละทางเลยนะ แล้วทุกคนจะรุ่งเรืองเฟื่องฟุ้งจักนั้นค่อยไปนัดเจอกันที่อัคาคารา จะกี่เดือนปีก็ว่าไป

เสร็จแล้วไอ้สามหนุ่มก็ไปตัดน้ำเต้า เอาไว้ใส่น้ำกินตอนเดินทาง แล้วก็ เอ่อ เดินเท้ากันไปข้ามประเทศ พอมาเจอฝั่งทะเลก็เล่นกันสนุกสนานแล้วก็เจอสามแยก เอ้าแยกกันไป

ไอ้หนุ่มสำรวย โบกรถมั่งเดินมั่งจนมาถึงอัคคาราก็ไปทำงานโรงไม้ เนื่องจากพออ่านออกนับเลขได้เลยได้เป็นหัวหน้าคนงานคอยนับผลผลิต แหม ทีนี้ก็กร่างสบายไปเลย
เจ้าคนเลี้ยงวัว ไปทำงานนู่นนี่หาเงินมาซื้อเสื้อใหม่ ๆได้ไปถึงขนากือบจะเป็นคนงานเหมือง สุดท้ายก็มาชวยเพื่อนขายของส่วนหนุ่มชาวประมงกำยำล่ำสันไปทำงานจับกังท่าเรือ งานหนักเงินน้อยเสียจนน่าใจหาย พอครบปีทั้งสามมาเจอกัน แล้วก็เดินทางกลับบ้าน เอาเงินที่หาได้ไปซื้อของฝากคนที่บ้านรอรับฝนแรกจะได้ทำนากันต่อไป

เป็นไปได้อย่างไรที่เราจะเอาสายตาของเจ้าอาณานิคมที่มองเห็นดินแดนแอฟริกาในฐานะแดนเถื่อนแสนแปลกหูแปลกตา สุดจะexotic มาสวมลงในสายตาของสามหนุ่มบ้านนอกเข้ากรุง และวางทาบอย่างแนบเนียน ความน่าสนใจประการหนึ่งอาจจะบอกได้ว่าเมื่อมนุษย์เปลี่ยนตัวเองเป็นนักเดินทาง สายตาที่เขาจ้องมองสรรพสิ่งจะดีดตัวออกจากความเป็นคนพื้นที่ การท่องไปในฐานะนักเดินทางมอบสายตาคล้ายคลึงกับการเดินทางของเจข้าอาณานิคมไปยังดินแดนexotic แต่ในหนังเรื่องนี้สายตานี้ถูกก่อกวนอย่างยิ่งด้วยการก้าวเข้ามาของเสียงซึ่จะได้กล่าวต่อไป

หนังกระโดดไปมาระหว่างการเป้นหนังสารคดีชีิวตชาวแอฟริกันสุดแสนโรแมนติกกับการเป็นหนังเล่าเรื่องชีวิตรันทดและการเดินทางของสามพระหน่อตลอดฤดูร้อนในฐานะแรงงานพลัดถิ่น เราอาจจะแยกให้สนุกมากขึ้นด้วยการบอกคร่าวๆว่าสายตาของภาพนั้นคือภาพบันทึกแบบสารคดีexotic แน่แท้ กล้องซุกซนจับภาพชีวิตคนบนถนนรนแคม ภาพสิ่งแปลกถิ่นหูตา อย่างๆรก็ตามสิ่งที่ตามมารบกวน เบี่ยงเบนความหมายทำร้ายความหมายที่ถ้าปิดหูจะไปอีกทางหนึ่งคือเสียง

เสียงเล่าในเรื่องไม่ใช่เสียงจากโลกในหนัง แต่เป็นเสียงเล่าแบบcommentary! อันหมายความราวกับว่าทั้งสามหนุ่มมานั่งดูฟุตเตจชีิวิตพลัดถิ่นของพวกเขาแล้วก็สนทนากัน คอมเมนท์ไปเรื่อยเปือ่น บางทีก็ล้อกันเอง บางทีก็อธิบายภาพ บางทีก็เล่าเรื่องคนอื่นในภาพ หรือกระทั่งแสดงความเห็นขัดแย้ง หรือเล่าสิ่งที่อยู่นอกกรอบภาพออกมา

เสียงสนทนาของสามหนุ่มต่างหากที่สร้างเรื่องราวขึ้นมา ในทางนี้ สายตาของเจ้าอาณานิคม /คนขาว/คนนอก ถูกสวมแทนด้วยเรื่องเล่าของคนพื้นเมืองของจริง ไม่ว่าความประหลาดพิลึกใดๆที่เราได้เห็นในหนัง ตลาดริมน้ำ การเล่นไพ่ตลอดวัน พ่อมดหมอผีเต้นรำ ทุกอย่างที่ถูกภาพ exoticise ถูกทำลายลงโดยความเห็นของสามหนุ่มคึกคะนอง ไม่มีวามทุกขือะไร พวกเขาเล่าเรื่องในฐานะของสิ่งที่เกิดขึ้นและจบไปแล้ว ในฐานะความทรงจำคูลคูลส่วนบุคคล

พอพูดในทาางนี้เท่ากับว่าหนังถูกถอดสายตาจำพวก เจ้าอาณานิคมเห็นความแปลกประหลาดไม่ศิวิไลซ์ของเมือเถื่อน ในขณะเดียวกันสายตาแบบคนถูกกดขี่ที่น่าสงสารประเภทหนังเรียกร้องสิทธิมนุษยชนก็ถูกถอดออกไปด้วย จะว่าไปแล้วกรทั่งความจริงจังแบบสารคดีก็ยังถูกท้าทายด้วยควาเมป็นเรื่องเล่าในตัวเหตุการณ์นั่นเอง ภาพที่เป็นภาพจริงมีความเป็นเรื่องเล่าในฐานะของสายตาคนนอก ในขณะที่เสียงเล่าเรื่องกลับเล่าเรื่องด้วยเสียงของคนจริงๆในเหตุการณ์ แถมยังเล่าด้วยภาษาฝรั่งเศสอีกต่างหาก !

JEAN ROUCH เป็นหนึ่งในบิดาแห่งethnographic film หนึ่งในบิดาของ Cinema Verite แต่การท้าทายของJean Rouch ไม่ได้แค่อยู่ในระดับหักล้างของเก่า แต่เขาท้าทายไปทุกขั้นตอนจนนน่าตดกใจที่เราจะพบว่าสารคดีในปี 2012อาจดูเชยล้าหลังทั้งทัศนคติและวิธีการมากกว่าหนังเรื่องนี้

หนังเรื่องนี้น่าจะเข้ากันดีกับหนังประเภท INTERNATIONAL FILMS ที่นิยามโดยNICOLE BRENEZ ด้วย อ่านเพิ่มเติมที่นี่

http://cinespect.com/?p=3090

WHORE’S GLORY (MICHAEL GLAWOGGER /2011/NETHERLANDS) 
A+++++++สารคดีกะหรี่สามชาติ นางงามตู้กระจกในกรุงเทพ ซ่องสล้มในบังคลาเทศ และโซนพิศวาสในเมกซิโก

สิ่งที่งดงามในหนังเรื่องนี้คือการที่มันก้าวข้ามแนวคิดทำนองชีวิตกะหรี่ช่างรันทดหดหู่ นี่ไม่ใช่หนังแบบชูสิทธิมนุษยชนกดขี่ด้วยการทำให้เห็นว่ากะหรี่ถูกทำร้ายอย่างไร ไม่มีอารมณ์ดราม่าฟูมฟาย (หรือมีก็แต่พองาม) ในขณะเดียวกันนี่ก็ไม่ใช่เรื่องจริงผ่านจอที่จะพาเราไปคลายปมธุรกิจค้ากามทั่วโลกที่ืบสาวโยงใย หนังเป็นแค่หนังในทำนอง ดูเอาเถิดว่ากะหรี่ทำอะไรในแต่ละวัน พวกนางคิดอย่างไร แล้วลูกค้าของพวกนางคิดอย่างไร

อย่างไรก็ดี สายตาของหนังก็ชวนให้สงสัยในฐานะสาคดีอยู่มิใช่น้อย โดยเฉพาะในส่วนของกรุงเทพ ที่ถ่ายทำออกมาได้หมดจดงดงามราวกับกล้องไม่มีอยู่ และได้กวาดเก็ยภาพชีวิตอย่างไม่เก้อเขิน ทั้งของบรรดาสาวๆและบรรดาลูกค้าของเธอ หนังอาจจะมีบทสัมภาษณ์อยู่ระปราย แต่หลายฉากเปิดใจเฉพาะกลุ่ม นั่นดูละเมียดละไมไม่เขินกล้องจนแอบคิดไม่ได้ว่านี่น่าจะเซตกันมา

อย่างไรก็ดีการเซตไม่ใช่ปัญหา (ในส่วนของบังคลาเทศมีทั้งฉากแม่เล้าแนะนำเด็กๆของเธอเรื่องวิธีรับแขก เลยพ้นรุนแรงถึงขนาดมีฉากการประกอบวิชาชีพให้เห็นจะๆระดับFull Frontal ) เพราะดูเหมือนเอาเข้าจริงโสเภณีในหนังเรื่องนี้้วนวางตัวเองในฐานะ ‘คนทำงาน’ ที่ไม่ได้ยี่หระอะไร บรรดาน้องๆในกรุงเทพผลัดเปลี่ยนกันเล่าเรื่องคู่รักของตัวเอง ที่เอาไม่รู้เวล่ำเวลา หรือนกเขาไม่ขัน ในขณะที่แม่เล้าก็เล่าเรื่องการที่สาวๆของเธอขายบริการไปซื้อบริการหนุ่มๆในอีกที่ ในบังคลาเทศ ตึกแถวแออัดที่หนาแน่นไปด้วยโสเภณี แม่เล้ากับสามีและลุกสาวเล็กๆจองเธอพูดหน้ากล้องอย่างไม่ยี่หระ ว่ายังไงซะก็ไม่มีใครแต่งงานกับลูกสาวแม่เล้าอดีตกะหรี่แน่ๆ และเมื่อโตขึ้นเธอก็จะต้องถูฏทำร้ายจากสังคมอยู่ดี ประสาอะไรในเมื่อโตในซ่อง โตขึ้นเธอก็จะเป็นโสเภณีโดยแน่นอน หรือเมื่อมีโสเภณีหน้าใหม่ เราก็ไม่ได้เห็นอาการฟูมฟายขายตัวอะไร พวกเธอมาทำงาน ขายของเก่าเป็นเวลาหนึ่งปี จากนั้น เธอจะได้เงินส่วนแบ่งของตัวเอง เช่นเดียวกันๆกับสาวๆในเดอะโซน เธอกำหนดชัดถึงขนาดว่า เพิ่มท่า เพิ่มห้าสิบเปโซ ถ้าบ๊วบคิดเพิ่มร้อยนึง ไม่ว่าเสร็จหรือไม่ ครบเวลาคุณต้องเดินแข็งปํ๋งออกจากห้องของพวกเธอ แม้พวกเธอจะแก้ผ้าเต้นกลางบาร์ได้ แต่เธอก็ไม่ได้เป็นทาสของใคร เธออาจพอใจจะหลับบ้านไปเลียจิ๋มให้เพื่อนสาวมากกว่า

ถึงที่สุด โโสเภณีในเรื่องจึงถูกจัดเป็น คนทำงาน ประกอบอาชีพค้ากามของจริงไม่เพียเท่านั้น ลุกค้าของพวกเธอก็เป็นพวกคนที่มาซื้อบริการจริงๆ บางคนอาจจะอยากเอาตูด บางคนอาจอยากให้บ๊วบนอกถุง พวกเขายินดีจ่าย บางคนก็เพื่อสนทนา บางคนก็เพื่อมานั่งมองสาวๆเฉยๆ เมียไม่รัก อยากเปลี่ยนบรรยากาศ สารพันปัญหา

เราไม่ได้เห็นแมงดาค้ากามตบตีโสเภณี แต่เห็นชุมชนกะหรี่ถอ้ยทีถ้อยอาศัย(แต่พร้อมจะตบกันแหลก)ในบังคลาเทศ หรือกะหรี่ชนชั้นกลางในกรุงเทพนี่มีสามีเป็นเสี่ย ได้เห็นคนเชียร์แขกที่ทำหน้าที่ของตนอย่างสะบัดช่อ หรือเห็นสาวๆในเดอะโซนเล่าว่าวันนี้จะเลิกเป็นกะหรี่แล้วค่ะ หนังวางตำแหน่งพวกเธอในฐานะ sex worker และพวกเธอถึงไม่ภาคภูมิใจ แต่ก็ไม่ได้เกลียดตัวเอง ฉันเงี่ยน ฉันอยากเอา ฉันอยากเสร็จ ฉันได้ตังค์ด้วย มันก็เข้าท่าดี กะหรี่เมกซิโกที่เดินสายขายตัวทั่วประเทศพูดหน้ากล้อง

และหากจะมีขั้วตรงข้ามที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ล่ะก็มันคือ ศาสนาต่างหาก หนัเปิดฉากแรกด้วยกะหรี่สามประเทศ ประกอบพิธีกรรมศาสนา สาวๆไฮคลาสไหว้ศาลพระภูมิก่อนตอกบัตรไปทำงาน โสเภณีบังคลาเทศ ปฏิเสธการบ๊วบ เพราะ ‘ปากของฉันเก็บไว้ท่องคัมภีร์’ ในขระที่สาวๆเมกซิโกนับถือ เทพีแห่งความตาย พวกเธอทุกคนมีรูปเคารพในห้อง เป็นรูปโครงกระดูกสตรีถือเคียวยาว บูชาเจ้าแม่แล้วคุณจะตายดี เชื่อดิฉันเถอะ ตั้งแต่ไหว้เจ้าแม่ ฉันไม่เคยโดนกระทืบอีกเลย หากการปรากฏของศาสนาในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องของการกดขี่ทำลาย แต่กลับแนบสนิทกับชีวิตติดจิ๋มของพวกเธออย่างยิ่ง

กล่าวโดยสรุปแม้หนังจะติดลูก ‘คนค้นคน’ไปบ้าง แถมมีเพลงประกอบอินดี้เอามากๆ จนนึกว่าเป็นหนัง Wes Anderson แต่นี่ก็คือหนังสารคดีกะหรี่ที่งดงามมากเรื่องหนึ่ง

LE NOM DES GENS (MICHEL LECREC/2010/FR)
A+++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++สุดขีดที่สุดในสามโลก เพศ ศาสนา การเมือง จะไปไหนก็ไปได้สุดในลุคคูลๆเก๋ๆ!

ซีนที่สุดขีดที่สุดในเรื่องคือฉากกินข้าวร่วมโต๊ะ ที่คูรแม่ฮิปปี้ ต้องปะทะกับคุณพ่อทหาร ที่ฮษคือฝ่ายที่เป็น คนชายขอบนั้นไม่พุด ไม่ได้พูด ไม่มีเสียง พูดไม่ได้ เป็นส่วนที่ถูกนับไม่ให้เป็นส่วนไปตอลดเรื่อง ฉากบนโต๊ะอาหารจึงโดดเด้งมากว่าคนที่พุดคือคนฝรั่งเศสที่พูดแทนคนอื่นไม่ว่าจะซ้ายหรือขวา คนฝรั่งเศสที่ได้พูด แม่ชาวยิวของพระเอกตายไปโดยไม่ได้พูด และการพูดของพ่ออาหรับของนางเอกผ่านภาพเขียนก้ไม่เคยถูกแสดง แต่คนฝรั่งเศสซ้ายและขวาได้พูด

ผลห็คือmixbloodเท่านั้ที่ได้พูดแต่ไม่ได้พูด หรือพูดแต่พูดไม่ได้ ความสัมพันธ์ของลูกmix blood ในเรื่องจึงท้าทายทั้งซ้ายขวา กะหรี่การเมืองหรือนักสัตววิทยา ต่างสัยสนในอัตลักษณ์และการพูโของตน

การพึดสำคัญมากในหนัง ฉากทีี่ดีสุดๆอีกฉากคือฉากที่นางเอกจะบอกความลับแล้วไม่ได้บอก เหมือนฉากที่นางเอกปลอบแม่พระเอกแล้วเะอไม่พูด การพูดของเราไม่ได้มีความหมายอย่างที่มันเป็น ไม่รู้ว่าเราจะไปทำร้ายคนอื่นตอนไหน การยกเปียโนของพระเอกกลายเป็นการทำร้ายเพราะเขาไม่ได้ฟังปค่ปรารถนาดี เหมือนการกอดของนางเอกที่ทำร้าย การห้ามพูด และการพูดไม่ได้มีอะไรดีแย่ไปกว่ากันถึงที่สุดการห้ามพูดเป็นการพูดชนิดหนึ่งอยุ่ดี

ฉากที่โหดมากอีกฉากคือห้องรมแกสไก่ อาชีพของพระเอกต่างอะไรกับนาซีในแง่ที่ว่าพวกเขาเห็นสัตว์และไวรัสในสัตว์เป็นศัตรูที่ถ้าเจอก็ต้อวงรมแกสเพื่อความอยุ่รอดปลอดภัยของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในขณะที่นางเอกก็เป็นมุสลิมกะหรีี่การเมือง เปลี่ยนพวกขวาด้วยการนอนกัยพวกเขา make love not war ค่ะคุณ

ทั้งสนุก ทั้งตลก ทั้งคูล ทั้งฉลาดแล้วก็ร้ายกาจมากๆเลยจริงๆ

รักเอาอยู่ (ทิวา เมยไธสง, ธรรมนูญ สกุลบุญถนอม และ ธนดล นวลสุทธิ์ /2012/ไทย)
A-มาร์คเอาไว้ในฐานะ perception ของชนชั้นกลางไทยที่มีต่อสภาวะน้ำท่วมปี 54

น้ำท่วมบ้านแล้วทำอะไรดี ไปทำงานปกติ ไปเป็นจิตอาสา ไปจีบสาว ไปหาโลเคชั่นสวยๆสำหรับถ่ายำทโฆษณาประโลมใจ น้ำท่วมทำให้เราพบรัก หรือทำให้คนไทยที่แตกแยกกลับมารักกัน

แน่ละเราไม่ได้เห็น น้ำท่วมโรงงาน คนหมดเนื้อหมดตัวจากน้ำท่วม ความแอดอัดในศูนย์พักพิง แรงงานพลัดถิ่นตกงาน ไม่ได้เห็นคนสิ้นเนื้อประดาตัว

ฉากที่สำคัญอย่างเช่นการไม่ออกจากบ้านเพราะกลัวโจรขโมยของของนางเอก เป็นเพียงทางผ่านของการให้หนุ่มสาวอยู่ด้วยกัน การโดนปล่้นโดนแทง เป็นเพียงการเปิดโอกาสให้พลอตรักสามเส้า

มันเป็นหนังรัก และความรักกันและกันดูจะเป็นสิ่งเดียวที่ปวงชนชาวไทยหมกมุ่นอย่างไร้ทางออก

จริงๆหนังดูเพลินๆดีนะ น่าเบื่อนิดหน่อย แล้วก็รำคาญความหยาบคายแบบจงใจของฟิลืมอยู่มาก นางเอกก็กำลังดี อีกนิดจะ retard แล้ว

URBAN EXPLORER (ANDY FETSCHER/2011/US+GERMANY)A+พวกวัยรุ่นชอบตะลุยท่อเก่าโรงงานร้างห้องใต้ดิน ไปตะลุยเบอร์ลินเป็นไงล่ะมึง เจอนาซีนักเชือดให้ทอ่ใต้ดินเข้าไป

หนังมีโมเมนท์ดีๆและโมเมนต์โง่ๆเต็มไปหมด วินทีหนึงสนุกประหลาด อีกวอนาทีนึงมึงจะเป็นHOSTEL ทำไม

เนื่องจากบางช่วงของหนังเข้าท่ามาก โดยเฉพาะเหยื่อรายท้ายๆ ก็เอาไปหักลบกลบหนี้กับควาฒโง่ของบางตัวละครรวมถึงการที่หนังตื่นเต้นใช้ได้ เลยถือว่าผ่าน สนุกระทึก
อ้อ ให้สมเป็นโลกใหม่ตัวละครมีทั้งยุโรป ลาติน อเมริกา และเอเซีย ตายห่าอย่างเท่าเทียมกันทั้งโลก สาระแนดีนัก

THIS MUST BE A PLACE (PAOLO SORRENTINO/2011/ITL+FR/IRELAND)
A+++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++หนังอาจจะมีพลอตแบบPARIS TEXAS กลับหัว (จากพ่อเดินทางไปกับลูกเป็นลูกเดินทางหลังพ่อตาย) แต่ตัวหนังออกมาหวานหยดเยี่ยงBagdad Cafe (นั่นก็เยอรมันในอเมริกา)

อย่างไรก็ตามช่วยไม่ได้เลยที่เราจะหลงรักหนังเรื่องนี้เพราะกูต้องินกับผู้ชายป่วยๆเดินทางไปเรื่อยๆรอบอเมริกาอยุ่แล้ว (อย่าลืมว่าWim Wenders เป็นหนึ่งในพ่อของข้าพเจ้า)

หนังพูดประเด็นการปรองดองกับอดีต เมื่อร๊อคสตาร์ที่ดีเพรสสเพราะคนฟังตาย ต้องมาทำหน้าที่แทนพ่อที่เขาเกลียดในการตามล่านาซีที่เคยคุมพ่อในเอาทซ์วิทช์ การสลับตำแหน่งจากฆาตกรมาเป็นเหยือทำฝห้เขากลับไปรีิววความสัมพันธ์ตัวเองกับคนรอบข้างรวมถึงไถ่บาปกับพ่ออะไรแบบนั้น

ที่ขำคือsean penn เล่นเป็น rock star ที่passive แบบสุดๆ ในขณะที่คนรอบข้าง(โดยเฉพาะนางเมีย ฟราเซส แมคดอร์มานน์ ในบทนักดับเพลิงที่เล่นtai chiที่บ้านด้วย) กลับดูร๊อคแอนด์โรลแบบสุดๆไปเลย ผลก็คือ sean penn เป็นไอ้หน่มเนิร์ดเก็บกดที่จ๋องกรอดเสียยิ่งกว่า ไอ้หนุ่มฟังมารายห์ แครี่ที่มาจีบเด็พังค์ซะอีก เนิร์ดจนเมคอัพำแบบthe Cure ไม่ได้ทำให้Penn เป็นRocker แต่เป็นเอดเวริ์ดมือกรรไกร

ไอ้อาการ passive นี้เองมันเลยสร้างความลักลั่นย้อนแย้งในตัวละครได้น่าสนใจมากๆ เหมือนกับว่ากูไม่รู้จะไปทางไหนดี กูแต่งตัวเป็นร๊อคเกอร์ แต่กูไม่โกรธแล้ว กูหดหู่ แต่เไม่รู้ทำไม sean penn ต้องเล่นแบบjohnny deppด้วยเลยทำให้มันดูผิวเปลือกไปยกเว้นฉากที่มันเถียงกับเดวิด เบริ์นส์ (ชิมิ)

มีฉากเล็กๆโมเมนต์ดีๆเยอะไปหมดเลย ฉากเถียงกับเดวิด เบิร์นส์ ฉากเล่นกีตาร์กับไอ้เด็กอ้วนเหลนนาซี หรือฉากที่ถ่ายผู้คนนู่นนั่นนี่แบบthe heart of america

แต่ฉากเล็กๆที่เราชอบที่สุดในหนังคือฉากที่ไร้ความสำคัญ มากๆนั่นคือฉากที่หญิงพังค์ อ้วน วิ่งตามรถ sean penn ในลานจอดรถเพื่อมาถามว่าเขาคือไชแอนน์หรือเปล่าแล้วเพนน์ปฏิเสธ รุ้สึกว่าฉากนี้มันเจ็บปวดมากๆ ทั้งตัวหญิงพังคือ้วนและตัวเพนน์ เรานั่งดูก็รู้สึกว่าเจ็บไปด้วยว่าร๊อคเกอร์ที่สิ้นหวังกับเด็กสาวที่ดูเหมือนจะเห็นเขาเป็นความหวังอะไรแบบนั้น สัด ฉากนี้มันกูมากๆ

ฉากการผเชิญหน้ากับนาซีก็ดีมากๆ ฉากนี้จริงๆมันเกือบจะไปได้ไกลถึงการเป็นฉากในEnemies of the People เลยทีเดียว แต่มันก็ไม่ได้ทรงพลังขนาดนั้น ยกเว้นในฉากสุดท้ายที่ต้องทำการทวงแค้น รู้สึกว่าในระดับหนึ่งมันสาสมดี แม้เราจะพบว่าในที่สุดคนที่เราอาจจะตามแค้นก็ได้ชำระบาปอย่างทรมานไปแล้วในใจ แต่ความปรองดองคือมันต้องจ่ายราคาค่าความอยุติธรรมด้วยน่ะ ชอบฉากนี้เลยทีเีดียว

เสียดายที่หนังมันประนีประนอมหวานเยิ้มย้อยไปนิด ยังไงก็ตามชอบฉากของHarry Dean Stantonมากๆ ชุดมันนี่ยังเหมืนอยุ่ในParis , texas เลย

8.8.88 (วิชาติ สมแก้ว /2012/ไทย)
A+++++++++++++++++++++++++++++ +++++++++++++++++++++++++++++งดงามมากๆ ฉากเล่นไฟที่ริมหาดกลายเป็นฉากที่งดงามที่สุดฉากหนึ่งที่ได้ดูในช่วงนี้

สลากย้อม (พิสุทธิ์ ศรีหมอก/2012/ไทย)
A++++++++++++++++++++++++++++

ครึ่งแรกอาจจะเป็นสารคดีเล่าเรื่องธรรมดา แต่เมื่อเลิกเล่าเรื่องในครึ่งหลังทุกอย่างก็ดำเนินไปอย่างตะลึงพรึงเพริด

Black Umbrella (Indonesia, Chairun Nissa/2011/ INDONESIA) A+/A
NGOไปหน่อย แต่ช่วงสปีชนี่ดีมาก น้ำตาซึม

407 เที่ยวบินผี (อิสรา นาดี /2012/ไทย)
A++++++++++++++++++++++++++++++my most favorite thai ACCIDENTALLY cult films next to ผู้หญิงห้าบาป

ไม่ว่าอะไรจะชิบหายขนาดไหน กาที่หนังบอกว่าการหลับตาไม่สวามารถทำให้่เราลืมว่าผียังตามล่าเราอยุ่ได้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ

WORD IS OUT(MARIPOSA FILM GROUP /1977/US)
A++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++BEAUTIFUL
The Cheer Ambassadors (Luke Cassidy-Dorion/2011/THAI) A+
สนุกมากๆ
A Repatriation (KIM Dong-won/ 2003/ST KR)
A++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++

ประชาธิป’ไทย (เป็นเอก รัตนเรือง +ภาสกร ประมูลวงศ์/2013/ไทย)

$
0
0

70511
สรุปความเห็นตัวเองที่มีต่อ ประชาธิปไทย (ยังไม่ได้อ่านของคนอื่นเลย ไม่ดีเฟนด์หนังให้ใครทั้งนั้น 55)

1.โดยส่วนตัวเราไม่ได้คาดหวังกับหนังในฐานะหนังจะก้าวหน้า ราดิกาล หรือเป็นหนังที่พูดถึงปชต.แบบถึงราก โดยส่วนตัว คาดเดาแล้วว่าจะได้รู้อะไรแล้วก็ได้รู้อะไรตามนั้น

2.จริงเราไม่ต้องทำหนังราดิกลได้หรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะทำหนังเพื่อแสดงความเข้าใจของเราเองเท่านั้น ไม่ว่าความเข้าใจเราจะกะพร่องกระแพร่งไม่ได้เรื่อง ไม่ถูกต้อง เราไม่จำเป็นต้องpoltically correct (ซึ่งยังต้องถามว่า political correct ในความหมายของใคร) มองจากแง่นี้ เราคิดว่าหนังของเป็นเอกมีความจริงใจต่อความไม่รู้ของตัวมันเองค่อนข้างมาก อาจจะเกือบจะ naive เลยก็ว่าได้ และนั่นเป้นข้อดีัของมันในแง่ของการเป็นหมุดหมายความรู้ความเข้าใจแบบหนึ่ง พูโให้ง่ายคือเป็นปากเป็นเสียงของคนส่วนหนึ่งที่รู้มาเช่นนี้ ปรารถนาจะรู้มากกว่านี้แต่รู้เท่านี้ หรืออาจจะไม่อยากรู้มากกว่านี้แล้วก้เป็นได้

3.ในทางนี้เราจึงคิดถึงมัน และชอบมันในฐานะหนังแสดงอาการเห่อหมอยของคนที่เพิ่งรู้ว่าอ้อมีประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกชุดหนึ่งที่ต่างไปจากที่ได้ยินมา อย่างไรก็ดีมันก็มีเพดานของการรับรู้ของมันอยู่ นี่คือหนังที่บันทึกอาการเห่อหมอดังกล่าวได้อย่างน่ารักน่าใครน่าสนใจ

4.มองในแง่นี้เราจึงคิดว่าหนังมันก็น่าสนใจมากๆเพียงแต่หนังอาจจะไม่ได้ทำมาให้เราดู (แน่นอนว่าเราต้องมาคิดว่าแล้วใครวะที่เป้นผู้ชมของหนังเรื่องนี้ แล้วผู้ชมของหนังเรื่องนี้จะสามารถเข้าใจปวศ. ปชต.ในประเทศนี้ได้หรือไม่ถ้าไม่มีภูมิความรู้จริงๆ(ซึ่งจริงๆเราก็ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาเพราะถึงที่สุดไอ้เรื่องพวกนี้ต่อให้รู้หมดถ้าคนมันเลือกไม่เชื่อก็ไม่มีความหมายอะไรเลย) ที่น่าสนใจคือมันเป็นหนังeducate คนได้แค่ไหน การฟังนักวิชาการพูดสลับไปมา ได้ให้ความรู้ใหม่กับใครหรือเปล่า หรือเอาเข้าจริงๆมีใครเกทอะไรไหม ไม่ว่าจะเป็นการพูดเรื่องความยอกย้อนในการเมืองของอ.ธงชัย หรือ ตัวอย่าเงินสิบบาทของ อ.ปริญญา ถึงที่สุดผู้ชมเลือกเก็บความโดยมีความเชื่อมูลฐานของตัวเองเป็นเครื่องมือในระดับหนึ่งทั้งสิ้น

5.เอาเข้าจริงตัวหนังมันเป็นสารคดีแบบที่เหมาจะเอาไปฉายใน TPBS ในแง่ที่มันไม่ได้ราดิกาลอะไรมาก เป็นการเน้นการสนทนาเพื่อที่จะโน้มนำไปสู่ความคิดวที่ว่าการเมืองคือการช่วงชิงอำนาจ ตามแบบโปรแกรมเงินสิบบาท มากกว่าจะลงลึกไปสู่แกนกลางของปัญหา โดยส่วนตัวคาดอยู่แล้วว่ามันจะเป็นแบบนั้น ตรงนี้เลยไม่ได้ผิดหวังอะไร เพราะเมื่อคุณแตะเรื่องที่1 ไม่ได้คุณก็จะแตะเรื่องที่เหลือไม่ได้เลย

6.เราจึงสนุกมากที่ได้ดูความยอกย้อนของตัวหนังเอง ทั้งที่จงใจ ไม่จงใจ ความยอกย้อนที่หนังสร้างขึ้นเอง และหนังไม่ได้สร้างขึ้น สร้างขึ้นไม่ได้ อะไรแบบนั้น เช่น

6.1คำเตือนเรีื่องวิจารณญาณส่วนตัวของคนทำที่ย้อนมากำกับผู้ชมให้ต้องสงสัยว่า ในเมื่อตัวสารคดีเป็นวิจารณญาณของคนทำ (หมายถึงเป็นการเลือกเรื่องตัดจัดวางที่นำเสนอความเห็นส่วนตัวของคนทำอยุ่แล้ว) การกำกับซ่้้ำด้วยความคิดแบบนี้เป็๋นการตอกย้ำความไม่เสรีของตัวเรื่องเอง เป็นการยอกย้อนต่อการบอกว่าคนทุกคนสามารถเลือกเชื่อเองได้โดยแสดงให้เห็นว่าฉันกลัวเหลือเกินกับการเลือกเชื่อเช่นนี้ ยิ่งคำเตือนตอกย้ำทั้งเปิดทั้งปิดยิ่งทำให้หนังถูกขัดถูให้เห็นว่ามันเป็นความเชื่อที่ถูกกำกับด้วยความกล้าๆกลัวๆที่จะเชื่อ โดยมีข้อเท็จจริงเป็นเกราะกำบัง

6.2หนังเล่าเรื่องปวศ.การเมืองไทย (แน่นอนเราไม่เห็นว่านี่เป็นหนังเล่าเรื่องปชต. เพราะหนังบอกว่าเป็น ประชาธิปไทย จึงไม่จำเป็นที่หนังจะต้องมาเล่าความเป็นไปเป็นมาของปชต.ในไทย แต่เลือกเล่าภาพร่างของปวศ.การเมืองไทยแทน ) แต่หนังไม่สามารถเล่าปวศ.ได้ทั้งฉบับ แล้วเลือกเล่าโดยตัดส่วนที่สำคัญที่สุดออกนั่นคือส่วนของสฤษดิ์และเปรม การขาดหายไปของหัวงเวลาเอบยี่สิบปีนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากว่าคนทำ ไร้เดียงสาจนไม่เห็นว่ามันสำคัญ หรือที่จริงเห็นว่ามันสำคัญแต่เล่าไม่ได้ หรือไม่อยากเล่า การขาดหายของสองช่วงนี้เลยทำให้มันปรากฏขึ้นมาชัดเจนราวกับช่องว่างในกระดาษที่ลดำจนมืดทึบ แน่นอนว่า เราอาจจะโดนถามว่า แต่คนไม่รู้เรื่องเลยก็อาจจะคิดว่ามันไม่สำคัญการเล่าเรื่องแหว่งวิ่นนี่ทำลาย ตอน ทำให้เรื่องทั้งหมดไร้ความหมายซึ่งจะมองเช่นนั้น็ไม่ผิดเลย แต่เราก็ชอบที่การไม่ปรากฏของมัน ทำให้ตัวมันปรากฏออกมาชัดข้น มองในแง่นี้เราก็กลายเป็นผู้ชมของหนังทันทีด้วยความรู้สึกว่าหนังยักคิ้วหลิ่วตาให้กับเรา

6.3 จริงๆการหายไปของสองยุคนี้ยังทำให้เรารู้สึกแบบเดียวกับการลักลั่นย้อนแย้งของการเซนเซอร์คาดแถบดำในหนัง ในช่วงสวรรคต ร 8 ตรงนี้น่าสนใจมากว่าหนังไม่ได้ตัดออกแต่จงใจทำให้เห็นว่าถูกห้ามไม่ให้พูด ซึ่งส่วนนี้ไปกระตุ้นความดำรงคงอยู่ของสิ่งที่อยากให้ลบออก นั่นคือกรณีสวรรคต ซึ่งเราคิดว่ามันreflect กลับไปหาการไม่มีอยู่ของสองช่วงนั้นได้ประหลาดี

6.4 การคาดแถบดำของกรณีสวรรคต ยังเป็นการเริ่มต้นของการหายไปของสถาบันกษัตริย์ ในหนทางปชต. หลังจากที่หนังให้ ร.7เป็นตัวละครหลักในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจปชต. สถาบันก็ถูกฆ่าออกเหมือนแถบดำในหนังแน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่พูดไม่ได้ ไม่ให้พูด เป็นเรื่องห้ามพูด และแน่นอนเมื่อเอาสถาบันออกไปจากการเป็นตัวแปรหนังก็เป็นแค่หนังนักการเมืองเลว แย่งอำนาจ และขจัดความข้องเกี่ยวของสถาบันออกไป เมื่อ1 ไปก็ไปทั้งหมด ช่วงสฤษดิ์ กับเปรมก็ต้องถูกยกออกไปด้วย อย่างที่บอกว่าความย้อนแย้งของมันทำให้สิ่งที่ไม่ปรากฏไปปรากฏอยู่ข้างนอกจอ แต่ไม่ว่าจะปรากฏกับผู้ชมทุกคนหรือไม่ ผู้ชมก็มองเห็นช่องว่างแน่ๆ

6.5 paradox ขั้นสุดคือ ช่วง14 กับ6 ตุลา หนังพูดถึง14 ตุลาแบบ เรื่องจริงผ่านจอ วิเคราะห์เห๖ุเช้าวันนั้นเป้นฉากๆ แต่พูดถึงหกตุลาแบบคร่าวๆสรุปเหตุการณ์บทเรียน เป็นวงเวียนชีวิตที่พูดถึงความสูญเสีย ไอ้ความรู้สึกึกเหิมและหดหู่ของหนังเป็นสิ่งที่ผิวเปลือกฉาบฉวยที่น่าสนใจมากๆมันเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามจะลืม หกตุลาและขัดถูสิบสี่ตุลา แต่การที่ให้คนยุคสิบสี่มาพูดถึงหก และคนยุคหกที่อยู่ในหนังไม่ได้พูดเรื่องหกก็เป็นการปรากฏของสิ่งที่ไม่ปรากฏด้วยเหมือนกัน การพูดของจิระนันท์เรืองหกเป็นการพูดแบบคนนอกมากๆ และการที่หนังพอใจกับบทเรียนเรื่องหกตุลา แบบสรุปแล้วค่อยลงภาพความเหี้ยมโหดนั้น่าสนใจมากๆ ไม่นับว่าคนที่พูดเรื่องนี้ได้รุนแรงที่สุดคือ ปริญญา ซึ่งแม่หลายคนจะมองว่านี่คือการลดรูปความขัดแย้ง โดยเอาสถาบันออกแต่โดยส่วนตัวเราพอใจที่ได้ยินว่าสิ่งสำคัญคือสื่อมวลชนยุให้คนด้วยกันออกมาฆ่ากัน ปริญญาเป็นคนเดียวที่ได้พุดถึงviolence ในเช้าวันนั้น โดยส่วนตัวเราชอบจุดนี้มากๆ

6.6 การโควตย่อหน้าสุดท้ายเรื่อสละราชย์ ร.7 ในหนังเรื่องนี้ออกจะ irony ,ากกว่าจะเชิดชูนะครับ พิจารณาประกอบกับสิ่งที่อ.สุลักษณ์ หรืออ.ธงชัยพูด คือผมมองว่ามันirony เพราะมันเริ่มจากโควตย่อหน้าแรกของคณะราษฎร ในฉากแรกที่มันเป็นการดาเจ้าทั้งย่อหน้า พิจารณาทั้งช่วงรวมๆ เราไม่คิดว่ามันเชิดช^ ร 7 เท่าไรนัก เลยมาถึงช่วงการแย่งอำนาจของ จอมพลป.กับปรีดี ซึ่งเรามองว่าหนังไม่ได้มองปรีดเป็นฮีโร่นัก และัไม่ได้มองจอมพล.ป เป็นผู้ร้ายเสียทีเดียว
ปล. ส่วนที๋ฮาที่สุดคือ อ.ปริญญาในทุกช่วง

อนึ่ง เราก็ไม่ได้คิดว่าการดิสเครดิตคณะราษฎรจะเป็นเรื่องชั่วร้ายอะไรนะ จำได้ว่า อ.ธงชัยก็พูดไว้ในหนัง เราคิดว่าส่วนนี้ค่อนข้างดีนะ คนทีพยายามจะเชิดคณะราษฎรล้นเกินก็ควรได้รับการ criticised ในส่วนหนึ่ง

7.ความย้อนแย้งของหนังสนุกมากขึ้นไปอีกเมือ่จริงๆหนังสร้า่งขึ้นหลังจากยุคเหลืองแดง และตั้งใจจะแสดงให้เหลืองแดงเห็นว่าจริงๆเป็นอย่างไรแต่เหลืองแดงก็เป็นสิ่งที่หายไปจากหนังด้วย หนังจบลงที่ทักกี้ แต่จบก่อนที่จะเกิดรปห.ปี 49 กล่าวอย่างง่ายนี่คือหนังที่พูโอย่างหนึ่งแต่จะพูโอีกอย่างหนึ่งผู้ชมต้องใส่แว่นอันหนึ่งที่หนังยักคิ้วหลิ่วตาให้ มองหนังเรื่องนี้ในฐานะสาส์นถึงเหลืองแดง แต่ไม่มีเหลืองแดงอยู่คนในสังคมเข้าไปดุด้วยสายตาแบบเหลืองแดง นำมาซึ่งการถกเถียงรุนแรงที่ว่าหนังแดง (จากเหลือง) หรือสลิ่ม(จากแดง)ตามที่เป็นเอกคาด หนังจึงไม่สามารถรับรู้จากมุมมองแบบปราศจากเหลืองแดงได้ การปรากฏอยู่ของเหลืองแดงจึงคือการไม่ปรากฏ ผ่านการตีความนั่นแหละ

8.มันจึงทั้งขบขันและขมขื่นที่ราสามารถตีความุขสิบบาทของอ.ปริญญาไปคนละทิศละทาง ระหว่างความอินโนเซนต์แบบสิ่มจากคนฝั่งหนึ่ง และการอธิบายความปชต.ที่แท้จากคนอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งมันน่าสนใจมากๆว่า อะไรทำให้เรารับรู้มันแตกต่างกัน เวลาคิดว่าปริญญาพูดถูกแล้ว เพราะการมองต่างคือปชต.โดยตัวของมัน แต่ปขต.ของไทยไม่เหมือนปชต.ที่แท้ (แหมสุดท้ายเราต้องมาบอกว่าไทยยูนีคไม่ว่าจะเป็นฝั่งไหน) และบนเหรียญทุกเหรียญของปริญญาถูกกำกับด้วยสิ่งที่หนังไม่ได้พูด พูดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นเหรียญสองบาท หรือสิบบาท มองจากสิ่งที่อยู่บนเหรียญจริงๆ(ด้านหนึงคือราคา ด้านหนึ่งคึือรูป) มุขของปริญญาก็ถือว่าคมใช้ได้ !

9.กล่าโดยสรุปเราจึงค่อนข้างสนุกกับหนังพอสมควร แม้ว่าเราจะไม่ได้คิดว่ามันเป็นหนังที่แหลมคมนัก แต่การมีอยู่ของมัน การอิหลักอิเหลือของมันและการย้อนแย้งตัวเองของมันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ


LAST SUMMER ฤดูร้อนนั้น ฉันตาย (กิตติธัช ตั้งกิจศิริ + สิทธิศิริ มงคลศิริ + ษรัณยู จิราลักษม์ /2013 /ไทย )

$
0
0

644460_10151665126975833_1645351510_n
เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

เราเล่าเรื่องหนังแบบนี้ดีไหม
อีจอยกับอีมีน ไปเที่ยวทะเลกับผู้ชาย อันที่จริงไอ้สิงห์ก็กะพาอีจอยไปเคลมนั่นแหละ หลังจากสุดเหวี่ยงกันที่ชายทะเล กับบังกะโล อีจอยเมาปลิ้น แล้วไอ้สิงห์ก็พาอีจอยขึ้นข้างบน อีจอยดันช๊อคเพราะแพ้อะไรสักอย่าง แล้วดันตายไปจริงๆ ไอ้สิงห์และพรรคพวกที่เหลือไม่รู้จะทำยังไง ในช่วงชีวิตหัวเลี้ยหัวต่อ และยิ่งทำอะไรทุกอย่างก็ยิ่งพังลงมา เมื่อผีอีจอยออกอาละวาดล้างแค้น

เหมือนหน้าหนังจะเล่าให้เรารู้แค่นี้และลำพังแค่นี้จริงๆมันก็เอาไปทำหนังได้เรื่องหนึ่งโดยให้ส่วนที่สองและสามของหนังที่เหลือเป็นเหมือนกิมมิคซับพลอตที่ซ้อนไว้ในโครงเรื่องหลัก เป็นส่วนขยายตัวอีจอยกับอีมีน แต่การที่หนังเลือกวางเป็นการซูมแบบมาโครจากโครงเรื่องใหญ่(อีจอยตายกลายเป็นผี) ไปสู่ซับพลอตเรื่องอีจอยกับอีมีน แล้วลึกลงไปในตัวอีจอยเอง

สิ่งที่งดงามที่สุดในหนังคือการเลือกซอยหนังออกเป็นสามตอน ซึ่งมันไม่ได้แค่งดงามเพราะมันเป็นเป็นเทคนิคที่ฉีกความคาดหวังคนดูจากหน้าหนังเดิมๆ หรือเพราะว่ามันทำให้ง่ายต่อการให้ผู้กำกับสามคนทำหนังสั้นสามเรื่อง แต่มันงดงามเพราะมันพูดถึงปัญหาของวัยรุ่นชนชั้นกลางไทยแบบแยกส่วนได้อย่างน่าสนใจ โดยเริ่มจาก ผัว มาเพื่อน และมาถึงพี่น้อง (ครอบครัว) โดยสิ่งที่ร้อยรัดเรื่องทั้งหมดไว้ด้วยกันคือเรื่องของความเงี่ยน และความอิจฉาริษยา และความรักที่ล้นเกิน

ถ้าจะพูดให้ถูกหลังเรื่อมจากเรื่องไกลตัวที่สุดเข้ามาเรื่องใกล้ตัวที่สุด เริ่มจากเรื่องรักหนุ่มสาวที่มีความกำหนัดมาเกี่ยวข้องที่ความผิดไม่ได้นำมาซึ่งความสำนึกผิด แต่นำมาสู่การปกปิดความผิดกระสาวัยรุ่นชนชั้นกลางที่มีต้นทุนทางสังคม พวกเขายังอยากมีชีวิตที่ดีสืบต่อึงมองเห็นว่าการทำลายศพอีจอยเป็นเรื่องที่รับได้ เพื่อแลกกับอนาคต อันที่จริงทั้งสามตอนถูกำหนดด้วยอนาคตที่มองไม่เห็นนี่แหละ

ในตอนที่สองหนังขยายความไปหาเรื่องที่ใกล้ตัวเข้ามาอีกนั่นคือเรื่องของเพื่อนสนิท ความอิจฉาริษยาภายในของอีมีนและอีจอยอาจเป็นแกนเรื่องหลัก แต่สิ่งที่น่าสนใจในตอนนี้คือความกดดันของความเป็นคนดัง การอิจฉาริษยาในโรงเรียน ที่ทำให้เพื่อนสนิทสองคนต้องทำลายกันและกันโดยไม่ได้ตั้งใจ หนังให้ข้อกำหนดของการเป็นตัวแทนนักเรียนและทุนการศึกษา ใบผ่านทางไปสู่อนาคตที่สดใสเป็นเครื่องกำหนดเรื่อง

ในขณะที่ตอนสุดท้าย หนังลงลึกไปถึงการอิจฉาริษยาของสองพี่น้องในครอบครัวเดียวกันเองที่แม่สนใจพี่สาวมากกว่าน้องชาย ทั้งสามตอนการกลั่นแกล้งโดยบังเอิญ นำไปสู่เหตุการณ์บานปลายใหญ่โต เมื่อน้องชายเกือบทำลายอนาคตพี่สาวด้วยความหมั่นไ้ที่แม่รักพี่สาวมากกว่า แต่แกนของเรื่องก็ผูกพ่วงอยู่กับความรักของแม่ที่มาเป็นความเข้มงวดที่ล้นเกิน กดทับลงบนลูกทั้งสองคนที่ในที่สุดต้องแข่งขันกันเอง และทำลายกันในที่สุด

ทั้งหมดทั้งมวล ความกดดันในชีวิตวัยรุ่นที่รายรอบชีวิตของจอยจึงไม่ได้มีที่มาอะไรมากไปกว่าความคาดหวังถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงและมองไม่เห็น การซ่อนศพจอยของสิงห์ การไม่หยิบยาของมีน หรือการถ่ายคลิปของติ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นการกระทำชั่วแล่นเพื่อตอบโ้ต่อแรงกดทับของอนาคต ผีของจริงที่ตัวละครมองไม่เห็นและคอยหลกอหลอนตลอดเวลา ก่อนที่หนังจะทำลายอนาคตของตัวละครทีละตัว

ผีอีจอยจึงทำหน้าที่เป็นอนาคตที่สูญดับคอยหลอกหลอนอนาคตของตัวละครทุกตัว ที่ทมีส่วนในการดัยอนาคตของเธอ แลต่คนที่สำคัญที่สุดที่ทหนังเกือบจะไปถึงคือแม่ของเธอเอง

เป็นไปตามคาด หนังไทย (และอาจจะหมายรวมไปถึงหนังเอเซียแทบทั้งหมด) ไม่ลงโทษตัวละครผู้ปกครองโดยเฉพาะพ่อแม่ ดังนั้นจึงแม้เมื่อหนังไปถึงจุดที่สำคัญที่สุดตือแสดงให้เห็นว่าความกดดันในชีวิตของจอยมาจากแม่ของเธอเอง แต่หนังเลือกที่จะประนีประนอม หลังจากจอยฆ่าทุกคนมีแต่แม่กับน้องของเธอเท่านั้นที่เธอไม่ฆ่า ถึงที่สุดหนังได้ล้างคราบไคลของผีร้ายไปจากตัวของจอยโดยการทำให้เห็นว่าเธอรักแม่ของเธอ และอภัยให้น้องของเธอ ไม่ว่าความกดดันของแม่ที่เลือกรักลูกไม่เท่ากัน หรือความเข้มงวดที่แม่มีต่อเธอจะผลักให้เธอออกไปจากย้านไปเจอความตายถึงที่สุด เธอให้อภัยเพราะนั่นคือแม่ ซึ่งก็สอดรับกับวิธีคิดแบบไทยๆ แบบอาเซียนๆ ที่ให้ความสำคัญของครอบครัวเหนือสิ่งอื่นใด เป้นความรักที่ห้ามถาม ห้ามเถียงและถูกต้องสูงสุด

ตรงนี้เองทำให้หนังลดระดับจากการเป็นหนังที่พูดถึงความเกลียดแค้นชิงชังของกันและกันในมนุษย์ หนังมอบอิทธิฤทธิ์ให้ผีอีจอยเอาคืนกับทุกคนที่ทำลายเธอในรูปของการแก้แค้น ทำราวกับว่าทนี่คือเรื่องที่ขับเคลื่อนด้วยความเกลียด เกือบจะไต่ระดับไปสู่ การเป็นหนังอย่างconfessions ที่วิพากษ์ระบบสังคมที่กดดันวัยรุ่น แต่หนังก็เลือกประนีประนอมลดระดับด้วยการผลักให้จอยกลายเป็นเหยื่อที่น่าสงสาร และการให้อภัยขัดสีฉวีวรรณให้กับการกระทำทั้งหมดของเธอ



MARATHON DIARY PART 1

$
0
0

1001492_328603483936985_816659071_n

 

 

1 – 3 ปีแรก และ พัฒนาการของเด็กคนหนึ่ง (ชัชชัย ชาญธนวงศ์)

A +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

สารคดีว่าด้วยพัฒนาการเด็กที่งดงามเพราะเป็นโฮมวิีดีโอลูกคนทำจริงๆในช่วงเวลา 1-3 ปีจริง  แลอ่านบทบรรยายด้วยตัวเด็กในวีดีโอจริง แม้บทบรรยายจะเป็นงานวิชาการ แต่มันมีเซนส์ส่วนตัวสูงมากๆ

 

 

5 นาที (กิตติพัฒน์ กนกนาค และ จันทร์ทรา เอี่ยมวิสุทธิสาร )

http://youtu.be/8H0XQM20MOs

 

A+

หนังรักษ์โลกว่าด้วยการทำหนังรักษ์โลก

 

5012 A.D. (ศุภกิติ์ เสกสุวรรณ)

 

http://youtu.be/sYxYWEt0fG0

 

A ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชอบเซนส์ของหนังที่พยายามจะมโนให้ตอนนี้เป็นอนาคต  รู้สึกว่าจริงๆเราทำบ่อยๆ จริงๆคล้ายหนังบางเรื่องของ คลูเก้อ แต่ยังไม่จริงจังพอ

 

8 O’clock (วีรยุทธ กระจ่างศรี​)

http://youtu.be/4SPG33MUWms

 

A/A-

หนุ่มนักวิ่งมาดักรอสาวสิ่งผ่านตอนเคารพธงชาติ มโนตามประสาแต่ที่สงสัยคือตัวสาวแว่นนี่สองคนเล่นใช่ไหม

 

 

A Story of Gen Z ( ธนเสฏฐ์ ศิริวัฒนาดิเรก)

 

http://youtu.be/QD2hxBnT8Zk

 

A/A-

ไม่ทราบเดี๊ยนเข้าใจถูกไหมว่ามันเป็นหนังประชดการรถไฟ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ASIATIQUE dans mes souvenirs (ศุภกิติ์ เสกสุวรรณ)

A ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ชอยเซนส์ของมันมาก คือถ้าตัดtextขึ้นเรื่องมันจะเป็นหนังโฮโมอีโรติคสาวสองคนไปเอเซียทีค แต่หนังมันขึ้นtext ว่าจะพาสาวมาบอกรักแล้วเพื่อนสาวมาด้วย มันเลยกลายเป้นเซนส์ของการจ้องมองที่มีคนที่สามคือถคนถ่ายอยู่ในกล้องเต็มๆ มันเป็นหนังที่ีมีสายตาชัดเจน และเป็นบันทึกความทรงจำที่เต็มไปดวยความอึกอักกระอักกระอ่วนและอารมณ์ปรารถนาที่น่าสนใจ ไม่แน่ใจว่าจริงๆเป็นเซตหรือสด แต่ขอบสายตาของหนังมากๆ ชอบเวลาที่หนังจ้องมองหญิงสาวที่จะมาบอกรัก ทั้งมองนานแอบมอง มองสั้นมองไกล มองหมุน ชอบการถ่ายภาพผู้หญิงสองคนจับมือกันด้วยสายตาแบบอิจฉาลึกๆ หรือชอบการแพนไปยังหน้าอกของหญิงสาว ชอบการมองเพื่อนของหญิงสาวแบบไม่ตั้งใจ ชอบการที่หนังเสไปมองสิ่งอื่นๆคนอื่นๆ (อันนี้เป็นสายตาเฉพาะของศุภกิต์ ที่เห็นในหนังทุกเรื่องของเขา) มันดูเป็นบันทึกความทรงจำมากๆ ที่ดงงามแล้วก็เศร้า ชอบฉากจับมือสุดท้ายของหนังด้วย

 

เสียดายไม่ค่อยชอบเพลงเท่าไหร่ เหมือนพอมีเพลงมันเป็นกระบวนการทำลายความทรงจำยิ่งกว่าการตัดต่อ คือการทำให้ใหญ่ เป็นการเติม เหิมเห่อตัวความทรงจำเดิม(ภาพ) ให้กลายเป็นความโรแมนติค ในทางหนึ่งมันคือการรับรู้ความทรงจำที่ตัดต่อแล้ว คือทำให้เหตุการณ์กลายเป้นเรื่องโรแมนติคซึ่งนั่นแหละวิธีที่มนุษยืรับมือกับความทรงจำ แต่ในอีกทางหนึ่งมันก็ทอนความทรงจำให้ลดพลังลงเป็นเรื่องเล่าด้วย

 

 

 

 

} { ( กร กนกคีขรินทร์)

 

A +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อีกรหลอนโลก คือชื่อไทยสำหรับดิฉันสำหรับหนังเรื่องนี้ เวลากรทำหนังแบบเล่นeffect mirror อะไรแบบนี้เราจะรุ้สึกว่ามันน่ากลัวมาก มันweird มาก เพราะมันดูเหมือนเขาตั้งใจจะแสดงองคาพยพที่บิดเบี้ยวมากกว่าจะเล่นสนุก บางห้วงเวลาจะรู้สึกว่าเป็นหนังโครเนนเบิร์ก พวกตัวประหลาดอะไร

 

 

03/01/2013 & 24/05/2013 (กร กนกคีขรินทร์)

A ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ที่สุดของพลังแห่งความมืดดำ สะพรึงกลัว ชั่วช้า โสมมวิปริต และในขณะเดียวกันก็ทุกข์ระทมบ้าคลั่งและเจ็บปวดรวดร้าว

 

 

 

 

 

Awake (ปณัฐพงศ์ ภูวรัตน์ )

A-

 

ฝรั่งขี้นกครึ่งหลับครึ่งตื่นในภูเก็จ หนังก็ครึ่งหลับครึ่งตื่นไปทั้งเรื่อง

 

 

 

BE-WHERE (พรสิริ ทองใบศรี)

A+

 

อีกนิดเดียวจะดีมากๆ ช่วงจบของหนังดีมากๆ แต่ตลอดทั้งเรื่องหนังเลือกท่ายากในการเลือกไม่เล่าแต่ปล่อยให้เราจมอยู่กับความทุกข์ของตัวละคร ปัญหาของมัน คือมันไม่สามารถถ่ายทอดความทุกข์ของตัวละครออกมาได้ (ไม่ว่าจะเพราะการแสดงหรือการขาดฉากเล็กฉากน้อยที่ไม่สำคัญแต่ร้อยขึ้นมาเป็นเรื่องของตัวละคร) หนังให้ผู้ชมนั่งดูตัวละครเล่นแสร้งวา่าฉันมีความทุกข์ พอถึงจุดที่ต้องการความร้่าวรานจึงไม่ปรากฏนอกจากความรู้สึกว่าอ๋อตัวละครกำลังร้าวรานอยู่สินะ

 

จริงๆพลอตมันเอื้อให้ละเมียดละเอียดและงามได้มากกว่านี้มาก แต่หนังทำได้งามดีในฉากจบ จริงๆถ้าไม่แน่ใจว่าจะเล่นท่านี้ได้ อาจจะต้องเล่าเรื่องเป็นเหตุการณ์เลยจะดีกว่า

 

 

 

 

 

deleted ( นิทรรศ สินวัฒนกุล)

 

http://youtu.be/qabZituz6vo

 

A ++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

สาวผัวตายหลายปีผ่านกำลังจะมีผัวใหม่ในคืนที่เธอเก็บของย่ายออกจากบ้าน ผัวที่ตายไปก็มาทักเธอในเฟซบุค ชอบที่เมันสั้นกระชับน่ากลัว และหาทางออกให่้กับตัวเองได้อย่างสวยสดงดงาม  รู้สึกว่าเป็นหนังผีที่งดงามดี ชอบตอนจบของหนังมากๆ

 

 

Employees Leaving the MSN Training Factory (ศุภกิต์ เสกสุวรรณ)

 

http://youtu.be/w_JTVRyGLCw

 

A/A-

 

การรีเมคหนังพี่น้องลูมิแยร์กับสาวโรงงานไทย มันไม่ค่อยใหม่

 

No Address (สัตยา จันทร์ชนะ)

http://youtu.be/NgwUOS_hH98

 

A +++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

ทุกวันชายหนุ่มได้จดหมายจากหญิงสาวลึกลับสอดใต้ประตูในห้อง514 ที่ซึ่งหญิงสาวเคยอยู่อาศัยและยังคงอยู่

 

ทุกสิ่งทุกอย่างในหนังเรื่องนี้คือความรุนแรงสุดขีด ฉากไคลแมกซ์ประดุจดั่งละครเวที และน้องนักแสดงนำหญิงเล่นแบบลืมคออักเสบ

 

Nyob Zoo-น๊อ โยง-สวัสดี (ณัฐศักดิ์ วีระนรพานิช)

 

http://youtu.be/WCg5g-7wYes

 

A ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ตอนไปมะละกา เพื่อนชาวมาเลย์ที่เป็นจีนอพยพรุ่นสองรุ่นสามเหมือนเราและยังพูดจีนอยู่บอกว่าเราสามารถออกเสียงคำบางคำได้ชัดมากเพราะเราเป็นจีนอพยพเหมือนกัน แต่เราเป็นรุ่นที่สามแล้ว พูดจีนไม่ได้แล้ว และฟังได้เป็นคำๆที่น้อยมากๆ  การได้ยินอะไรแบบนั้นทำให้รู้สึกสองสามอย่าง แต่ที่สำคัญมากๆคือรู้สึกว่า ความเป็นจีนดั้งเดิมของเรา มันไม่เคยมีอยู่เลยจนมีคนมาทัก เป็นอัตลักษณ์ที่ล้างไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้รับมาอย่างภาคภูมิ เราเป็นจีนอพยพที่ไม่หลงเหลือรากเดิมอีกแล้ว

 

มันจึงสะเทือนใจมากที่ดูสารคดีที่ว่าด้วยภาษาม้งในเรื่องนี้ที่ตัวภาษาเป็นภาษาพูดอย่างเดียว จนนคนม้งที่ไปอยุ่เมืองนอกเอาภาษาอังกฟษมาเป็นพื้นสร้างภาษาเขียนของภาษาม้งจากภาษาอังกฤษ แต่ชุมชนคนม้งเมืองไทยรุ่นต่อๆมา ไม่มีใครพูดม้งได้อีกแล้ว เขียนยิ่งแล้วใหญ่ เพราะพวกเขาต้องเรียนไทยทั้งหมด ภาษาไทยเอาไว้ใช้สื่อสารทำมาหากิน ขณะที่ภาษาม้งเป้นเพียงภาษาที่ไว้พูดกันภายใน

 

การที่ตัวภาษาเองจับต้องไม่ได้ (ไม่มีภาษาเขียน) จนทำให้ต้องยืมภาษาอื่นมาใช้ ก็พูดถึงความไม่มั่นคงของตัวภาษาได้น่าทึ่งแล้ว แต่การที่คนม้งต้องเรียนไทย ลืมม้ง ทั้งเพื่อทำมาหากิน และเลือนอัตลักษณ์เพื่อปรับตัวเข้ากับส้งคม ทำให้ภาษาที่ชายขอบมากๆนี่หลุดไปเป็นชายขอบของชายขอบมากขึ้นไปอีก การสูญสลายของมันถูกคลี่ให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องการหลงลืมวัฒนธรรมเพ้อเจ้อแบบพวกคนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมชอบพูดกัน แต่มันคือการดิ้นรนเพื่อเาอตัวรอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การยื้อรักษามันไว้เป้นเรื่องดีงามแต่ไม่ใช่สิทธิ์ในการชี้หน้าคนอื่น

 

ชอบมากๆที่ครูพูดว่า หลังจากนี้จะต้องเปิด AEC ต้องเรียนภาษาอื่นๆภาษาม้งที่ไม่ได้ประโยชน์ก็จะมีแต่สาบสูญไป รุ้สึกว่ามันเป็นเรื่องเศร้าที่จำต้องเข้าใจมากๆ

 

 

My Passing Day ( ศรัทธา แสงทอน ) A ++

 

http://youtu.be/fM-dcWG7u4s

 

มันเนี้ยบมาก และฟูมฟายไปหน่อย จริงชอบๆความฟูมฟายของมันนนะ คนอกหักต้องฟูมฟายถูกแล้ว แต่มันอัดแน่น สอดคล้องพ้องจองไปหน่อย ภาพกับเสียงเล่ามันประสานกันจนขาดช่องว่างของเหตุการณ์ภายในที่ผู้ชมจะเอื้อมไม่ถึง มันเลยกลายเป็นหนังมากไปนิด

 

 

Fair Fair (ฉันทนา ทิพย์ประชาติ)

 

http://youtu.be/trjrZjdGc3U

 

A ++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ส่วนของการทำงานกลุ่มคนเดียวอาจจะไม่มีอะไร แต่ส่วนของการคอมเมนท์เฟซบุคท้ายเรื่องนี่สุดขีดมากๆ เพราะมันไม่ได้พูดแค่เรื่องความยุติธรรมไม่ยุติธรรมอย่าง’ซ่อนนัย ไปไม่ถึง ‘ การสื่อสารผ่านโซเชียล มีเดียเป็นของใหม่ที่เรายังไม่เห็นใครทำหนังที่ฑุดถึงความหวั่นไหว คลามคลุมเครือ ของมันออกมาเท่าไหร่ (มักจะมาในแนวประโยชน์ หรือโทษไปเลย) ฉากสุดท้ายในหนังมันเลยพีคมากๆ

 

 

ไร้กาลเวลา (วชร กัณหา)

 

A +++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

 

สารคดีชีวิตช่วงที่วชรไปบวชเป็นพระ  ชอบหนังมากๆ แต่อย่างที่บอก หนังของไกด์มักจะมีปัญหาเรื่องการปล่อยฟุตยาวๆจนพลังรุนแรงในวิชั่นที่่ายมามันอ่อนลง เหมือนกับแทบไม่ได้ตัดกระชับเลย ซึ่งเป็นปัญหามาหลายเรื่อง จริงๆพอแยกเป็นซีนๆเราพบว่ามันทรงพลังมากๆ ซีนเณรเล่นชกมวย เณรคาราโอเกะ หรือภารถ่ายแสงมัวๆนั้นงดงามทรงพลังสุดๆ แต่พอมันมาเจอกับความยาวยืดเหมือนวีดีโอไดอารี่ที่เอามาต่อโดยไม่เลือกตัดตรงจุดสูงสุดพลังมันก็ดรอปไปจนน่าเสียดาย ที่จริงหนังเรื่องนี้มีสภาวะไร้กาลเวลาที่ทรงพลังมาก ทั้งไร้เรื่องเล่า และไร้เวลา(ในแง่เวลาจริงๆและสถานที่วัดป่า )

 

 

 

คำพิพากษา (นิราวุฒิ สกุลแก้ว)

 

http://youtu.be/RhPd-QoWefw

 

 

A ++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++

ผู้หญิงคนหนึ่งเห็นผัวมีเมียน้อยเลยเอามีดไปกรีดแขนผู้หญิงอีกคนทำให้ต้องขึ้นศาลแห่งจิตใจ !

หนังอาจไม่ได้ใหม่มาก แต่ความคัลท์ของการจำลองจิตใจเป็นบัลลังก์ผุ้พิพากษานี่มันสุดขีดมากๆๆๆ และสิ่งที่สุดขีดที่สุดคืออารมณ์แบบหนังของสินจัย นาถยาในยุค 80′sบางขณะเรานึกว่ากำลังนั่งดู หย่าเพราะมีชู้อยู่ สุดขีดจริงๆ

Nowhere (เอกราช แก้วมะหิงค์) A+

http://vimeo.com/69789457

 

เข้าใจว่าตัวหนังจะวิพากษ์อาการพายเรือในอ่าง กลับไม่ได้ไปไม่ถึงของสือ ซึ่งเราอาจจะไม่ได้อินมากนัก แต่ที่ชอบมากๆคือ สีของภาพที่ดูม่วงเขียนเรืองแสงพลาสติกแบบยุคแปดสิบ ซินดี้ ลอวืเปอร์มากๆ

 

กองทัพปู (กฤตานนท์ ทศกูล) A+

 

 

มีความย้อนแย้งในหนังเรื่องนี้มากยิ่งกว่า อาการparadoxocracy ของเป็นเอกห้าร้อยเท่า ความย้อนแย้งนี้เองทำให้ไราไม่สามารถจะเซ็งทัศนคติได้อย่างเ๖้มที่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่านี่เป็นหนังคัลท์คลั่งชาติ มันเป็นการจับแพะชนแกะที่ประหลาดมากจนแทบรู้สึกถึงควาไม่เดียงสาโดยแท้

1.ถ้าไม่มีtext เรื่องทหารพระราชาเราจะคิดถึงสารคดี ปูทหารในแง่ทหารสามจังหวัดหรือไม่

2.กองทัพปูในสารคดี ถูกทำให้เป็นภาพแทนของทหารราชาปราบอริราชศัตรูผู้รุกราน แต่กองทัพผูในเรื่อง จริงๆคือกินสารอินทรีย์บนผิวดิน ตอนน้ำลง เท่านั้นแหละไม่มีฤทธิ์เดชอะไรการพยายามอธิบายถึงความยิ่งใหญ่เลยกลายเป็นการย้อนแย้งตัวเอง

3.แต่การย้อนแย้งนี้ถูกถมดัวยพลังของการถ่ายภาพ การจินตนาการที่งดงามมากๆ  การทำให้ภาพปูขึ้นจากรูเป็นกองทัพที่งดงาม การตัดต่อการถ่ายแบบนี้น่าทึ่งมากๆ การเลือกเพลงแบบโหมๆทำให้เห่อเหิมฉากกองทัพปู ฉากนี้spectacleมากๆ เพราะคนทำเชื่องยังงั้น

4.ที่นี้ตอนท้ายเหมือนหนังจะเปรียบคนที่เข้าไปทำลายปากบาราเป็นผู้ก่อการร้ายดักทำลายทหาร มันย้อนแย้งสุดขีด เพราะหนังบอกว่า ปูอยุ่มาก่อนแล้วโดนรุกราน แต่ในความเป้นจริงชาวบ้านอยู่มาก่อนแล้วโดนรัฐไทยรุกรานมันเลยกลับไปตบตีกับตัวtextเอง

5.ยังไม่จบ เพราะมันเหยียบเรือสองแคมเป็นสารคดี เปรียบเปรยเรื่องสามจังหวัดด้วย สารคดีกาสูญพันธุ์ของปูด้วย มันจึงต้องบอกว่าผูกำลังจะตายเพราะการรุกรายของนายทุน แน่นอน การสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่นี้มันเลยไปเสริมว่าเอ๊ะปูเป็นชาวบ้านแถวนั้นสิ เพราะทหารจะไปโดนนายทุน(รัฐ) ทำลายได้ไง

6.ย้อนแย้งที่สุดก็ตรงที่หนังวกกลับมาด่ารัฐบาล แต่ตั้งชื่อหนังว่า กองทัพปูนี่แหละ

 

 

อย่างไรก็ตามเดาว่า คนทำน่าจะเป้นเด็กมัธยมหรือมหาลัย ซึ่งเราคิดว่าน่าสนใจติดตามต่อไปแบบสุดๆ

 

 

เขากะลา (เอกภณ เศรษฐสุข)

 

A ++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

รุนแรงที่สุด หนังmock สารคดี ว่าด้วยสามหนุ่มเดินทางไปถ่ายทำUFO ที่เขากะลา ซึ่งมีกลุ่มตือนภัยที่เชื่อว่าติดต่อกับUFO ได้  หนังมีทั้งสัมภาษณ์ชาวบ้าน ไปพบหัวหน้าทีมเตือยภัยที่ติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวด้วยารจุดธูปนั่งสมาธิ จบลงแบบคนอวดผีที่ทำให้ขนลุกเกรียว

 

ชอบความเนียนของมันมาก จนดูจบไปแล้วก้ไม่แน่ใจว่าสารคดีหรือ mock  ตัวsubject มันประหลาดมากๆๆ เช่นการจุดธูปบอกมนุษย์ต่างดาว หรือการไปตั้งเตนท์ เฝ้าUFOบนเขา ที่มีทั้งรอยพระพุทธบาท มีพระพุทธรูปมีรูปปั้นยักษ์  เป็นวิทยาศาสตรืผสมไสยซาสตร์แบบไทยๆที่ประหลาดพิสดารพันลึกมากๆ  ฉากกล้องถ่ายท้องฟ้า กับฉากไคลแมกซืของหนังก็หลอนในระดับที่รุนแรงสุดๆ เป็นหนังมาราธอนปีนี้ที่ชอบเป็นอันดับต้นๆรองจาก มะนีจัน และ deleted เลยทีเดียว

 

ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง (จุฬญาณนนท์ ศิริผล)

A ++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

เหี้ยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

หัวเราะไม่หยุดเลย จุฬญาณนนท์ เธอแรงว์

 

อภิชาติพงศ์ พบ นวพล แสงศตวรรษ พบ 36 พบ อ.อุบล บ้านสวนพีระมิด พบ ริวจิตสัมผัส ทั้งหมดอยุ่ในหนังสำหรับการให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม ขอกราบตีย จุฬญาณนนท์ มาณ.ที่นี้

http://youtu.be/oeuzOxHW11Y

http://youtu.be/1-zehnh68-4

 

 

ครูอาชีพ (วีรสุ วรพจน์) …

อือม ครูที่ดีต้องเข้มงวด อือม

 

ก(ล)างเมือง คืนสู่แผ่นดิน (อัครินทร์ เรืองเนาวโรจน์)

 

A +++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++

 

สิ่งที่งดงามมากคือเวลาเราพูดด่าชนชั้นกลางอยากกลับบ้านไปทำการกเษตรว่าโลกสวยอะไรแบบนี้จริงๆมันยืนอยู่บนพื้นของการคิดว่าพวกนี้เหยาะแหยะ ดัดจริต การทำนาไร่มีแต่ความทุกข์  ซึ่งจริงๆมันเป็มายาคติที่ตอบโต้มายาคติแบบอยู่กับธรรมชาติน้ำฟ้าสวยงามของคนกลุ่มนี้อีกที แต่มันก็มีคนยที่อยากไปทำเพราะอยากทำ ทอผ้าเพราะอยากใส่เสื้อทอเองน่ะ  มันมีเหตุผลที่ง่ายจนไม่เป็นเหตุผล และไม่ต้องเข้าใจก็ได้ ชอบมากๆที่หนังพยายามจะพูดถึงทีท่าแบบนั้น แน่นอนว่าเราไม่ได้อ่านตัวหนังสือจากโควตก้เสี่ยงมากที่หนังสือจะเป็นเวอร์ชันโลกสวย แต่เราชอบสายตานิ่งสงบที่หนังถ่ายออกมาในฐานะคนที่อยากกลับไปอยุ่แบบนั้น และความเห็นแย้งของคนรุ่นพ่อแม่ที่ลำบากมาก่อนและไม่อยากให้ลุกลำบากเหมือนตัว​โดยส่วนตัวซีนทอผานี่งดงามและมีความหมายดี

 

 

TANIMURA (บารมีรัฐ จันทราศรีวงศ์) A+

http://youtu.be/iQtoVB3NytI

 

จริงๆชอบพลอตหนังทีเดียว แต่แอบรู้สึกว่าหนังกัดหนังอาร์ตนิ่งช้า ซึ่งการกัดหนังตระกูลนั้นแบบนี้มันไม่มันเลยเพื่อเทียบกับ การกัดแบบ จุฬญาณนนท์ ทีไ่ด้ดูในคืนเดียวกัน

 

 

btw ชอบซีนพิมพ์กูจะฆ่าแม่งยังไงมากๆ รู้สึกว่ามันเป็นการพิมพ์ที่intense กว่าารเดินในแหลมผักเยี้ยทั้งเรื่องที่เหลือ

 

Subscribe (Atijit Arratthainngam)

 

A +++++++++++++++++++++++++++

 

หนังคู่บุญกับ Deleted สนุกมากๆ ทำให้นึกถึง หนังสั้นที่GTH เอามาแปลงเป็นสี่แพร่ง จังหวะจะโคนมันมันส์ดี

 

ไข่มุก (ปฏิภาณ บุณฑริก)

A +++

 

หนังสั้นสร้างความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ ที่น่าสนใจมากคือการที่หนังให้คนทั้งตำบลพูดถึงไข่มุก (ชอบเป็นพิเศษคือเพื่อนบางคนที่มองว่าไข่มุกเป็นอภิสิทธิ์ชนจากการตกเป็นเหยื่อของการเป็นผู้ติดเชื้อ) แต่ไข่มุกไม่ได้พูดอะไรเลย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปได้ว่าไข่มุกไม่รู้ว่าตัวเองเป็น แต่ก็นั่นแหละ ในขณะที่คนอื่นพูดถึงไข่มุก หนังก็พูดแทนไข่มุกไปโดยไม่รู้ตัวด้วยในเวลาเดียวกัน ในแง่นี้หนังเหมือนหรือต่างอะไรกับครูที่ให้อภิสิทธิ์ กับไข่มุก


THE ARCH (TANG SHU SHUEN/1969/HK) ประตูน้ำตา

$
0
0
vlcsnap-2013-07-18-21h41m17s129
หนงเดบิวท์ของผู้กำกับหญิงคนแรกของฮ่องกง(ในเวลาต่อมาเธอทำ CHINA, BEHIND หนังเรื่องสำคัญที่โดนแบน) หนังว่าด้วย แม่หม้ายชายแดนที่กำลังทำเรื่องขอซุ้มประตูหมู่บ้านจากขุนนาง แม่หม้ายอยู่กับแม่ผัวและลูกสาว วันหนึ่งกองทหารผ่านมายังหมู่บ้าน นายกอง ขอมาอาศัยที่บ้านของเธอซึ่งเปิดเป็นโรงเรียน ดูเหมือนทั้งคู่จะแอบปลาบปลื้มกัน แต่ลูกสาวเธอก็ปลื้มนายกองด้วย เธอพยายามรักษาภาพของกุลสตรีจีน จนในที่สุดลูกสาวของเธอเป็นยฝ่ายได้กับนายกอง ย้ายออกจากบ้าน แม่ผัวเธอตาย เธอใช้้ชีวิตกับคนรับใช้ชายเฒ่าที่อาจจะแอบชอบเธอมาเนิ่นนาน แต่ก็อยู่ด้วยกันไม่ได้อีกแล้ว อกไหม้ไส้ขม จนซุมประตูสำเร็จ แม่หม้ายผู้ยิ่งใหญ่ เดียวดายใต้ประตูน้ำจตาของการเป็นหญิงคนดี

หนังมันย้อนยคเป้นสมัยกำลังภายใน แต่เเต็มไปด้วยเรื่องราวเศร้าสร้อย กดดัน การตัดต่อเลิศเลอ และหนังเศร้ามากๆ เป็นหนึ่งในหนังฮ่องกงที่งามที่สุดที่เคยดู คู่ควรจะมาต่อสู้กับ SPRING TIME IN SMALL TOWN ของ Fei Mu

ซีนที่งดงามมากคือนายกองแอบเขียนจดหมายรักเป็นบทกวีวางไว้บนโต๊ะของเธอ เธอหญิบมาอ่าน ยิ้มคนเดียวแล้วเอาหนังสือไปเก็บมาสอนหนังสือเด็ก นายกองเดินเข้ามา มองเห็นว่าจดหมายของเขาหายไปจากโต๊ะที่เธอนั่งอยู่ทั้งคู่มองตากันแป๊บเดียว งดงามมาก

ซีนต่อมา เธอพยายามจะแต่งหน้าเพื่อจะออกมากินเลี้ยงในงานไหว้พระจันทร์ ทาปากไว้ด้วย ในครัวนายกองไล่จับจิ้งหรีดเข้ามาในครัว เธอช่วยขาจับมือเลยไปโดนกัน เธอชักมือกลับ บกให้เขาออกไปข้างนอก เธอถือกับข้าว แอบเช็ดปาก เช็ดหน้า ดึงปิ่นปักผมออก ออกไปกินเลี้ยง พาแม่ผัวเข้านอน นอนฟังเสียงนากองอ่านบทกวีกับหลวงจีนและลูกสาวเธอ

ในฉากท้ายเรื่องเธออยุ่คนเดียว ทอผ้า แล้วคิดถึงอดีตเป็นfragment หนังตัดต่อรุนแรงมาก มีภาพของนายกอง ของเฒ่าจางคนรับใช้ จิ้งหรีด เธอวิ่งออกจากบ้าน ทำได้ดีที่สุดคือเชือดคอแม่ไก่ตัวหนึ่ง โผเผโดดเดี่ยวไปที่แม่น้ำ

หนังอภิปรายถ่ายทอดความุกข์ของหญิงจีนที่ดีออกมาอย่างละเมียดงดงาม งดงามไม่ใช่เพราะมันเต็มไปด้วยฉากเก็ยอารมณือย่างเดียว แต่เพราะมันมีฉากที่แสดงความรุนแรงปั่นป่วน รวดร้าวใจ หนังฉายภาพลูกสาวที่กล้ายั่วผู้ชาย และการที่แม่ลูกอาจจะชอบผู้ชายคนเดียวกัน ฝ่ายแม่ได้แต่เก็บงำกัยตัวเองไว้เรื่อยๆการตัดต่อของหนังฉายอารมณ์ปั่นป่วนของแม่ แต่การแสดงของนักแสดงกลับเลือกเก็บงำไว้งดงามละเมียดละไม มากๆ ฉากท้ายๆของหนังเมื่อทั้งบ้านเหลือแต่นางกับเฒ่าจาง มันงดงามามาก เพราะแม่เฒ่าจางจะผลุกดอกเก๊กฮวยให้นาง หรือรักนางเพียงใดเขาก็รู้ว่าเขาจะอยู่กับนางไม่ได้อีกแล้ว เขาขอร้องให้นางรับลูกมาอยู่หรือชวนนายกองมา แต่นั่นเป้ฯสิ่งสุดท้ายที่จะทำได้ เพราะนางก็ยังคงหลงรักนายกองอยู่ มันจึงลงเอยอย่างเงียบและเศร้ามากๆ

 

 


โลงจำนำ (ภาม รังสี /2013/ไทย) ผีกับเทพเจ้า

$
0
0

long-ss

เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

กล่าวได้เลยว่าตัวหนังทั้งเรื่องก็เหมือนการแสดงของพี่น้อยในหนังเรื่องนี้ มันทั้งประดักประเดิด ในบางชั่วขณะ มันดูไม่สมจริงจนชวนให้ขบขัน แต่ในบางขณะมันก็นำพาเราไปสู่อารมณ์ ชั่วขณะเวลาที่เหนือความคาดหมาย พลิลึกพิลั่น ประหลาดหลุดโลก เหมือนจะเป็นเรื่องคลิเชไร้ความหมาย พลอตบางเบาเท่ากระดาษ A4 แต่ในวินาทีหนึ่งหนังมันก็พาเราเข้ารกเข้าพงไปไหนต่อไหนก็ไม่รู้ ไปยังทัศนียภาพยนตร์แบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน กล่าวให้ง่ายและรวบรัดอย่างไร้รสนิยม ในห้วงขณะหนึ่งมันเป็นหนังผีไทยดาดๆที่น่าเบื่อชวนหลับ ไม่สมจริงอย่างถึงที่สุด และยังไร้เหตุผลเสียด้วย แต่ในอีกวินาทีหนึ่งมันก็กลายเป็นหนังเดวิน ลินช์ที่หลอนอย่างไร้คำอธิบาย วินาทีหนึ่งคำอธิบายทำให้มันไม่ได้เรื่อง แต่วินาทีหนึ่งคำอธิบายก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสรรหาได้อีกต่อไป

พลอตว่าด้วยเจ้าของโรงจำนำที่ฆ่าเมียบูชาผีในบ้านจนร่ำรวย ข้อแม้ของการจำนำ คือคนจะเอาตัวเองมาจำนำไว้กับผี คนที่มาจำนำจะถูกขังไว้ในห้องแล้ว ญาติที่มาด้วยเอาเงินไป และอาจจะไม่ได้เจอกันอีกเลยชั่วนิรันดร์

พลอตฟังดูไม่เลว แต่โปรดักชั่นกลับทำให้มันเลวร้าย เพราะมันเซตทุกอย่างแบบที่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้จริง โรงจำนำเป็นตึกเก่าเก๋ไก๋สวยงามราวกับร้านเหล้าฮิปๆ หรือบูติกโฮเตล บรรดาของที่เอามาจำนำก็เป็นของเก่าเก๋ไก๋สไตลืฮิปสเตอร์ (แทบขำก๊าก ตอนที่ยายคนแรกเอาขวดเหล้ากับแว่นมาจำนำแล้วเรียนสี่แสน) แม้หนังจะวางแคแรกเตอร์หลงจู๊แบบหลงจู๊ตามโรงจำนำจริงๆ แต่หลงจู๊จริงๆไม่มีทางรับจำนำของแบบนี้ หนำซ้ำไม่มีทางจะอยู่ในที่แบบนั้นได้แน่ๆ


พี่น้อยรับบทเป้นผัสกระแต ขับรถชนเด็กข้างบ้าน แล้วต้องหาเงินมาเยียวยา เลยต้องเอาตัวเองมาจำนในเวลาเดียวกันก็มี ตุ๊ดแพ้บอล สาวอยากลองดี และไอ้หนุ่มไม่มีที่มาอีกคนมาจำนำตัวเองกับผี ทุกคนถูกจัดให้อยู่คนละห้องแล้วก็โดนผีอาละวาดกันไป เท่านั้น จบ ไม่มีการคลี่คลายทำลายความเป็นผี ไม่มีการแสวงหาเหตุผล ไม่มีตอนจบชื่นมื่น เรื่องยาวเท่าเรื่องสั้น แล้วสิ่งที่หนังเลือกขับเน้นคือฝัรหลอนของผีอาฆาตรังควานผู้คน ในห้องปิดตาย

ความเอาเก๋แต่ไม่สมจริงของหนัง มาปะทะกับการตัดต่อสวิงสวายและการแสดงที่ประดักประเดิดมากๆของพี่น้อย (แกงค์สก๊อยแถวหน้าฮาก๊ากกับทุกซีนของพี่น้อย)ทำให้ทุกอย่างพร้อมจะล่มได้ตลอดเวลา ยิ่งทุกครั้งที่พี่น้อยเข้าฉากกับกระแตมันเหมือนกับเล่นหนังกันคนละเรื่อง เหมือนพี่น้อยกับกระแตแสดงกันคนละแบบแล้วไม่มีทางเข้ากันได้เลย

แต่ผลกลับพิลึกพิลั่นกว่านั้น การแสดงแบบเล่นใหญ่(มาก)ของพี่น้อย กลับทำให้ตัวละครตัวนี้ออกมาพิลึกมากกว่าจะเลวร้าย ความบ้าของพี่น้อย กับรูปร่างที่เล็กๆแกรนๆแน่นๆเกร็งๆของพี่น้อยทำให้ตัวละครตัวนี้สมบูรณ์แบบในการเป็นผู้ชายpassive ที่ง่อยเปลี้ยเสียขาโดยสิ้นเชิง ฉากที่ประหลาดมาก คือโมเมนต์ที่พี่น้อยทะเลาะกับกระแตระหว่างทางกลับบ้าน แล้วพี่น้อยตะโกนใส่กระแตว่าอย่าตะโกน ควม passive แบบผู้หญิงของกระแต (ที่เล่นได้น่าสนใจดี) ที่โวยวายตลอดเวลา กับความpassive แบบการจัดการอะไรไม่ได้ของพี่น้อยทำให้ฉากนี้อิหลักอิเหลื่อประหลาดมาก รวมไปถึงโมเมนต์การเจอผีของพี่น้อยที่ประหลาดมากชนิดที่ว่าไม่สามารถหาดาราคนอื่นมาเล่นแทนพี่น้อยได้แน่ๆ เพราะมันเหวอ เว่อ ใหญ่ พิลึก แต่มันทำให้หนังที่พยายามหลอน หลอนขึ้นห้าร้อยเท่า เมื่อรีแอคชั่นการเจอผีของพี่น้อยไม่ใช่แค่การทำหน้าเหวอ อ้าปากค้างอย่างเดียว แต่เล่นแม่งทั้งร่างกาย แขนขาเนื้อตัว ฉากที่พีครุนแรงที่สุดคือฉากที่พี่น้อยเล่นกับเก้าอี้ด้วยการพลิกมันไปมาตอนเจอผี เทียบง่ายๆว่าอาการเจอผีของพี่น้อยในเรื่อง กับอาการเจอผีของเหยื่อที่เหลือนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอย่างหาที่เทียบกันไม่ได้

แล้วทันทีที่พี่น้อยมาถึงโรงจำนำหนังก็เข้าโหมดผีหลอกวิญญาณหลอน ไร้เวลาไร้สถานที่เป็นชุด แบบยาวจัดเต็ม สามสิบนาที ซึ่งแน่นอนมันอาศัยการตัดต่อและกาถ่ายภาพแบบMV มาช่วยพยุงเรื่องราวในส่วนนี้ แต่ความประหลาดพิสดารของมัน คือมันไมไ่ด้คลี่คลายปมในใจคนดูมากกว่ารู้ว่าพี่น้อยขับรถชนเด็กยังไง และไถ่บาปยังไง หรือเปิดโอกาสให้ใส่ฉากที่ฟินที่สุดในหนังคือฉาก พี่น้อยตบหัวผีแล้วถามว่า มึงต้องการอะไรจากกูซ้ำไปซ้ำมา โดยผีไม่ตอบโต้ แล้วก็ไม่ได้คลี่คลายปมอะไรของตัวผี ตัวโรงจำนำ การไร้บทสรุปของผีในโรงจำนำทำให้หนังมันขยับไปสู่การเป็นหนังผีประหลาดที่น่าทึ่งมาก
สิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือสถานะของผีในหนัง (แน่นอนว่าไม่ใช่ตัวผี )

ในขณะที่ผีในหนังผีสมัยใหม่ โดยเฉพาะผีในหนังผีตะวันตก เป็นผีแบบไม่มี Hirerachy กล่าวคือเป็นคนตายเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะตายจากศตวรรษที่แล้ว หรือปีที่แล้ว ก็จะเป็นผีคนตายเหมือนๆกัน เว้นแต่จะเป็นผีปีศาจ มันก็จะถูกมองเป็นก้อนของความชั่วร้่าย เป็นผีที่ถ้าไม่เป็นคนธรรมดาเท่าๆกันก็เป็นผีของซาตาน ตามหลักคริสต์ ต้องกำจัดออกไป

แต่ผีในพื้นถิ่นเอเซียไม่ใช่หยั่งงั้นน่ะซี ผีแต่ดั้งแต่เดิมองเรานั้นเป็นผี Hirerachy กล่าวคือเป็นผีมีศักดินาลำดีบชั้น เป็นผีที่มีลักษณะกึ่งเทพเจ้าตามประสาลัทธิบูชาผีแต่ดั้งแต่เดิม ผีไม่ใช่การต่อสู้ของคนเป็นกับคนตาย แต่เป็นการต่อสู้ของคนธรรมดากับเทพเจ้าในทางหนึ่ง

ผีในโลงจำนำ แรกทีเดียวเป็นเพียงผีนางรำ เป็นผีสามัญของสาวโดนข่มขืนตาย แต่กาลเวลา ปวศ.ที่เพิ่งสร้าง ถูกทำให้ผีสามัญยกระดับเป็นผีเทพเจ้าผ่านทางการสักการะบูชาของคนรุ่นต่อมา พอผีกลายเป็นเทพจ้ามันก็ยกระดับเป็นเรื่องของสาวกทำเพื่อผีเทพเจ้า (แม้หนังจะออกแบบผีเชยๆ เป็นผีสาวใส่ชุดเช่านางรำยืนอ้วกไปเรื่อยๆก็ตาม)

การณ์กลายเป็นว่าในเวลาต่อมาผีทำอะไรก็ไม่ผิดเพราะผีในเรื่องนี้ไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากยืนอ้วกและหลอกหลอนผู้คนไปเรื่อย ผีเรียกหาความศรัทธาขั้นสูงจากสาวก ด้วยการบอกให้บูชา บอกให้หาคนมาสังเวย แต่ผีในเรื่องไม่ฆ่าใคร คนที่ฆ่าคนเพื่อสังเวยคือตัวสาวกเอง หนังเฉลยหลังจากฉากหลอนนอนสตอปผ่านพ้นไป ว่าในวันต่อมา คนที่ลงมือสังหารผู้คนคือสาวกไม่ใช่ตัวผี ผีไม่ว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เป็นเพียงรูปเคารพของผู้คนที่ไม่มีฤทธิ์เดชในการฆ่าคนเอง แต่ฤทธิ์เดชของผีทำให้คนฆ่ากัน สิ่งเดียวที่มีอำนาจเท่ากับผีคือทุน เพราะคนมาโรงจำนำจากปัญหาทางการเงิน กล่าวคือ คนมีผิดบาปต้องการเงินมาลบล้าง มาจำนำตนเองเพื่อเงิน จากนั้นก็ถูกทำลาย ผีกับเงินจึงเป็นสองขั้วที่บีบคั้นผู้คนรอบๆ ให้ต้องถูกทำลาย ระหว่างคนที่ถือเงินกับคนที่ถือผี

ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ สถานะของผี สาวก และ เหยื่อ ก็สะท้อนโครงสร้างของสังคมที่แกว่งไปมาระหว่างระบบศักดินาอุปถัมภ์กับระบบทุนนิยมอย่างบ้านเราอย่างน่าทึ่ง การสะท้อนโครงสร้างแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องพยายามสร้างสัญญะให้จงใจตีความได้ด้วยซ้ำ เพราะมันอาจจะประกอบขึ้นจากการคิดไปเองของผู้เขียน (ผู้ชม) หรือเป็นเพราะในทุกระดับของทุกเรื่องเล่า ของทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมล้วนโดนครอบงำด้วยระบบโครงสร้างเช่นนี้โดยตัวมันเอง

ถึงที่สุดโลงจำนำอาจจะไม่ใช่หนังที่น่าตื่นเต้น หรือกล่้าหาญ หนังบกพร่องมากมาย และพยายามจะกลบเกลื่อนด้วยการเป็นหนังเท่ๆคูลๆเงียบๆ อาศัยการตัดต่อราวกับMV ของหนังมาช่วย แต่หนังก็มีความพิลึกพิสดาร ประหลาดรุนแรงจนไม่อาจปล่อยให้่มันถูกนับเป็นหนังผีอยากเก๋เรื่องหนึ่ง และเราคิดว่าจดจำมันในฐานะหนังผีไทยที่ประหลาดที่สุดเรื่องหนึ่ง และจดจำการแสดงของพี่น้อยในหนังเรื่องนี้เป็นการแสดงที่ประหลาดที่สุดครั้งหนึ่เงหมือนกัน


MARATHON DIARY 2013 PART 2

$
0
0

1001492_328603483936985_816659071_nLittle Voices (อัลา ริตศิลา )

http://youtu.be/x-imnXcYhVE

A +

สารคดีโครงการชวนเด็กยากจนในชุมชนเล่นดนตรี ตัวเนื้อหาไม่มีอะไรมาก แต่ชอบความมุ่งมั่นของsubject ที่ดูไม่โลกสวยเกินไป แต่ที่ชอบที่สุดคืออาการเผลอไผลของสายตาคนทำที่อยู่ดีก็ไปถ่ายสาวสวยที่เดินผ่านเฉยๆ  555

THE TERRACOTTA VASES (ธีรพัฒน์ งาทอง)

http://youtu.be/070OZ7k9L2s

A +

หนังสั้นสอนคุณธรรม ธรรมดาๆไม่มีอะไรพิเศษ แต่ที่ชอบมากคือชอตที่โกรธเพื่อนแล้วเดินเคียดแค้นไปนั่งกินเวเฟอร์คนเดียว55

THE FACTORY(เอกราช แก้วมะหิงค์)

http://www.ekarachk.com/index.php?/chapter-3-folder/animation–in-progress/

A ++++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

อนิเมชั่นว่าด้วยความสิ้นหวังของผู้คนในโลกอุตสาหกรรม เนื้อหาไม่มีอะไรใหม่ แต่สไตล์และความสิ้นหวังนั้นงดงามมากๆๆๆ สิ่งที่งดงงามที่สุดคือการพบว่า เราทไงานหนักหน่วสงจนตายเพื่อผลิตฟองกาศที่เปราะบาง

การบ้านปิดเทอม (ธีรพัฒน์ งาทอง)

A +++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++

http://youtu.be/BIo6r26IhT4

การทำการบ้านสุขศึกษาตอนผิดเทอมม.6 บางช่วงชวนให้นึกถึงความกวนตีน ของนวพล แต่สิ่งที่ชอบสุดๆในเรื่องคทืตัวคำถามที่พยายามเน้นการครอบงำ ควบคุมมากกว่าความคิด พอขัดชืนด้วยการเปิดเพลงเมทัลฟังยังเสือกโดนควบคุมโดยพวขบถหัวอ่อนไหวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง การหลบหนีนำไปสุ่ความเงี่ยนเมื่อกูหนังโป๊ และความง่วงเมื่อดูหนังอาร์ต( SHIRIN ย้อนแย้งมันดีเพราะหนังถ่ายแบบSHIRIN ด้วยเหมือนกัน คนดูเลยนั่งดูหนังว่าด้วยใบหน้าคนนั่งดูหนังที่มีแต่ใบหน้าคนดูหนังในโรง)

ชอบที่มันเป็นงานตลกๆเล้กๆ  แต่โดยไม่ได้ตั้งใจ มันสะท้อนภาพอะไรสนุกๆออกมาได้

โรตีแมน (นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์ +กิตติพัฒน์ กนกนาค)

http://youtu.be/FLaNfynTMI4

A +++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โดยส่วนตัวไม่ได้ตื่นเต้นรุนแรงกับsubject ในเรื่อง เพราะเคยดูสารคดีคนขายโรตีจากโรฮิงญาในเมืองไทนอีกเรื่องที่รุนแรงมากๆใน My Rohingya (ในหนังเรื่องนั้นตัวละครอยุ่คนเดียว หลบๆซ่อนๆ แล้ว็ฝันถึงการเดินทางไปได้ไกลกว่าที่ตัวเองอยู่ แต่ตัวRoti Man ก็ออกมาน่าสนใจมากๆ และการพูดถึงความหวั่นไหวที่เดินทางมาถึงแม้ว่าจะดุเหมือนว่ามั่นคงแล้วในตอนท้ายเรื่องมันรุนแรงมากๆทีเดียว

ดูเหมือนหนังจะพูดถึงชีวิตค่อนข้างดีของโรฮิงญษในเมืองไทยตลอดเวลา (เมื่อเทียบกับโรฮิงญาที่เราเคยเห็น) มันเลยยิ่งเจ็บปวดเมื่อฉากสุดท้ายมาถึง เพราะความมั่นคงมันไม่มั่นคงเลยสักนิด

แสนแสบ (คณิต คินันติ) A+/A

http://www.youtube.com/watch?v=BGr1GcbzNXE

สารคดี ปัญหาน้ำเน่าคลองแสนแสบ ที่สัมภาาณืใครทุดกคนก็พูดเหมือนๆกัน จบ

ช่องว่าง (มีศักดิ์ จีนพงษ์)

http://youtu.be/e_gxFUAfi3Y

A +++++++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โอ๊ย งดงามมากๆ ดุแล้วเกือบร้องให้

หนังสร้างเสริมความเข้าใจผู้ติดเืชื้อ(น่าจะส่งมาหลายเรื่องเพราะเพิ่งดูเรื่องไข่มุกไปอีกเรือ่ง) ว่าด้วย เคนหนุ่มก่อสร้างที่เป็นผู้ติดเชื้อที่กำลังจะมีแฟนเป็นสาวขายของ ทั้งคู่มีอะไรกันแล้วดแต่ก็ป้องกันทุกครั้ง แต่เคนยังไม่บอกแนเรืองสำคัญนี้และไมรุ้ว่าจะบอกยังไงดี หนังใช้ตัวละครที่เป็นคนธรรมดาสามัญ แม้จะเล่นแข็งโป๊กกระโด๊กกระเด๊ก แต่มันมีเสน่ห์มากๆ

ชอบฉากเลิฟซีนขอหงนังมากๆ ความมืดของหนังในฉากนี้ หรือการถอดกางเกง หรืออะไรต่อมิอะไรมันรัญจวนแบบสามัญมากๆ ชอบตัวละครเอกความสัมพันธ์ขชองเขากับคนรอบข้าง แต่ที่ชอบที่สุดคือการที่เขาพยายามจะบอกเธอด้วการให้ดูหนังเรือ่งหนึ่ง และแม้เธอจะดูหนังไม่ได้แปลว่าเธอจะเข้าใจ

ฉากจบของหนังสะเทือนใจมากๆ

THE WAY I WANT วันที่ฝันเป็นจริง (สุภาณี ลิ้มโรจน์นุกูล)

http://youtu.be/87ap2Lf8BHA

A +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชอบความจริงใจในหนังมาก เหมือนคนทำมันconcern ประเด้นที่ตัวเองพูดจริงๆ หนังอาจจะไม่ได้คมคายอะไรมากกว่าบทลงเอยเดิมๆของวัยว้าวุ้น เด็มัธยมที่ไม่รู้ว่าอะไรคือความฝันคือชีวิตจริง แต่การที่ตัวละครใส่ใจกับประเด็นนี้จนลากบทสนทนายาวๆเรื่องนี้ออกมามันเป็นมุมมองความอึดอัดจากคนทีี่ผเชิญหน้ากับมันจริงๆ

ชอบที่หนังใช้นักแสดงหน้าตาบ้านๆ ไม่ใช่วัยว้าวุ่นที่เคาะออกมาจากโมเดลลิ่ง ชอบที่หนังมันฮามากว่ามีตัวเอกจะได้ไปอเมริกา ชอบความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่ไต่เส้นอยู่บนความสัมพันธฺ์กึงโฮโมอีโรติค ชอบฉากห้องสมุด ร้านกาแฟ อะไรพวกนั้นเพราะเหมือนเอาจริงๆวัยรุ่นกรุงเทพไม่ได้มีที่ไปมากนัก

โดยรวมคือชอบหนังตรงความไม่เนี้ยบไม่เนียน ความบกพร่องที่มันมีเป็นเสน่ห์ของหนังที่งดงามมากๆ

GUM (อติราช เจริญจิตร) A+

ปัญหาสำคัญของหนังคือการประเด็นในการถกเถียงของหนังมันเป็นการเถียงผิดประเด็นไปตั้งแต่ครูเริ่มต้นแถว่า การที่ชีทโดนหมากฝรั่งผิดกฏเพราะห้ามเอาอาหารมากินในห้องเรียน สุดท้ายคนก้ไปไกลจากเรื่องที่ว่า ใครเอามาฝรั่งมาแปะโต๊ะ เป็นเรื่องหมากฝรั่งเป็นอาหารหรือไม่ จริงๆเราคิดว่ามันน่าสนใจมากเพราะมันเป็นแบบจำลองการเถียงผิดเรื่อง ที่เป็นของที่อยู่คู่กับสังคมไทย (แน่นอนเรื่องที่มักจะเถียงกันผิดมักเกิดจากการยกกฏ ศีลธรรม จริยธรรมเหี้ยห่าสารพัดสัตว์มาอ้างเพราะจริงๆต้นเรื่องอาจจะเอาผิดไม่ได้ ไม่มีความผิดมากพอ) แต่พอหนังเลือกจบลงตรงการแพ้ชนะในการถกเถียงมันก็กลายเป็นหนังว่าด้วยการถกเถียง แต่เถียงผิดเรื่องอะ ฮือฮือ

น้ำตาหวาน น้ำตาลเผ็ด (องอาจ หาญชนะวงศ์ )

A +++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++++++

หนังน่ารักชวนหวัว ว่าด้วย ส้มตำ น้ำตาล กุญแจ ดนตรี งานวิชาการในชีวิตประจำวัน

หนังเอตำราวิชาการว่าด้วน้ำตาล เอนดรอฟีน กลไกป้องกันตนเองของจิตวิเคราะห์มาเล่าซ้อนอยู่ในเหตุการณ์ประจำวันเช่นการกินก๋วยเตี๋ยวไม่หรุง การกินส้มตำเผ็ดมาก การลืมกุญแจ การพบนักดนตรีเปิดหมวก เพราะงานวิชาการนั้นแนบอยู่กับชีวิต หรือพูดง่ายๆ งานวิชาการวิทยาศาสตร์คือการอธิบายชีวิตโดยตัดผู้คนออกไป การเอาผู้คนกลับเข้ามาแล้วบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นเช่น แคปไซซิน หรือ กลไกป้องกันตนเองสามระดับจึงเป็นเรื่องที่งดงามมากๆ แล้วหนังมันยังโรแมนติคแบบสุดๆในช่วงท้ายเรื่องด้วย

อาการชวนหวัวของหนังผ่านทางเสียงเล่าแบบลุงแก่ๆ ยิ่งทำให้ฟนังน่ารักน่าใคร่มากขึ้นไปอีก มันอาจจะมไ่มีเซนส์จิกกัด แบบหนังที่ล้อเล่นกับฟอร์มทำนองนี้ แต่มันน่ารักมากๆๆ ราวกับมิแรนด้า จูลายเวอร์ชั่นอินดี้ไทยก็ไม่ปาน

ซากศพ (วชร กัณหา )

http://youtu.be/a1GLJtD8WxY

A +++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

ถ้าชาตินี้ถูกหวยรางวัลที่1 จะเช่าโรงหนังเพื่อฉายหนังของ วชร ธนิ และ ธีรนิต์ บนจอใหญ่ๆ

จริงๆ allegory การเปรียบเปรยของหนังอาจจะไม่ได้ใหม่มาก คอมมิวนิสต์ นักต่อสู้ และวีรบุรุษ แต่ชอบการซ้อนของภาพมากๆๆๆๆ จริงๆที่น่าสนใจคือ ภาพไอ้มดแดงเป็นภาพแฟนตาซี พาฝันพอๆกับบทสนทนาของนักสังคมนิยมในหนัง แต่มันดูเป็นทั้งการหลบหนีของการต่อสู้ที่ไม่มีวันชนะ และความฮึกเหิมแบบวีรยุรุษ การเทอด สิ่งต่างๆขึ้นไปสู่สภาวะเหนือจริงนี้เองคือรูปแบบที่คนใช้ปลอบประโลมจิตใจ เยี่ยมมนุษย์โรแมนติค

อย่างไรก็ดี ความสิ้นหวังของtext แปะหัวเรื่องทำให้หนังถูกเหวี่ยงหวือไปมาตลอดเวลา ระหวังความหวังและความสิ้นหวัง

งดงาม

นักเลง (นภธร สิทธิมณี) A/A-

เข้าธรรมเนียนมหนังนักศึกษา ถ่ายสวยโปรดักชั่นดี แต่เนื้อหาสอนศีลธรรมกึ่งสำเร็จรูป

ทองกวาว (ธนพฤทธิ์ ประยูรพรหม)

http://youtu.be/xxw2nQIOYXc

A ++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++++

ดนตรีประกอบมันเหี้ยมากๆ (คำชม)

หนังมันโมโนลอก มโนลอกไปเรื่อยเจื้อย ยังกะหนังยูจีน กรีน ยิ่งออกทะเลก็ยิ่งสนุก

นี่คือหนังที่ได้ชื่อว่า มโนแจ่ม จงจินตนาการ เกิดนิมิตร ของจริง

LIVE AND LET DIE (ณัฏฐ์ บุญเลิศ)

A ++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

ตัวเรื่องมันไม่มีอะไรใหม่(แหงสิเอามาจากเรื่องสั้นกนกพงศ์) แต่สิ่งที่เลอค่ามากคือบรรยากาศโสมมต่ำช้า ของสลัมที่ปกติคนไทยมักจะถ่ายออกมาไม่ได้ คู่แข่งของนาง คงต้องเป็น พวกปินอยอย่างSherad Antonio Sanchez เท่านั้น การรักษษาบรรยากาศโสมม ชั่วร้าย โสโครก กลายเป็นสิ่งที่โดดเด่นอของหนัง ทั้งฉากบ้านแม่มด หรือการลัดเลาะไปในสลัม ไปจนถึงภาพอินเสิร์ทที่หยำฉ่ามากๆ

จริงๆซีนแม่มดซ้อนคูรป้า เป้นซีนที่ทรงพลังแน่อยู่แล้ว แต่มันไปไกลกว่าตรงที่มันทรงพัลงแล้วมันยังชั่วยังคัลท์อีกด้วย นี่เป็นหนังที่มีพลังมืด ไอ้โปรดักชั่นที่ไม่ได้ดีมากของมันยิ่งทำให้พลังมืดเข้มข้นมากๆ

POINT OF VIEW (ปราณีต จารุพันธุ์งาม)

A ++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++

ดูหนังของICT ศิลปากรแล้วรู้สึกดี คือมันเป็นหนังนักศึกษา ที่เป็นขนบหนังนักศึกษา แต่มันมักจะ capture โมเมนท์ที่ดีออกมาได้ จังหวะช้าลงนิด แล้วดื่มด่ำกับอะไรเล็กๆสักครู่ไม่เร่งเร้าจะเอาจากบทมากไปกว่าสิ่งอื่นๆที่รายรอบมัน จริงๆหนังเรื่องนี้มีตัวละครน่ารำคาญอยู่บ้าง ทำอะไรเก๋ๆอยู่บ้างเช่นสวมแว่นของคนรัก หรือพูดอะไรฉลาดๆเป็นระยะ หรือมีสัญญะเท่ๆรายทาง เป็นหนังแบบ post wkw + มุรา แต่มันก็มีบางจังหวะที่หนังล่องลอยไป แล้วตอนจบมันก็กำลังพอดีไม่บีบคั้นเอาจากตัวเรื่อ เวลาฉาย หรือตัวละครมากจนเกินไปนัก ช่วงเวลาของการ เลิกกันแต่ไม่มีวันเลิกเจ็บไปจนถึงการที่อาจจะได้เจออะไรใหม่ๆ น่ารักดี ๆ

ROSE รักครั้งสุดท้าย (จิตตินันท์ ยอดวงศ์สกุล) A/A-

มึงเป็นเกย์! impact มากค่ะ ในจุดนี้ ปัญหาคือหนังมันเชยมากไม่ว่าจะเป็นหนังผี หรือเป็นหนังเกย์ มันเก่ามากทั้งเทคนิคและเรื่อง

1. ลาดกระบังโชว์เคส

ทางของเรา 14:12 / พีรพล บุญยเกียรติ

A +++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

หนังว่าด้วยสองหนุ่มที่เดินทางกลับไปเยี่ยมน้าสาวที่สุราษฏร์ คนหนึ่งซื้อซีดีพี่เบิร์ดไปฝากน้า คนหนุ่มสามัญดาษดื่น อีกคนเป็นตูนบอดี้แสลมเวอร์ชั่นบ้านบ้านที่ไฮตลอดเวลา ระหว่างทางก็ทะเลาะกันไปตลอด จนน้ำมันหมดไอ้หนุ่มไปเอาน้ำมันที่บ้านคนแปลกหน้าที่สอนให้เรียรู้จะรักกันเหมือน ‘หมาที่กินข้าวหม้อเดียวกัน ทุกอย่างกำลังไปได้สวย แต่พอไปถึงบ้านก็พบว่าน้าผูคอตายไปเสียแล้วก่อนที่พวกเขาจะกลับไปถึง

อันที่จริงไม่ได้ชอบตัวหนังเท่าไหร่ และรู้สึกหมั่นไส้ตัวละครตลอดเวลา แต่พอหนังแสดงให้เห็นว่า พารืทของน้าผูกคอยตายซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องกอ่นหน้า พารืที่ทโผล่ขึ้นมาลอยๆในตอนจบ นั้นที่จริงแล้ว เป็นเรื่องส่วนตัว ภาพหน้าศพของน้าสาวเป็นภาพจริงๆของน้าสาวที่ตายไปจริงๆก็ทำให้รู้สึกขนลุกอยู่เหมือนกัน สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังจึงคือการหลากไหลของเรื่องส่วนตัวที่ดูไร้ความจำเป็นในแง่ของการเป็นภาพยนตร์ แต่ทรงพลังในแง่มุมของความเป็นมนุษย์ เหตุการณ์ที่ไม่ได้ช่วยให้สรุปพลอตหนังได้ ไม่มีตังหวะจะโคนที่ดี กลับคือภาพฉายของชีวิตที่มีน้ำเนื้อที่สุดในเรื่อง

Her Life 16:47 / กัญญ์วรา ลอมไธสง

A +++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

หญิงสาวสองคนอาศัยอยุ่ห้องตรงข้ามกัน คนแรกเป็นฟรีแลนซืทำงานอยู่กับบ้าน ให้ห้องที่อาศัยอยุ่กับคนรักซึ่งดูเหมือนจะรักเธอดี ลุกมาทำกับข้าวให้กิน ชวนให้เธอเลิกบุหรี่ แต่บางทีก็เมากลับบ้านดึกให้เธอดูแล แต่สาวห้องตรงข้ามแต่งตัวสวยไปทำงานทุกวัน ที่มากกว่านั้นคือมีผู้ชายมากหน้าหลายตามาหาที่ห้อง ใครๆก็บอกว่าเธอเป็นผู้หญิงพรรค์อย่างว่า  ท่ามกลางความว่างเปล่าหนืดเนือยของชีวิต เธอเริ่มสอดส่องชีวิตของหญิงสาวห้องตรงข้าม จนกระทั่งวันหนึ่งลูกค้าของหล่อนเคาะประตูผิดแล้วเธอเปิดรับเขาเข้ามา

พลอตของหนังไม่ได้ใหม่มากนัก แต่สิ่งที่หนังทำได้งดงามและน่าชื่นชมมากๆคือการที่หนังเปิดเผยภาพความว่างเปล่าที่ไม่อาจถมให้เต็มของหญิงสาวเจ้าของเรื่อง เธอไม่ไดทุกข์ยาก ไม่ได้ไม่มีคนสนใจ แต่มีฟองอากาศบางๆงที่โอบอุ้มตัวเธออยู่กันเะอจากความสุขที่เธอสมควรจะได้รับและเธอค่อยๆคิดเอาว่าบางทีการเป็นโสเภณีอาจจะช่วยถมช่องว่างนั้นให้เธอได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรมันจะยังคงอยู่

หนังเลือกจบในจุดที่งดงามที่สุด โดยไม่ต้องเสียเวลาลงโทษตัวละครที่ไม่ได้ทำผิดอะไร ช่องว่างที่ถมไม่เต็มของเธอ ยังคงว่างโหวงกลวงเปล่า และการที่เธอรับเอาขยะจากห้องฝั่งตรงข้ามไปทิ้งให้ ไม่ได้ทำให้เธอได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งใดอยู่ดี

นี่คือหนึ่งในหนังสั้นที่ชอบที่สุดในปีนี้

พบ 23:52 / อภิสสรา ไพรสินธุ์

A-

หนุ่มนักดนตรีที่กำลังหลงทางอยู่ในท่วงทำนองของเพลงที่เขากำลังแต่ง ได้พบหญิงสาวแปลกหน้าที่มาบันดาลใจเขา เรื่องรักแบบฮิปๆเท่ๆ  อวลกระอายเพลงแบบกรีสซี่คาเฟ่ ที่ทำได้หมดจด แต่ไม่มีอะไรหลงเหลือให้จดจำหลังจบลง

ห้องที่ 17 22:51 / ภาวิณี มิ่งเชื้อ

A +++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

เด็กสาวถูกย้ายจากห้อง1 ลงไปอยุ่ห้อง17 ห้องบ๊วยของโรงเรียนที่รวมแต่ตัวแสบๆเอาไว้ เธอเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เธอไม่สมควรอยู่กับพวกตัวถ่วงพวกนี้ ครูประจำชั้นก็ให้คำสัญญาผลัดวันประกันพรุ่งว่าจะย้ายเธอไปอยู่ห้องที่ดีกว่านี้ แต่คำสัญาลมๆแล้งๆไม่เคยมาถึง  เพื่อๆก็เกลียดเธอ พอมีเพื่อนในห้องมาสนิทกับเธอ พวกเขาก็รุมแกล้งเพื่อนคนนั้นอย่างรุนแรง  จนกระทั่งสรรพสิ่งปริแตก ความเน่าเผะของการแกล้งกันในโรงเรียนจึงแผ่ขยายแผลลามลงมาอักเสบในทุกคนที่เกี่ยวข้อง

นี่สิฮอร์โมนของจริง  หนังนักเรียนม.ปลายที่ปราศจากความปรานีปราศรัยเรื่องนี้ฉายภาพความโหดเหี้ยม หดหู่ เลวร้ายของชีวิตม.ปลาย ความเกลียดชัง ริษยาที่ผู้คนมอบให้แก่กันในโลกที่มืชื่อว่าโรงเรียน หนังเขียนเรื่องได้อย่างดงามและเลือกจบอย่างไม่ประนีประนอม  ทำให้หนังไต่ระดับไปอยู่จดสูงสุดที่มันจะไปได้

จังหวะอิสระ 21:25 / ณัฐพล รินทะกะ

A +++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

สารภาพว่าตอนดูหนังเรื่องนี้แทบร้องให้ออกมา หนังว่าด้วยมือกีตาร์ขายบะหมี่ที่เล่นกีตาร์ด้วยใจรักเป็นงานอดิเรก และขายหมี่เกี๊ยวเลี้ยงชีพ เพื่อนสนิทของเขาเป็นนักดนตรีมีชื่อเสียงที่เขาไม่เคยอยากจะเดินตามจนวันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุแล้วเขาต้องไปอัดกีตารืแทนเพื่อน แล้วไปเจอกับระบบแบบผุ้เชี่ยวชาญที่กดเขาให้เป็นคนเล่นดนตรีไม่เป็น  ดูถูกเหยียดหยามที่อานโน้ตไม่ออก และพยายามกดข่มเขาเอาไว้ จนกระทั่งเขาปลดปล่อยพลังของตัวเองออกมาแล้วเดินอกจากโลกนั้น

ระหว่างที่ดูรู้สึกรุนแรงมากๆ เพราะเราเข้าใจได้ถึงความเจ็บปวดที่เกิดจากการช่วงชิงพื้นที่ของผู้เชี่ยวชาญที่กันคนนอกระบบให้ไปอยุ่ชายขอบโดยอาศัย ศัพท์เทมคนิคแบบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้นในระบบของโลกศิลปะ  อย่างไรก็ดี  พอตัวเอกเริ่มเล่นแบบตัวเองเพื่อตอบโต้เราก็รู้สึกว่าความสะใจที่ได้รับมันไปลดลทอนพลังลง ราวกับว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องไปพิสูจน์ตัวเอง  ไแ้แสงพลัง ซึ่งนัยหนึ่งคือการก้มหัวให้พวกมันยอมรับในทางของเราทั้งที่พวกมันไม่คู่ควรแม้แต่จะได้ฟังสิ่งที่เราเล่นด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี ชอบหนังมากๆ  ชอบเพลงในหนังมากๆๆๆๆๆๆอยากได้OST ไว้ในครอบครอง

โลกข้างหน้า ฟ้าข้างหลัง 15:11 / นวพล เจริญธรรมรักษา

..

นักการเมืองมันเลว มันสมควรตาย  ไหนๆผมก็จะต้องตจาย ขอฆ่านักการเมืองเหี้ยๆให้ตายตกไปตามกัน

ทุกอย่างมันพินาศมาจากตัวต้นฉบับของวินทร์แล้ว หนังก้ไม่ได้ทำอะไรมากกว่าเล่าเรื่องตัดต่อตามขนบ ตายซะได้ก็ดี จบ

ตายสบายสบาย 13:00 / ภานุมัย ถิระพัฒน์พิบูล A-

สารคดีว่าด้วยความตาย จริงๆทำออกมาได้ดีทีเดียว อย่างไรก็ตามการเลือกท่าที่เทศนาสั่งสอนในตอนท้าย แทนที่จะพาเราไปจ้องมองด้วยตัวของเราเองก็ทำให้มันเซ็งๆลงไป

ไม้เท้า ( ฤทธิกฤต พิมปรุ) A

หนังว่าด้วยแม่ที่บ้านนอกซึ่งเดินเหินไม่สะดวกต้องมีไม้เท้าคู่กายจนวันนหนึ่งเมื่อลูกชายและลูกสะใภ้กลับบ้าน แม่ก็ไม่ต้องใช้ไเท้าอีก หนังรักแม่ตรงไปตรงมาน่ารักตามสมควร ที่ดีคือตัวละครของแม่ที่ดูเป็นแม่จริงๆ แก่ๆเหนื่อยๆ เศร่้าๆ

ไม่อยากมีวัวเยอะ (หนองโพ KID ดี)A+

จริงๆเรื่องมันคล้ายๆกันหมด  ขึ้นกัลความคัลท์ของเด็กในการคิดเรื่อง เรื่องนี้มีสองบรรทัดคัลท์มาก ไม่อยากมีวัว และไม่อยากเก็บหญ่้า อยากเจอก้องราชันย์คนตัดหนังทุกเรีื่องมากๆ เทคนิคแพรวพราวจริงๆ

ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ (ชัชชัย ชาญธนวงศ์)

A ++++++++++++++++++++++++

หนังรณรงค์พิษภัยยาลดความอ้วนแบบบ้านๆว่าด้วยสองพี่น้องที่แข่งกันลดความอ้วนยคนนึงออกกำลังคนนึงใ้ยา ใช่เรื่องมันเก่ามาก เชยระเบิด แต่มันเป็นหนังบ้านๆที่อีพี่น้องสองคนไม่เห็นว่าจะลดลงตรงไหน มันเลยตลกมาก ฟินมาก ขำก๊ากทุกวินาที

ไม่มีใครปกติ? (ปาลิดา ดำรงทวีศักดิ์)

A+++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

หนังหักมุมฌฉือนคมเวียร์ดๆว่าด้วยพี่น้องสองศรีที่แม่โดนลุงแฟนใหม่ข่มขืนจนตายคาบ้านน้องชายมาเห็นชอตเด็ดจนเป็นบ้ากลัวจู๋ตัวเอง  และเริ่มเห็นหุ่นลอเงสื้อเป็นแม่ วันหนึ่งพาเพื่อนมาตัดเสื้อเพื่อนนึกว่าตลกแต่ดันเกิดหงี่กับแม่หุ่นเลยชีวิตล่ม ลงท้ายน้องชายตัดจู๋ตัวเอง มีแต่พี่ชายคนเดียวเท่านั้นคอยดูแล แต่มันไม่แค่นั้นน่ะซี้

ในฐานะติ่ง ณ.บ. ทันทีที่เห็นหน้านางโผล่มาเป็นตัวละครเอก เราก็รู้ทันทีว่า ในหนังเรื่องนี้ ไม่มีใครปกติจริงๆด้วย เราเลยับรู้หนังในฐานะหนังหักมุมแน่ๆ ในจุดนี้เลยฟินมากกับเพลงวีนัสในฉากเฉลยที่รุนแรง ตลก เหี้ยห่ามากๆ  อันที่จริงครึ่งแรกของหนังคุมโทนระหว่างการเป็นหนังรอหักมุมที่เวียร์ดประหลาดบาดจิต กับหนังที่ลงลึกในความปรารถนา ความกลัว ไม่แน่ไม่นอนในสภาวะทางจิตของตัวละครที่เข้มข้นมาก ถ้าหนังไปทางนั้นมันก็คงไปสุดทางดังที่มิตรสหายท่านหนึ่งตั้งขอสังเหต แต่พอหนังเลือกมาทางหักมุมคัลท์แตกเราก็รับได้เช่นกัน จนแทบลุกขึ้นเต้นตามเพลงวีนัส ฮา!

ย่าและน้าสาวของผม( อานันท์ รอดประเสริฐ)

A++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

http://youtu.be/w-1oZKOexL4

หนังอาจไม่ได้ตั้งใจให้มันแหว่งวิ่นอย่างนี้ก็ได้ แต่พอหนังมันออกมาแหว่งๆแล้วพบว่ามันคว้าจับอารมณ์ได้งามมาก ว่าด้วยชีวิตวัยเด็ฏของเด็กชายกับยายตาบอดและน้าสาว เข้าาใจว่าเป็นหนังรณรงค์สภากาชาด เรื่องต้อ แต่หนังอาจจะมีตรรกะงงๆประมาณหยอดยาก็หาย แต่สิ่งที่ชอบมากๆๆๆคือฉากสถดท้ายของเรื่องที่เป็นเด็กเดินกลับบ้านกับน้าสาวตอนโพล้เพล้ แล้วยายก็พูดว่าเห็นแล้ว เราไม่รู้ว่ายายเห็นอะไร แต่ถ้ายายเห็นซีนที่คนดูเพิ่งเห็นมันก็เป๋นซีนที่งดงามมาก การมองเห็นตอนสนธยากาลมองเห็นครอบครัวของตัวเองกำลังเดินกลับบ้านอะไรแบบนั้น

รถตู้หรรษา (ไท ประดิษฐเกษร)

A+++++++++++++++++++++++++

สิ่งที่สนุกมากๆคือมันเป็นหนัง satire ที่ขำดีว่าด้วยชีิวิตมนุษย์รถตู้ รู้สึกจังหวะมุกของมันพอดิบพอดีไม่มากหรือน้อยไป

รถเมล์ที่คนถ่ายนั่งไปโรงเรียนกลับบ้านเป็นอาจิณ ( ธีรพัฒน์ งาทอง)

A+++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++

หนังมันเป็นไปตามชื่อเรื่องคือถ่ายภาพรถเมล์ที่คนทำนั่งโรงเรียน ถ่ายไว้เผื่อวันหนึ่งจะไม่ได้นั่งอีก  หนังไม่ทำอะไรมากไปกว่าเป็นภาพนอกหน้าต่างรถเมลื ผ้าม่าน  ท่อแอร์ รูขาดของเบาะหน้า คนข้างๆ ที่วางเท้า  หนังจมอยู่กับภาพแบบการจ้องมองส่วนบุคคลนานนับนาน แน่นอนว่าสำหรับผู้ชมคนอื่นมันอาจเป็นภาพที่ไม่สือความหมายอะไรเลย แต่มันมีgazing ที่งดงามมากๆ เหมือนเราผ่านเข้าไปในหน้าต่างบ้านคนอื่นและจ้องมองเขานั่งเหม่อ หรือสนทนากับคนที่เราไม่รู้จักในเรื่องที่เราไม่ได้ยิน

ภาพจำของคนเราแตกต่างกัน ภาพจำไม่จำเป็นต้องสวยงามสำหรับทุกคน บรรยากาศที่ไม่มีใครเข้าใจ รอยของผ้าม่าน หรือที่ที่เราผ่านไปทุกวัน การบันทึกภาพที่่ก่อนหน้านี้เพียงผ่านสายตาผู้คน ทำให้เรารู้สึกเหมือนคนทำกำลังบันทึก time capsule ของตัวเองซึ่งจะกล่าวในภายหลัง

รถส่วนตัวของคนสองคน (รังสรรค์ พลอยสด) A-

งานเปรียเทียบกับ รถเมล์ ฯ ของธีรพัฒน์ ว่าด้วยการจับจ้องโฒงยามงดงามของการโดยสารรถไฟไปไหนสักแห่ง  แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หนังถ่ายสวยตัดภาพอย่าเท่ประกอบเพลงอินดี้ของSLUR การพยายามจะทำให้เป็นหนัง ทำให้โมงยามงดงามเป็นภาพเลือกจำตัดขอบออกไป ในที่สุดมันก็กลายเป้นMV เก๋ๆเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้บันทึกความทรงจำส่วนบุคคลลงไป เพื่อนกลายเป้นตัวละคร และกล้แงเป็นสายตาของคนตัดต่อมากกว่าสายตาส่วนบุคคล มันจึงค่อยๆคลายความงามลงไปทีละน้อย

ระหว่างความรู้สึก ( อรทิชา และสาลี)A+

หนังรักของสาวทอมมุสลิม ที่หนังพยายามจะไม่เปิดเผยอะไรชัดๆแต่hint เอาไว้ในตรงนั้นตรงนี้ หนังมุ่งเน้นตัดภาพโมงยามความสุขของคู่รักกับความกดดันในบ้าน ที่น่าสนใจคือในขณะที่แม่บริภาษลูกสาวที่เป็นทอม พ่อของเธอก็ร่ำสุรา

ระหว่างที่รอคอย ( ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล )A/A-

หนังรามาแชนเนลแบบเดียวกับ ไก่จิกฯ ของ จุฬญาณนนท์ ว่าด้วยเรื่องข้อเข้าเสื่อม แต่โฟกัสไปที่ความกลัวการผ่าตัดของผู้ป่วย หนังตัดสลับ และเล่าเรื่องแบบหนังมากๆ จนไม่รู้ทำอีท่าไหน ความ แพนิค หวาดผวาที่ควรจะเป็นหัวใจหลักของหนังค่อยๆเจือจางลง จนเหลือเพียงการไปตามเรื่องราวที่วางไว้  ความแห้งแล้งอารมณ์ของหนังทำให้มันไม่ประสบความสำเร็จในการพุดถึงความกลัวและการก้าวข้ามความกลัวได้  เพราะเราไม่ได้รู้สึกร่วมไปกับตัวละครเท่าไหร่

รัก l ลวง l หลอก (ชลธิศร์ ลออวรคุณ )A+

ครึ่งแรกเป็นหนังรักเพ้อเจ้อว่าอีฟ้าบาณืบี้ สาวอวดหน้าอวดนมในเฟซบุคจะมาหลงรักไอ้หน้าสิถือกล้อง โถที่แท้ก็โดนหลอกใช้ประชดแฟน แต่พอครึ่งหลังหนังทวิสต์ไปเป็นหนังฆาตกรรมโหด มันก็ไปถึงจุดคัลท์สุดขีด เพราะไม่มีอะไรสมจริงตั้งแต่เลือดการฆ่า หรือหน้า นม และการกรีดร้องของอีฟ้า บาณืยี้ ความตลกโดยไม่ตั้งใจทำให้หนังสนุกมากๆ

รักเก่าที่บ้านเกิด (วัชรพงษ์ ปัทมะ)A-

ไข่พะโล้ของอีเดือน ว่าด้วยสาวแค้นแม่ที่ทิ้งไปวัยเด็กจนไม่อยากกลับไปดูแลยามแม่เป็นมะเร็ง แต่ก็ต้องกลับมา และแน่นอนรียูเนี่ยนกับแม่เพราะไข่พะโล้เลยทีเดียว หนังถ่ายสวยเล่นใหญ่ และเป็นโฆษณาไทยประกันชีวิตประกอบเพลงOST ของจางอี้วโหมวยาวสามสิบนาที

รักน้อยนิด (พรรณนารา พุ่มเจริญ)

A+++

หนังเด็กอนุบาลตบกันในโรงเรียนที่เด็กอนุบาลเล่นกันดีมากๆๆๆๆๆจนสงสัยว่าผกก.ถ่ายได้ยังไง โอเค อันที่จริงมันเป็นหนังแบบเด็กรักแม่ แต่มันออกมาบ้านๆในส่วนนั้น และออกมาเป็นหนังช่องเจ็ดในส่วนของเด็กตบกัน เลยรู้สึกพิเศษกับหนังมาๆ

รังไหมดิบ สยาม ไทรโศก (ธีรนิติ์ เสียงเสนาะ)

A ++++++++++++++++++++++++++++

ภาพับจ้องมอง ตึกที่กำลังรื้อทุบทิ้ง จินตนาการใหม่ให้มันเป็นรังของแมลง ภาพของรถไฟฟ้าและตึกที่กำลังก่อสร้าง และภาพสุดท้าย ชายแก่ที่ยืนเล่นไวโอลินตรงทางขึ้นBTS สยาม  โอเคหนังของีรนิต์คือการจับจ่้องเป็นเวลาเนิ่นนานในภาพใดภาพหนึ่งโดยตัวมันเองอยู่แล้ว  แต่สิ่งที่รู้สึกรุนแรงในหนังเรื่องนี้คือมันเป็นหนังของ space มากกว่า time  เพราะในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนสิ่งที่ธีรนิต์จ้องมองไม่ใช่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เขาไม่ได้โผล่ไปกลางอะไรแล้วจับจ้องมองมัน  แต่ดูเหมือนสิ่งที่เขาสนใจคือพื้นที่ กล้องของหนังจึงสอดส่าย สำรวจตรวจตรา ซูมเข้าและออก กิจกรรมของมนุษย์ในหนังไม่ใช่จุดใหญ่ของการจ้องมอง แต่พื้นที่ทั้งหมดต่างหาก แม้แต่ในซีเควนซ์สุดท้ายซึ่งยักย้ายถ่ายเทมาเป็นการจ้องมองมนุย์หนังังอุเทศตัวให้กับสเปซต่างๆของตัวลคุณลุง ภาพใกล้ ภาพไกล ภาพคนรอบข้าง แอมป์ มือ ไวโอลิน คุณลุงกลายเป็น space s้จ้องมองมากกว่าเป็นกิจกรรมการสีไวโอลินของตัวคุณลุงเอง มันจึงน่าสนใจมากๆว่านี่คือวิธีการจ้องมองspace ที่อาจจะเอาlandscape theory ที่บอกว่า ทุกทัศนียภาพอยุ่ในเงื้อมมือของรัฐ มาเลียบเคียงๆแบบไม่ฟิตอินได้ว่านี่คือการจ้องมองพื้นที่ ที่เป็นการค้นหาตัวพื้นที่และรายละเอียด ร่องรอยของตัวพื้นที่มากกว่าเวลาในตัวพื้นที่นั้นๆ

รักเอยอยู่หนใด (กิตติพัฒน์ กนกนาค)

A ++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

ภาพบันทึกงานเลี้ยงใต้ถุนบ้านขอครอบครัวสามัญน่าจะในวันสงกรานต์ หนังบอกตั้งแต่ต้นว่าเขารู้สึก exotic กับภาพที่เห็นมากๆ แล้วเราก็รู้สึกexotic ไปด้วย เพราะเหมือนกล้องเป็นสายตาคนนอกที่มองเข้าไปทั้งๆที่ที่จริงมันเป็นเหตุการณ์ที่เห็นกันบ่อยมากๆ เคยร่วมอยู่บ่อยมากๆ เราก็ยังรู้สึกว่ามันประหลาดพิลึกที่เห็นการร้องคาราโอเกะ กลางแจ้ง การกินข้าวกันกลางลมแรง หรือการรดน้ำดำหัว การดูหนังเรื่องนี้ทำให้นึกจึ้นได้ว่าชีวิตเราจริงๆมันก็พื้นบ้านคัลท์ๆมากๆ

รำลึกเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 (พงศกร ฤดีกุลรังสี)

A +++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

สุดขีดที่สุด หนังว่าด้วยการหายตัวไปของนักศึกษาหนังนอร์เวย์ที่มาเข้าพักโรงแรมในกาฬสินธุ์ หนังอ้างตัวว่าเป็นฟุตเตจจากสิ่งที่ถูกถ่ายไว้ในคืนก่อนเกิดเหตุ  หนังมีเพียงภาพของโต๊ะรับแขก ห้องน้ำ เตียง พื้น รองเท้าผ้าม่าน ภาพนิ่งแทบไม่มีความเคลื่อนไหว เงียบสนิท ตัดจากภาพหนึ่งไปภาพหนึ่งแต่เมื่อตัดกลับมา เฟร์นิเจอร์ก็ล้มระเนระนาด ผ้าม่านพะเยิบไหว ภาพที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เว้นแต่ช่วงท้ายที่กล้องขยับขึ้นลงอย่างน่าหวาดหวั่น ด้วยภาพเหล่านี้เราสัมผัสได้ว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นและมองหามันในทุกภาพที่ปรากฏ  หนังทำตัวเป็นfound footage ที่แผ่รังสีชั่วร้ายใส่ผู้ชมตลอดเวลา แล้วทำให้เรารู้สึกขนบุกกรูเกรียวในการมองภาพที่ไม่มีอะไรเลย หนังไม่ได้บอกว่าอะไรเกิดขึ้นในทางหนึ่งมันทำตัวเป็นตำนานเรื่องเล่าแบบปากต่อปาก urban legend ที่ไม่มีหลักฐานไม่ใช่การจำลองเหตุการณืเป็นร่องรอยของความสยองขวัญที่ความไม่มีเหตุการณ์สร้างเหตุการณืขึ้น มันเป็นหนังสยองขวัญที่น่ากลัวมาก เพราะต่อหน้าการยักย้ายถ่ายเทของเฟอร์นิเจอร์คนดูสร้างเหตุการณ์ในหัวไปแล้วเรียบร้อย

เสียดายที่มันขึ้นยี่ห้อ Willy Filmตอนจบ มันเลยลดระดับความบอกไม่ได้ว่าจริงหรือหลอกของหนังลงไปเลย ตัดโลโก้ออก มันจะเป็น Blair Witch Project เลย

รับนะ24ชั่วโมง (ภาณุ แสง-ชูโต)

A+++

สารคดีชีวิตแทกซี่  แบบtalking head  ไปเรื่อยๆซึ่งก็ทำได้ดีตามขนบ แต่มีฉากหนึ่งที่พิเศษมากๆ คือฮากที่แทกซี่คนหนึ่วงเล่นกลให้กล้องและกลุ่มเพื่อนดู ฉากเล้กๆฉากนี้ทำให้แทกซี่เป็นมนุษย์ทีมีเลือดเนื้อมากกว่าเป็นภาพแทนของคนขับแทกซี่ที่มาพูดเรื่องชีวิตแทกซี่

ร่างทรง (ฟ้่าภิรมย์ ไวว่อง)

A ++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++++

สารคดีว่าด้วยเรื่องร่างทรง ท้าวเวสสุวัน ชอบสายตาของหนังที่ แกติสารคดีแบบนี้มักจะมีอากาณเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่สายตาของหนังเรื่องนี้มันเชื่อมากกว่าไม่เชื่อ หนังปล่อยให้เจ้าของร่างทรงเล่าทุกอย่างอย่างละเอียดรุนแรงยาวนาน ผู้คนที่เคยได้รับการช่วยเหลือจากร่างทรงก็เล่าเรื่องตัวเองอย่างละเอียดรุนแรงยาวนาน ชอบเรื่องคนหนึ่งที่ร่างทรงให้กุมารมา แล้วกุมารมาทักว่ามีด่านข้างหน้า เลยให้แฟนใส่หมวกกันน๊อคก่อนถึงด่านแล้วผ่านด่านไปได้ไม่โดนปรับรู้สึกว่าเรื่องเล็กๆพวกนี้น่าสนใจมาก พวกปาฏิหารยิ์ในสิ่งเล็กๆพวกนี้ต่างหาก ที่ขับเคลื่อนให้คนเชื่อจรืง เรื่องของการถูกหวย การเตือนอะไรเล็กน้อยพวกนี้มันทำให้คนไปไกลได้มากๆ

ในอีกฉากหนังให้ร่างทรงเล่าเรื่องการทำหม้อกะลัต หรือ การทำบายศรีโดยละเอียด พวกรายละเอียดยิบย่อยพวกนี้มันน่าทึ่งมากๆ แล้วซับเจคต์ก็เปิดเผยหมด เหมือนอยู่ดีมันยักย้ายถ่ายเทประเด็นจากเชื่อไม่เชื่อจริงไม่จริงมาเป็นรายละเอียดของตัวพิธีกรรมซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์แต่ตัวพิธีกรรมล้วนๆมันไปเสริมความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร

หนังมันไม่ได้ลงลึกคมคายอะไร แต่มันมองซับเจคต์แบบกึ่งเชื่อแล้วมันออกมาดี ความขัดแย้งของพราหมณ์กับพุทธกับผีในตัวสำนักทรงมันก็ประหลาดดีแม้หนังจะไม่ได้ตีตรงนี้แต่มันก็หลุดออกมาให้สังเหตเห็นอย่างน่าสนใจ

Mister Omelette (วัชรพล สายสงเคราะห์) A+

การเปรียบเทียบในหนังมันทื่อๆงงๆไปหน่อย แต่สิ่งที่ดีคือการที่เปรมปพันธ์ ทำหน้าเป็น ธัญ ตลอดเวลา

อีกรลี่Heeพลาสติกใส (กร กนกคีขรินทร์)

A ++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

มหาสึนามิของกรลี่ ที่สุดของที่สุดแห่งความเงี่ยน ความเพี้ยน ความบ้าคลั่ง ความชิบหายวายป่วงแบบโลคัล ที่เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ทั้งงามทั้งเศร้าทั้งเวียร์ด

อารมณ์ของมันไปสุดขอบจริงๆ

มัทนะพาธา องก์ที่ ๔ (วัชรพล สายสงเคราะห์)  A++

http://youtu.be/Ddr-ps6oJSI

พอเทียบกับ สมเจตน์ มีเย็น หรือ ธีรพัฒน์ งาทอง เราพบว่า สิ่งที่ทำให้หนังไม่ไปสุดทางคือการที่มันพยายามจะจริงจังเกินไป ทำหน้าที่เป็น education film เกินไป อย่างไรก็ตามเซนส์ของ วัชรพลในการทำหนังรักนั้นมีสูงมาก  หนังจึงเลือกจบในแบบนี้ อยากให้วัชรพลกลับไปทำหนังรักแบบปีที่แล้วอีกจัง

ดึกแล้วคุณขา (ธรัช หวังวิศาล)

A ++++

จริงๆยังรู้สึกสนุกกับการทดลองแบบธีรัชอยู่ หลายๆช่วงตอนเช่นการคอมเมนท์ซ้อนตัวบทอะไรก็น่าสนใจดี แต่การวางตัวหนังเป้นหนังsatire ตลกหน้าตายแบบwes anderson มันดูยังไม่เข้าที่เข้าทาง บางมุกเช่นพระยูทูปอาจจะเวิร์ค แต่บางมุก เช่นสาวอินดี้สะพายกล้องก็ดูจงใจ พอมันกลายเป็นหนังsatire ความสนถกของการทดลองมันก็บลดลงไป แล้วหนังsatire ถ้ามันไม่คมมาก มันจะอิหลักอิเหลื่อ แล้วยิ่งมันดูเป็นหนังมากๆ (หมายถึงไม่ใช่หนังแบบกึ่งวีดีโอบ้านๆเหมือนสมัยอยู่มัธยม) เลยยิ่งรู้สึกว่า มันเข้ารูปเข้ารอยแต่พลังน้อยไปหน่อย

หนึ่ง (ธีรพัฒน์ งาทอง)

A ++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++

ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับเดียวกับ อีกรลี่Heeพลาสติกใสของ กร กนกคีขรินทร์ มันเป็นหนังที่งดงามมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อวสานโลกสวย (ปัญญ์ หอมชื่น , อรอุษา ดอนไสว)

A ++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++++++++++

เซนส์ของการเลิอกจบของหนังดูเหมือนจะคลิเช แต่ที่จริงมันตอกย้ำว่าอีก้อยชนะในเกมนี้

ฟินมาก ไปสุดทางมาก นี่คือความงามของการเคี่ยวพลอตและเรื่องอย่างเต็มที่ จนแม้การแสดงแบบแข็งๆของหนังก็ยังทำลายลงไม่ได้ เสียดายที่มันบอกแรงจูงใจแบบตรงไปตรงมาและบอกหมดเลยจนคนดูไม่ได้ต้องคิดตาม แต่รู้สึกว่ามันมีความร้ายกาจใช้ได้ แม้หนังจะขาดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เซนส์ของความชั่วช้าซึ่งเป็นสิ่งที่บทหรือการแสดงให้ไม่ได้ ต้องมาจากภายในคนทำ หรือฉากเล็กฉากน้อยที่ไม่สำคัญ

สิ่งที่ชอบสุดๆของหนังเรื่องนี้อีกอย่างคือ bodyของนีักแสดงหญิงที่ต้องเป็นเนทไอดอล เป็นนักเรียนหญิงที่เกลียดกัน รู้สึกว่าการเลือกตัวละครที่หน้าตาประมาณนี้คือสวยก็ได้ไม่สวยก็ได้ มันไปกันได้ดีกับตัวหนังในขณะที่อีเพื่อนดัดจริตของอีก้อยเป็นหน้าตาสวยสกอยท์ทุกคน

ฟินมาก ติดทอปเทนล่ะมั้ง ไม่ก็ทอป 30

อริสรา (ชาติตะการ เวชกิจ)

A +++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

++++++++++++++++++++++++++++

เป็นสารคดีเล็กๆที่งดงาม ชอบมากๆๆที่ซับเจคต์ของเรื่องมองว่าการทำศัลยกรรมสำหรับพวกเธอคนที่หาเงินเรียนเองมันคือการลงทุน จ่ายวันนี้เจ็บวันนี้หาเงินวันหน้า แล้วที่หนังบังเอิญไปคว้ามาได้ มันไม่ใช่เรื่องของชีวิตลำเค็ญของสาวพริตตี้ แต่มันไพล่ไปถึงความหมกมุ่นต่อการศัลยกรรมของตัวเอกด้วย สิ่งที่ตัวซับเจคต์เผลอพูดออกมาเรื่องการทำหน้านี่มันสุดยอดมากๆ เราเห็นความหมกมุ่นของตัวซับเจคต์ที่แรงผลักหนุนส่งจากปัจจัยแวดล้อมมากมาย ชอบที่หนังมันคว้าจับอะไรพวกนี้ออกมาได้ เสียดายที่มันอาจจะไม่คมสุดๆ มันต้องตามนานกว่านี้ พูดประเด็นเยอะกว่านี้ลงลึกกว่านี้แต่รู้สึกว่าที่ได้มานี่ก็น่าตื่นเต้นแล้ว

รู้สึกว่ามันคล้ายๆกับ ร่างทรง คือมันไปของมันได้ แม้จะไม่คมมมากแต่น่าสนใจสุดๆ

ฑ โสภา (วชร กัณหา)

A ++++++++++++++++++++++

+++++++++++++++++++++++

หลังๆเวลาดูหนังของไกด์จะรุ้สึกเหมือนดูงานของศิลปินที่มีพลังอัดแน่นเกินหน้าเครื่องมือที่เขามีให้เลือกใช้ หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพสมาชิกครอบครัวในระยะประชิด ถ่ายไรหนวด ริมฝีปาก เล็บมือ รอยแผล ส้นเท้าแตก ตาปลา ขนหน้าแข้ง ในระยะประชิด เหมือนสร้างlandscape บนเรือนร่างคนที่กล้องหลงรัก ในเพลงบรรเลงอันเศร้าสร้อย เรารู้สึกว่ามันงดงามมาก แล้วมันก็เจ็บปวดด้วยพอคิดว่าถ้าหนังมันถ่ายกล้องHD ได้รับpost production สวยๆ เกลี่ยสีแต่งแสง มันจะไปได้ไกลมากๆงดงามมากๆ แต่มันถูกจำกัดอยู่ด้วยความสามารถของกล้องหรือเครื่องตัด (และอาจะการดูในยุทูปของเราด้วย) ทำให้งานมันไม่ฉายแสงได้เต็มที่

หนังของวชร และธีนิต์ มักจะเจอข้อจำกัดแบบนี้ (ปีนี้ได้ดูหนังธนิแค่เรื่องเดียวบยังไม่กล้าฟันธง) ซึ่งมันน่าเสียดายมาก เพราะสายตา สิ่งที่พวกเขาจ้องมองมันงดงามกว่าหนังเทคนิคดีแต่ไม่มีอะไรให้จ้องมองเยอะมากๆ

เนตรแห่งโมงยาม (ธีรนิต์ เสียงเสนาะ) A+

เรายังไม่แน่ใจว่าหนังมันคือยังไง ตัวหนังจตามถ่ายกลุ่มหนุ่มสาวมุสลิมนั่งอ่านหนังสือหน้าห้างและกินส้มตำ แต่อดคิดต่อไปไม่ได้ว่ามันคือการจ้องมองโมงยามที่ไม่มีความหมายพิเศา ในขณะเดียวกันสายตาของกล้องที่เห็นมุสลิมกินส้มตำในร้าส้มตำมุสลิมมันมีความ exotic อยู่ประมาณหนึ่ง

ไทยทำ (Thai Time) ….

http://youtu.be/Fnopr2AnCT4

สิ่งที่น่าสนใจคือ argument ฝรั่งรักเจ้าดับคนไทยไร้ระเบียบมันยืนอยู่บนฐานคิดอะไร

1.ฝรั่งมันดีกว่าคนไทยตั้งเยอะมันยังยึดในหลวงเป็นแบบอย่าง การเทอดแบบนี้เป็นการมองฝรั่งสูงกว่าคน’ ฝรั่ง’ (ที่มีนัยยะเหนือกว่าดีกว่า) เขายังรักในหลวงเลย แล้วเราที่เป็นคนศักดิ์ต่ำกว่า ทำไมไม่ ฝรั่งไม่ได้ปเนตัวแทนคนนอกเฉยๆ แต่เป็นคนนอกที่มีศักดิ์สูงกว่า มันน่าสนใจว่าถ้าเปลี่ยนเป็นคนพม่า มันจะได้ตรรกะแบบนี้ไหม

2. การรักเจ้าไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องทางสังคม การพยายามโยงว่าการรักในกลวงเท่ากับไม่เป็นภัยสังคม (ถ้าจะเรียกการแวนซ์ การระเบิดภาคใต้ หรือม๊อบเป็นการทำลายสังคม =ทำลายชาติ) ตรรกะแบบนี้นอกจากจะโยงเรื่องเจ้ามาเป็นจักรวาลของทุกสิ่งแล้วมันยังอันตรายมาก เพราะแค่รักเจ้าก็เพียงพอไม่ได้พรูฟเลยว่าคนรักเจ้าจะทำอะไรเลวร้ายได้อีกหรือไม่ และการกระทำครึ่งหลังเกี่ยวอะไรกับการไม่รักเจ้า เพราะเด็กแวนซ์หรือคนตีกัน หรือชาวบ้านที่ตายก็อาจจะรักเจ้าก็ได้

การใช้ตรรกะรักเจ้าก็เพียงพอ มันเลยอันตรายและเอาไว้ให้คนปกป้องตัวเองด้วยการป้ายสีผู้อื่นในตรรกะที่ใช่้ไม่ได้

ถ้าจะเล่นตรรกะนี้ให้สุดต้องบอกว่า นหนังเรื่องนี้คือฝั่งครึ่งหลังของตัวหนังเองนั่นแหละ ไทยทำ ไทยมโนไปเอง


MARGUERITE DURAS เสียงในความทรงจำ

$
0
0

 

 

duras-india-song

ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสาร อ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2554 – มีนาคม 2555

 

เราอาจจะพอเล่าคร่าวๆได้ว่าพวกเขาอยู่โรงแรมแห่งหนึ่ง Max Thor เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เขาพบกับ Stien คนยิวเยอรมันที่อยู่ในโรงแรม นั่งคุยกันใต้ร่มไม้ Maxรอเมียที่เดินทางไปเยี่ยมพ่อแม่เป็นเวลาสิบวัน และจะมาสมทบที่โรงแรม  Maxว่าบางทีพอจากกันนานๆเขาก็ชักจะลืมหน้าเมีย Stein มารอพบคนรักเก่า ท่ามกลางคนรักมากมายของเขา เขาพบเธอครั้งเดียวแล้วจากกันตลอดกาล พบกันที่นี่ เขาเลยมารอเธอที่นี่ ยังมีผู้หญิงอีกคน คุณนาย Elizabeth ที่นอนหลับอาบแดดอยู่ในสวนเกือบจะตลอดเวลา เธออ่านหนังสือเล่มหนึ่งเกือบจะตลอดเวลา แต่ก็ไม่เคยอ่านจบเลยสักทีตลอดเวลา Alisa ภรรยาของ Maxตามมาสมทบ เธอเป็นคนรักเก่าของ Stein ด้วย พวกเขาพูดคุยกันในสวนของโรงแรม เล่นไพ่กัน นอนบนโถงห้อง  Stein มองเห็นอลิสาและMaxร่วมรักกันจากชั้นล่าง เขาบอกเธอเรื่องนี้  ซบไหล่พิงกัน Maxก็รู้ว่าพวกเขารักกัน แต่ไม่มีใครสนใจอะไร พวกเขาทั้งสามสนใจElizabeth เธอเพ่ิงฟิ้นไข้จากการแท้งลูก อาจจะไม่ได้รักลูกสาวของตัว และสามีของเธอก็เอาจจะเป็นพวกจอมเจ้าชู้อะไรแบบนั้น เรื่องในโรงแรมเดินไปอย่างสะเปะสะจับต้นชนปลายไม่ได้ พวกเขากลัวป่าที่ห้อมล้อมโรงแรม ส่วนตัวโรงแรมนั้นบอกว่ามีวิววสวยที่หาเท่าไรก็ไม่พบ มีแต่สวน ห้องว่างๆที่หน้าต่างเปิดโล่ง และมีเสียงการตีเทนนิสที่ไม่เคยเห็นผู้เล่น ราวกับตัวละครเรื่องเรืองขึ้นจากความมืด ไม่หรอก พวกเขาไม่ได้จมอยู่ในแสงที่เล็กน้อย หรือควานหากันในความมืดอะไรแบบนั้น พวกเขาแค่่เรื่อเรือง สลัวลาง ตัวตนของพวกเขาแผ่วจางเหมือนภูติผี เราอาจะรู้ชื่อ รู้ว่าเขาทำอะไร มาจากไหน หาดูได้จากสมุดบันทึกการเข้าพักของโรงแรม แต่พวกเขากลับพากันเจือจางอยู่บนเก้าอี้ในสวน ให้ห้องหับเงียบเชียบของโรงแรมร้างผู้คนที่มีแต่เสียงการตีเทนนิสที่เราไม่เคยเห็นคนเล่น พวกเขาพูดเรื่องที่เราไม่เข้าใจ หรือบางทีเราอาจจะไม่เข้าใจเอง พวกเขามีความสัมพันธ์ซับซ้อนต่อกันแต่ไม่เคยเฉลยคลี่คลายต่อหน้าเรา พวกเขาเรื่อเรืองขึ้นแล้วค่อยๆดับไปอย่างช้าๆพร้อมกับม้วนฟิล์ม

 

 

ในบ้านหลังเล็กอีกที่หนึ่ง นี้คือช่วงเวลายามบ่าย  วันที่อากาศหนาวอยู่สักเล็กน้อย สรรพสิ่งสงบอ้อยสร้อยอยู่ในโมงยามที่ราวกับหยุดนิ่ง  เสียงวิทยุแผ่วข่าวที่ผู้ฟังเพียงเปิดทิ้งอย่างใจลอย  หวนให้ได้ยินเพียงเสียงเปียโน  โน๊ตสำหรับเด็กๆหัดเล่นของลูกสาวที่เหมือนตกค้างในอากาศแล้วเพิ่งปรากฏกาย หญิงสาวนั่งนิ่งจ้องมองผ่านหน้าต่างไปยังสวน  หญิงสาวเดินเชื่องช้าในสวนนั้น  หญิงสาวรีดผ้าช้าเชื่องและหยุดเสียกลางคัน  หญิงสาวและหญิงสาวผิงไฟจากเศษกิ่งไม้เกลื่อนสวนที่เธอมากองรวมกันและจุดไฟเผา  จังหวะเนิบช้าและเงียบเชียบ แมวหง่าวสีดำที่ง่วงหาวตรงกรอบหน้าต่าง  ยามบ่ายสมบูรณ์แบบเหมือนภาพเขียนสักภาพ หากคือยามบ่ายอันอวลกระอายของกลิ่นแห่งความพิพักพิพ่วน ความอ่อนไหวที่ปริ่มจะระเบิดออกในยามบ่ายอันสงบ จนกระทั่งเซลล์แมนขายเครื่องซักผ้านายหนึ่งโผล่เข้ามาในฉากของหญิงสาวกับหญิงสาว  พกพาความกระอักกระอ่วนผิดที่ผิดทาง ทะลึ่งพรวดสู่ฉากภาพอันสมบูรณ์ ก่อนจะล่าถอยไป  กลางความเงียบอันอ่อนไหว หญิงสาวและหญิงสาว  ยามบ่ายอันลึกลับ อันอ่อนไหว อันสงบเงียบ อันสะเทือนไหว   ยามบ่าย นี้เป็นเพียงช่วงเวลายามบ่าย

คนอีกกลุ่มอาศัยอยู่ในสถานทูตในเมือกัลกัตตา นั่น เธอคือ Anne Marie Stretter ภริยาของท่านทูต ซึ่งมีสัมพันธ์ลับๆอยู่กับ Michael Richardson เขาทิ้งคู่หมั้นของเขา มาหาเธอหลังจากพบกันเพียงครั้งเดียวในงานเลี้ยง และยังมีคนหนุ่มอีกสองสามคนที่ติดตามเธอมา  พวกเขาเดินเล่นในสวนร้าง นอนเปลือยอกบนพื้น เมืองที่มีอากาศระอุแม้ยามดื่นดึก เสียงของหญิงขอทานชาวลาวเสียดแทรกเข้ามาในอากาศ  หญิงขอทานซึ่งเดินเท้าจากสะหวันนะเขตข้ามมาจนถึงกัลกัตตา หญิงซึ่งร้องเพลงพื้นเมือง และร้องขออาหาร ใครคนหนึ่งในกลุ่มติดตามหญิงสาวคนนี้ไปรอบๆเมืองๆ พกพาเอาเสียงร้องขอของเธอให้อวลลอยในอากาศ พวกเขาจัดงานเลี้ยงรับรองกันขึ้น Anne Marie Stretter เต้นรำกับ Michael Richardson ทั้งคืน ทิ้งให้ท่านรองกงสุลที่ตามรักเธอต้องโดดเดี่ยว พวกเขาจะพากันลงไปยังเรือนรับรองที่เกาะ แต่เธอไม่ให้ท่านรองกงสุลติดตามไป เขายืนมองเธอเต้นรำด้วยหัวใสลาย เขาร้องให้ กรีดร้องอย่างบ้าคลั่งเหมือนเด็ก และเสียงร้องเขายังเสียดแทรกอากาศอยู่แม่ว่าเขาจะจากไปนานนับนาน เสียงของรองกงสุลค้างอยู่เช่นนั้น ปะปนไปกับเสียงของหญิงขอทาน Anne Marie Stretter จะต้องตาย ท่านรองกงสุลอยู่ในตอนที่เธอตาย หลังเธอตาย ไมเคิล ริชาร์ดสันจะออกจากอินเดีย แต่เราจะไม่เห็นเธอตาย ไม่ได้เห็นอะไรมากไปกว่า ภูติผีของพวกเขาและเธอเลื่อนลอยอยู่ในห้องโอ่อ่าที่รกร้างว่างเปล่า

 

แล้วยังมีผู้หญิงอีกคนหนึ่งในปราสาทหรูหรา ที่โรงแรมตีนเขา ผู้ชายที่เคาน์เตอร์กับนักข่าวที่เพิ่งเดินเข้ามาเล่าเรื่องนาง Vera baxter หญิงลึกลับที่มาพักที่ปราสาทหรูหราทุกปี  เธอมีสามีรวยๆที่ไม่ได้เอาใจใส่เธอมากนัก พวกเขาเล่าให้ผู้หญิงคนหนึ่งฟัง ผู้หญิงอีกคนโผล่มาแล้วบอกว่ามีคนเช่าบ้านนั้นแล้ว  นายหน้าผู้ให้เช่าตามหาหญิงสาวไม่พบ โทรไปก็ไม่มีคนรับ ไม่มีใครติดต่อได้เธออยู่ในบ้านไม่ยอมออกมา ผู้หญิงแปลกหน้าลึกลับที่ทุกคนพูดถึง  ต่อมาหญิงสาวที่มาใหมได้พบกับ Vera Baxter ในบ้านของเธอ ภาพทะเล สวน ต้นไม้ กรอบหน้าต่าง ถูกแทรกเข้ามาในบทสนทนาของผู้หญิงสองคนคนหนึ่งเป็นเมียเอก และอีกคนเป็นเมียเก็บ สามีของเวรามีเมียเก็บมากมาย หญิงสาวเป็นหนึ่งในนั้น เธอสองคนพูดเรื่องของJean สามีร่ำรวยของVera พวกเธอต่างบอกกันว่าต่างโกหกเรื่องต่างๆ ที่แน่ๆ Veraก็คบชู้กับใครสักคนและพาเขามาที่นี่ด้วย  คำลวงของความทรมาน  รักของเธอสองคนดำเนินไปเช่นนั้น

เวราโทรไปหาสามีของเธอพยายามควบคุมอารมณ์ แต่ในที่สุดก็เกรี้ยวกราด แต่เราไม่ได้เห็น ทุกครั้งที่เธอของขึ้นกล้องจะตัดไปหาทะเล ท้องฟ้า สวน กรอบประตู ช่องทางเดินของบ้าน เธอขอให้เขาเลิกกับเธอเสีย และเขารู้ว่าเธอนอกใจ ซึ่งเขาไม่อาจทนได้ ที่ปลายสายอีกด้านเด็กสาวคนหนึ่งถามเอากับกล้องว่าคุณโทรหาเธอใช่ไหม ใจอยากจะโทรกลับไปแต่ไม่ได้ทำ

หญิงสาวแปลกหน้าจากโรงแรมตีนเขาเดินทางมาหาVeraที่บ้าน เธอเป็นตัวแทนของชายหนุ่มที่บาร์ที่เรารู้แล้วว่าเป็นชู้รัก  Veraเล่าเรื่องของชู้รัก เล่าเรื่องของสามีที่เงินมากแต่ไม่ได้ร่ำรวยเลยสักนิด  ชายคนที่Veraแต่งงานด้วยเป็นเพียงนายทึ่มมากรักผู้น่าเบื่อหน่าย ชู้รักของเธออาจหล่อเหลาแต่ก็เป็นแค่แมงดาเกาะผู้หญิงกิน พวกเธอผลัดกันเล่าเรื่องเฉพาะของVeraเอง หญิงแปลกหน้าบอกจะพาเธอไปหานายหน้าเรื่องเช่าบ้าน ไปพบชู้รักที่บาร์ แต่ผู้หญิงสองคนก็พูดคุยกันท่ามกลางภาพของทะเล กรอบหน้าต่าง สวน ปราสาทโบราณ ภาพที่ถูกสอดแทรกเข้ามาท่ามแสงซึ่งโพล้เพล้ลงไปเรื่อยๆ

นี้คือเรื่องเล่าบางเรื่องของเธอ เรื่องเล่าที่ไม่ได้ถูกเล่าอย่างที่เขาเล่ากันทั่วไป ก็อย่างที่ได้อ่านไป มันถูกเล่าเป็นเพียงบางส่วน ถูกเบียดแทรกด้วยเสียงอื่น ถูกทำลายลงอย่างไม่ปะติดปะต่อ ด้วยการอมพะนำและไม่เล่า ไม่กระทั่งปริปากพูด และนั่นคือวิธีที่เธอเล่าเรื่อง

 

เรื่องเล่าของDURAS

 

‘อาจจะ บางที เป็นไปได้ว่า แต่ก็อาจจะไม่’  คำเหล่านี้อาจจะเป็นคำที่เหมาะเจาะเมื่อคุณจำเป็นจะต้องอธิบาย สิ่งที่เกิดขึ้น และเจือจางไปต่อหน้าจอของคุณในภาพยนต์ของ Marguerite Duras  ราวกับมีบ้านสักหลังที่คุณมองไม่เห็นบ้านทั้งหลัง หรือห้องที่คุณเห็นเพียงบางส่วน  ต่อให้ใหญ่โตโอ่อ่าอย่างโรงแรม หรือวิลล่าสวยๆ คุณก็จะจินตนาการไม่ออกว่าสถานที่นั้นคือที่ใด ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ตัวละครที่คุณเห็นดูราวกับจะเป็นภูติผีมากกว่ามนุษย์ ภูติผีซึ่งล่องลอยอยู่บนจอท่ามกลางเสียงเล่าที่ไม่นำพาเราไปสู่สิ่งใด เมื่อใครทำอะไร เรามักจะไม่เห็นว่าเขาหรือเธอทำ เราอนุมานเอา และอย่างไม่อาจรับทราบถึงแรงจูงใจใดๆ พวกเขาอาจจะตายมาแล้วสองร้อยปี หรือไม่ได้มีอยู่ อาจจะทำหรือไม่ได้ทำ รักหรือไม่ได้รัก  หรือบางทีอาจจะเป็นแค่ภาพเรืองแสงคล้ายมนุษย์เท่านั้นเอง

 

ใครต่อใครอาจรู้จักเธอผ่านภาพร่างเปลือยของเด็กสาวแรกรุ่นที่มีชู้รัก เป็นหนุ่มใหญ่ชาวจีน จากหนังอีโรติค ย่าง The Lover (ที่สร้างจากบทประพันธ์ของเธอเอง) ภาพลักษณ์ exotic ของเวียดนาม กลายเป็นภาพจำที่เรามีต่อ มาร์เกอริต ดูราส์ (Marguerite Duras)

หากในหนังเรื่องนั้นเลือกหยิบเพียงส่วนเดียวจากชีวิตของเธอมาเล่า  แล้วขยายภาพฉากรักเสียจนเลิศเลอ ทั้งๆ ที่จริงเธอคือเด็กสาวชาวฝรั่งเศสที่เกิดในเวียดนาม พ่อกับแม่ของเธอ เดินทางมาอาศัยที่เวียดนามตามโครงการของรัฐที่ให้คนฝรั่งเศสเข้าไปอาศัยใน ดินแดนอาณานิคมได้  หลังจากใช้ชีวิตวัยเด็กและแรกรุ่นใน ประเทศแถบอินโดจีน  Duras และครอบครัวย้ายกลับมาฝรั่งเศส เธอเข้าเรียนสาขารัฐศาสตร์ กฎหมาย ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์   และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเธอเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่อต้านนาซี

เธอเป็นทั้งนักเขียนนิยาย บทละคร ผู้กำกับหนัง และเป็นนักคิดคนสำคัญที่ไม่เคยเข้าพวกกลุ่มใด  งานวรรณกรรมของเธอนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างดี ทั้งในแง่ของความงดงามทางภาษา และเสียงเล่าที่ทรงพลัง ไม่ปะติดปะต่อ ผุดพรายประหนึ่งก้วงความทรงจำที่เลือนเอาทั้งเหตุการณ์ สถานที่ และ เวลาเข้าหากัน

หากในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์  ชื่อของ Marguerite Duras มักถูกจดจำในฐานะคนทำหนังที่เต็มไปด้วยการทดลองอันหาญกล้า หนังของ Duras พร่าเลือนเสียยิ่งกว่าวรรณกรรมของเธอ  คนดูครึ่งหนึ่งชื่นชมบูชาเธอในฐานะคนทำหนังที่ก้าวไปสู่ขอบเขตใหม่ๆของภาพยนตร์อย่างไม่ปะนีประนอม ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งสาปส่งหนังของเธอ ว่ามันช่างน่าเบื่อ ไม่มีใครทำอะไรในหนัง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีแต่คนนั่งอ่านหนังสือ โธ่เอ๋ย!

ตัวละครหลักที่เป็นสตรี เสียงเล่าที่ซับซ้อน แตกกระสานซ่านเซ็นออกจากตัวภาพในระดับที่ไม่อาจประสานกันได้แต่ก็ไม่อาจดำรงคงอยู่เพื่อให้มีความหมายอย่างสมบูรณ์ในตัวมันเองได้เช่นกัน  หรือเรื่องเล่าของความรักที่ไม่อาจครอบครองซึ่งเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนสองระดับ ทั้งต่อตัวละครที่กัดกินลึกซึ้งลงในความรู้สึกสะเทือนไหว ไร้ความจีรังยังยืน ราวกับเมื่อเริ่มตกหลุมรักความรักก็กำลังตายลง และในอีกทางหนึ่งความรักที่ไม่อาจเติมเต็มนี้็สะท้อนความเจ็บปวดต่อโลกในอีกระดับด้วยเช่นกัน

Duras เริ่มต้นในวงการภาพยนตร์ด้วยการเขียนบท Hiroshima Mon Amour ภาพยนตร์เรื่องสำคัญของ Alain Resnais ซึ่งเป็นชนวนสำคัญในการระเบิดขึ้นของ French New Wave ในหนังเรื่องนี้ Duras เล่าเรื่องความสัมพันธ์ข้ามคืนของดาราสาวชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ในฮิโรชิมา และพบพานกับสถาปนิกหนุ่มชาวญี่ปุ่น  พวกเขาพบกันร่วมรักกัน และสนทนากันถึงคนรักเก่าที่บ้านเกิดของเธอ ทหารเยอรมันในชนบทฝรั่งเศส ศัตรูซึ่งตายลงในคืนที่พวกเขาจะหนีไปด้วยกัน เธอถูกคนทั้งเมืองจับกร้อนผมและขังไว้ในห้องใต้ดินตลอดช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองหลังสงคราม  คืนหนึ่งเธอหนีไปจากที่นั่น สิบปีล่วงผ่าน แต่เธอังจดจำเมืองนั้นแม้พยายามจะลืม จนเธอได้พบเขาในฮิโรชิม่าที่เธอพยายามจดจำแต่ก็คงจะลืมไปจนหมดสิ้น

ช่วงปี 1966 Duras เริ่มกำกับหนังเองเป็นครั้งแรกโดยร่วมกำกับกับ Paul Seben ใน La Musica หนังที่เล่าเรื่องของสองผัวเมียงที่แยกทางกันไปแล้วแต่กลับมาพบกันอีกครั้งเพื่อเซ็นใบหย่าให้กันในโรงแรมนอกเมือง จวบจนปี 1969 Duras จึงกำกับหนังแบบฉายเดี่ยวเป็นครั้งแรก และผลลัพธ์ของหนัง 18 เรื่อง หลังจากนั้นได้กลายเป็นหนังที่พิเศษไม่เหมือนใคร ไปตลอดกาล

เราอาจแบ่งหนังของ Durasได้หลายแบบ อาจจะไล่ตามปีที่สร้างของหนัง หรือ ชุดตัวละครที่หนังเลือกใช้ อย่างไรก็ดีในที่นี่ผู้เขียนขอเลือกจัดกลุ่มหนังของ Duras ตามลักษณะเด่นๆในหนังของเธอ

เรื่องของเสียงเล่า 

แรกเริ่มเดิมทีนั้นภาพยนตร์ไม่มีเสียง ในยุคสมัยของหนังเงียบ คุณค่าทางศิลปะของภาพยนตร์ขึ้นอยู่กบพลังของภาพแต่เพียงอย่างเดียว หากเมื่อภาพยนตร์มีเสียง  ภาพยนตร์ก็ได้พาตัวเองถลำลึกเข้าไปสู่โลกของเรื่องเล่าโดยสมบูรณ์ โดยผ่านไปทางเสียงของบทสนทนา  เขาสู่โลกของเสียงประกอบ เข้าสู่โลกของเสียงบรรยาย เมื่อตัวละครสามารถพูดบอกเล่าได้ หรือแสดงน้ำเสียงได้  ในโลกของหนังเสียง ภาพยนตร์ได้รับพลังของการพูด(ที่แน่นอนต้องสอดรับไปกับภาพ) อย่างไรก็ตาม ในโลกเช่นนี้มันก็ยังเป็นโลกที่ภาพได้รับศักดินาอยู่เหนือเสียงชั้นหนึ่ง เสียงซึ่งจำต้องล้อไปกับภาพ เสียงซึ่งพูดสิ่งที่ภาพได้พูดไว้แล้ว หากศักดินาเช่นนี้ถูกทำลายลงในหนังของMarguerite Duras *1

เนื่องเพราะในหนังของ Duras เสียงไม่ได้รับใช้ภาพอีกต่อไป เสียงกับภาพในหนังของเธอแยกจากกัน หากไม่ใช่การแยจากกันเป็นเอกเทศ  เพราะมันแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเพียงดูภาพแต่เพียงอย่างเดียวหรือฟังเสียงแต่เพียงอย่างเดียว ในหนังของเธอ เมื่อเสียงแยกจากภาพทั้งคู่จะตายลง แต่เมื่ออยู่รวมกัน ก็ไม่ได้กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน หากมีแต่การอยู่ร่วมกันเพื่อย้อนแย้งทำลายกันแะกันท่านั้นจึงจะทำให้ภาพยนตร์ของเธอสมบูรณ์

 

ในหนังของDuras ตัวละครจะพากันสนทนา แต่เราไม่มีทางรู้ว่าบทสนทนาคือเสียงของตัวละครจริงกระนั้นหรือ หรือถ้าเรารู้ เราก็ไม่อาจบอกได้ว่าตัวละครสนทนากัน หรือกำลังสนทนากับผู้ชม

เริ่มต้นจาก Woman of the Ganges (1974) ที่เล่าเรื่องของคนสี่ห้าคนที่หาด ทราย  พวกเขาแค่ยืนเหม่อมอง ตัดสลับกับภาพไร้การเคลื่อนไหวของโรงแรมริมหาด ผ้าม่านถูกลมพัด ทรายในซอกน้ิว หรือโถงทางว่างเปล่า เสียงเล่านั้นเป็นของสตรีสองนางซึ่งอาจจะเป็นคนที่อยู่ที่ชายหาดหรือไม่ก็ได้ เล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่เดินทางมายังโรงแรมเพื่อที่จะฆ่าตัวตายเนื่องจากเขาต้องเลิกร้างกับคนรักเก่า ในหนังเรื่องนี้เสียงเล่าขยับขึ้นมากำหนดความหมายของเรื่อง ภาพและบทสนทนาเลื่อนไหลลงไปเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้นเอง

ต่อมาในindia Song (1974) ตลอดทั้งเรื่องบรรดาตัวละครในสถานทูตทำเพียงแค่เดินไปเดินมา เต้นรำ สูบบุหรี่ นอนบนพื้น ในขณะที่ตลอดเวลาจะมีเสียงบรรยาย บ้างเป็นบทสนทนา บ้างเล่าถึงอนาคตของบางตัวละคร บ้างประชดเสียดสีตัวละคร บ้างเล่าเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง บ้างเป็นเสียงของผู้ที่ไม่อยู่ในฉาก และ แทรกสอดด้วยเสียงคร่ำครวญของหญิงสาวชาวลาวที่ร้องเพลงและร้องขอข้าวกิน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อท่านรองกงสุลโดนปฏิเสธรัก เสียงร้องคร่ำครวญของเขาก็ยังดำรงคงอยู่แม้เขาจะจากไป เสียดแทรกเข้ามาในเสียงตัวละคร ท่านกงสุลเป็นเสียงขอคร่ำครวญอันรวดร้าวของภูติผี เฉกเช่นเสียงของหญิงขอทาน ที่หนักหนาไปกว่านั้นคือไม่ว่าเสียงใดที่เราได้ยินไม่ได้ออกจากปากตัวละครโดยตรงเลยสักคน พวกเขาหุบปากสนิทโดยตลอดทั้งเรื่อง มีแต่เสียงเท่านั้นที่ล่องลอยฟุ้งกระจาย

 

ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของภาพ และเสียง อันไม่สัมพันธ์ หนังกลับตอกตรึงสายตาผู้ดูด้วยภาพอันทรงพลัง อาคารเก่าแก่ปิดตาย สนามที่ปูนแตกกร่อน สนามเทนนิสว่างเปล่า แนวต้นไม้ทอดยาวไม่รู้จบ กล้องทอดสายตาไปในสวนอันค่อยๆมืดมน โถงทางเดินอันยืดยาว

 

หนังใช้ภาพกับเสียงที่ไม่สัมพันธ์กันทำลายความสามารถในการรับรู้ของคนดู เมื่อตัวละครไม่ได้พูดแต่เรากลับได้ยินเสียง และเสียงนั้นมีมากกว่าหนึ่งคน บางครั้งอ่อนหวาน บางครั้งกราดเกรี้ยว มันอาจเข้าใจได้ หากเสียงนั้นคือเสียงของ ผู้เล่า แต่เปล่าเลย เสียงนั้นบางครั้งก็ดังมาราวกับมีส่วนร่วมกับตัวละคร (แต่อยู่นอกจอ)บางครั้งก็เสไปเล่าเรื่องของตัวละคร

 

ผู้เล่าในIndia Song  จึงไม่ใช่บุคคลในภาพที่เราเห็น(และยิ่งหนักหนามากขึ้นเมื่อภาพที่เราเห็น หลายต่อหลายครั้งเป็นภาพลวงตา เป็นเพียงภาพสะท้อนจากกระจกเงาบานใหญ่ระจกทำลายการรับรู้ทิศทางของคนดูจนหมดสิ้น เมื่อบางครั้งหนังทอดกล้องให้เราเห็นตัวละครเดินลงบันไดมา แต่เธอกลับโผล่มาปรากฏอยู่ด้านข้างของจอ ฉากหนึ่งเราเห็นฉายหนุ่มเบือนหน้าหนีคู่เต้นรำ แต่ภาพนั้นสะท้อนเงากระจก ที่แท้เขาจ้องมองคู่เต้นหากหันหลังให้กระจก

กล่าวอย่างง่ายที่สุด นี่คือการพลัดหลงอย่างถึงที่สุดของคนดู เพราะหนังเรื่องนี้คือเรื่องเล่าไม่ปะติดปะต่อ เสียงที่ไม่ทราบที่มา และภาพที่ไม่อาจกำหนดทิศทาง คนดูถูกทอดทิ้งไว้ท่ามกลางสรรพสิ่งอันเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์ที่ไม่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน หากเต็มไปด้วยพลังลึกลับ ราวกับพลัดหลงไปในมิติประหลาด ที่เราไม่รู้จัก ไม่มีทางเข้า และไม่มีทางออก )

ตัวละครในหนังไม่มีใครปริปากพูดตลอดเรื่อง อันที่จริงมันราวกับว่าบรรดาตัวละครพากันมานั่งดูวีดีโอเหตุการณ์ทั้งหมดแล้วเล่าสู่เหตุการณ์กันฟังว่าฉันพูดอะไร หรือไม่ได้พูดอะไร หรือที่จริงแล้วมีอะไรอยู่นอกฉากนั้น

 

หากในความเป็นจริงนั้นแตกต่างไปมาก Duras ถ่ายหนังเรื่องนี้โดยการให้ตัวละครมาบันทึกเสียงกันก่อน เสียงทั้งหมดถูกจัดวางเรียบร้อยแล้วก่อนจะถ่ายทำหนัง เมื่อถ่ายทำ Duras จะเอาเสียงนี้มาเปิด  และให้ตัวละคร ‘ฟัง’แล้วปฏิบัติตาม  Duras บอกว่าเธอกำชับ Delphine Seyrig  (ผู้รับบทAnne Marie Stretter)  ว่า ห้ามเล่นเป็นตัวละคร ห้ามเข้าถึงตัวละคร เธอจะแค่ต้องฟังสิ่งที่ถูบันทึกเอาไวแล้วทำตาม เมื่อเสียงนั้นบอกว่าเธอเดินไปที่เปียโน Delphine จึงจะเดินไปที่เปียโน ระยะเวลาระหว่างการฟังแล้วทำตามได้ดึงตัวนักแสดงออกจากตัวละคร พวกเขาเป็นเพียงสิ่งซึ่งทำตามคำสั่งของเสียง เป็นเพียงแบบจำลองของสิ่งที่เสียงสั่งให้ทำ ไม่ได้เป็นมนุษย์ เป็นดังภูติผีเสียมากกว่า

 

สิ่งนี้ได้รับการตอกย้ำอีกครั้งอย่างหมดสิ้นความประนีประนอมใน Son nom de Venise dans Calcutta Desert(1976) หนังที่เป็นเสมือคู่แฝดของIndia Song  ในหนังเรื่องนี้ Duras ยกเอาเสียงทั้งหมดของIndia Song มาวางประกบคู่กับภาพที่เป็นเพียงการถ่ายอาคารร้าง อาคารที่อาจจะใช้เป็นอาคารสถานทูตในIndia Song กล้องกวาดจับ พื้น ผนัง เพดาน สวนเศษอิฐปูนกล่นเกลื่อน วัชพืชงอกงามที่นั่นที่นี่ ถึงที่สุด กระทั่งบรรดาตัวละครก็ระเหิดหายไป เหลือเพียงอาคารว่างเปล่าและเสียงของผู้คนที่ล่องลอยราวกับว่าถึงที่สุดพวกเขาก็ได้ตายลง หรือหายตัวไปด้วย พวกเขากลายเป็นเช่นหญิงขอาน และท่านกงสุล กลายเป็เนเพียงเสียงคร่ำครวญของดวงวิญญาณที่ยังวนเวียนในอาคารเก่าคร่ำคร่า  มาถึงจุดนี้ เสียงไม่เพียงแต่สั่งการนักแสดงเท่านั้น หากกำหนดจินตนาการของผู้ชม มันต่างไปจากการเป็นเสียงเล่า เพราะในตัวมันเองมีความย้อนแย้งกันอยู่ มีทั้งอากัปของการสนทนาหรือการเล่าที่ย้อนแย้งกับสิ่งที่เล่าไปแล้ว ด้วยลักษณาการนี้ Son nom de Venise จึงมีลักษณะของการเป็นการหลงติดในบ้านผีสิงมากกว่าสารคดีนำเที่ยวสถานทูต

 

จนกระทั่งมาถึงหนังเรื่องสำคัญอีกเรื่องของเธอ นั่นคือ  Le Camion หนังที่ถือได้ว่าก้าวไปไกลกว่าสิ่งที่ Hiroshima Mon Amour และ India Song เคยทำไว้ เพราะนี่คือหนังที่ Duras  ทำโดยการนัดนกแสดงชาย  Gerard Depardieu  มาที่บ้าน จากนั้นทั้งคู่ก็นั่งลง อ่านเรื่องที่ Duras  แต่งขึ้น เรื่องของสาวนักโก กับคนขับรถบรรทุกหัวเอียงซ้าย ทั้งคู่อาจจะมีบทของตัวเอง แต่พวกเขาอ่านทั้งหมด ทั้งคำบรรยาภาพและบทสนทนา ภาพในหนังคือการบันทึกการอ่านของคนทั้งคู่ ตัดสลับกับภาพจากการะจกรถบรรทุกที่ท่องไปตามทัศนียภาพต่างๆ ภาพของชีวิตยากจนรายทาง ดินแดนรกร้างห่างไกลคลอไปกับดนตรีเบาบางของ บีโธเฟน ซึ่งตลอดหนังทั้งเรื่องมีเพียงภาพสองแบบนี้เท่านั้น

 

Duras ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังเอาไว้อย่าน่าสนใจว่า สำหรับเธอ นี่ไม่ใช่การแสดง หัวใจของหนังเรื่องนี้คือ ‘การอ่าน’ การอ่านของเธอไม่ใช่การรับบทบาท ดังนั้นมันจึงไม่สามารถจะเป็นละครเวที หรือไม่สามารถจะเป็นแม้แต่หนังสือเพื่ออ่านในใจได้ มันคือการอ่านโดยตัวของมันเอง ภาพของการอ่านสลับคลอไปด้วยจังหวะของดนตรีและภาพทัศนียภาพ การจับจ้องมองการอ่าน และการฟังการอ่าน ทำให้หนังเรื่องนี้สมบูรณ์  กล่าวอย่างถึงที่สุดเสียงของการอ่านและภาพของการอ่าน ภาพของทัศนียภาพรวมกันต่างหากคือหนังทั้งเรื่องนี้ มันไม่ใช่หนังว่าด้วยตัวละครอ่านหนังสือ หากมันคือการรับรู้เรื่องในอีกแบบหนึ่งโดยสิ้นเชิง

 

ดูเหมือน Le Camion จะเป็นจุดเปลี่ยนบางประการของ Duras หลังจากหนังเรื่องนี้ Duras ก็แทบไม่กลับมาทำหนังในแบบขนบอีกเลย(ขนบในที่นี้ เราอาจจะพูดได้เพียงว่า อย่างน้อยก็เป็นหนังที่พอจะมีเรื่องเล่า บทสนทนาและตัวละครอยู่บ้าง แต่ไม่ได้หมายถึงขนบกนังเล่าเรื่องปกติแต่อย่างใด) เพราะหลังจาก  Le  Camion เธอก็ทำ Les Mains Negatives(1978) , Cesaree (1978) , Aurelia Steiner ( มีสองภาค คือ  Melbourne และ Vancouver) (1979) และ Dialouge de Rome( 1983) หนังในกลุ่มนี้ล้วนเป็นแต่ภาพของทัศนียภาพในสถานที่สักแห่งหนึ่ง ภาพยามเช้าของกรุงปารีส ภาพของสวนสาธารณะ หรือภาพของสถานที่ท่องเที่ยว สักแห่ง คลอไปกับเสียงเล่าเรื่องของตัวเธอเอง บทความที่เธอเขียนขึ้นด้วยอาการกึ่งบทกวี การเล่าว่าสวนที่เห็นคือเมืองโบราณที่กำลังล่มสลาย การฉายภาพยามเช้าของคนยากจนริมทางคลอไปกับเรื่องเล่าตำนานโบราณ หรือกระทั่งการท่องเที่ยวในโรมที่เสียงเป็นบทสทนาเกี่ยวกับความรักของเธอกับ Yann Andrea นักเขียนรุ่นน้องที่เป็นเพื่อนคู่คิดของ Duras

 

อย่างไรก็ดี หนังที่เราควรจะกล่าวถึงเพื่อปิดพลังของเสียงเล่าของเธอคือ   Agatha et les Lectures Illimitees เพราะนี่คือหนึ่งในหนังที่อาจจะส่วนตัวที่สุดของเธอ เรื่องหนึ่ง หนังเป็นทั้งการควบรวมเอาเสียงเล่าของเธอ ผสานเข้ากับเรื่องเล่าที่เป็นเรื่องเล่าสำคัญของเธอมาตลอด นั่นคือ เรื่องรักที่ไม่อาจสมหวัง

 

ในหนังเรื่องนี้ภาพนั้นมีเพียง โรงแรมที่เหมือนจะร้าง โถงทางเดิน ห้องล๊อบบี้ ทุกที่ว่างเปล่า นอกบานหน้าต่าง ทุกอย่าดูเหงาเศร้าในวันที่แทบไม่มีแสงแดด  ทะเลสบราบเรียบ ราวกับว่ามันจะเป็นวันที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น และมันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเสียจริงด้วย Agatha เดินทางมาที่โรงแรมริมทะเลแห่งนี้เพื่อพบกับคนรักก่าของเธอ กล่าวให้ถูกต้อง ‘พี่ชายของเธอเอง’  ทั้งคู่นัดพบกันอีกครั้งที่นี่ หลบสามีและภรรยาของตัวเองมาพบกัน แต่ที่พวกเขาทำคือการยืนมองเหม่อไปทางทะเล  นอนหลับอยู่บนโซฟา เสียงที่เราได้ยินก็คือเสียงของคนทั้งคู่ แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเสียงจากอดีต หรือปัจจุบัน เป็นเสียงของการสนทนา หรือเสียงเล่าจากที่อื่น ไม่ปะติดปะต่อ ไม่ย้อนเล่าความหลัง ทั้งหมดเป็นเพียงความเศร้าสีจาง ของตัวละครภูติผีที่ไม่ปริปาก (ในทำนองเดียวกับ India Song )

 

อีกครั้ง เสียงเล่าบอกบางอย่าง และไม่บอกอีกอย่าง เอาเข้าจริงเสียงเล่าใน Agatha อาจจะคลุมเครือกว่าเสียงใดๆที่เคยได้ยินมาในหนังของเธอ มันเป็นราวกับการแอบฟังคนที่เราไม่รู้จักคุยกัน พวกเขาสนทนาในเรื่องที่เราไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ และแน่นอนเขาไม่ปรารถนาให้เรามีส่วนร่วม สรรพสิ่งสลัวในครึ่งแสงของทะเลสงบราบเรียบ ความเศร้าในรักที่เป็นไปไม่ได้ถูกถ่ายทอดถึงความตายของมันอย่างช้าๆในหนังเรื่องนี้

 

รักต้องห้าม

 

ดูเหมือนความรักที่ไม่อาจสมหวังจะเป็น องค์ประกอบหลักสำคัญเสมอในงานของ Duras ทั้งนี้เราอาจจะเริ่มต้นจากนิยายอันโด่งดังอย่าง The  Lover ที่เล่าอัตชีวประวัติในช่วงวัยรุ่นของเธอ ความรักต้องห้ามของเด็กสาวผิวขาว กับหนุ่มใหญ่ชาวจีน  ภาพสะท้อนนี้ถูกถ่ายทอดซ้ำออกมาในหนังหลายต่อหลายเรื่องของเธอด้วยเช่นกัน  ย้อนกลับไปได้ตั้งแต่คู่รักหนุ่มญี่ปุ่น สาวฝรั่งเศส ใน Hiroshima Mon Amour ที่สามารถแทนค่าได้อย่างตรงไปตรงมา ในฐานะของคู่รักคืนเดียวที่อาจจะไม่ได้พานพบกันตลอดชีวิต ยิ่งในช่วงท้ายที่หนังให้ตัวละครเรียกกันด้วยชื่อเมือง มันก็ยิ่งย้อนกลับไปหาฉากแรกของหนัง(ซึ่งเป็นฉากของภาพไม่ปะติดปะต่อประสมเสียงเล่าจากบทสนทนาของคู่รักที่พูดเกี่ยวกับการลืมและการจำ) ความไม่สามารถจะจดจำฮิโรชิม่าของหญิงสาว ถูกทาบทับเข้ากับความสัมพันธืที่ต้องลงเอยด้วยการจากกันของทั้งคู่ เป็นความรักที่ฝากรอยแผลเอาไว้ไม่ใช่เพราะไม่อาจลืม แต่ไม่อาจจำต่างหาก

 

ในIndia Song ก็เช่นกัน เลยพ้นไปจากเรื่องที่ว่า Anne Marie Stretter นั้นที่จริงแล้วมีตัวตนอยู่ในความทรงจำของ Duras จริงๆในช่วงขณะที่เธออยู่ในอินโดจีน เรื่องรักของเธอเป็นที๋โจษขานกันในขณะนั้น และในทางหนึ่งดูเหมือนจะเป็นแบบแผนภาพสะท้อนที่ส่งต่อมาต่อความรักของเธอในเวลาต่อมาด้วยเช่นกัน

กล่าวให้ถูกต้องเราอาจจะบอกว่าความสัมพันธ์ของท่านรองกงสุล กับAnne marie Stretter จึงดำเนินในรูปรอยของความรักต้องห้ามที่ไม่อาจเป็นไปได้  ยิ่งหากเราเปรียบเทียบท่านรองกงสุล (ในฐานะเสียงที่ไม่ยอมจากไป)เข้ากับหญิงขอทานชาวสะหวันนะเขต(ที่มีสถานะเป็นเสียงที่ไม่ยอมจากไปเช่นกัน) เราก็จะได้คู่รักที่ไม่อาจสมหวังซึ่งทิ้งบาดแผลให้แก่กันจวบจนนิรันดร์ด้วยเข้าอีกคู่

 

ย้อนกลับมายังAgatha  เราเองก็อาจจะพอบอกได้ว่า นี่ก็อีกคู่รักต้องห้ามที่ไม่อาจจะอยู่ร่วมกันได้ ทั้งไม่อาจจะจำ และไม่อาจจะลืมกันได้อีกด้วย  แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ความรักของ Agatha กลับพี่ชายของเธอนั้นอาจะไม่สามารถเทียบได้กับคู่รักในThe Lover หากเหมาะจะเปรียบเทียบกับความรักของเธอกับพี่ชายทั้งสองคนที่เธอบรรยายไว่้อย่างอีโรติคในนิยายเรื่อง The Sea Wall

 

กล่าวอย่างง่ายตัว Duras  เองไม่เคยปกปิดความปรารถนาในตัวพี่ชายของเธอ มันถูกบรรยายไว้อย่างงดงามและอันตรายยิ่งในนิยาย ในบทสัมภาษณ์บางชิ้นเธอก็ยอมรับเรื่องนี้เลยด้วยซ้ำ เธอมีความสัมพันธ์ที่ทั้งปรารถนาทั้งเกลียดชังต่อ Pierre พี่ชายคนโต (ซึ่งเธอหยิบเรื่องของเขาและแม่ ผู้ซึ่งรักพี่ชายคนโตมากกว่าลูกๆทุกคนอย่างออกนอกหน้า มาทำเป็นหนังเรื่อง Entire Days in the Trees ซึ่งเล่าเรื่องของลูกชายโจร กับลูกสะใภ้ที่กลับไปเยี่ยมแม่ในแฟลตเก่า แล้วขโมยข้าวของของแม่ไปขาย) ในขณะที่เธอรัก Pauloพี่ชายคนรอง(ที่กลัวPierre และเป็นเป้าให้เขารังแกมาโดยตลอด)อย่างลึกซึ้ง  Paulo ตายในอินโดจีน กล่าวถึงที่สุดความรักของเธอจึงเป็นเรื่องต้องห้ามที่ซับซ้อนยิ่งกว่าแค่ความรักในสายเลือดด้วยซ้ำ เพราะมันคือรักในสายเลือดที่คนหนึ่งนั้นทั้งรักทั้งเกลียดส่วนอีกคนลงเอยด้วยความตาย

 

ในแง่นี้เราจึงอาจบอกได้ว่า คู่รักชาวเยอรมัน ศัตรูที่ตายในคืนที่ทั้งคู่จะหนีไปด้วยกันใน Hiroshima Mon Amour นั้นเป็นรูปรอยความสัมพันธ์ของเธอกับพี่ชาย นั่นเอง และยิ่งใน India Song  ความรักหลายเส้า ของ Anne Marie Stretter  ยิ่งสะท้อนความสัมพันธ์นี้  ถึงที่สุดใน Agatha เธอถึงกับพูดออกมาตรงๆว่านี่คือรักต้องห้ามของรักในสายเลือดที่ในที่สุดสรรพสิ่งก็ล่วงผ่านไป ทิ้งเพียงรอยอาลัยที่ไม่อาจลบเลือนอยู่ในเสียงเล่าอันเศร้าสร้อยนั้น

 

รักจำลองโลก 

 

อย่างไรก็ดี หนังของ Duras  ไม่ได้เพียงเป็นเพียงเสียงในความทรงจำถึงความรักต้องห้ามแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ความรักต้องห้ามในหนังของ Duras ดูเหมือนจะเป็นแบบจำลองความสัมพันธ์ทางการเมืองที่น่าทึ่งอีกด้วย Julia Kristeva นักวิชาการคนสำคัญเคยกล่าวถึง Hiroshima Mon Amour .นทำนองที่ว่า นี่คือหนังที่พูดถึง ความปวดร้าวในรอยระทมของสังคมสมัยใหม่ (The Pain of Sorrow in the Modern Wolrd) *2  ผลพวงจากสงครามโลกที่กรีดรอยลึกล้ำเอาไว้ในใจมนุษย์ทั้งมวล หญิงสาชาวฝรั่งเศสใน Hiroshima คือหญิงสาวที่มีความสัมพันธ์กับศัตรู เธอเจ็บปวดป่วยไข้ ถูกทำร้ายตลอดช่วงเวลาการเฉลิมฉลองชัยชนะของสัมพันธมิตร เธอทุกข์เศร้าที่ไม่ได้ตายไปพร้อมคนรัก ความรักของเธอเป็นสิ่งที่ต้องจบเศร้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉกเช่นผู้คนในสงครามโลกที่ต้องสูญเสียทั้งบ้านเรือน คนรัก ไล่เรื่อยไปจนถึงความเชื่อมั่นในความดีงามของนุษย์ การพยายามจดจำฮิโรชิม่า เป็นเพียงรูปแบบของการไถ่บาปที่ไม่อาจไถ่ถอนจากอดีตของเธอ รักต้องห้ามของเธอกับชายชาวญี่ปุ่นเป็นเพียงสิ่งทดแทนชดใช้ความเจ็บปวดคืนให้กับเมืองที่ทุกข์เศร้าจากสงครามอย่างถึงที่สุด การชดใช้ที่ไม่ได้ประโยชน์โภชน์ผลนอกจากทำให้เจ็บปวดซ้ำซ้อนเมื่อรู้ว่านี่ไม่อาจส่งผลเยียวยาใครได้แม้แต่ตัวเอง ถึงที่สุดเธอก็จะลืมมันไปเช่นกัน

 

ต่อมาในDestroy , She Said  หนังเรื่องแรของเธอ ว่ากันว่า Durasเขียนนิยายต้นฉบับเรื่องนี้หลังเหตุการณ์ประท้วงของนักศึกษาในฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคมปี 1968 ที่แม้จะกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ตัวมันก็ถูกสรุปในฐานะความล้มเหลวในหลายๆอย่าง ตัวหนังจึงเป็นการตอบโต้ต่อความล้มเหลวของการประท้วงครั้งนั้น ตัวละครเลื่อนลอยไร้เหตุผล รวมกันเยียวยาหัวใจป่วยไข้ในโรงแรมร้าง ตัวละครสำคัญคือ สตรีผู้แท้งลูกที่ยังไม่ได้เกดิซึ่งดูเหมือนว่าสามีของเธออาจจะเป็นคนทำให้เธอแท้ง ตัวละครที่เป็นยิวสัญาชาตเยอรมัน! หรือตัวละครอาจารย์ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ของอนาคต วิชาซึ่งไม่มีอะไรให้สอน และจะยังไม่มีอะไรให้สอน พวกนึกศึกษาจึงพากันไปหลับในคลาส หรือนักศึกษาสาวหัวเสรีนิยม ที่มีทั้งสามีและชู้รักร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยทั้งคู่ยังคงคุยกันเป็นเพื่อนสนิท

ดูเหมือนจิตวิญญาณเสรีนิยม นักคิด ปัญญาชน ประวัติศาสตร์เหยื่อสงคราม เจ้าเข้ากลุ้มรุมหญิงผู้หลับไหลตลอดเวลา ผู้ซึ่งพกหนังสือให้ดูดีโดยไม่ได้อ่านมัน หญิงซึ่งป่วยไข่้ ซึมเศร้า เธอกลายเป็นคนป่วยไข้ของบรรดาหมอๆที่ป่วยไข้อย่างเพียงพอกัน ฉากหนึ่งในหนังพวกเขาเล่นไพ่กัน กล้องๆค่อยๆเลื่อนไหลเจาะเข้าไปหาอลิซาเบธ และใบหน้าหวั่นไหวของเธอ ภายใตวงล้อมของมือสามคู่ที่ถือไพ่และระดมคำถามใส่เธอ คำถามที่เธอตอบถูกบ้างไม่ถูกบ้างได้บ้างไม่ได้บ้างมีแต่ความประหวั่นพรั่น พรึงที่เคลื่อนเข้าคลี่คลุมเธอ นี่คือสภาพของบรรดาเหยื่อของประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้แท้งก่อนจะคลอดออกมา

ในฉากท้ายเรื่อง สามีของเธอเดินทางมาถึงโรงแรม คนทั้งสามพากันมารุมล้อมหล่าวโทษสามีของเธอ(ผู้ปกครอง?) ก่อนที่ทั้งคู่จะเดินเข้าไปในป่า ป่าที่ทุกคนหวาดผวาอย่างไม่มีเหตุผล  ป่าที่เรามองไม่เห็น แต่ได้รับการบอกเล่าว่ามันล้อมรอบโรงแรมแห่งนี้อยู่ โรงแรมที่เป็นเหมือนจุดพักรถ เหมือนโอเอซิสกลางทะเลทราย เหมือนนิคมวัณโรคบนภูเขา แผ่นดินแห่งการหลีกลี้หนีหาย เพื่อที่จะพูดกันอบย่างอมพะนำ สับสนสะเปะสะปะในความทรงจำ หลังจากพวกเขาเข้าไปในป่า คนทั้งสาม เด็กสาวนั่งหลับ ปล่อยให้สามีและชู้รักสนทนากัน ต่างหาพากันได้ยินเสียงดนตรี และเสียงครั่นครืนที่ดังมาจากป่าแสนไกล ‘เสียงของโลกที่กำลังสั่นไหว’ เสียงละม้ายคล้ายเสียงปืน (ที่อาจสะท้อนนัยของการปฏิวัติ)  พวกเขากล่าวแก่กันว่าการเคลื่อนไหวกำลังมา มันจะล้มต้นไม้ ทำลายผนัง ในขณะนั้นอลิสากำลังหลับ เธอกำลังฝัน พวกเขาว่า ความฝันของเธอยิ่งใหญ่และงดงาม พลันเธอตื่ขึ้นเสียงดนตรีอ่อนหวานแนบมาในเสียครั่นครืนนั้น เธอลุกขึ้นมาแล้วบอกว่า เพลงนี้คนแต่งชื่อ Stein หนังจบลงตรงนี้ ท่ามกลางบทสนทนาอมพะนำที่มุ่งมองไปยังป่าที่พวกเขาหวาดผวาเบื้องนอกนั้น ที่ที่ความเคลื่อนไหวกำลังปรากฏ

ดูเหมือนหนังจะเป็นปฐมบทของหนัง อย่างIndia Song ในเวลาต่อมา ตัวละครในสถานที่เปล่าๆ ทำพูด หรือสนทนาในสิ่งที่แตกต่างจากภาพปรากฏ ย้อนแย้ง หรือต่างออกไป เมื่อพวกเขาพูดมันเชื่อถือไม่ได้ เพราะมันเป็นเพียงความทรงจำที่สะเปะสะปะมากกว่าจะเป็นความจริง ตัวละครของDuras และสถานที่ในหนังของDuras จึงเป็นเพียงภาพร่าง เป็นแสงเรื่อเรืองเหมือนภูติผีมากกว่า ตัวละครที่แจ่้มชัด ความสลัวเลือนสะเปะสะปะ ครึ่งทางระหว่างตัวละครกับเสียงเล่า จึงคือโลกอันสลัวลางกลางมหาสมุทรความทรงจำของเธอ และเช่นกัน สิ่งที่เราไม่ได้เห็นในหนังอย่างเช่นป่า หรือเสียงปืนก็เป็นละม้ายคล้ายคลึงกับเสียงของญิงขอทานที่เราไม่ได้เห็นใน India Song

 

เนื่องเพราะในรื่องรักสามสี่เส้าของพวกเจ้าอาณานิคมนี้ ถูกท้ทายด้วยเสียงอันทรงพลัง เสียงอันไม่กริ่งเกรงของหญิงขอทานชาวลาว คนพื้นถิ่นผู้ทุกข์ยาก เสียงของนางปรากฏอยู่ตั้งแต่ต้นเรื่อง (ซึ่งเป็นการถ่ายทำพระอาทตย์ตกแบบrealtime คลอไปกับเสียงร้องเพลงของหญิงขอทาน) และเสียงของนางเบียดแทรกเข้ามาเป็นระยะตลอดการดำเนินไปของเรื่อง  ตัวละครตัวหนึ่งในหนังเล่าว่าเขาเดินทางติดตามนางไปรอบๆเมืองเสียด้วยซ้ำ

 

เมื่อเราผนวกเสียงของหญิงขอทานเข้ากับเสียงคร่ำครวญของท่านรองกงสุล ภาพร่างประหลาดของคนชั้นสูงและคนชั้นล่าง ได้คร่ำครวญด้วยเรื่องทุกข์ -ในที่สุด อย่างเสมอกัน ถ้ากลางความเย็นชาตายซากของเจ้าอาณานิคมในห้องเต้นรำไม่รู้จบ หรือโรงแรมแสนสวย ข้างนอกนั่นเสียงของส้าที่สามของความรัก คนที่ถูกหลอกใช้และทอดิ้งจะตามหลอกหลอนเขาประุจเสียงของภูติผี วัดจากจุดนี้ ความเพิกเฉย เย็นชาของตัวละครที่มีต่อเสียง หรือต่อกันและกัน(และต่อผู้ชม) จึงคือภาพฉายอาการมึนชาที่คนชั้นกลางทีต่อคนชั้นล่าง เจ้าอาณานิคมมีต่อคนพื้นเมืองได้อย่างคมคายอย่างยิ่ง

 

สตรีที่ไม่พูด

 

ในขณะที่เราได้ยินเสียงของแม่หญิงชาวลาวแต่ไม่เห็นตัวนางนั้น ผู้หญิงที่เราเห็นตลอดเวลาอย่างAnne Marie Stretter ไม่เคยปริปากพูดบนจอเธอเดินไปเดินมา เราได้ยนเสียงเธอบนจอ แต่เธอไม่เอื้อนเอ่ย ไม่ต่างจาก Agatha ใน Agatha et les Lectures Illimitees  เธอก็ไม่เคยปริปากพูด หรือกะทั่งตัวละครElizabethใน  Destroy , She Said ก็แทบไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับตัวเธอเลย  แต่ดังเช่นที่ว่า ความเงียบคือคำตอบ การไม่พูดของตัวละครหญิงของ Duras ไม่ใช่อะไรในท่วงทำนองการถูกกดไม่ให้พูด หรือการพูดไม่ได้ แต่เพราะวิธีการพูดของพวกเธอนั้นแตกต่างไป และในหนังของDuras  สตรีของเธอพูดโดยไม่เอื้อนเอ่ยเสมอ และนี่คือบางสิ่งที่พวกเธอพูด เสียงพูดของNathalie Baxter Vera Baxter หรือ Agatha บรรดาตัวละครหญิงที่เป็นทุกสิ่งกระทั่งชื่อเรื่องของเธอ

 

ใน Nathalie Granger นั้นพลอตหนังจริงๆนั้นเล่าเรื่องยามบ่ายวันสุดท้ายของครอบครัวหนึ่งที่ประกอบด้วยหญิงสาวสองคน พวกเธอมีลูกสาวสองคนคนหนึ่งชื่อ Laurence ส่วนคนเล็กคือ Nathalie หนูน้อยที่มีปัญหาที่โรงเรียน เธอฉีกสมุดจด ไม่ส่งการบ้าน และอาละวาดในคลาสเรียนเปียโน จนครูใหญ่ต้องตามตัวแม่ทั้งสองไปพบแล้วลงเอยด้วยการตั้งใจจะส่งเธอไปโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ และหนังทั้งเรื่องคือยามบ่ายวันนั้น ช่วงเวลาก่อนที่Nathalie น้อยจะกลับจากโรงเรียนไล่เลยไปจนถึงยามย่ำสนธยา จังหวะอันเลื่อนไหลเชื่อมโยงนั้นถูกจัดจังหวะเพียงครั้งเดียวด้วยการก้าวเข้ามาของเซลล์แมนขายเครื่องซักผ้า

 

หนังทั้งเรื่องถูกถ่ายทำอย่างเรียบง่าย ภาพทั้งหมดแทบไร้การเคลื่อนไหว หญิงสาวไร้นามที่รับบทโดยJeanne Marraeu เป็นคนดูแลบ้าน หนังให้เราจ้องมองเธอทำความสะอาดโต๊ะ ล้างจาน เก็บเศษไม้ในสวน เย็บผ้า ลอกเอาเศษขยะในสระน้ำ ราวกับเธอนางไร้นามผู้รับเหมาภาระทั้งหมดในบ้าน ขณะที่Lucia Bose’ รับบท อิซาเบธ (ซึ่งอาจเป็น อลิซาเบธคนเดียวกันจากDestroy , She Said) ผู้ที่ตลอดทั้งเรื่องเราจะเห็นเธอซีดเศร้า เธอจ้องมองไปยังนอกถนน ไปยังสวน จากกรอบหน้าต่างขอบ้าน เธอผเชิญกับความปั่นป่วนที่จะไม่ได้พบลูกสาวอีก  เราเห็นเธอทำงานบ้านเพียงครั้งเดียว นั่นคือการรีดผ้า เธอทำไม่สำเร็จ  รีดเสื้อให้ลูกสาวแล้วเอามันมาแนบอก ทิ้งเตารีดค้างเอาไว้อย่างนั้น  ตลอดเวลาที่เหลือเธอนั่งฟังวิทยุเลื่อนลอย เหม่อมองไปยังที่อื่น เสียงวิทยุเล่าข่าวแบบรายงานสดติดตามการตามล่าตัวฆาตกรหนุ่มสองคนที่กำลังหลบหนี  แต่มันถูกปล่อยให้ล่องลอยทอดทิ้งไม่ใยดี  จนมันกลายเป้นเหมือนเพียงเสียงรบกวนเล็ฏๆจากโลกอื่น

 

บางที่หญิงสาวสองคนอาจเป็นภาพแทนของสตรีเพียงหนึ่งเดียว  การแบ่งร่างออกมาาเป็นสอง ร่างหนึ่งทำหน้าที่ในฐานะ ‘แม่บ้าน’ ดูแลบ้านช่องห้องหับ  เป็นแม่ผู้ซีดเกร็งและไร้ความรู้สึก แม่ผู้มีเพียงร่างกายมากกว่าจิตวิญญาณ  มีพียงหน้าที่ไม่จบสิ้น ในขณะที่ ‘ความเป็นแม่’ นำเสนอผ่านผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ความอ่อนไหวที่จะต้องพรากจากลูก  ความเหม่อลอยและทุกข์เศร้า แม่ผู้มีเพียงจิตควิญญาณอันอ่อนไหว และไม่มั่นคง  แม่ผู้ไม่สามารถทำสิ่งใดได้นอกจากห่วงกังวลถึงลูกสาวของเธออย่างเกินตัว (ว่ากันว่าหนังเรื่องนี้เป็นต้นธารของหนัง Jean Dielman ,23 Quai du Comerce , 1080 Bruxells หนังซึ่งเฝ้าสังเกตอากัปกริยาของแม่บ้านอันน่าทึ่งตะลึงงันของChantal Akerman ผู้กำกับหญิงคนสำคัญอีกคนชาวเบลเยี่ยม )

 

และเหตุการณ์ทั้งหมดทั้งมวลถูกำกหนดให้ดำเนินไปเฉพาะภายในอาณาเขตบ้าน ขอบเขตของสตรีเพศเท่านั้น ตัวละครของเรื่องมักเฝ้ามองสิ่งต่างๆผ่านกรอบหน้าต่างภาพคุ้นชินในหนังคือภาพท้องถนนผ่านกรอบหน้าต่าง อลิซาเบธไม่เคยออกนอกบ้าน เธอเพียงมองดูผ่านหน้าต่างขณะที่แม่อีกคนออกไปรับลูก หรือลอบมองเซลล์แมนที่เร่ขายของตามบ้าน ราวกับว่าเธอคอจิตวิญญาณของบ้านนี้ที่ล่องลอยอยู่ระหว่างห้อง ปฏิเสธการรุกล้ำของสรรพสิ่งภายนอกโดยสิ้นเชิง เธอลุกชึ้นไปฉีกหนังสือพิมพ์ และ จดหมายเผาไฟ เปดๆปิดๆวิทยุ (ที่รายงานข่าวความรุนแรงซึ่งมักถูกตัดสลับกับสิ่งที่ครูใหญ่พูดเกี่ยวกับความรุนแรงของลูกสาว) รวมถึงปฏิเสธการต่อปาต่อคำกับเซลล์แมนหนุ่ม อย่างไรก็ดีเป้นเธอนี้เองที่รับฟังเขาเมื่อเขากลับมาในบ้านยามโพล้เพล้เพื่อระบายความคับข้องใจ

 

 

ในฉากนี้นับว่าเป็นฉากเดียวที่สองสาวมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกบ้านของเธอ (ในฉากมื้อเช้าต้นเรื่องที่มีผู้ชายร่วมโต๊ะพวกเธอฟังโดยไม่พูด ส่วนการสื่อสารของพวกเธอกับครูใหญ่ก็เป็นเพียงการไปรับฟังข้อกล่าวหา) เซลล์แมนหนุ่มที่เคยพยายามขายของที่พวกเธอมีอยู่แล้วกลับมาที่บ้านของเธออย่างไร้จุดหมาย เขานั่งลงแล้วเริ่มพูดเกี่ยวกับตัวเขาเอง ในทางหนึ่งฉากนี้เขาดูคล้ายกับเป็นลูกสาวของเธอ  คนที่ออกจากบ้านไปแล้วเติบโตขึนติดอยู่ในบ่วงแห่งความกระอักกระอ่วนของการมีชีวิตอยู่  การงานที่ไปไม่ถึงไหนและการไม่รู้ว่าตัวเองต้องการสิ่งใดกันแน่  การนิ่งฟังถ้อยคำนั้นกระหวัดเธอให้ครุ่นคิดไปถึงลูกของตนมากกว่าจะตั้งใจหนังจริงๆ ครุนคิดถึงเด็กหญิง Nathalie

 

แม้หนังเรื่องนี้จะชื่อ Nathalie Granger แต่เรากลับไม่ได้เห็นเด็กสาว Nathalie มากนัก นอกจากภาพโคลสอัพในช่วงแรกและการเฝ้าติดตามเด็กหญิงตัวน้อยเล่นกับแมวหลังโรงเรียนเลิกในช่วงท้ายของเรื่อง  แต่เด็กหญฺิงNathalie กลับอบอวลอยู่ในเรื่องตลอดเวลาผ่านทางเสียงเปียโนที่เป็นเพลงธีมของหนัง เสียงเคาะสั้นๆง่ายๆเหมือนให้เด็กหัดเล่น ซึ่งที่แท้แล้วคือเสียงจากการซ้อมเปียโนของเด็กหญิงNathalie นั่นเอง  บางครั้งเสียงนี้ดังขึ้นประหนึ่งดนตรีประกอบ บางครั้งมันให้ความรู้สึกราวกับมีใครเล่นเปียโนอยู่ บางครั้งมันถึงกับดูราวกับว่าตัวละครได้ยินเสียงนั้นด้วย เสียงที่ล่องลอยแล้วเลื่อไหลไปโดยไม่เกี่ยวของกับที่มา ทำให้ -เสียง- ซึ่งเป็นตัวเอกของหนังเรื่องนี้  หรือถ้าจะพูดให้กว้างขึ้นคือ ‘เสียงเล่า’ ซึ่งเป็นตัวเอกในหนังและหนังสือของ Duras มาตลอด

 

นอกจากเสียงเปียโน หนังกว่าครึ่งตกอยู่ในความเงียบ (ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากระบบบันทึกเสียงของหนังด้วย) ความเงียบที่ไม่ใช่แบบที่มีเสียงธรรมชาติเป็นพื้นหากเงียบราวกับเสียงถูกดูดออกไปจากภาพ แล้วอนุญาตให้เพียงบางเสียงเท่านั้นที่เราได้ยิน  เสียงฉีกกระดาษ เสียงปะทุของกองไฟ เสียงจากวิทยุที่เลือนจางไปเป้นห้วงๆ และแน่นอน เสียงเปียโนที่เคล้าคลอไปตลอดเรื่อง

สิ่งที่น่าสนใจในหนังของดูราส์คือเธอมักถ่ายผู้หญิงผ่านกรอบหน้าต่าง ภาพซ้อนทับของต้นไม้จะทาบทับลงบนใบหน้าตัวละครจนเราเห็นเพียงบางเสี่ยวส่วนซึ่งหวั่นไหวอยู่ในกรอบกระจกที่เร้นเธอไว้ ในทางหนึ่งเราอาจบอกได้ว่าเธอถูกกักในกรงขัง แต่ในอีกทางเหมือนกับดูราส์จะบอกว่า พวกเธออยู่ข้างในแต่คุณจะไม่ได้เห็นเพราะคุณจะทำแต่เพียงมองดูจากข้างนอก เห็นเพียงบางเสี้ยวส่วนและจงใช้จินตนาการเอาเองเถอะ

 

ใน Baxter  Vera Baxter ตัวละครสตรีของDurasนั้นยังคงน่าสนใจอย่างยิ่ง นี่เป็นอีกครั้งที่เราเข้าไปในอาณาเขตของสตรี ถ้า Nathalie Granger คืออาณาเขต ‘บ้าน’ของพวกเธอซึ่งมีผู้ชาย (เซลล์แมน)บังเอิญหลุดเข้าไปทำลายจังหวะแห่งความสงบและความหวั่นไหว ในคราวนี้ พวกผู้ชายกลับถูกกันออกไปจากอาณาจักรของเหล่าสตรีจำนวนมากที่ปรากฏบนจอ เพียงแต่การไม่มีอยู่ไม่ได้หมายความว่าเป็นอิสระจากกัน หนักไปกว่านั้นบรรดาผู้ชายกลับคือประเด็นหลัก คือตัวบ้านนั่นเลยทีเดียว

 

มีผู้ชายเพียงฉากแรกในคาเฟ่ พวกผู้ชายพูดถึงผู้หญิงลึกลับ ชักนำการสนทนาของผู้หญิงอีกสองคน ก่อนที่หนังทั้งหมดจะดำเนินไปในคฤหาสน์ที่ผู้เช่าเป็นผู้ชาย ถ้านั่นยังไม่โดดเด่นพอเรื่องที่พวกเธอพูดคุยกัน คือเรื่องของ เมียน้อยเมียหลวง กล่าวให้ถูกต้องคือบรรดาผู้หญิงทั้งสี่ (สามคนในบ้าน อีกคนที่ปลายสาย) ต่างร่วมกันแบ่งปันประสปการณ์ความทุกข์ทรมานของการเป็นเมียหลวง เป็นเมียเก็บ ความกล้ำกลืนฝืนทน ความสำนึกบาปของการคบชู้ พวกเธอเอาเข้าจริงหมกมุ่นและเป็นทุกข์กับอาการบ้าผู้ชายนั่นเอง กรอบทั้งหมดที่เราเห็น บานหน้าต่าง ช่องโถงทางเดิน บันได ผ้าม่าน ซุ้มประตู จึงล้วนเป็น คุกหอคอยของเพศชาย ขอบฟ้าปิตาธิปไตยที่ครอบบรรดาหญิงสาวเหล่านี้เอาไว้  สิ่งเหล่านี้สะท้อนก้องอยู่ตั้งแต่ชื่อหนัง BAXTER  VERA BAXTER นามสกุลแบกซเตอร์ของสามีครอบงำเวรา ทั้งข้างหน้า และข้างหลัง!

 

อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่หนังถูกแทรกซ้อน หันเหออกจากบ้านหลังนี้ไปสู่ระยิบระยับของทะเล หาดทราย ฝูงนก สวน เงาสะท้อน ความมืด หนังก็ปลดตัวเองออกจากกราครอบครองและควบคุม ภาพเหล่านั้นมักแทรกเข้ามาในขณะที่ตัวละครหลักเกรี้ยวกราด แสดงความอ่อนแอ หรือแสดงความเห็นใจกันและกันออกมา  กล่าวในอีกทาง ในคฤหาสน์ของผู้ชาย ที่แท้โลกของสตรียังคงอยู่ข้างนอกและ อาจจะยิ่งกว่านั้น อยู่ข้างในตัวเธอ อยู่ในฉากที่เธอนอนเปลือยอยู่บนเตียง อาจจะหลังจากร่วมรักกับชู้รักในคฤหาสน์ที่สามีเช่า หรือได้โอกาสอยู่ลำพังแล้วเปิดเปลือยตนเองออก

 

หากการนำเสนอเพศชายในหนังก็ไม่ได้เป็นไปในฐานะผู้ปกครองที่กดขี่ทำลายเพศหญิง หากมาในรูแของความอ่อนแอไม่รู้จักโตต่างหาก(ในกรณีนี้เราอาจเปรียบผู้ชายใน Baxter Vera Baxter  เข้ากับ เซลล์แมนใน Nathalie Granger หรือรองกงสุลใน India Song) ผู้ชายในเรื่องมีบาร์เทนเดอร์ขาเมาท์ ชู้รักนักข่าว(นักพนัน)  และคนสำคัญคือ Jean เจ้าของเงิน เจ้าของบ้านเจ้าของชีวิตครอบครัวของเวรา  ซึ่งตลอดทั้งเรื่องไม่ได้ปรากฏตัวออกมา แต่เรารู้ได้เลยว่าฌองเป็นคนทึ่มทื่อที่มีเงินเป็นอาวุธในการดึงดูดหญิงสาว อย่างไรก็ดี เขากับเวราก็มีสายสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาที่พิเศษ ในฉากโทรศัพท์เราจึงเห็นJeanแสดงความอ่อนแอออกมาอย่างหมดเปลือก เมื่อเขารู้ว่าเธอก็คบชู้และอาจจะไปจากเขา มันเป็นสิ่งที่เขาทนรับไม่ได้และแสดงผ่านเสียงและบทสนทนาในโทรศัพท์นั้น

 

ในคฤหาสน์ของผู้ชายอ่อนแอและผู้หญิงอมทุกข์  สิ่งซึ่งผิดประหลาดย้อนแย้งที่สุดในหนังย่อมคือเพลงประกอบรื่นเริงบันเทิงสุขซึ่งคลอคู่กับหนังไปตลอดเรื่อง  ใครก็บอกได้ว่ามันช่างไม่เข้ากับตัวเรื่องอย่างร้ายกาจหนำซ้ำยังลอยหน้าลอยเสียงแบบนันสตอปตลอดเวลา ดนตรีเพลงเดิมเพลงเดียวเล่นซ้ำไปไม่มีจบ หนำซ้ำตัวละครก็ยังพากันได้ยินเพลงนี้และยังพยักเพยิดแก่กันว่าที่แท้มันคือเสียงดนตรีซึ่งลอยละล่องมาจากงานปาร์ตี้ในวิลล่าหลังท้ายสุด  เสียงซึ่งคลอคู่อวลกระอายอยู่ในอากาศยามบ่าย ขัดแข้งขัดขากับเรื่องรักทรมานตลอดการเดินทางคู่กันไป เสียงเพลงซึ่งคืออารมณ์อิ่มสุขที่อยู่แสนไกล เราจับต้องได้ เราเชื่อว่ามันมีอยู่ แต่เราไม่อาจไขว่คว้ามัน  ปล่อยให้เพียงล่องลอยอยู่ในมวลอากาศทิ่มแทงเราอยู่อย่างนั้นด้วยการรับรู้ว่ามันมีอยู่ แต่ไม่อาจเป็นส่วนหนึ่งของมัน เพราะเราเป็นเพียงผู้ไขว่คว้าความสุขที่ได้ความทรมานเป็นเครื่องประโลมใจทดแทน   เสียงที่ควบคุมอยู่ข้างนอก เฉกเช่น ป่าแห่งความเปลี่ยนแปลงในDestroy ,She Said  เสียงเพลงของหญิงขอทานใน India song เสียงเล่านอกกรอบจอในหนังเรื่องอื่นๆของ Duras

 

และนี่คือเธอเจ้าของเสียงเล่าอันเลื่อนลอยและขัดขากันเสมอ เสียงซึ่งเมื่อคุณฟังจบลงคุณก็ไม่อาจเรียบเรียง เสียงเล่าของสตรีผู้ซึ่งความลงในเศษเสี้ยวกระจัดพลัดพรายของความทรงจำจำนวนมาก ที่นอนก้นอยู่ในแม่น้ำภายในของเธอ เธอทำมันอย่างนั้น กวนมันขึ้นมาให้มันผุดพราย โดยปราศจากความพยามยามปะติดปะต่อ ชิ้นส่วนความทรงจำเรื่อเรืองอยู่ในงานของเธอ ชิ้นส่วนของชีวิตเล็กๆน้อยๆ ความคิดมฝันเล็กๆน้อยๆ ความรักเล็กๆน้อยๆ ความทุกข์เศร้าเล็กๆน้อยๆ และความงามอันโอฬารอย่างเล็กๆน้อยๆ ซึ่งอีกเพียงชั่วประเดี๋ยวคุณก็จะลืมมันไป  เพราะการไม่อาจจดจำ คือความทุกข์ประการหนึ่ง และคือความจำประการหนึ่ง ร่องรอยบาดแผลเล็กๆของการลืม ที่คุณจะยังคงเจ็บปวด แม้จะจำไม่ได้แล้วว่าเจ็บปวดจากสิ่งใด และนี่รสสััมผัสจากงานของMarguerite Duras

 

 

เชิงอรรถ

*1 (สรุปจากบางส่วนในหนังสือ The Cinema in France โดย Jilll Forbes)

*2 The Pain of Sorrow in the Modern World :The Works of Marguerite Duras : Julia Kristeva and Katharine A. Jensen : PMLA , Vol . 102 , No.2 (Mar.,1987),pp 138 – 152

 

 


แหยม ยโสธร 3 (เพชรทาย วงศ์คำเหลา/2013/ไทย)บทสนทนาของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย

$
0
0

b7e5bgghjc9bhjabbbcbb

นี่คือสิ่งที่เขาควรจะทำในวงศ์คำเหลา แต่มันมาสำเร็จเอาตอนนี้เอง

1.เราสงสัยมาตลอดว่า วงศ์คำเหลา เป็นความสำเร็จหรือความล้มเหลวกันแน่น เพราะในขณะที่หนังมันน่าเบื่อมากๆ มันก็radical มากในระดับที่สน่าสนใจดังที่มิตรสหายท่านหนึ่งเคยบอกว่านี่คือการเอาคนที่ปกติถูกผูกขาผูกขาดกับบทคนใช้ ให้ขึ้นมาแทนที่สลับตำแหน่งกับพวกผู้ลากมากดี เป็นการสับบทยาทชนิดที่อาจจะพลิกหน้ามือเป็นหลังตีนจากปวศ.ภาพยนตร์ไทยกระแสหลักที่ครองพื้นที่มาตลอด มากจนถึงขนาดที่การพูดภาษาถิ่นในหนังไทย (ผ่านระบบการพากย์ ) คือการแปรรูปภาษาถิ่นให้เป้นลูกผสมของภาษากลางปลับภาษาถิ่น เลยเถิดไปถึงการไม่ใช้ภาษาถิ่นในหนังเลย การขยับตำแหน่งในวงศ์คำเหลา เป็นได้ทั้งการขบถของคนอีสานในฐานะตัวตลก คนใช้ แต่ในขณะเดียวกันมันอาจจะมาในรูปของการเล่นสนุกของคนใช้เวลาเจ้านายไม่อยู่บ้านไม่มีอะไรมากกว่านั้นก็ได้

2.ย้อนกลับไปหาแหยม แหลมภาคแรกนั้นน่าสนใจในสภาวะอาการนอสตาลเจียหนังสิบหกของตัวหม่ำเอง ที่สลับตำแหน่งแบบไม่มากนักกล่าวคือเปลี่ยนจากพื้นที่ของท้องทุ่งแบบนิยายไม้เมืองเดิม (ชาวบ้านลูกทุ่งพื้นราบภาคกลาง) ให้ไปเป็นชาวบ้านในภาคอีสานที่เป็นครั้งแรกๆที่เอาภาษาอีสานมาขึ้นจอในฐานะหนังกระแสหลัก (นับจาก ลูกอีสานของวิจิตร คุณาวุฒิ และ ในเวลาต่อมากับลุงบุญมีระลึกชาติ และ ฮักนะสารคาม) การสลับตำแหน่งแห่งทีของ พื้นที่ (ทุ่งภาคกลาง VS ทุ่งอีสาน) ในแหยม เป็นอากาณนอสตาลเจียที่น่าสนใจ นาทึ่งแถมตัวหนังก็ยังดำเนินตามขนบหนังสิบหกมิตรเพชรา โดยเฉพาะมนต์รักลูทกทุ่งที่คราวนี้ลดบทบาทของมิตรเพชราลงแล้วหันไปเอาคู่ของบุปผา (ผ่านทางเจเนตเขียว) มาเป็นคู่นำ เป็นการสลับพื้นที่ทั้งของภูมิศาสตรื และของตัวละคร ที่ผลักตัวประกอบมาเป็นตัวนำ แต่แน่นอนทั้งมดอยุ่ในเซฟโซนของความเป็นหนังตลก

3.ความล้มเหลวของแหยม 2 ในสายตาของเรา อาจจะต้องประเมินใหม่ แหยมสองเล่นกับพื้นที่ของหนังตระกูลลูกสาวกำนันพ่อแง่แม่งอนกับปลัดหนุ่ม แต่มันเละๆเทะๆ และถ้าดเราจำไม่ผิดหนังพยายามปรับลุคตัวเองให้คนเมืองกินได้ (เราอาจเข้าใจไปเอง แต่การเลือกพระเอกเป็นสมาชิก tattoo color (ที่แม้จะเป็นคนพื้นที่ก็ตาม) +กับการโปรโมตในงานแสดงเดี่ยวของหม่ำเองทำให้เกิดพื้นที่อิหลักอิเหลื่อ ของการอยากขายความเปิ่นเทิ่งเฉิ่มเชยของความเป้นอีสาน แต่ทำหีบห่อเผื่อคนเมือง ซึ่งคนเมืองก็ไม่รับ และพื้นที่ก็ไม่เอา

4.พอมาถึงแหยมสาม มันทำให้เราอาจจะต้องกลับไปประเมินแหยมสองใหม่ (ตัดสินวจอยุ่ว่ากูควรดูซ้ำไหม) หนังมันยังคงเล่นกับgenre หนังสิบหกแบบ พ่อแม่ไม่ถูกกันแต่ลูกมารักกัน หนังกลับไปเป็นแบบแหยม1เต็มตัวโดยการเดินหน้าเป็นหนังตลกเต็มสปีด และอุดมไปด้วยความเถื่อนถ่อยในมุกตลกแบบชาวบ้านที่คนเมืองอาจจะไม่ขำ และค่อนไปทางน่ารังเดียจ ยิ่งมุกมากกว่าครึ่งเป็นมุกเกี่ยวกับรูตูด ก็ยิ่งทำให้มันเถื่อนถ่อยแบบตลกคาเฟ่ ต้นธารของมันมากขึ้นเรื่อยๆ การที่หนังหันมาเป็นแบบเดิม หนังตลกค่าเฟ่ มิวสิคัล ทำให้มันกลับมาสวมรอยต่อกับแหยม1ได้น่าสนใจมากๆ

5.ไปอ่านเรื่องย่อแหยมสองเพื่อทบทวนมา พบว่า แหยมสองนั้นแหยมเปลี่ยนจากชาวนาไปเป็นกำนัน เป็นคนมีอันจะกินทีได้ส่วนแบ่งจากรัฐ มีหน้ามีตาในพื้นที่ (นำมาสู่พลอตลูกสาวกำนัน) แต่แหยมสาม(ซึ่งไปๆมาๆไม่ต่อเนื่องกับแหยามทั้งสองภาคนักในแง่ชีวิตแหยม) แหยมกลับมาเป็นคนธรรมดา และมีประวัติกับรำพึงเมียกำนันคนปัจุบัน การกลับมาเป็นชาวบ้านของแหยมทำให้เขาเป้น underdog อีกครั้ง และลงไปอยุ่ตำแหน่งเดียวกับชาวบ้านทั่วไป หนังกลับมาประสานสอดคล้องกับความเป็นแหยมในภาคแรกอีกครั้งคนที่เป็นตัวประกอบอีกครั้ง

6.โอเคเข้าสู่ความเป้นตัวหนังจริงๆ มีสองสามอย่างที่เราคิดว่าน่าสนใจในการที่หนังทำเหมือนวงศ์คำเหลาคือกับมาล้อเล่นกับตัวหนังไทยในยุคสมัยนั้นเองด้วยกระบวนการ รีเมค เลียนแบบ ล้อเลียน อิงขนบ ต่อต้านและจำนนไปด้วย เป็นเหมือนการเบ่นสนุกของคนที่โดนกดทับ ซึ่งไม่ได้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ไม่ได้ยอมจำนนด้วย ซึ่งมันมาในรูปแบบ

6.1 การทำให้ล้นเกิน : เสื้อผ้าหน้าผมของหนังไทย16 คือความล้นเกินโดยตัวของมันอยู่แล้ว เพราะทุกคนแม้จะเป็นชาวบ้านร้านตลาดแต่เสื้อผ้าหน้าผมเป๊ะแบบพร้อมจะเฉิดบนจอตลอดเวลา หนังทำแบบนี้มาตั้งแต่แหยมหนึ่งแต่การดำเนินไปในคราวนี้มันล้นเกินจนกลายเป็นการยั่วล้อ ความล้นเกินตามมาตรฐาน ลองดตัวละครยนกเอี้ยงที่ถูกกำนดเป็นนางร้ายของหนังที่นางมาเต็มทุกชุดผมเรียบตึงตลอดเวลา ราวกับว่าพร้อมจะขึ้นเวทีคอนเสริ์ต หรือการให้สีผิดเพี้ยนของเสื้อผ้า (แน่นอนมันมาจากอิทะิพลของสี และของฟิลืมเก่าในหนังไทยสิบหกสีตก รวมไปถึงยุคสมัยเทคนิคคัลเลอร์นั้นเอง) เพียงแต่ในแหยม ความพยามยามให้ตลกผ่านทางการล้นเกิน มันมีรากมาจากการล้อเลี้ยนตัวขนบหนังเอง มันก็เลยมีบทสนทนาขึ้นมา ระหว่างความไม่สมจริง กับความไม่สมจริงจนล้นเกิน ราวกับถ้าหนัง16 จำลองชีวิตให้ไม่สมจริงเพื่อให้เป็นหนัง แหยมก็จำลองหนังสิบหกให้ยิ่งเห็นว่าเป็นหนังว่าด้วยการทำให้เห็นว่าเป็นหนัง

6.2 การสลับตำแหน่งแห่งที่ :ภาษาและซับไตเติ้ล จำไม่ได้แล้วว่าแหยมสองตอนแรกขึ้นซับอย่างไร แต่แหยมสามน่าสนใจมากว่านอกจากการสลับภาษาหลักมาเป็นภาษาอีสาน (ไม่ต้องพูดเรื่องนี้ซ้ำ) หนังยังพยายามเล่นมุกผ่านซับไตเติ้ลภาษากลางที่ไม่ตรงความหมายที่แท้ เล่นเลยเถิดไปจากสิ่งที่พูดจริงๆ บางครั้งแทบจะเป็นการเปลรี่ยนความหมายใหม่ โดยเฉพาะมุกพ้ืนถิ่นที่เข้าใจกันเอง ‘สี่ คน’หรือ ‘ควาย ‘ ซับไตเติ้ลที่แปลบิดเบือนความหมายของหนังโดยไม่ได้ตั้งใจทำให้เปิด ช่องว่างระหว่างผู้ชมกับตัวละคร ผู้ขมพื้นถิ่นกับผู้ชมคนเมือง คนที่อื่น ช่องว่าง การเว้นระยะนี้อาจไม่ได้มีนัยยะทางอินเทลเลคอะไรมากไปกว่าความห่ามการเล่นสนุกแต่มันน่าสนใจดีทีเดียว ว่าหนังพยายามกลบเกลื่อนหรือทำให้เเห้นเด่นชัดถึงความปริแตกรอยต่อของโลกสองภาษา ภาษากลาง VS ภาษาถิ่น ภาษาเขียนVSภาษาพูด

ตัวละครที่น่าสนใจมากๆในเรื่องคือคฑาเทพ กับคำผาน ซึ่งเสมอกันในฐานะพี่น้อง แต่คฑาเทพทัง้ชื่อทั้งหน้ากลายเป็นภาพแทนของพระเอกชาวกรุง แต่แน่นอน คฑาเทพพูดอีสานเป็นไฟ ในณะที่คำผานใช้ลูกหม่ำเล่นเอง พูดกลางมาตั้งแต่ภาคสอง ชอบกรุงเทพ เป็นคนเดียวที่ไม่ขึ้นซับไตเติ้ล (แม้แต่ข้าราชการในหนังเรื่องนี้ก็พูดภาษาถิ่น) คำผานเป็นตัวละครที่อาาจจะเป็นสะพานเชื่อมผู้ชมอื่นกับผู้ชมท้องถิ่น แต่คำผานกลายเป็นพวกโง่ทึ่ม เป็นตัวละครที่ไม่น่าจะฝากชีวิตอะไรได้ การสลับตำแหน่งแห่งที่ของคฑาเทพกับคำผานเลยกลายเป็นการยั่วล้อ อีกครั้ง ความไม่สมจริงในตัวขนบของหนังไทยเอง

6.3 การเป็นส่วนหนึ่ง การเป็นอื่น : OST เพลงลูกทุ่ง น่าสนใจมากว่านอกจากการพูดอีสานแล้ว ทั้งมหดของหนังยังเป็นดนตรีประกอบ แบบเพลงลูกทุ่งหมอลำ (แน่นอนเป็นหมอลำแบบลูกทุ่งประสาลูกทุ่งลาวฝั่งขวายุคจีไอ มากกว่าหมอลำพื้นถิ่นแบบดั้งเดิม) อย่างไรก็ตาม ฉากมิวสิคัลของหนังอย่างน้อยสองฉาก ใช้เพลงของยอดรัด สลักใจอย่าง รอวันเธอว่าง ซึ่งมันน่าสนใจมากว่าคนที่ร้องเพลงนี้คือคฑาเทพกับคำผาน คนที่ผ่านเมือง และกำลังจะเข้าเมือง เพลงลูกทุ่งในหนังไม่ได้ทำหน้าที่บอกอัตลักษณ์อะไรมากไปว่าการเป็นเพลงลุกทุ่งโดยรวมกล่าวคือไม่ว่าจะเพลงลุกทุ่งอีสาน หรือลูกทุ่งยอดรักก็เป็นอาการนอสตาลเจียทั้งสิ้น มันเลยไม่ใช่การขบถแบบมีระบบมากกว่าการเล่นสนุกของคนอีสานผ่านเมือง

6.4 การเฉลิมฉลองความไม่ศิวิไลซ์ : ความเถื่อนถ่อยของมุกตลก ที่เราชอบที่สุดในหนังคือสิ่งนี้ ความไม่ประนีประนอมของการใส่มุกตลก ขี้ๆตูดๆ หรือการใส่มุกให้ตัวละครกะเทยมีผู้ชายขอ พร้อมเพลงรักกระเทยเต็มๆเพลงหนึ่ง กระเทยในหนังแรดิคับลกว่าน้องภูน้องธีร์ในแง่ที่พวกเขาอยู่ในสังคมเดียวกับคนอื่นและดูเหมือนอยู่ในยุโทเปียได้แต่งงานกบัลูกสส. หนุนตัก ป้อนกล้วย ฟังเพลงรักกระเทยเท่าฟ้า แต่แน่นอนมันคือ safe zonของหนังตลกที่เอาไว้เหยียดกระเทยในคราวเดียวด้วย โดยรวมมันเลยทำหน้าที่เป็นมุกตลก ของโลกเดิมนั่นแหละ แต่มันก็เปิดเผยความไม่อินังขังขอบในการเป็นรักร่วมเพศ พอๆกับการไม่แยกของต่ำของสูง การล้อเล่นแบบชาวบ้านที่มีแนวระนาบของความหยาบโลนโดยไม่มีศักดินาในรูปมารยาททางสังคม มันคือรูปแบบของตลกคาเฟ่ที่คนเมืองอาจจะเบือนหนาหนี แต่มันมีสุนทรียะของมันที่น่าสนใจอยู่

อีกฉากที่น่าสนใจคือฉากคณะกรรมการประกวดร้องเพลง ที่หนังแทนที่จะล้อเดอะสตาร์ เอเอฟ กลายเป็นหนังล้อสิ่งที่แมสมากๆสำหรับมวลชนนั่นคือการประกวดดันดาราของตีสิบ รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆๆๆ (ฉากด่ากันในงานประกวดก็เต้มไปด้วยมุกตลกใต้สะดือ มุกต่ำๆอย่างไหลลื่นต่อเนื่องและระคายเคืองต่อผู้ชมศีลธรรมจัดมากๆ)

7.แต่สิ่งที่เราสนใจที่สุดในหนังคือกรุงเทพ ในแหยมหนึ่ง การไปกรุงเทพของเจ้ยและคุณนางเอก หรุงเพททำหน้าที่เป็นสิ่งชั่วร้ายที่พรากคนรักไป (แต่หนังก็ตีมือด้วยการให้อีเจ้ยไปสวยจากบางกอกกลับมาอยุ่บ้าน) ในแหยม1มันล้อหนังยุคมิตร เพชรา แต่พอมาแหยมสองกรุงเทพเดินทางมาเป็นปลัดอำเภอที่กวนตีนจนน่าถีบ ความสัมพันธ์ของแหลมกับกรุงเทพจึงยั่วล้อขนบของหนังลูกทุ่งอยู่ไม่น้อย และยิ่งภาคสาม หนังล้อหนังยุคถัดมา ว่ากันตามจริงก็น่าจะช่วงยุค70′s ปลายๆ ในคราวนี้ หนังไม่ได้จบด้วยฉาก อีเจ้ยกลับจากกรุงเทพเมือ่ชั่วร้ายอีกแล้ว กรุงเทพกลายเป็นเมืองความหวัง ที่แหยมมาส่งลุกเข้าบางกอกไปเรียหนังสือ สถานะของบ้านนอกกับกรุงเทพที่พลิกไปพลิกมา ทั้งทำลายและสร้างหวังเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ

8.ถึงที่สุดมันน่าสนใจว่าความสัมพันธ์ของกรุงเทพกับชนบทเป็นอย่างไร ในสายตาของคนเมืองเราอาจผ่าแบ่งกรุงเทพกับชนบทออกจากกันในภาวะดำขาว เมืองชั่ว บ้านนอกดี แต่ในสายตาการมองกลับมันไม่ได้เป้นอย่างนั้นเพราะมันเต็มไปด้วยการปรับประสานต่อรอง การเลือกเข้าเอาออก การอยากเป็นอย่างนั้นและการปฏิเสธจะเป็นอย่างนั้น การกดขี่และการเอาคืน ในพื้นที่ของหนังตลก และจำเพาะเจาะจงต่อพื้นที่หนังตลกนี่เองที่พื้นที่ของการบ่อนเซาะความหมายดั้งเดิมจะถูกทำให้เห็นเด่นชัดโดยผ่านมุกตลกที่พูดถึงควาไมม่เข้ากัน ความเข้ากันไม่ได้ของคนสองส่วน มันจึงน่าสนใจมากว่า หนังตลกเป็นพื้นที่ No Man’s Land ของการอธิบายความสัมพันธ์แบบนี้

แน่นอนว่านี่พูดไปพุดมาดูเหมือนแหยมจะเป็นหนังอีกเรื่องไป เราขอยืนยันว่ามันเป็นหนังตลกขายความเป็นอีสาน ขายมุกต่ำอย่างที่เข้าใจกันนั่นแหละ แต่ในโลกของความไ่ตั้งใจสิ่งที่หนังเผลอพูดออกมามันช่างน่าสนใจจนไม่อาจปล่อยผ่านได้เลยทีเดียว


FILMVIRUS PROGRAM : MALADY OF MARGUERITE

$
0
0
544504_10151616755988576_1945955881_n
เพื่อต้อนรับการมาถึงและจากไปของ BOOKVIRUS 10 ศรีนวลจัดหนัก รวมเรื่องสั้นสตรีเล่า หนังสือเล่มล่าสุดของ BOOKVIRUS เราขอร่วมสมโภชน์สตรีด้วยโปรแกรมพิเศษ รวมผลงานภาพยนตร์จากผู้กำกับหญิงที่เป็นเสมือนมารดาทูนหัวของเราชาว FILMVIRUS เจ้าของผลงานภาพยนตร์และวรรณกรรมที่งดงาม และทรงพลัง เสด็จแม่ Marguerite Duras ซึ่งถึงแม้เราจะไม่ได้บรรจุเรื่องสั้นของเธอลงในหนังสือเราก็ขอคารวะเธอผ่านโปรแกรมสุดพิศวงนี้ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ MALAY OF MARGUERITE

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2556 – 22 กันยายน 2556 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

‘อาจจะ บางที เป็นไปได้ว่า แต่ก็อาจจะไม่’ คำเหล่านี้อาจจะเป็นคำที่เหมาะเจาะเมื่อคุณจำเป็นจะต้องอธิบาย สิ่งที่เกิดขึ้น และเจือจางไปต่อหน้าจอของคุณในภาพยนต์ของ Marguerite Duras ราวกับมีบ้านสักหลังที่คุณมองไม่เห็นบ้านทั้งหลัง หรือห้องที่คุณเห็นเพียงบางส่วน ต่อให้ใหญ่โตโอ่อ่าอย่างโรงแรม หรือวิลล่าสวยๆ คุณก็จะจินตนาการไม่ออกว่าสถานที่นั้นคือที่ใด ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ตัวละครที่คุณเห็นดูราวกับจะเป็นภูติผีมากกว่ามนุษย์ ภูติผีซึ่งล่องลอยอยู่บนจอท่ามกลางเสียงเล่าที่ไม่นำพาเราไปสู่สิ่งใด เมื่อใครทำอะไร เรามักจะไม่เห็นว่าเขาหรือเธอทำ เราอนุมานเอา และอย่างไม่อาจรับทราบถึงแรงจูงใจใดๆ พวกเขาอาจจะตายมาแล้วสองร้อยปี หรือไม่ได้มีอยู่ อาจจะทำหรือไม่ได้ทำ รักหรือไม่ได้รัก หรือบางทีอาจจะเป็นแค่ภาพเรืองแสงคล้ายมนุษย์เท่านั้นเอง

เธอเป็นทั้งนักเขียนนิยาย บทละคร ผู้กำกับหนัง และเป็นนักคิดคนสำคัญที่ไม่เคยเข้าพวกกลุ่มใด งานวรรณกรรมของเธอนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างดี ทั้งในแง่ของความงดงามทางภาษา และเสียงเล่าที่ทรงพลัง ไม่ปะติดปะต่อ ผุดพรายประหนึ่งก้วงความทรงจำที่เลือนเอาทั้งเหตุการณ์ สถานที่ และ เวลาเข้าหากัน
หากในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ ชื่อของ Marguerite Duras มักถูกจดจำในฐานะคนทำหนังที่เต็มไปด้วยการทดลองอันหาญกล้า หนังของ Duras พร่าเลือนเสียยิ่งกว่าวรรณกรรมของเธอ คนดูครึ่งหนึ่งชื่นชมบูชาเธอในฐานะคนทำหนังที่ก้าวไปสู่ขอบเขตใหม่ๆของภาพยนตร์อย่างไม่ปะนีประนอม ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งสาปส่งหนังของเธอ ว่ามันช่างน่าเบื่อ ไม่มีใครทำอะไรในหนัง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีแต่คนนั่งอ่านหนังสือ โธ่เอ๋ย!

ตัวละครหลักที่เป็นสตรี เสียงเล่าที่ซับซ้อน แตกกระสานซ่านเซ็นออกจากตัวภาพในระดับที่ไม่อาจประสานกันได้แต่ก็ไม่อาจดำรงคงอยู่เพื่อให้มีความหมายอย่างสมบูรณ์ในตัวมันเองได้เช่นกัน หรือเรื่องเล่าของความรักที่ไม่อาจครอบครองซึ่งเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนสองระดับ ทั้งต่อตัวละครที่กัดกินลึกซึ้งลงในความรู้สึกสะเทือนไหว ไร้ความจีรังยังยืน ราวกับเมื่อเริ่มตกหลุมรักความรักก็กำลังตายลง และในอีกทางหนึ่งความรักที่ไม่อาจเติมเต็มนี้็สะท้อนความเจ็บปวดต่อโลกในอีกระดับด้วยเช่นกัน

1/9/13
12.30 DESTROY, SHE SAID (1969)
14.30 NATHALIE GRANGER (1972)

8/9/13
12.30 INDIA SONG (1975)
14.30 THE CULCUTTA DESERT(1976)

15/9/13
12.30 BAXTER VERA BAXTER (1977)
14.30 LE CAMION(1977)

22/9/13
12.30 LE NAVIRE NIGHT (1979)
14.30 AGATHA ET LES LECTURES ILLIMITEES (1981)

DESTROY, SHE SAID (1969)

wวกเขาอยู่โรงแรมแห่งหนึ่ง Max Thor เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เขาพบกับ Stien คนยิวเยอรมันที่อยู่ในโรงแรม นั่งคุยกันใต้ร่มไม้ Maxรอเมียที่เดินทางไปเยี่ยมพ่อแม่เป็นเวลาสิบวัน และจะมาสมทบที่โรงแรม Stein มารอพบคนรักเก่า ท่ามกลางคนรักมากมายของเขา เขาพบเธอครั้งเดียวแล้วจากกันตลอดกาล พบกันที่นี่ เขาเลยมารอเธอที่นี่ ยังมีผู้หญิงอีกคน ที่นอนหลับอาบแดดอยู่ในสวนเกือบจะตลอดเวลา เธออ่านหนังสือเล่มหนึ่งเกือบจะตลอดเวลา แต่ก็ไม่เคยอ่านจบเลยสักทีตลอดเวลา Alisa ภรรยาของ Maxตามมาสมทบ เธอเป็นคนรักเก่าของ Stein ด้วย พวกเขาพูดคุยกันในสวนของโรงแรม เล่นไพ่กัน นอนบนโถงห้อง หากพวกเขาทั้งสามต่างสนใจElizabeth เธอเพ่ิงฟิ้นไข้จากการแท้งลูก อาจจะไม่ได้รักลูกสาวของตัว และสามีของเธอก็เอาจจะเป็นพวกจอมเจ้าชู้อะไรแบบนั้น เรื่องในโรงแรมเดินไปอย่างสะเปะสะจับต้นชนปลายไม่ได้ พวกเขากลัวป่าที่ห้อมล้อมโรงแรม ส่วนตัวโรงแรมนั้นบอกว่ามีวิววสวยที่หาเท่าไรก็ไม่พบ มีแต่สวน ห้องว่างๆที่หน้าต่างเปิดโล่ง และมีเสียงการตีเทนนิสที่ไม่เคยเห็นผู้เล่น ราวกับตัวละครเรื่องเรืองขึ้นจากความมืด ไม่หรอก พวกเขาไม่ได้จมอยู่ในแสงที่เล็กน้อย หรือควานหากันในความมืดอะไรแบบนั้น พวกเขาแค่่เรื่อเรือง สลัวลาง ตัวตนของพวกเขาแผ่วจางเหมือนภูติผี

นี่คือภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของDuras ที่สร้างขึ้นจากนิยายของเธอ

NATHALIE GRANGER (1972)

ในบ้านหลังหนึ่ง นี้คือช่วงเวลายามบ่าย วันที่อากาศหนาวอยู่สักเล็กน้อย สรรพสิ่งสงบอ้อยสร้อยอยู่ในโมงยามที่ราวกับหยุดนิ่ง เสียงวิทยุแผ่วข่าวที่ผู้ฟังเพียงเปิดทิ้งอย่างใจลอย หวนให้ได้ยินเพียงเสียงเปียโน โน๊ตสำหรับเด็กๆหัดเล่นของลูกสาวที่เหมือนตกค้างในอากาศแล้วเพิ่งปรากฏกาย หญิงสาวนั่งนิ่งจ้องมองผ่านหน้าต่างไปยังสวน หญิงสาวเดินเชื่องช้าในสวนนั้น หญิงสาวรีดผ้าช้าเชื่องและหยุดเสียกลางคัน หญิงสาวและหญิงสาวผิงไฟจากเศษกิ่งไม้เกลื่อนสวนที่เธอมากองรวมกันและจุดไฟเผา จังหวะเนิบช้าและเงียบเชียบ แมวหง่าวสีดำที่ง่วงหาวตรงกรอบหน้าต่าง ยามบ่ายสมบูรณ์แบบเหมือนภาพเขียนสักภาพ หากคือยามบ่ายอันอวลกระอายของกลิ่นแห่งความพิพักพิพ่วน ความอ่อนไหวที่ปริ่มจะระเบิดออกในยามบ่ายอันสงบ จนกระทั่งเซลล์แมนขายเครื่องซักผ้านายหนึ่งโผล่เข้ามาในฉากของหญิงสาวกับหญิงสาว พกพาความกระอักกระอ่วนผิดที่ผิดทาง ทะลึ่งพรวดสู่ฉากภาพอันสมบูรณ์ ก่อนจะล่าถอยไป กลางความเงียบอันอ่อนไหว หญิงสาวและหญิงสาว ยามบ่ายอันลึกลับ อันอ่อนไหว อันสงบเงียบ อันสะเทือนไหว ยามบ่าย นี้เป็นเพียงช่วงเวลายามบ่าย

INDIA SONG (1975)

นี้คือชีวิตอันว่างเปล่าของผู้คนในสถานกงสุลในอินเดีย ชีวิตของผู้คนหรืออาจจะภูติผีซึ่งไม่ปริปาก เพียงเดิน ยืน นอน มอง เต้นรำ ในดินแดนประหลาดปลายขอบโลก ตลอดทั้งเรื่องบรรดาตัวละครในสถานทูตทำเพียงแค่เดินไปเดินมา เต้นรำ สูบบุหรี่ นอนบนพื้น ในขณะที่ตลอดเวลาจะมีเสียงบรรยาย บ้างเป็นบทสนทนา บ้างเล่าถึงอนาคตของบางตัวละคร บ้างประชดเสียดสีตัวละคร บ้างเล่าเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง บ้างเป็นเสียงของผู้ที่ไม่อยู่ในฉาก และ แทรกสอดด้วยเสียงคร่ำครวญของหญิงสาวชาวลาวที่ร้องเพลงและร้องขอข้าวกิน ไม่ว่าเสียงใดที่เราได้ยินไม่ได้ออกจากปากตัวละครโดยตรงเลยสักคน พวกเขาหุบปากสนิทโดยตลอดทั้งเรื่อง มีแต่เสียงเท่านั้นที่ล่องลอยฟุ้งกระจาย

ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของภาพ และเสียง อันไม่สัมพันธ์ หนังกลับตอกตรึงสายตาผู้ดูด้วยภาพอันทรงพลัง อาคารเก่าแก่ปิดตาย สนามที่ปูนแตกกร่อน สนามเทนนิสว่างเปล่า แนวต้นไม้ทอดยาวไม่รู้จบ กล้องทอดสายตาไปในสวนอันค่อยๆมืดมน โถงทางเดินอันยืดยาว

THE CULCUTTA DESERT(1976)

หนังที่เป็นเสมือคู่แฝดของIndia Song ในหนังเรื่องนี้ Duras ยกเอาเสียงทั้งหมดของIndia Song มาวางประกบคู่กับภาพที่เป็นเพียงการถ่ายอาคารร้าง อาคารที่อาจจะใช้เป็นอาคารสถานทูตในIndia Song กล้องกวาดจับ พื้น ผนัง เพดาน สวนเศษอิฐปูนกล่นเกลื่อน วัชพืชงอกงามที่นั่นที่นี่ ถึงที่สุด กระทั่งบรรดาตัวละครก็ระเหิดหายไป เหลือเพียงอาคารว่างเปล่าและเสียงของผู้คนที่ล่องลอยราวกับว่าถึงที่สุดพวกเขาก็ได้ตายลง หรือหายตัวไปด้วย พวกเขากลายเป็นเช่นหญิงขอาน และท่านกงสุล กลายเป็เนเพียงเสียงคร่ำครวญของดวงวิญญาณที่ยังวนเวียนในอาคารเก่าคร่ำคร่า มาถึงจุดนี้ เสียงไม่เพียงแต่สั่งการนักแสดงเท่านั้น หากกำหนดจินตนาการของผู้ชม มันต่างไปจากการเป็นเสียงเล่า เพราะในตัวมันเองมีความย้อนแย้งกันอยู่ มีทั้งอากัปของการสนทนาหรือการเล่าที่ย้อนแย้งกับสิ่งที่เล่าไปแล้ว ด้วยลักษณาการนี้ Son nom de Venise จึงมีลักษณะของการเป็นการหลงติดในบ้านผีสิงมากกว่าสารคดีนำเที่ยวสถานทูต

BAXTER VERA BAXTER (1977)

ที่โรงแรมตีนเขา ผู้ชายที่เคาน์เตอร์กับนักข่าวที่เพิ่งเดินเข้ามาเล่าเรื่องนาง Vera baxter หญิงลึกลับที่มาพักที่ปราสาทหรูหราทุกปี เธอมีสามีรวยๆที่ไม่ได้เอาใจใส่เธอมากนักให้ผู้หญิงคนหนึ่งฟัง ผู้หญิงอีกคนโผล่มาแล้วบอกว่ามีคนเช่าบ้านนั้นแล้ว นายหน้าผู้ให้เช่าตามหาหญิงสาวไม่พบ โทรไปก็ไม่มีคนรับ ไม่มีใครติดต่อได้เธออยู่ในบ้านไม่ยอมออกมา ต่อมาหญิงสาวที่มาใหมได้พบกับ Vera Baxter ในบ้านของเธอ ภาพทะเล สวน ต้นไม้ กรอบหน้าต่าง ถูกแทรกเข้ามาในบทสนทนาของผู้หญิงสองคนคนหนึ่งเป็นเมียเอก และอีกคนเป็นเมียเก็บ สามีของเวรามีเมียเก็บมากมาย หญิงสาวเป็นหนึ่งในนั้น เธอสองคนพูดเรื่องของJean สามีร่ำรวยของVera พวกเธอต่างบอกกันว่าต่างโกหกเรื่องต่างๆ ที่แน่ๆ Veraก็คบชู้กับใครสักคนและพาเขามาที่นี่ด้วย คำลวงของความทรมาน รักของเธอสองคนดำเนินไปเช่นนั้น

หญิงสาวแปลกหน้าจากโรงแรมตีนเขาเดินทางมาหาVeraที่บ้าน เธอเป็นตัวแทนของชายหนุ่มที่บาร์ที่เรารู้แล้วว่าเป็นชู้รัก Veraเล่าเรื่องของชู้รัก เล่าเรื่องของสามีที่เงินมากแต่ไม่ได้ร่ำรวยเลยสักนิด ชายคนที่Veraแต่งงานด้วยเป็นเพียงนายทึ่มมากรักผู้น่าเบื่อหน่าย ชู้รักของเธออาจหล่อเหลาแต่ก็เป็นแค่แมงดาเกาะผู้หญิงกิน พวกเธอผลัดกันเล่าเรื่องเฉพาะของVeraเอง หญิงแปลกหน้าบอกจะพาเธอไปหานายหน้าเรื่องเช่าบ้าน ไปพบชู้รักที่บาร์ แต่ผู้หญิงสองคนก็พูดคุยกันท่ามกลางภาพของทะเล กรอบหน้าต่าง สวน ปราสาทโบราณ ภาพที่ถูกสอดแทรกเข้ามาท่ามแสงซึ่งโพล้เพล้ลงไปเรื่อยๆ

LE CAMION(1977)

หญิงคนหนึ่ง โบกรถบรรทุกคันหนึ่ง รถบรรทุกสีฟ้า แล่นเอื่อยไปตามถนน บนรถมีชายคนขับ คนขับอีกคนนอนหลับที่เบาะหลัง เขาจะนอนหลับไปตลอดเรื่อง หญิงผู้นั้นนั่งรถไปกับชายคนขับ อยู่ในสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน จ้องมองภูมิทัศน์เดียวกัน แต่พวกเขาไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรมากไปกว่านั้น เธอพูด เธอร้องเพลง เธอนิ่งเงียบ เธออาจจะร้องให้ด้วย เขาขับรถ เขาฟัง ถามบ้าง ร้องเพลงบ้าง รถแล่นเอื่อยเฉื่อย ถนนเลียบทะเล สายหมอกเทาเศร้าโอบล้อม เรื่องมันก็เพียงเท่านั้นมีเพียงเท่านั้นเอง ไม่ได้รู้อะไร ไม่มีความหมาย

ดูราส์ กับเดอปาดิเออนั่งอยู่ในห้อง อยู่สถานที่เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน จ้องมองภูมิทัศน์เดียวกัน ภูมิทัศน์บนแผ่นกระดาษ ทั้งคู่กำลังนั่งอ่านบทหนังเรื่องหนึ่ง หนังเล็กๆถ่ายรวบรัด ง่ายดาย ถ่ายอย่างธรรมชาติ อย่างธรรมชาติในความหมายของทุนต่ำๆ ว่าด้วยหญิงคนหนึ่งโบกรถบรรทุกคันหนึ่ง ในวันหนึ่งๆ เวลาหนึ่งๆ

และหนังทั้งรื่องก็เป็นเช่นนั้น ดูราส์กับเดอปาดิเออ อ่านบท สนทนา นิ่งเงียบ ตัดสลับภาพของสองข้างทางท้องถนน จากหน้าต่างรถซึ่งแล่นเอื่อยเฉื่อยในสายหมอก ในยามสนธยากาลสีน้ำเงินเข้ม วันสีเทา ต้นไม้เฉาแห้ง ตึกสูง ที่ไกลๆ ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ภาพนิ่งยาวของคนสนทนาและภาพเคลื่อนไหวจากหน้าต่างรถ ไร้ทิศทาง ไร้ความหมาย ไม่มีเหตุผล เป็นเพียงเรื่องเล่าบางชนิด

LE NAVIRE NIGHT (1979)

ภาพยนตร์ซึ่งเป็นเพียงเรื่องรักของผู้คนที่ไดม่เคยได้พบพานกัน เรื่องราวล่องลอยอยู่ในบทสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างคนแปลกหน้าสองคน ดำเนินไปโดยนักแสดงสามคนที่เราแทบไม่ได้เห็นหน้า และแทบไม่ ‘แสดง’ สิ่งใด หากนี่คือภาพยนตร์ที่ถ่ายทอกความนุ่มนวลอ่อนหวานเศร้าสร้อยของบางสิ่งเช่น ความปราถนา

AGATHA ET LES LECTURES ILLIMITEES (1981)

ในหนังเรื่องนี้ภาพนั้นมีเพียง โรงแรมที่เหมือนจะร้าง โถงทางเดิน ห้องล๊อบบี้ ทุกที่ว่างเปล่า นอกบานหน้าต่าง ทุกอย่าดูเหงาเศร้าในวันที่แทบไม่มีแสงแดด ทะเลสงบราบเรียบ ราวกับว่ามันจะเป็นวันที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น และมันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเสียจริงด้วย Agatha เดินทางมาที่โรงแรมริมทะเลแห่งนี้เพื่อพบกับคนรักก่าของเธอ กล่าวให้ถูกต้อง ‘พี่ชายของเธอเอง’ ทั้งคู่นัดพบกันอีกครั้งที่นี่ หลบสามีและภรรยาของตัวเองมาพบกัน แต่ที่พวกเขาทำคือการยืนมองเหม่อไปทางทะเล นอนหลับอยู่บนโซฟา เสียงที่เราได้ยินก็คือเสียงของคนทั้งคู่ แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเสียงจากอดีต หรือปัจจุบัน เป็นเสียงของการสนทนา หรือเสียงเล่าจากที่อื่น ไม่ปะติดปะต่อ ไม่ย้อนเล่าความหลัง ทั้งหมดเป็นเพียงความเศร้าสีจาง ของตัวละครภูติผีที่ไม่ปริปาก
อีกครั้ง เสียงเล่าบอกบางอย่าง และไม่บอกอีกอย่าง เอาเข้าจริงเสียงเล่าใน Agatha อาจจะคลุมเครือกว่าเสียงใดๆที่เคยได้ยินมาในหนังของเธอ มันเป็นราวกับการแอบฟังคนที่เราไม่รู้จักคุยกัน พวกเขาสนทนาในเรื่องที่เราไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ และแน่นอนเขาไม่ปรารถนาให้เรามีส่วนร่วม สรรพสิ่งสลัวในครึ่งแสงของทะเลสงบราบเรียบ ความเศร้าในรักที่เป็นไปไม่ได้ถูกถ่ายทอดถึงความตายของมันอย่างช้าๆในหนังเรื่องนี้

Further Reading

Marguerite Durasเสียงในความทรงจำ http://filmsick.wordpress.com/2013/08/11/marguerite-duras/
NEW NOVEL, NEW WAVE, NEW POLITICS: FICTION AND THE REPRESENTATION OF HISTORY IN POSTWAR FRANCE (1998), written by Lynn A. Higgins แปลโดย จิตร์ โพธิ์แก้ว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10201930608810200&set=a.2900190747215.2155569.1333811571&type=1&theater

Lecaimon โดย filmsick
http://filmsick.wordpress.com/2013/04/13/lecamiondura/



ตั้งวง (คงเดช จาตุรันต์รัศมี/2013/ไทย) ความเป็นการเมืองของเรื่องสามัญ

$
0
0

q016

เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

ในที่สุดเต่าพบว่าแป้นพิมพ์ ญ ผู้หญิงที่ขบถกลับมาใช้การได้อีกครั้ง เธอจึงผันตัวเองมาเขียนนิยายประโลมโลกสำหรับสตรีและใช้ชีวีมีสุขกับการเป็นแม่บ้าน หลังจากโลกพังทลาย และจบลงในคุกอกีครั้ง สมบัติ ดีพร้อมหวนคืนสู่ท้องถนนอันทุกข์เศร้าของกรุงเทพ และได้พบกับนวลอีกครั้งหนึ่ง เช่นกันหลังจากแขนข้างที่สามสูญหายไปพร้อมกับแม่และลุงช่างตัดเสื้อ ขวนพบว่ามีแต่โลกของตัวประหลาดเท่านั้นที่ดำรงคงอยู่ เขาออกเดินทางไปพบนาอีกครั้งที่ไร่ชาบนดอยสูง  และเช่นกัน ในที่สุดหลังจากทดลองใช้ชีวิตชั่วคราวของผู้อื่น เล็กได้สวมสอดกอดรัดเอาตัวตนของก้องมาเป็นของตัวเองและเริ่มต้นมีชีวิตอีกครั้ง

ในที่สุดเสมอตัวละครของคงเดชแตกสลาย คลี่ลคลายและประนีประนอมกับโลกในระดับที่พอจะมีชีิวิตสืบต่อและโลกเก่าเป็ความเจ็บปวดที่จบลงและพวกเขารับมือกับมันได้

แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นกับเด็กวัยรุ่นทั้งสี่คนในตั้งวง เด็กวัยรุ่นที่โลกล่มลงและพวกเขาจะต้องทู่ซี้ทนอยู่กับมันไปเช่นนั้น ซึ่งนั่นคือสิ่งที่งดงามที่สุดในหนังเรื่องนี้

เด็กๆเหล่านั้นฉายภาพแทนที่น่าสนใจของคนชายขอบที่คาบเส้นระหว่างการเป็นชนชั้นล่างกับคนชนชั้นกลางระดับล่าง  คนที่อาจจะมีจำนวนสูงสุดของประเทศแต่ก็ชายขอบมากที่สุดในคราวเดียว  เมื่อเกิดในชนชั้นนี้ทางออกสำหรับผู้คนมีไม่มากนักในการขยับสถานะของตน  ถ้าเรียนหนังสือ คุรก็มีทางเลือกไม่ดี่ทางระหว่างเรียนให้เก่งพอจะเป็นจุดสนใจ ถีบตัวผ่านระบบการศึกษาของการเข้ามหาวิทยาลัยดังเช่น ยองกับเจ นักเรียนห้องคิงที่กำลังเป็นตัวแทนไปตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ หรือไม่เช่นนั้นคุณก็ต้องดิ้นรนกับทุนการศึกษาผ่านทุนกีฬาอย่างเบสท์นักปิงปอง แต่ถ้าคุรเรียนไม่ได้เรื่อง แถมยังมาจากต่างจังหวัดที่พ่อแม่ต้องเก็บเงินส่งคุณเรียนหนังสือ คุณก็อาจไปลงเอยที่โรงเรียนพาณิชย์ แสวงหาการยมรับตัวเองผ่านทางซับคัลเจอร์อื่นๆ อย่างเช่นเอ็มที่เลือกจะเป็นเด็กเต้นโคฟ คัฟเวอร์วงเกาหลี  หรือร้ายกว่านั้น คุณอาจฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าไมไ่ด้อีกแล้ว นอกเสียจากแต่งงานมีผัวฝรั่ง เหมือนพี่นัทนางรำแก้บน

ก็นั่นล่ะตัวละครของคงเดชในหนังเรื่องนี้  ผู้คนสามัญดาษดื่นจำนวนมากที่ไม่เคยได้โอกาสยึดที่บนจอใหญ่ของโลกภาพยนตร์ ชีวิตคนอยู่แฝลตดินแดงที่ไม่ได้หน้าตาดี ไม่ได้มีความสามารถพิเศษ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าชีวิตสามัญล่องไหลเอาตัวรอดไปกับกระแสโลก

ดังเช่น พฤษภาคมปี 35 ใน สยิว วิกฤติต้มยำกุ้งในเฉิ่ม รปห. 19 กันยาในกอด (อาจจะหรืออาจจะไม่) ช่วงเวลาชุมนุมเหลืองแดงในแต่เพียงผู้เดียว  ตั้งวงล่องไหลในพื้นหลังของช่วงกฤติชุมนุมปี 53 ทะลุผ่านอย่างเจ็บปวดในช่วงสลายหารชุมนุมพฤษภา 53 อย่างที่เคยกล่าวไว้กับมิตรสหาย เราไม่อาจละเลย ประเด็นทางการเมืองที่ครอบคลุมเคลียคลอไปกับหนังของคงเดชได้  เสมอมามันถูกใช้เป็นหมุดหมายทางปวศ. เป็นเครื่องมือในการตีความ หรือเป็นพื้นที่สำหรับการซ่อนนัยยะผ่านสิ่งละอันพันละน้อยในเรื่องส่วนตัวของตัวละครมากหน้า  กล่าวให้ถูกต้อง เรื่องพาฝันของแทกซี่ดีพร้อม สาววัยรุ่นเขียนหนังสือโป๊ หรือ ช่างกุญแจสับสน หรือไอ้คนสามแขน ล้วนล่องไหลไปในแรงกระเพื่อมเป็นผลกระทบสะท้อน หรือเป็นภาพแทนทางการเมืองของยุคสมัยทั้งสิ้น

อย่าไงรก็ตามสิ่งที่น่าทึ่งในหนังเรื่องนี้คือการที่มันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นภาพแทนทางการเมืองแบบตรงไปตรงมาแบบถอดรหัส ตัวหนังงองกเงยอยู่ในชีวิตของตัวลคะครแต่ละคนเองซึ่งอาจไม่ฟิตอื่นเมื่อโยนสัญญะเขาไปใส่  ซึ่งนี่คือนิมิตหมายอันงดงามในการที่ตัวละครได้ขัดขวางสัญญะตายตัวที่ผู้สร้างมอบให้ การลื่นไหลออกจากสัญญะพื้นๆโดดๆ ไปสู่ความหมายอื่นๆทำให้หนังไปพ้นจากการเป็นหนังการเมืองไปสู่การเป็นหนังที่มีชีวิตของมันเอง  ตัวละครในหนังไม่ใช่ภาพแทนของเสื้อแดง และยิ่งไม่ใช่ภาพแทนของเสื้อเหลือง หรือเสื้อแดง บรรดาเด็กๆในเรื่องก็เป็นเช่นเดียวกับคนจำนวนมากในประเทศนี้ กล่าวคือคนซึ่งไม่ได้มีเรื่องการเมืองอะไรอยู่ในหัว ล่องไหลไปกับภาวะส่วนตัวที่ีบคั้น เฉื่อยเนือย และอึดอัดขัดขัดข้อง

หนังมองตัวละครที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงมนุษย์นอกการเมือง ให้ล่องไหลไปอยู่ในการเมืองเรื่องส่วนตัว ความหวัง การพลาดหวัง ไม่ว่าจะเป็นการได้ไปสิงคโปร์แทนอังกฤษของยอง หรือ การโดนเมียทิ้งของเอ็ม (ตัวละครเอ็มกับเฟื่อง งดงามในระดับเดียวกับโมนผมทองในเกรียนฟิคชั่น เพราะนี่คือการมองภาพวัยรุ่นไม่ได้เื่องด้วยแง่มุมที่ละเมียดละไมและเป็นมนุษย์มากพอ)ที่หลังจากพบว่าแฟนสาวอาจจะท้อง เขาก็ทิ้งทั้งการเรียนและการเต้นโคฟไปทำงานในมินิมามาร์ทยี่ห้อ ‘อาร์มมาร์ท’ คือภาพแทนการเมืองส่วนบุคคล  ในขณะที่ การผเชิญหน้ากับครูวิทยาศาสตร์อำนาจนิยม (นี่เป็นตัวละครที่แสบสันต์ที่สุด และเป็นภาพแทนที่ร้ายกาจของสังคมอำนาจนิยม อุปถัมภ์นิยมอันบ้าคลั่งได้อย่างน่าทึ่ง) ของเจ และพ่อเสื้อแดงของเบสท์กลายเป็นการเมืองทางตรงที่เข้ามาปะทะกับตัวละคร

ในฉากอันลือลั่นของคืนสลายชุมนุม (ซีนนี้อาจจะเปรียบเทียบได้กับความเวียรด์ในฉาก ลุงเอื้อในเฉิ่ม ฉากไอ้ขวานไปเอาแขยคืนในกอด หรือ ฉากสาวดมกระป๋องพบนกยูงในแต่เพียงผู้เดียว) เมื่อเบสท์ออกไปตามพ่อ หนังถ่ายภาพของคนสามัญที่เข้าปะทะกับการเมืองอย่าแท้จริง ยิ่งเมื่อพิจารณาการที่หนังเลือกโลเคชั่นเป็นแฝลตดินแดง และตรงใต้ทางด่วนที่เป็นสถานที่จริงเหตุการณ์จริงอันสำคัญที่หนึ่ง ในฉากนี้หนังถ่ายทำด้วยสิ่งสำคัญนั่นคือความเงียบ  ความเงียบอันรุนแรงยาวนานแบบที่เราเคยเห็นในคลิปต่างๆ ไม่มีการเร้าอารมณ์ด้วยดนตรีใดๆ มันคือความเงียบสลับกับเสียงปืน เป็นครั้งแรกที่เบสท์ออกไปเจอกับการเมืองทางตรง ได้รับรู้ว่าชีิวิตนอกเหนือการตีปิงปองแล้วโดนลูกครูข่ม นั้นมีอะไรมากกว่า ในฉากนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงการบันทึกเหตุการณ์กาเมืองหรือการสร้างพลอตพลิกผัน แต่มันคือการพาผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชมอย่างเบสท์ที่มองว่าการเมืองอยู่ไกลตัว ได้เข้าไปผเชิญกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยตนเอง มันคือการจำลองสถาณการณ์ที่ผู้คนเบือนหน้าหนีและอยากจะลืมให้ปรากฏอีกครั้ง ก่อนจะลบมันต่อหน้าด้วยการตัดภาพไปยังเช้าวัน big cleaning day ทูเกตเตอร์วีดีลีท

นี่คือวิธีที่ภาพฉายของการเมืองส่วนบุคคล พุ่งเข้าปะทะกับการเมืองทางตรง นี่คือการอภิปรายภาพของสังคมร่วมสมัยที่ตอบคำถามว่าทำไมบางคนออกไปบนถนนและบางคนพยายามจะลืม

หากพ่อของเบสท์บ้านเบสท์คือตัวแทนของการเมืองแบบเสื่้อแดงคุณซาบซึ้งภาพแทนที่น่าสนใจอีกคนคือพี่นัทที่เบสท์จงเกลียดจงชัง ตัวละครที่ยอมจำนนต่อทุกอย่างในกรอบอันดีของดนตรีไทย และภาพฝาบ้าน  ทั้งต่อการถูกเหยียดเพศสภาพ ต่อความฝันที่พังทลาย และในฉากสุดท้ายเมื่อเธอถูกสั่งให้รำต่อไปอย่าหยุด กูจ้างมึงแล้ว กล้องตัดรับใบหน้าของเธอในเพศสภาพที่ถูกต้อง (ทุกคนที่รำรำในบทตัวพระ) เธอคือคนที่อาจเข้มแข็งที่สุดหรืออ่อนแอที่สุด ความฝันของการไปจากที่นี่เลือนลับ และเธอยังต้องรำแก้บนที่เธอไม่ได้บนไปอีกยาวนาน เธอคือคนที่รำแก้บนไปเรื่อยๆโดยไม่ปริปากบ่น และการรำแก้บนนี่แหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

สิ่งสำคัญที่สุดในหนังคือการแก้บน มันก็น่าสนใจว่าการแก้บนคืออะไร มันอาจถูกแทนที่ได้ทั้งวิธีคิดแบบไทยๆที่ครอบสังคมนี้อยู่  คือความงมงาย ไสยศาสตร์ หรืออาการปากอย่างใจอย่างของสังคมดัดจริต ไปจนถึงการตีควาไมปทางการเมือง แต่สัญญะศาลพ่อปู่และการรำแก้บนนั้นอาจะน่าสนใจกว่านั้น เพราะมันคือโครงสร้างทั้งหมดของหนัง

สถานะของการรำแก้บนในเรื่องนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงภาพสะท้อนอาการ ‘ไทยๆ’  ‘ภารกิจรำแก้บน’  คือหัวใจของหนัง กล่าวคือ ไม่ว่าจะชอบหรือชัง ไม่ว่าจะมีซับพลอตอย่างไร ถึงที่สุดหนังต้องเดินทางมาสู่สิ่งสำคัญคือการรำแก้บน  หากไม่มีการรำแก้บน ที่หนังดำเนินมาทั้งหมดก็สิ้นความหมาย ถึงที่สุดการรำแก้บนต้องเกิดขึ้นโดยตัวโครงสร้างของหนังเอง ไม่ว่าจะเต็มใจหรือต่อต้าน  ถึงที่สุดการรำแก้บนจะดำรงคงอยู่ไม่ว่าจะรำ ไม่รำ รำไม่ครบ มันคือโครงที่ครอบหนังเรื่องนี้ และนี่คือหัวใจของมัน  มันคือข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ที่มาจากตัวบท จากตัวโครงสร้างของหนังเอง หากหนังไม่มีการรำแก้บน ในแง่ที่ไม่สนใจการแก้บน เวลาที่หนังทุ่มเทให้กับความขัดแย้งหรือการฝึกซ้อมก็ไม่มีความหมาย สิ่งที่หนังจะพูดถึงอย่างไรต้องพูดในบริบทของการมีการรำแก้บน และนั้นคือสัญญะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  ยิ่งใหญ่กว่าศักดิ์สิทธิ์ของพ่อปู่ เพราะมันไมไ่ด้แค่อยู่ในตัวบท แต่มันอยู่ในโครงสร้างราวกับตัวละครทุกตัววิ่งรอบสิ่งนั้น

ความหวาดวิตกอันอธิบายไม่ได้ กรอบคิดที่อยู่เหนือเหตุผลนั้นเป้นเหตุเป็นผลกว่า ถึงที่สุดผู้ชมจะต้องถูกชักจูงไปสู่การแก้บน ไม่ใช่ว่าเด็กจะแก้บนหรือไม่แก้บน แต่ทั้งการแก้บนและไม่แก้บนจะต้องส่งผลต่อเด็กๆ เพราะมันคือโครงเรื่องรัก มันคือเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลที่สุดแ้มันจะอยู่เหนือระดับการใช้เหตุผล  มันคือความจริงที่ห้ามโต้แย้ง เพราะถ้าไม่มีมันการมีตัวตนของตัวละคร และหรือตัวเราก็หมดความหมาย  มันคือเรื่องที่อยู่เหนือการพูด หรือการแสดงกฤษฎาภินิหารของพ่อปู่  กรอบความคิดเช่นนี้อยู่เลยพ้นไปจากการลืมรากเหง้า หรือความเป็นไทยหรืออะไรทั้งสิ้น  มันคือ tabooที่ห้ามพูดหรือห้ามคิด การแสดงออก ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่จะต้องกระทำไป เพื่อให้ดำรงคงอยู่ แม้แต่ยองที่ปฏิเสธการรำถึงที่สุดก็ยังไปแก้บน  ความกังวลอันนี้ความกลัวอันนี้เองที่ขับเคลื่อนให้ผู้คนเดินไป ไม่ว่าเราจะทำไปเพราะให้มันจบๆไป เพราะรักษาสัญญา เพราะความกลัวอิทธิฤทธิ์พ่อปู่ หรือเพราะทำไปแล้วก็ต้องไปให้สุด ทั้งหมดล้วนถูกครอบงำ ผลักดันด้วยความกลัว/ความกังวลชนิดนี้

หนังจบลงด้วยโมโนลอกเนิ่นยาวของยอง คนเดียวที่อาจจะได้ไปพ้นแต่ยองไปพ้นจากการรำแก้บนจริงๆหรือ หนังฉายภาพ (ซีนนี้หนังกวาดภาพไปยังผู้คนที่ชวนให้คิดถึงซีนท้ายเรื่องในเฉิ่ม) และแสดงให้เห็นถึงภาพของชีิวตซึ่งยังคงดำเนินไปโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ผู้คนคาดหสังถึงวันที่ดีกว่าและใช้ชีวิตอยู่ในโลกใบเดิม คนอย่างเอ็มก็ยังต้องไขว่คว้าความฝันจากการเต้นโคฟ (ซึ่งโดนทำลายล้างไม่เหลือซากเมื่ออีเฟื่องผู้ไม่ยี่หระต่อเขาแค่นเสียงว่า เรอะ ต่อลูกไม้สุดท้ายว่ากูเป็นแชมป์โคฟจะมาทิ้งกูไปได้ไง)  หรือ เจ ที่ยังคงเลื่อนไหลไปตามสภาพเด็กนักเรียนดี ใต้อำนาจของครูวิทยาศสาตร์  และเบสท์ในฐานะนักกีฬา การรำแก้บนกลับมาห่างไกลและไร้ความหมายต่อพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง แต่ความหวาดวิตกไม่เคยไปไหน ความกลัวรอคอยอยู่เงียบๆ กระทั่งเมื่อยองบอกว่าเขาอยากไปสิงคโปร์เพราะสิงคโปร์ดีกว่าไทย เขาก็พกพาความกลัวชนิดนี้ติดตัวไปด้วย ความหวาดวิตกไม่มีชื่อนี่เองคือสิ่งสำคัที่สุด  และเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าเราจะบนหรือไม่ เราก็จะถูกถีบออกไปรำแก้บน ถูกถีบออกไปหัดตั้งวง ไม่ว่าจะตั้งได้หรือไม่หรือยากทำหรือไม่โดยไม่อาจโต้แย้งได้

ลงท้ายเช่นเคย ว่าทั้งหมดเป็นเพียงการตีความส่วนบุคคลของผู้เขียน และน่าดีใจยิ่งที่หนังเรื่องนี้ก่อให้เกิดการตีความที่หลากหลาย สุดท้ายนี้ เราดีใจจริงๆที่ยังคงเชื่อมั่นในหนังของคงเดชมายาวนาน พอที่จะบอกเพื่อนชาติอื่นๆว่านอนกจากอภิชาติพงศ์ในผู้กำกับกระแสหลักร่วมสมัยเราเลือกคงเดชเป็นอันดับสอง และตั้งวงก็พิสูจน์เรื่องนี้


TOP TEN (+2) MARATHON 2013

$
0
0

 

toptenmaraton poster

1.มะนีจันเปล่งเสียงไม่ได้ในทวิภูมิทางภาษาของคุณ ( รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค /2013/ ไทย)

 

บทที่สามในไตรภาค linguistics (กูตั้งของกูเอง)ของ รัชฏ์ภูมิ  ต่อจาก …ออกเสียงไม่ได้ในจักรวรรดิทางภาษาของคุณ … ที่ว่าด้วยบทสัมภาษณ์ศิลปินหญิงและการเบ็ดโชว์ของเธอใน ‘จักรวรดิ‘ ของผู้ชาย และ  เสียงที่ออกไม่ได้ในราชอาณาจักรทางภาษาของคุณ ที่เล่าเรื่องการทำซับไตเติ้ล ซึ่งได้เข้ามาครอบครอง ล่าอาณานิคมสร้าง ‘ราชอาณาจักร’ทางภาษา ก่อนที่มะนีจันจะไม่ได้เพียงพาเรา ข้ามขอบ ‘จักรวรรดิ’ หรือ ‘ราชอาณาจักร’ หากข้าภพข้ามชาติระดับข้าม ‘ทวิภูมิ’ กันเลยทีเดียว

ปัญหาของการเขียนถึงหนังเรื่องนี้คือเมื่อเราเขียนถึงเราก็ได้วอยซ์โอเวอร์หนังไปเรียบร้อยแล้ว และนี่คือสิ่งที่เราต้องบอกว่าเรากำลังพูดแทนหนังอยู่ หนังเล่าเริื่อง ของมะนีจัน อาจจะ ลูกจีนอพยพ ที่อาจจะมีตาอยู่ฝั่งลาว อาจจะมีที่ทางอยู่ ที่นั่น หน่อวาเป็นสาวปกากะญอ ที่พูดไทยไม่ชัดพูดอังกฤษเป๊ะมาก และไฮซนท์ เป็นสาวมุสิมที่เกิดในเคปทาว์น และพูดดัทช์ ซึ่งจริงๆคือแอฟริกันเนอร์ได้ แต่พูดไทยติดอ่าง ทั้งหมดนี้นริศ (ซึ่งไม่มีภูมิหลัง สัญชาติ)เป็นคนเล่า (นริศรานุวัติวงศ์ หรือเปล่าวะ) นริศเป็นผู้ชาย คนเดียวเป็นเสียงเล่าเรื่องซึ่งถูกมะนีจันทักท้วงว่ามันเป็นเสียงเล่าของผู้ชายที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับชีวิตเธอเลย แถมยังเล่นโจ๊กเรื่องพ่อแม่หน่อวาอีกต่างหาก มะนีจันเลยเล่าเอง แต่หน่อวาและไฮซิยนท์บอกว่าแค่เธอเป็นผู้หญิงไม่ได้แปลว่เธอจะเล่าชีวิตผู้หญิงคนอื่นได้ดีกว่า  แต่นั่นยังไม่เท่าไรในเวลาต่อมานริศกลายเป็นร่างทางทางปวศ.ของมะนีจันสื่อสารกับผีตาไปหาที่ที่เมืองลาว  แต่นริศหลอกแดกเธอ เหมือนที่ตาของเธอออาจจะหลอกแดกคนลาวว่าจะมาต้่านฝรั่งเศส การเป็นภาพแทนคือการหลอกแดกกันไปมา ภาพแทนไม่ได้เป็นภาพที่แท้จริงแต่มันสถาปนาสิ่งอื่นขึ้นมาสวมทับประหนึ่งการรีเมคซ้ำของมณีจันทร์ในทวิภูิที่มะนีจันไปพบมะนีจันที่ไม่มีเสียงไม่ใช่เพราะเป็นใบ้แต่เพราะไม่ได้อยู่ในภาพแทนของการวอย์โอเวอร์ เปล่งเสียงไม่ได้เพราะไม่เคยถูกนับให้มีเสียง เป็นเสียงร้องอย่างสัตว์ที่ถูกขจัดออกไป ประหนึ่งตัวตนที่แท้ของน้องเนยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับน้องเนยรักษ์โลกแต่ถูกจดจำเป็นน้องเนยรักษ์โลก

 

สิ่งที่เป็นทั้งข้องดงามและจุดอ่อนของรัชฏ์ภูมิ (ซึ่งเจ้าตัวอาจะไม่ได้สนใจอะไรมากนัก) คือการที่หนังมันทำหน้าที่ ไดอะลอกของงานวิชาการที่เคลื่อนไหว ทำให้ตัวละคร เรื่องราว ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับบทบาทตายตัวในฐานะเครื่องมืออธิบายประเด็น ซึ่วนั่นทำให้ตัวละครอ่อนนุ่มยือหยุ่นต่อการตีความแต่แข็งแเกร็งในฐานะมนุษย เพราะหนังไม่มีเวลาให้เราเห็นแง่มุมที่อธิบายไม่ได้ของมนุษย์  ไม่ค่อยมี ‘หัวใจ’เป็นคำที่เราใช้บ่อยเวลาพูดกับคนทำ  แต่นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องจำเป็น

 

 

หนังของรัชฏ์ภูมิคมคายเสมอ และเช่นนั้นเสมอ มันเป็นหนังที่เป็นบทความวิชาการ เพียงแต่ text ของมันไม่ได้อยู่แค่ในปากของตัวละครหากอยู่ในเทคนิคของ ‘ ความเป็นภาพยนตร์’โดยตัวของมันเอง จาก ปอตาธิปไตยใน จักรวรดิ มาถึง ซับไตเติ้ล ใน ราชอาณาจักร ใน ทวิภูมิ ‘เสียงเล่า’ได้มาพบกับเจ้าของเสียงที่เป็น ‘ผู้ชาย’ จักรวรรดิแบละราชอาณาจักรได้ควบรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวเป็นีกภพภูมิที่ต่อสู้กับผู้หญิงและความเงียบ เสียงที่ออกไม่ได้ ในอีกภพภูมิหนึ่ง นี่คือทวิภูมิที่มะนีจันต้องกระโดษข้ามไปมา ขัดขืนและยอมตามได้ประโยชน์และถูกฉกฉวยจากมัน

 

2.แสงของธีรนิต์ เสียงเสนาะ : โรคเมือง + NIGHT

 

ในปีนี้  ธีรนิต์ ส่งหนังมามาราธอนทั้งหมดเกือบสามสิบเรื่อง  หนังทั้งหมด ห่างไกลจากการเป็นหนังเล่าเรื่อง อาจถูกกล่าวถึงในเชิงเหยียดหมิ่นว่าแค่วาดกล้องไปถ่ายเอาสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างยาวนานไม่รู้จบแล้วเอามาตัดเป็นหนังที่ไม่มีอะไรจับต้องได้ ถ่ายอะไรมาก็ไม่รู้จำนวนหนึ่ง เป็นการง่ายที่จะบอกอย่างนั้น แต่ในการจับจ้องเนิน่ยาวของธีรนิต์ หนังของเขาได้นำพาผู้ชมไปสู่พรมแดนของการจ้องมองที่งดงามและเป็นส่วนตัว  ด้วยไวยากรณ์อันพิเศษเฉพาะตัว กล่าวซ้ำีกครั้ง ธีรนิต์ใช้ภาพแทนคำทีละคำเขียนบทกวีขึ้นด้วยการร้อยเรียงเชื่อมกันด้วยรูปประโยคลึกลับที่เขาอาจจะเข้าใจเพียงผู้เดียว การผเชิญหน้ากับประโยคที่อ่านไม่ออก ด้วยภาษาที่ลึกลับ เปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้จินตนาการไปต่างๆนาๆ เหมือนการพบเจอสิ่งที่ไม่รู้จัก มนุษยืจากดาวอื่น เสียงที่เราแปลความหมายไม่ได้ แต่รู้สึกได้ถึงความไพเราะของมัน ความงดงามของพื้นผิวของมัน และพลังไม่รุ้ชื่อของมัน

 

NIGHT วาดภาพจักรวาลที่วาดจากแสงของธีรนิต์หมดจดงดงามมาก องก์แรกเป็นแสงจากบ้านเรือนของผู้คนชุมชนชานเมือง ภาพแปลกตาแบบที่ไม่เคยเห็นแสงนีออน ชีวิจชาวบ้านร้านช่องโลดเต้นแบบนี้มาก่อนในหนังไทย แสงของมันและพื้นที่แห่งแสงชวนให้นึกถึงหนังปินอยชาวบ้าน เป็นแสงแบบที่เราอยู่ข้างในมันแต่ไม่เคยจ้องมองมัน องก์ที่สองเป็นแสงจากตึกเมืองกลวงระฟ้าในกล้องตั้งนิ่ง แสงนิ่งแสนไกล มีตารางระเบียบเรียบร้อย แสงซึ่ไงม่มีชีวิตชีวาในกล้องที่ไม่คืบเคลื่อน ก่อนจะเคลื่อสู่งองก์สามคือแสงจากไซต์งานก่อสร้าง แสงสว่างส่องเครนมลังมเลืองเบื้อหลังของเมืองอันยิ่งใหญ่ ภาพข งองก์สามจับจ้องการทำงานของผู้คนซึ่งเป็นเพียงมดปลวกเล็กๆในจอท่ามกลางพื้นที่ขนาดใหญ่ของที่ซึ่งจะกลายเป็นแสงเมืองขององก์ที่สอง ปลิตโดยผู้คนจากแสงนีออนในองก์แรก และปิดด้วยภาพของสุนัขโดดเดี่ยวในคืนเดียวดายหน้าตู้ควบคุมไฟ

 

ในขณะที่โรคเมือง เล่าภาพผ่านกระจกหม่นมัวในคืนฝนตกของธีรนิได้สลายมวลแสงของดวงไฟให้ลดรูปลงเหลือเพียงรูปทรงวงแสงอันพราวพราย การเคลื่อนไปทั่วกรุงเทพในคืนฝนตกจ้องมองวงแสงหลากสีไม่มีที่มาอย่างเลื่อนลอยไร้สิ่งใดให้คว้าจับนอกจากความงดงาม วูบไหว พร่าพรายของแสงราตรีของเมืองหลวงเปื้อนน้ำตาค้างบนกระจกหม่นมัวของรถโดยสาร

 

 

3.Time Capsuleของธีรพัฒน์ งาทอง : การบ้านปิดเทอม +สงเคราะห์ครูแอนดี้ + รถเมล์ที่คนถ่ายนั่งไปโรงเรียนกลับบ้านเป็นอาจิณ + หนึ่ง + สอง 

 

หลังจากปีที่แล้วธีรพัฒน์ งาทอง ทำหนังตลกๆแบบหนังส่งครู หรือหนังชวนเพื่อนเล่นห่ามๆหรือหนังทดลองแบบคนเพิ่งจับกล้อง  ปีนี้เขาพัฒนาการจ้องมองของตัวเองขึ้นไปอีกระดับ  ปีนี้เขาส่งหนังมาเกือบยี่สิบเรื่อง จำนวนหลายเรื่องในหนั้งเป็นการบันทึกความทรงจำส่วนบุคคลในปีที่เขาจะจบม. 6 จากโรงเรียนเดิมเข้าสู่วัยมหาวิทยาลัย หนังในชุดนี้แทบทั้งหมดมีความเป็นส่วนตัวสูงมาก มันบันทึกภาพเฉพาะภาพที่ผู้บันทึกเท่านั้นจะเข้าใจ มันเป็นหนังสำหรับเปิดดูกันเองในบรรดาเพื่อนๆ แต่นี่คือไดอารี่ คือเฟรนด์ชิป คือไทม์แคปซูลของเด็กร่วมสมัย  ภาพยนตร์ที่อาจจะไม่ได้สำคัญต่อใครเลยชุดนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงบันทึก แต่มันเป็นชิ้นส่วนความทรงจำที่อวลไปด้วยอารมณ์ถวิลหาอาลัย ภาพชีวิตแบบที่ในที่สุดผู้ใหญ่จะปล่อยหลุดมือไป จดจำได้เพียงเลือนราง

 

ดังเช่น รถเมล์ที่คนถ่ายนั่งไปโรงเรียนกลับบ้านเป็นอาจิณ หนังเป็นไปตามชื่อเรื่องคือถ่ายภาพรถเมล์ที่คนทำนั่งโรงเรียน ถ่ายไว้เผื่อวันหนึ่งจะไม่ได้นั่งอีก หนังไม่ทำอะไรมากไปกว่าเป็นภาพนอกหน้าต่างรถเมลื ผ้าม่าน ท่อแอร์ รูขาดของเบาะหน้า คนข้างๆ ที่วางเท้า หนังจมอยู่กับภาพแบบการจ้องมองส่วนบุคคลนานนับนาน แน่นอนว่าสำหรับผู้ชมคนอื่นมันอาจเป็นภาพที่ไม่สือความหมายอะไรเลย แต่มันมีgazing ที่งดงามมากๆ เหมือนเราผ่านเข้าไปในหน้าต่างบ้านคนอื่นและจ้องมองเขานั่งเหม่อ หรือสนทนากับคนที่เราไม่รู้จักในเรื่องที่เราไม่ได้ยิน

 

ภาพจำของคนเราแตกต่างกัน ภาพจำไม่จำเป็นต้องสวยงามสำหรับทุกคน บรรยากาศที่ไม่มีใครเข้าใจ รอยของผ้าม่าน หรือที่ที่เราผ่านไปทุกวัน การบันทึกภาพที่่ก่อนหน้านี้เพียงผ่านสายตาผู้คน ทำให้เรารู้สึกเหมือนคนทำกำลังบันทึก time capsule ของตัวเอง

 

การบ้นปิดเทอม เล่าเรื่องการทำการบ้านสุขศึกษาตอนปิดเทอมม.6 บางช่วงชวนให้นึกถึงความกวนตีน ของนวพล แต่สิ่งที่ชอบสุดๆในเรื่องคทืตัวคำถามที่พยายามเน้นการครอบงำ ควบคุมมากกว่าความคิด พอขัดชืนด้วยการเปิดเพลงเมทัลฟังยังเสือกโดนควบคุมโดยพวขบถหัวอ่อนไหวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง การหลบหนีนำไปสุ่ความเงี่ยนเมื่อดูหนังโป๊ และความง่วงเมื่อดูหนังอาร์ต( SHIRIN ย้อนแย้งมันดีเพราะหนังถ่ายแบบSHIRIN ด้วยเหมือนกัน คนดูเลยนั่งดูหนังว่าด้วยใบหน้าคนนั่งดูหนังที่มีแต่ใบหน้าคนดูหนังในโรง)

 

ชอบที่มันเป็นงานตลกๆเล้กๆ แต่โดยไม่ได้ตั้งใจ มันสะท้อนภาพอะไรสนุกๆออกมาได้  เป็นลูกครึ่งระหว่างการเป็นtime Capsule กับเป็นหนังตลกเสียดสี

 

สงเคราะห์ครูแอนดี้ เป็นภาพทรงจำช่วงท้ายก่อนลาจากโรงเรียน หนังทำหน้าที่เป็นเฟรนด์ชิปบันทึกคำ่ำลาใบหน้าเพื่อนๆ มุกที่รู้กันเองในกลุ่ม ในขณะเดียวกันมันก็บันทึกสถานะภาพของเด็กวัยรุ่มัะยมปลายในยุคสมัยหนึ่ง โลกที่เขารับรู้ สิ่งที่เขาเรียน เรื่องที่เขาสนใจ และความหวั่นไหวที่คลี่คลุมโดยรอบ (ฉากที่น่าทึ่งอย่างเช่นฉากการบีบคั้นให้เพื่อนบอกว่าใครสวยที่สุดในโรงเรียน)  โดยไม่ได้ตั้งใจผู้ชมโผล่เข้าไปในโลกที่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของ  จ้องมองชีวิตของเด็กม.ปลายที่ดูไม่มีเรื่องราวอะไร แต่เป็นน้ำเนื้อในชีวิตประจำวัน  หนังอย่าง เลิกเรียน รด. ก็บันทึกภาพช่วงนี้ไว้ได้

 

หนึ่ง กับสอง (และสาม) เป็นลูกครึ่งระหว่างการเป้นหนังทดลองที่ว่าด้วยการรับรู้ภาพยนตร์การทำหนัง และหนังของตัวผู้กำกับเอง กับบันทึกเหตุการณ์เรื่อยเปื่อ หนึ่งคือการเล่นกับแมวในโรงเรียน  สองคือการตามถ่ายแมวไปเรื่อยๆในขณะที่สามคือภาพบันทึกชีวิตช่วงไปญี่ปุ่น  โดยทั้งสามเรื่องเป็นการลับคมมีดในวิธีของการจ้องมอง สิ่งที่จ้องมองและความงามของมัน การละเล่นกับความเป็นภาพยนตร์และความพึงใจในการมอง

 

 

ในตอนนี้กล้องราคาถูกลงแล้ว และทุกคนสามารถบันทึกชีวิตของตนเองได้ หลายสิบปีก่อนผู้กำกับนิวเวฟเคยบอกว่าหนังยุคต่อไปจะเป็นเรื่องสามัญของคนทั่วไปการกินข้าว อาบน้ำ นอนหลับ ไม่มีเรื่องราวอะไร  ไม่มีปื่น หรือการผจญภัย มาถึงวันนี้ใครๆก็สามารถบันทึกชีวิตของตัวเองได้แล้ว ต่างกันก็แต่ใครจะพยายามบีบคั้นเรื่องราวจากชีวิตของตัวเอง หรือใครจะปล่อยให้น้ำเนื้อในชีวิตค่อยแผ่วผ่านหน้ากล้องก็เท่านั้น  มันคงดีถ่ส ธีรพัมฯืจะดูหนังเรื่องนี้ตอนอายุสามสิบเพื่อพูดคุยกับวัยเยาว์ของตัวเองที่เขาบันทึกมันออกมาอย่างซื่อตรงเท่าที่จะทำได้  เราอยากดูหนังของเขาไปจนถึงตอนนั้น

 

 

 

4.อีกรลี่Heeพลาติกใส + 03/01/2013 & 24/05/2013 (กร กนกคีขรินทร์)

 

กร กนกคีขรินทร์ยังคงอยู่ในห้องของนาง ยังคงบ้าคลั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของนาง  หนังของนางยังคงเป็นการถ่ายตัวเองในชุดประหลาดโลก หรือเปลือย เต้นรำ กรีดกราย อย่างบ้าคลั่ง  ราวกับนี่คือหนทางในการพูโสิ่งที่พูดไม่ได้ออกมา ในหนังทั้งสองเรื่องซึ่งเป็นเหมือนกนังเรื่องเดียวกันนี้ กร เล่นกับหุ่นลองเสื้อเพศชาย  รองเท้าส้นสูง ผมยาวๆของนางและเทคนิคMirror ของคอมพิวเตอร์ที่ฉีกเรือนร่างของนางออก ในความบ้าคลั่งอันทรงพลังที่อธิบายออกมาไม่ได้ หนังของนางทรงพลังดำมืดลึกลับ ที่รุนแรงอย่างเดียวกับการกรีดร้องที่ไม่มีเสียง อย่างเดียวกับการแผดความอึดอัดขัดข้อง ความทุกข์ความเจ็บปวดและเพริดไปในโลกประหลาดผ่านตากล้อง

 

แน่นอนเราอยากเห็นนางทำหนังแบบอื่นบ้าง แต่มันอาจไม่จพเป็นก็ได้  ไม่ว่านางจะอยากเป็นคนทำหนังทดลอง หรือเพียงอยากจะระบายความคับแค้นคลั่งบ้านางก็ได้สร้างงานที่ทรงพลังมากๆออกมาแล้วล่ะ

 

 

 

5.ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง (จุฬญาณนนท์ ศิริผล) 

+สามัคีเภทคำฉาล (ธีรพัฒน์ งาทอง) 

+ ลักษณ์ (กมลวรรณ จันทรัตน์ ) 

 

หนังโครงการมักจะน่าเบื่อ หนังส่งครูไม่ค่อยได้เรื่องและหนังโปรโมทเมืองก็เซ็งๆ ถ้าคิดเช่นนั้นก็ขอแนะนำหนังสามเรื่องนี้

 

ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง เป็นหนังโรงการสำหรับเล่าเรื่องข้อเข่าเสื่อมของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จุฬญาณนนท์เอามาพัฒนาเป็นเรื่องของคุณป้าที่ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม และคิดว่าอาจจะเป็นพราชาติที่แล้วฆ่าไก่ ได่เลยตามมาจิกเข่า  ภายใต้ภาพหนังโครงการที่ทื่อซื่อตรงไปตรงมา คุณหมอมาอธิบายกันแบบตรงหน้า พร้อมไสลด์ประกอบ หนังพลิกแพลงเอาหนังของอภิชาติพงศ์ ของนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์  มาล้อเล่นอย่างสนุกสนาน จนกลายเป็นหนังที่ทั้งตอบโจทย์ ในขณะเดียวกนก็เป็นหนังเชื่อมภาพ วิทย์กับไสย ที่ผสมกันในสังคมไทยอย่างน่าสนใจแล้วยังไม่พอยังสร้างบทสนทนาทั้งเชิงยั่วล้อและคารวะกับหนังไทยอีสองสามเรื่องอย่างน่ารักและร้ายกาจคมคาย

 

สามัคคีเภทคำฉาลก็เป็นหนังแบบส่งครู่เรื่องสามัคคีเภทคพฉันทน์ที่ต้องให้มีเนื้อหาที่มาที่ไป วิพากษ์ตัวบท ซึ่งเขาก็ให้เพื่อนผู้หญิงมานั่งอ่านจนครบตัดสลับกับละคึรจำลองเหตุการณ์แบบฮาๆประสาเเด็กมัธยมที่ฮามาก สนุกมากจนเผลอๆสนุกกว่าตัวบท

 

ลักษณ์อาจจะต่างออกไป เพราะจริงๆมันเป็นหนังเล่าเรื่องแต่ขอประมวลไว้ในกลุ่มเดียวกัน ลักษณ์เล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ทำสารคดีเรื่องการตามหาแมงกระพรุนในทะเล วันหนึ่งเขาแล่นเรือไปไม่กลับมาอีก ทิ้งไว้เพียงกระเป๋าเป้  ในเวลาต่อมาลูกสาวของเขาเติบโตขึ้นเป็นคนทำสารคดีโปรโมตเมืองสงขลา  วันหนึ่งขณะทำสารคดีอยู่ เธอพบว่าพ่อกลับมา กลับมาในรูปแบบของเทเลทับบี้ส์สีแดง และเธอวิ่งไล่เทเลทับบี้ส์สีแดงไปรอบๆเมืองเก่าสงขลา ก่อนจะได้ไปเดินเล่นกับพ่อ และส่งพ่อกลับลงมหาสมุทรในรูปของแมงกระพรุน  หนังอาจะออกมาเหวอๆ บ้านๆ แต่ความเหนือจริงของหนังนั้นน่ารักสุดๆ แล้วยังพ่วงอารมณืถวิลหาที่งดงามมากๆอีกด้วย  ในทางเดียวกัน หนังให้เวลากับช่วงของการวิ่งไล่กันในเมืองเก่าที่งดงามจนกลายเป็นหนังที่ฉายภาพเมืองสงขลาออกมางามมากๆ อาจจะงามกว่าการเป็นสารคดีเฉยๆเสียด้วยซ็ำ  ชอบอารมณ์หวนหาอาลัยของหนังมากๆ

 

6.The Mock doc 

Nyob Zoo-น๊อ โยง-สวัสดี (ณัฐศักดิ์ วีระนรพานิช) 

+ร่างทรง (ฟ้่าภิรมย์ ไวว่อง) 

+เขากะลา (เอกภณ เศรษฐสุข) 

 

กลุ่มหนังสารคดีแท้ สารคดีเทียม หรือกึ่งสารคดีกลุ่มนี้ ล้อเล่น และเล่าเรื่องที่ตัวเองต้องการด้วยวสายตาที่น่าสนใจ ไม่ว่าหนังจะได้ประเด็นตามต้องการ หรือแตะผ่านฉาบฉวยสิ่งที่เราสนใจคือวิธีการเล่า และการเข้าต้นเรื่องด้วยสายตาที่น่าสนใจ 

 

Nyob Zoo-น๊อ โยง-สวัสดี ตอนไปมะละกา เพื่อนชาวมาเลย์ที่เป็นจีนอพยพรุ่นสองรุ่นสามเหมือนเราและยังพูดจีนอยู่บอกว่าเราสามารถออกเสียงคำบางคำได้ชัดมากเพราะเราเป็นจีนอพยพเหมือนกัน แต่เราเป็นรุ่นที่สามแล้ว พูดจีนไม่ได้แล้ว และฟังได้เป็นคำๆที่น้อยมากๆ การได้ยินอะไรแบบนั้นทำให้รู้สึกสองสามอย่าง แต่ที่สำคัญมากๆคือรู้สึกว่า ความเป็นจีนดั้งเดิมของเรา มันไม่เคยมีอยู่เลยจนมีคนมาทัก เป็นอัตลักษณ์ที่ล้างไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้รับมาอย่างภาคภูมิ เราเป็นจีนอพยพที่ไม่หลงเหลือรากเดิมอีกแล้ว  มันจึงสะเทือนใจมากที่ดูสารคดีที่ว่าด้วยภาษาม้งในเรื่องนี้ที่ตัวภาษาเป็นภาษาพูดอย่างเดียว จนนคนม้งที่ไปอยุ่เมืองนอกเอาภาษาอังกฟษมาเป็นพื้นสร้างภาษาเขียนของภาษาม้งจากภาษาอังกฤษ แต่ชุมชนคนม้งเมืองไทยรุ่นต่อๆมา ไม่มีใครพูดม้งได้อีกแล้ว เขียนยิ่งแล้วใหญ่ เพราะพวกเขาต้องเรียนไทยทั้งหมด ภาษาไทยเอาไว้ใช้สื่อสารทำมาหากิน ขณะที่ภาษาม้งเป้นเพียงภาษาที่ไว้พูดกันภายใน  การที่ตัวภาษาเองจับต้องไม่ได้ (ไม่มีภาษาเขียน) จนทำให้ต้องยืมภาษาอื่นมาใช้ ก็พูดถึงความไม่มั่นคงของตัวภาษาได้น่าทึ่งแล้ว แต่การที่คนม้งต้องเรียนไทย ลืมม้ง ทั้งเพื่อทำมาหากิน และเลือนอัตลักษณ์เพื่อปรับตัวเข้ากับส้งคม ทำให้ภาษาที่ชายขอบมากๆนี่หลุดไปเป็นชายขอบของชายขอบมากขึ้นไปอีก การสูญสลายของมันถูกคลี่ให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องการหลงลืมวัฒนธรรมเพ้อเจ้อแบบพวกคนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมชอบพูดกัน แต่มันคือการดิ้นรนเพื่อเาอตัวรอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การยื้อรักษามันไว้เป้นเรื่องดีงามแต่ไม่ใช่สิทธิ์ในการชี้หน้าคนอื่น  ชอบมากๆที่ครูพูดว่า หลังจากนี้จะต้องเปิด AEC ต้องเรียนภาษาอื่นๆภาษาม้งที่ไม่ได้ประโยชน์ก็จะมีแต่สาบสูญไป รุ้สึกว่ามันเป็นเรื่องเศร้าที่จำต้องเข้าใจมากๆ

 

เขากะลา เป็นหนังmock สารคดี ว่าด้วยสามหนุ่มเดินทางไปถ่ายทำUFO ที่เขากะลา ซึ่งมีกลุ่มตือนภัยที่เชื่อว่าติดต่อกับUFO ได้ หนังมีทั้งสัมภาษณ์ชาวบ้าน ไปพบหัวหน้าทีมเตือยภัยที่ติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวด้วยารจุดธูปนั่งสมาธิ จบลงแบบคนอวดผีที่ทำให้ขนลุกเกรียว  ชอบความเนียนของมันมาก จนดูจบไปแล้วก้ไม่แน่ใจว่าสารคดีหรือ mock ตัวsubject มันประหลาดมากๆๆ เช่นการจุดธูปบอกมนุษย์ต่างดาว หรือการไปตั้งเตนท์ เฝ้าUFOบนเขา ที่มีทั้งรอยพระพุทธบาท มีพระพุทธรูปมีรูปปั้นยักษ์ เป็นวิทยาศาสตรืผสมไสยซาสตร์แบบไทยๆที่ประหลาดพิสดารพันลึกมากๆ ฉากกล้องถ่ายท้องฟ้า กับฉากไคลแมกซ์ของหนังก็หลอนในระดับที่รุนแรงสุดๆ

 

 

ร่างทรง สารคดีว่าด้วยเรื่องร่างทรง ท้าวเวสสุวัน ชอบสายตาของหนังที่ แกติสารคดีแบบนี้มักจะมีอากาณเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่สายตาของหนังเรื่องนี้มันเชื่อมากกว่าไม่เชื่อ หนังปล่อยให้เจ้าของร่างทรงเล่าทุกอย่างอย่างละเอียดรุนแรงยาวนาน ผู้คนที่เคยได้รับการช่วยเหลือจากร่างทรงก็เล่าเรื่องตัวเองอย่างละเอียดรุนแรงยาวนาน ชอบเรื่องคนหนึ่งที่ร่างทรงให้กุมารมา แล้วกุมารมาทักว่ามีด่านข้างหน้า เลยให้แฟนใส่หมวกกันน๊อคก่อนถึงด่านแล้วผ่านด่านไปได้ไม่โดนปรับรู้สึกว่าเรื่องเล็กๆพวกนี้น่าสนใจมาก พวกปาฏิหารยิ์ในสิ่งเล็กๆพวกนี้ต่างหาก ที่ขับเคลื่อนให้คนเชื่อจรืง เรื่องของการถูกหวย การเตือนอะไรเล็กน้อยพวกนี้มันทำให้คนไปไกลได้มากๆ  ในอีกฉากหนังให้ร่างทรงเล่าเรื่องการทำหม้อกะลัต หรือ การทำบายศรีโดยละเอียด พวกรายละเอียดยิบย่อยพวกนี้มันน่าทึ่งมากๆ แล้วซับเจคต์ก็เปิดเผยหมด เหมือนอยู่ดีมันยักย้ายถ่ายเทประเด็นจากเชื่อไม่เชื่อจริงไม่จริงมาเป็นรายละเอียดของตัวพิธีกรรมซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์แต่ตัวพิธีกรรมล้วนๆมันไปเสริมความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร

 

หนังมันไม่ได้ลงลึกคมคายอะไร แต่มันมองซับเจคต์แบบกึ่งเชื่อแล้วมันออกมาดี ความขัดแย้งของพราหมณ์กับพุทธกับผีในตัวสำนักทรงมันก็ประหลาดดีแม้หนังจะไม่ได้ตีตรงนี้แต่มันก็หลุดออกมาให้สังเหตเห็นอย่างน่าสนใจ

 

 

7.The obscure of feminine feeling : 

สลัว( น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์) 

+วันทยหัตถ์ (บุษรินทร์ สีงาม ) 

+2413402 / The number you have dialed is not available in this time (ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์ )

 

สองในสามเรื่องเป็นนังผู้หญิง อีกเรื่องเป็นหนังที่คลุมเครือในอวลอารมณ์โฮโมอีโรติคซึ่งกำกับโดยผู้หญิง หนังทั้งสามเรื่องไม่ได้ถูฏเลือกมาเรียงกันเพียงเพราะมันเป็นหนังที่ทำโดยผู้หญิง แต่เพราะทั้งสามเรื่องอวลอยู่ในอารมณ์อันคลุมเครือไม่ชัดแจ้ง การแถลงความรู้สึกภายในด้วยไวยากรร์ที่ไม่แจ่มชัด และความคลุมเครือคือหัวใจของการพูโแบบผู้หญิง การหลั่งไหลอันต่อเนื่องแต่ไม่ได้ให้แปลความแบบตรงไปตรงมา ความอึดอัดขัดข้องที่อวลอยู่ในบรรยากาาศแบบกระจกฝ้า

 

สลัว เล่าเรื่องของหญิงสาวคนหนึ่งในบ้านผุพัง เธอตื่นขึ้นบนฟูกเน่าๆ  เลือกเสื้อผ้าจากตู้เย็น ออกไปกินข้างในส่วนของบ้านที่ถูกทุบทิ้งจนเป็นกองระเกะระกะของสรรพสิ่ง ก่อนที่เธอจะออกนอกบ้าน วาดรูปเล่นและโมโนลอกเล่าถึงความไม่แน่นอนในชีวิตของตัวเอง ภาพสะท้อนของการตื่นในบ้านที่กำลังพังลง ช่วงชีวิตหนืดเนือยหยุดนิ่ง ไปข้างหล้าก็กล้าๆกลัวๆข้างหลังก็ำลังพังทลายลง สลัว เป็นทั้งคำอธิบายภาพหม่นซัวซึมเซาในหนังและ อธิบายช่วงเวลาในชีวิตของคนทำตรงรอยต่อของความเปลี่ยนแปลงของชีวิตเป็นการ visualise  การบันทึกอารมณืของตัวเองที่สวยงาม

 

วันทยหัตถ์เป็นหนังเล่าเรื่องที่ว่าด้วยลูกเสือที่ไปเข้าค่าย เด็กชายที่ดูผอมบางอ่อนแอไม่เข้าพวก ได้พบกับเด็กชายแข็งๆคนหนึ่ง พวกเขาไปเข้าฐานด้วยกัน ไปฉี่ในห้องน้ำพร้อมกัน  แล้วเด็ก็เอ่ยปากชวนกันไปป้วนเปี้ยนที่เตนท์หญิง โดนครูจับได้และสั่งให้กอดคอกันเดินเข้าไปในป่าอันมืดทึบ พลอตของหนังอาจจะบางเบา แต่อาการอบอวลไปด้วยบรรยากาศคลุมเครือของหนังนั้นงดงามมาก เมื่อเหตุการณืที่ดูเหมือนสามัญธรรมดาอย่างการไปเข้าค่ายลูกเสือ ถูกเล่าผ่านสายตาแบบการถ่ายเจาะส่วนต่างๆ มือที่เอื้อมมาให้เกาะกุม  หรือมือที่เกือบชิดกัน ขันอาบน้ำสองใบที่ล่องลอยกระทบกันเบาๆในแสงนีออน ประตูห้องน้ำที่มีแสงลอดออกมา  หรือการพูดคุยกันใต้ราวตากชุดชั้นในนักเรียนหญิง และถึงที่สุด ป่าที่กลืนกินเด็กชายสองคนเข้าไปพร้อมกัน ความอบอวลของอารมณ์ที่เคลือยคลุมเหตุการณ์ธรรมดาเหล่านี้ ค่อยๆคลี่อารมณืโฮโมอีโรติคไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ให้อวลกระอายออกมาจากในหนัง ความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่ามีอยู่จริงกรือเปล่าคือความงามของหนังเรื่องนี้

 

2413402 อาจะต่างไปจากทั้งสองเรื่อง เพราะหหนังกลับเป็นไปในทางการแสดงอารมณ์อันล้นเกินจนเกือบจะเป็นฮิสทีเรียของหญิงสาวคนหนึ่งที่เพิ่งแต่งงาน พอ่แม่ไม่ค่อยชอบชีวิตแต่งงานของเธอ  เธอเริ่มจะเพี้ยนเมื่อพบว่าสามีเก็บหนังโป๊เอาไว้เป็นจำนวนมาก เธออึดอัดที่เขาดูหนังโป๊ จนคืนหนึ่งเธอกลับไปนอนบ้านพอกลับมาก็พบว่าหายตัวไป เธอคิดว่าเขาทิ้งเธอ แต่ที่จริงเขาอาจจะถูกมนุษยืต่างดาวจับตัวไป เธอเรีิ่มเป็นบ้าโทรหาเพื่อนสาว เอาซีดีของสามีมาพ่นสี พังข้าวของ ดื่มเหล้าจนเมา และในที่สุดเธอก็อาจจะถูกมนุษย์ต่างดาวจับตัวไปอีกคน  หนังอาจจะเล่นกับความคลุมเครือเรื่องการหายตัวไปของผู้คนมากกว่าควาคลุมเครือของผู้หญิงก็จริง แต่สิ่งที่ดึงดูดเราไว้คือความบ้าคลั่งของเธอที่ถูกนำมาเคลือบทับความกลัว ความหวาดวิตก ว่าเธอจะไม่สามารถเป็นเมียที่ดีพอ มีเซกส์ที่ไม่ดีพอ  (ฉากที่เจ๋งมากคือฉากที่เธอโกนขนหน้าแข้งด้วยมีดโกนหนวดของสามี) ความรู้สึกอัดอั้นตันใจอัอนอธิบายไม่ได้ของเธอ ได้ถูกแปรรูปไสู่ความบ้าคลั่งที่ล้นเกิน ในโลกที่ดูเหมือนผิดประหลาดตลอดเวลาของศุภิสรา   ที่เป็นเสมือนการกลับมาสู่บรรยากาศพิลึกพิลั่นน่าทึ่งแบบเดียวกับที่เธอเคยสร้างไว้ในต้อม เมื่อหลายปีก่อน

 

 

 

 

  1. histoy of cinema  : 

ซากศพ  (วชร กัณหา) 

+กฤษฎาภินิหารอันบดบังไม่ได้ของเน วัดดาว (ยิ่งศิวัช ยมลยง) 

+เดอะ โรแมนติก  (ธนิ  ฐิติประวัติ)

 

 

กลุ่มหนังที่เล่นกับfound footage ทั้งสามเรื่องนี้อาจไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ในแง่การละเล่นกับfound footage แต่มันกลับสร้างอารมณ์ และการเลือกหยิบใช้ที่น่าสนใจมากๆ (หนังfound footage ที่รุนแรงที่สุดจริงๆคือ AGE OF ANXIETY แต่เราไม่ได้เลือกเพราะเป็นหนังในโปรเจคต์ยูโทเปียของเราเอง เราเลยดูมาก่อนจะเข้ามาในมาราธอน)

 

ซากศพ ซ้อนภาพหนังไผ่แดงที่วิพากษ์คอมมิวนิสต์จากสายตาพวกขวาเข้ากับภาของไอ้มดแดง และละครที่พูดถึงความยุติธรรมของคนจนๆ จริงๆ allegory การเปรียบเปรยของหนังอาจจะไม่ได้ใหม่มาก คอมมิวนิสต์ นักต่อสู้ และวีรบุรุษ แต่ชอบการซ้อนของภาพมากๆๆๆๆ จริงๆที่น่าสนใจคือ ภาพไอ้มดแดงเป็นภาพแฟนตาซี พาฝันพอๆกับบทสนทนาของนักสังคมนิยมในหนัง แต่มันดูเป็นทั้งการหลบหนีของการต่อสู้ที่ไม่มีวันชนะ และความฮึกเหิมแบบวีรยุรุษ การเทอด สิ่งต่างๆขึ้นไปสู่สภาวะเหนือจริงนี้เองคือรูปแบบที่คนใช้ปลอบประโลมจิตใจ เยี่ยงมนุษย์โรแมนติค  อย่างไรก็ดี ความสิ้นหวังของtext แปะหัวเรื่องทำให้หนังถูกเหวี่ยงหวือไปมาตลอดเวลา ระหวังความหวังและความสิ้นหวัง

 

ในขณะที่ กฤษฎาภินิหารอันบดบังไม่ได้ของเน วัดดาว  เอา found footage จากหนัง16 มาพากย์ใหม่นอกบทโดยทีมนักพากยืที่พยายามจะเอาภาพเปล่าๆมาสวมเสียงของัจจุบันขณะ ตัวหนังเองอาจจะไม่มีอะไรคมคายมากไปกว่านั้น แต่สิ่งที่ทให้เราชอบหนังเรื่องนี้สุดๆคือการที่มันสร้างไดอะลอกของหนังยุค สิบหกที่ครั้งหนึ่งเคยคุยกับมิตรสหายที่นับถือมากๆท่านหนึ่งว่าเราไม่มีทางจะได้ดูหนัง16 ที่แท้จริงหรอก เพราะหนังสิบหกมันบันทึกเสียงไม่ได้ มันใช่้การพากย์ เมื่อเราไม่ได้บันทึกการพากย์ไว้ เราก็ไม่มีทางจะได้หูหนังที่แท้ และเมื่อเสียงในหนังแปรผันกับการพากย์มันก็หมายความว่าในบริบทของไทยหนังเป็นมหรสพแบบเดียวกับละครที่เป็นการเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วจบลงแต่ละรอบจะไม่เหมือนกัน และทุกคนได้ดูหนังที่คล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันเลยเมื่ออยู่ในแต่ละสถานที่และเวลา ซึ่งเน วัดดาวได้ทำการแช่แข็งเอาส่วนหนึ่งของบทสนทนาของตัวหนังสิบหกนี้ออกมาไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เสียงพากย์สดได้ถูกทำให้เป็นเสียงแช่แข็ง เราได้เหลือบแลโมเมนต์หนึ่งของหนังไทยยุคการพากย์ มันเลยเป็นการสนทนากับหนังสิบหกที่น่าจดจำในการดูหนังเรืองนี้

 

ที่ต่างออกไปที่สุดคือ เดอะโรแมนติก ที่แทบจะไม่มีอาเจนด้าในเชิงทดลองกับภาพเก่าๆ มากไปกว่าการมองมันในฐานะของหารหวนอาลัยในอดีตที่ผ่านเลย หนังเป็นเพียงการเอาภาพของกรุงเทพยุคต่างๆมาตัดสลับกับบางฉากของ น้ำพุ ของยุทธนา มุกดาสนิทกับคลิปข่าว คลิปโฆษราในยุคสมัย แปดสิบ  ตัวหนังไม่มีเรื่องเล่าอะไรมากไปกว่าโมโนลอกผู้กำกับเกี่ยวกับความโรแมนติก และหนังก็เป็นเพียงมิวสิควีดีโอยุคแปดสิบที่อาศัยภาพเก่ามาตัดต่อกันไปมาไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น แต่ในตอนท้ายหนังค่อยๆซ้อนภาพถ่ายส่วนตัวร่วมยุคสมัยในหนังของผู้กำกับมาใส่ประกอบเอาไว้ในหนังถึงที่สุดกาคุกคามของประวัติศาสตร์ส่วนตัวในหนังที่ทำทีจะเป็นประวัติศาสตร์สังคมช่วยทำให้การนอสตาลเจียของผู้กำกับคือการถวิลหายุคสสมัยภายในของตัวเอง ช่วงเวลาที่โลกยังโรแมนติกในสายตาของเขา โลกซึ่งถูกขัดสีฉวีวรรณเอาความเลวร่้ายต่างๆออกไป เหลือเพียงภาพเคลื่อนไหวการเต้นรำของวัยรุ่น ชีวิตเชยๆ(เมือ่มองจากสมัยนี้) และภาพเคลื่อนไหวของอดีต การขัดสีผ่านสายตาของคนทำทำให้ภาพอดีตเป็นอารมณืที่โรมแนติกแต่เพียงอย่างเดียวตามชื่อของหนัง มันคือการขัดสีผ่านสายตาของเขาเองคัดสรรสิ่งที่เขาหวนหาอาลัยมากประกอบ แล้วค่อยๆคลี่คลายให้เห็นว่าสิ่งที่เขาสนใจไม่ใช่found footage แต่เป็นมวลอารมณ์ของยุคสมัยอันเลยลับและการถวิลหาถึงมันแบบเดียวกับที่เรามองอัลบั้มรูปถ่ายในอดีตของตัวเราเอง

 

การใช้ found footage สามแบบในหนังสามเรื่องนี้จึงมีความแตกต่างและตความน่าสนใจต่างๆกัน

 

 

 

9.อวสานโลกสวย (ปัญญ์ หอมชื่น , อรอุษา ดอนไสว) 

+ไม่มีใครปกติ? (ปาลิดา ดำรงทวีศักดิ์) 

+น้ำตาหวาน น้ำตาลเผ็ด (องอาจ หาญชนะวงศ์ ) 

+คำพิพากษา (นิราวุฒิ สกุลแก้ว) 

+สวัสดีมานพ (ธนเสฏฐ์ ศิริวัฒนาดิเรก+ วันดี ตะบูนพงศ์)

 

กลุ่มหนังเล่าเรื่องที่ตลก สนุก ร้ายกาจ และน่ารักน่าใคร่

 

คำพิพากษา (นิราวุฒิ สกุลแก้ว)  ว่าด้วย ผู้หญิงคนหนึ่งเห็นผัวมีเมียน้อยเลยเอามีดไปกรีดแขนผู้หญิงอีกคนทำให้ต้องขึ้นศาลแห่งจิตใจ ! หนังอาจไม่ได้ใหม่มาก แต่ความคัลท์ของการจำลองจิตใจเป็นบัลลังก์ผุ้พิพากษานี่มันสุดขีดมากๆๆๆ และสิ่งที่สุดขีดที่สุดคืออารมณ์แบบหนังของสินจัย นาถยาในยุค 80′sบางขณะเรานึกว่ากำลังนั่งดู หย่าเพราะมีชู้อยู่ สุดขีดจริงๆ

 

อวสานโลกสวย (ปัญญ์ หอมชื่น , อรอุษา ดอนไสว ) ว่าด้วยเรื่องของสาวลึกลับที่บุกไปจับเนตไอดอลคนหนึ่งมาขัง ฆ่าแม่ของเธอ แล้วทรมานให้เธอรู้ทุกข์ของการเป็นคนดัง ที่ลองเอยอย่างรวดร้าวและบ้าคลั่ง   เซนส์ของการเลือกจบของหนังดูเหมือนจะคลิเช แต่ที่จริงมันตอกย้ำว่าอีก้อยชนะในเกมนี้

ฟินมาก ไปสุดทางมาก นี่คือความงามของการเคี่ยวพลอตและเรื่องอย่างเต็มที่ จนแม้การแสดงแบบแข็งๆของหนังก็ยังทำลายลงไม่ได้ เสียดายที่มันบอกแรงจูงใจแบบตรงไปตรงมาและบอกหมดเลยจนคนดูไม่ได้ต้องคิดตาม แต่รู้สึกว่ามันมีความร้ายกาจใช้ได้ แม้หนังจะขาดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เซนส์ของความชั่วช้าซึ่งเป็นสิ่งที่บทหรือการแสดงให้ไม่ได้ ต้องมาจากภายในคนทำ หรือฉากเล็กฉากน้อยที่ไม่สำคัญ

 

สิ่งที่ชอบสุดๆของหนังเรื่องนี้อีกอย่างคือ bodyของนีักแสดงหญิงที่ต้องเป็นเนทไอดอล เป็นนักเรียนหญิงที่เกลียดกัน รู้สึกว่าการเลือกตัวละครที่หน้าตาประมาณนี้คือสวยก็ได้ไม่สวยก็ได้ มันไปกันได้ดีกับตัวหนังในขณะที่อีเพื่อนดัดจริตของอีก้อยเป็นหน้าตาสวยสกอยท์ทุกคน

 

 

 

 

ไม่มีใครปกติ? (ปาลิดา ดำรงทวีศักดิ์) เป็นหนังหักมุมเฉือนคมเวียร์ดๆว่าด้วยพี่น้องสองศรีที่แม่โดนลุงแฟนใหม่ข่มขืนจนตายคาบ้านน้องชายมาเห็นชอตเด็ดจนเป็นบ้ากลัวจู๋ตัวเอง และเริ่มเห็นหุ่นลอเงสื้อเป็นแม่ วันหนึ่งพาเพื่อนมาตัดเสื้อเพื่อนนึกว่าตลกแต่ดันเกิดหงี่กับแม่หุ่นเลยชีวิตล่ม ลงท้ายน้องชายตัดจู๋ตัวเอง มีแต่พี่ชายคนเดียวเท่านั้นคอยดูแล แต่มันไม่แค่นั้นน่ะซี้  ในฐานะติ่ง ณ.บ. ทันทีที่เห็นหน้านางโผล่มาเป็นตัวละครเอก เราก็รู้ทันทีว่า ในหนังเรื่องนี้ ไม่มีใครปกติจริงๆด้วย เราเลยรับรู้หนังในฐานะหนังหักมุมแน่ๆ ในจุดนี้เลยฟินมากกับเพลงวีนัสในฉากเฉลยที่รุนแรง ตลก เหี้ยห่ามากๆ อันที่จริงครึ่งแรกของหนังคุมโทนระหว่างการเป็นหนังรอหักมุมที่เวียร์ดประหลาดบาดจิต กับหนังที่ลงลึกในความปรารถนา ความกลัว ไม่แน่ไม่นอนในสภาวะทางจิตของตัวละครที่เข้มข้นมาก ถ้าหนังไปทางนั้นมันก็คงไปสุดทางดังที่มิตรสหายท่านหนึ่งตั้งขอสังเหต แต่พอหนังเลือกมาทางหักมุมคัลท์แตกเราก็รับได้เช่นกัน จนแทบลุกขึ้นเต้นตามเพลงวีนัส ฮา!

 

 

น้ำตาหวาน น้ำตาลเผ็ด (องอาจ หาญชนะวงศ์ ) หนังน่ารักชวนหวัว ว่าด้วย ส้มตำ น้ำตาล กุญแจ ดนตรี งานวิชาการในชีวิตประจำวัน  หนังเอาตำราวิชาการว่าด้วน้ำตาล เอนดรอฟีน กลไกป้องกันตนเองของจิตวิเคราะห์มาเล่าซ้อนอยู่ในเหตุการณ์ประจำวันเช่นการกินก๋วยเตี๋ยวไม่หรุง การกินส้มตำเผ็ดมาก การลืมกุญแจ การพบนักดนตรีเปิดหมวก เพราะงานวิชาการนั้นแนบอยู่กับชีวิต หรือพูดง่ายๆ งานวิชาการวิทยาศาสตร์คือการอธิบายชีวิตโดยตัดผู้คนออกไป การเอาผู้คนกลับเข้ามาแล้วบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นเช่น แคปไซซิน หรือ กลไกป้องกันตนเองสามระดับจึงเป็นเรื่องที่งดงามมากๆ แล้วหนังมันยังโรแมนติคแบบสุดๆในช่วงท้ายเรื่องด้วย   อาการชวนหวัวของหนังผ่านทางเสียงเล่าแบบลุงแก่ๆ ยิ่งทำให้ฟนังน่ารักน่าใคร่มากขึ้นไปอีก มันอาจจะมไ่มีเซนส์จิกกัด แบบหนังที่ล้อเล่นกับฟอร์มทำนองนี้ แต่มันน่ารักมากๆๆ ราวกับมิแรนด้า จูลายเวอร์ชั่นอินดี้ไทยก็ไม่ปาน

 

 

สวัสดีมานพ (ธนเสฏฐ์ ศิริวัฒนาดิเรก+ วันดี ตะบูนพงศ์)

 

หนังว่าด้วยสาวอ้วนที่มาทวงความเป้นเมียจากหนุ่มหล่อในร้านกาแฟที่พาเราเลยเถิดไปถึงการที่สาวอ้วนวิศวกรค้นพบกำไลวิเศษเปลี่ยนตัวเองเป็นสาวสวยที่ถูกขุดพบในไซต์งานก่อสร้างเธอเลยเอามาใฝช้เป็นเครื่องมือในการล่อเด็กหนุ่มที่ถ้าไม่ลงทุนก็จะไม่มีใครเข้ามาคบเธออีกแล้ว หนังเล่าเรื่องเหนือจริงไต่เส้นอยู่บนความทุกข์ของสาวอ้วน  การรัยรู้เพียงภาพภายนอกของผู้คน  ที่น่าสนใจคือหนังไม่ได้จบลงแบบตัวละครมองเห็นความงามจากข้างในของกันและกัน แต่เลือกจบในแบบที่ไม่อาจเข้ากันได้อยู่ดี แต่ที่ยังเคลือบแคลงจนถึงตอนนี้คือการมองผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ที่ยังไม่แน่ใจว่ามันไปพ้นกรอบคิดแบบที่มันทำให้เราเพิรดในฉากแรก ถึงสตรีที่เป็นฝ่ายลุย กับอาการ อยากมีผัวจนตัวสั่น บางทีถ้าได้ดูอีกรอบอาจจะคิดเพิ่มเติมได้่

 

 

 

10.ช่องว่าง(มีศักดิ์ จีนพงษ์) + คนที่เข้าใจ (มีศักดิ์ จีนพงษ์)

 

หนังรณรงค์ความเข้าใจผู้ติดเชื้อสองเรื่องนี้มีความงดงามตรงที่มันเลือกอยืนอยู่ตรงกลางของไดเลมม่า แล้วโยนหัวจิตหัวใจของมนุษย์ลงไปแทนการเป็นภาพแทนทื่อๆ

 

ช่องว่าง ว่าด้วย เคนหนุ่มก่อสร้างที่เป็นผู้ติดเชื้อที่กำลังจะมีแฟนเป็นสาวขายของ ทั้งคู่มีอะไรกันแล้วดแต่ก็ป้องกันทุกครั้ง แต่เคนยังไม่บอกแนเรืองสำคัญนี้และไมรุ้ว่าจะบอกยังไงดี หนังใช้ตัวละครที่เป็นคนธรรมดาสามัญ แม้จะเล่นแข็งโป๊กกระโด๊กกระเด๊ก แต่มันมีเสน่ห์มากๆ  ชอบฉากเลิฟซีนขอหนังมากๆ ความมืดของหนังในฉากนี้ หรือการถอดกางเกง หรืออะไรต่อมิอะไรมันรัญจวนแบบสามัญมากๆ ชอบตัวละครเอกความสัมพันธ์ขชองเขากับคนรอบข้าง แต่ที่ชอบที่สุดคือการที่เขาพยายามจะบอกเธอด้วการให้ดูหนังเรือ่งหนึ่ง และแม้เธอจะดูหนังไม่ได้แปลว่าเธอจะเข้าใจ  และฉากจบของหนังสะเทือนใจมากๆ

 

คนที่เข้าใจ หนังเกี่ยวกับผู้ติดเชื้ออีกเรื่องของ มีศักดิ์ จีนพงษ์ ยิ่งตอกย้ำว่าเขาเป็นคนที่น่าสนใจมากๆๆๆๆๆ ชอบที่หนังใช้ voiceover แบบอ่านๆตามเสียงของเด็กและยาย ซึ่งเดาว่าเป็นนักแสดงจริง การพูดคำนำฝนฝจแบบการอ่าน ทำให้นึกถึงกลไกการเว้นระยะระหว่างผู้ชมกับตัวละคร ตัวละครกับชีวิตจริงแบบที่หนังของดูราส์ชอบใช้ และดูราส์ชอบพูดว่าการอ่านไม่ใช่การพูด ไม่ใช่การแสดง แม้หนังอาจจะไม่ได้เล่นเทคนิคอะไรแอดวานซ์แบบนั้น แต่การอ่านของยาย การอ่านของเต้ ผลักให้เต้และยายไกลจากตัวบทของตัวเองออกไป เป็นการอ่านแบบคนนอก เป็นการทบทวนเหตุการณ์ที่ล่วงไปมากกว่าการอยู่ในตัวเหตุการณ์ การอ่านคือ การอ่านอย่างไร้อารมณ์ยิ่งทำให้มันยิ่งน่าสนใจ

 

เลยพ้นไปจากนั้นเขามีเซนส์แบบ early อุรุพงษ์ที่จับสายตาชีวิชาวบ้านได้แม่นมั่นมาก และเขาเลือกจบได้เปรี้ยงทั้งสองเรื่อง

 

 

 

11.รำลึกเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 (พงศกร ฤดีกุลรังสี)

 

หนังว่าด้วยการหายตัวไปของนักศึกษาหนังนอร์เวย์ที่มาเข้าพักโรงแรมในกาฬสินธุ์ หนังอ้างตัวว่าเป็นฟุตเตจจากสิ่งที่ถูกถ่ายไว้ในคืนก่อนเกิดเหตุ หนังมีเพียงภาพของโต๊ะรับแขก ห้องน้ำ เตียง พื้น รองเท้าผ้าม่าน ภาพนิ่งแทบไม่มีความเคลื่อนไหว เงียบสนิท ตัดจากภาพหนึ่งไปภาพหนึ่งแต่เมื่อตัดกลับมา เฟร์นิเจอร์ก็ล้มระเนระนาด ผ้าม่านพะเยิบไหว ภาพที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เว้นแต่ช่วงท้ายที่กล้องขยับขึ้นลงอย่างน่าหวาดหวั่น ด้วยภาพเหล่านี้เราสัมผัสได้ว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นและมองหามันในทุกภาพที่ปรากฏ หนังทำตัวเป็นfound footage ที่แผ่รังสีชั่วร้ายใส่ผู้ชมตลอดเวลา แล้วทำให้เรารู้สึกขนบุกกรูเกรียวในการมองภาพที่ไม่มีอะไรเลย หนังไม่ได้บอกว่าอะไรเกิดขึ้นในทางหนึ่งมันทำตัวเป็นตำนานเรื่องเล่าแบบปากต่อปาก urban legend ที่ไม่มีหลักฐานไม่ใช่การจำลองเหตุการณืเป็นร่องรอยของความสยองขวัญที่ความไม่มีเหตุการณ์สร้างเหตุการณืขึ้น มันเป็นหนังสยองขวัญที่น่ากลัวมาก เพราะต่อหน้าการยักย้ายถ่ายเทของเฟอร์นิเจอร์คนดูสร้างเหตุการณ์ในหัวไปแล้วเรียบร้อย

 

เสียดายที่มันขึ้นยี่ห้อ Willy Filmตอนจบ มันเลยลดระดับความบอกไม่ได้ว่าจริงหรือหลอกของหนังลงไปเลย ตัดโลโก้ออก มันจะเป็น Blair Witch Project เลย

 

 

12.สถานะ + Fair Fair  (ฉันทนา ทิพย์ประชาติ)

 

หนังสองเรื่องของฉันทนา ทิพยืประขาิต ต่างไปจากหนังของคนทำร่วมรุ่นที่มักจะเป็นหนังรักหนังคว้างเหงาของชีวิตวัยรุ่นอันแสนอ้างว่้างเปล่าดาย โดดเดี่ยว ไม่เข้ากับผู้คน ทดท้อ หดหู่ ไม่สมหวังในรัก ดาดฟ้าแสงส่องสาวสวยถือกล้องในสวนาธารณะ เด็กหนุ่มอินดี้ คิดนอกกรอบ  ..โอเค เกินเลยไป

 

หนังทั้งสองเรื่อ.โฟกัสความขัดแย้งทางความคิด และความอึดอัดขัดข้องของชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยที่น่าทึ่งมากๆ เริ่มจาก Fair Fair ที่พูดถึงการทำงานกลุ่มที่ค่อยๆออกมาล้มเหลวเป้นการทำงานคนเดียวในนามกลุ่ม ที่งดงามคือหนังไม่ได้ยกตัวเป็นหนังดำขาว คนนึงทำที่เหลือเล่น แต่หนังแสดงให้เห้นถึงปัญหาหลากหลายที่ทำให้การทำงานกลุ่มนี้ค่อยๆล่มลงไป แต่ส่วนที่น่าสนใจคือ ส่วนของการคอมเมนท์เฟซบุคท้ายเรื่องนี่สุดขีดมากๆ เพราะมันไม่ได้พูดแค่เรื่องความยุติธรรมไม่ยุติธรรมอย่าง’ซ่อนนัย ไปไม่ถึง ‘ การสื่อสารผ่านโซเชียล มีเดียเป็นของใหม่ที่เรายังไม่เห็นใครทำหนังที่ฑุดถึงความหวั่นไหว คลามคลุมเครือ ของมันออกมาเท่าไหร่ (มักจะมาในแนวประโยชน์ หรือโทษไปเลย) ฉากสุดท้ายในหนังมันเลยพีคมากๆ

 

เช่นเดียวกันกับ สถานะ ที่เริ่มจากความขัดแย้งทางการเมืองในห้องเรียนของอาจารย์กับนักเรียน ที่ลุกลามไปสู่การใช้อำนาจของครู ส่วนนี้อาจจะไม่มีอะไรพิเศษมากกว่าการพูดถึงภาพแทนความขัดแย้งในบ้านในเมือง แต่ที่มันไปได้ไกลกับคือส่วนของการใช้ facebookเป็นสมรภูมิของครูกับนักเรียน ที่ระยะห่างและความเท่าเทียมที่ไม่ถูกครอบภายใต้กรอบอำนาจนิยมแบบในโรงเรียน รวมถึงสถานะกึ่งส่วนตัวกึ่งสาธารณะ ที่ทำให้ศึกครูนักเรียนขยายตัวไปในทิศทางที่ควบคุมไม่ได้ การตั้งสเตตัสลอยๆนำมาสู่การตีความตามตัวเองแล้วเลยเถิดเป็นศึกคณุกับนักเรียน

 

ความงดงามของหนังทั้งสองเรื่องคือการพูดถึงความขัดแย้งผ่านพื้นที่ใหม่อย่าง facebook ที่ทำให้ รูปทรงของความขัดแย็ง การคลี่คลายละการต่อต้านเปลี่ยนไปชนิดไม่กลับมาเหมือนเดิม การคว้าจับ ทำความเข้าใจกับบทบาทของสื่อใหม่ในหนังกลายเป้นภาพบันทึกที่น่าสนใจมากๆ และเท่าทันต่อความขัดแย้งในโลกยุคที่ใรนอินเตอร์เนตคนเท่าเทียมกันและพื้นที่นั้นๆเป้นเส้นคลุมเครือของสาธารณะกับส่วนตัว การจัดการความขัดแย้งแบบอำนาจนิยมแบบเก่าเช่นการใช้สิทธิทืแบบครุ ศิษย์คือการจัดการที่ง่อยเปลี้ยเสียขา หลุดยุคไล่ไม่ทันความเปลี่ยนแปลงมี่สุดนั้นเอง

 

 

 

 


Love Syndrome รักโง่ๆ (2013 , พันธุ์ทัมม์ ทองสังข์, ไทย) โรคชื่อความรัก

$
0
0

Image

เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์

1. เราต้องไม่ลืมว่าหนังเรื่องนี้ขึ้นต้นด้วยหนังเรื่องหนึ่ง หนังดังร้อยล้าน(ในหนัง)ที่ว่าด้วญฉากการขอแต่งงานกลางสี่แยกที่น่ากระทืบเป็นที่สุด หนังเรื่องที่ทำให้ดารานำ(ในหนังเรื่องนั้น)รักกันจริงๆ และหนังที่ตัวละครในหนังของเรา (หนังที่เราจะพูดถึง) อย่างน้อยสองในสี่คนนั่งดูอยู่ และนี่คือหนังของพวกเขาที่พูดเรื่องรักของพวกเขาในฐานะนที่มันเป้นหนังรักซึ่งมีความสัมพันธ์อิหลักอิเหลื่อกับการวิจารณ์ความรักในกนังรักแล้วก็ตีบทตัวเองเป็นตัวละครในหนังรักเสียเอง

2. หลังจากที่เราได้อ่านสิ่งที่อ.ธเนศเขียนไว้ในหนังสือ ‘ ความรัก ความรู้ และความตาย’ ว่าในศตวรรษที่ 18 หรือ 17 สำหรับมนุษย์ (อย่างน้อยก็มนุษย์ในยุโรป) มองความรักในฐานะโรคร้าย ในฐานะความป่วยไข้ ในสมัยนั้นการแต่งงานเป็นเรื่องการผูกวงศาคณาญาติทางเศรษฐศาสตร์ ความรักเป็นเรื่องของความบ้า คนบ้า เมื่อมีรักเราก็คล้ายจะลืมทุกอย่าง เราก็คล้ายจะเป็นบ้าไป ไอ้คำพูดว่าความรักชนะทุกอย่าง (ซึ่งตอนที่มันถูกพูดมันไม่ได้มีเซนส์โรแมนติไซส์ความรักแบบนในตอนนี้) เลยเป็นคำเสียดสีกลายๆว่ามันได้ทำลายทุกอย่างลง ในมนุษย์ที่มีรัก มนุษย์ที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อรัก พร้อมจะทิ้งโลกทั้งใบไว้เบื้องหลัง ไม่คิดหน้าคิดหลัง ทุ่มทั้งกายใจให้ความรัก ในโมงยามแบบนั้น มนุษย์ผู้มีรักไม่ต่างอะไรจากคนบ้า ความรักจึงเป็นความบ้าที่ต้องรักษาให้หายขาด ความรักทำให้คนเป็นบ้า ทำให้คนทำเรื่องโง่ๆ ความโง่และความบ้า คือภาพแทนของความรัก ก่อนที่เราจะทำให้ความรัก ‘ชนะได้ทุกสิ่ง’และหนังเรื่องนี้ก็ฉายภาพความป่วยไข้ชื่อความรัก ออกมาในหนัง ที่มีกรอบคิดในท่วงทำนองของหนังรักของศตวรรษที่ยี่สิบ นั่นคือ ‘รักคือสิ่งสวยงาม’ตามที่หนังได้บอกไว้

3.แต่ความรักในหนังมันก็ไปสุดขอบกว่าความรักสามัญของหนุ่มเหน้าสาวสวยสมัยนิยม แน่นอนว่ามันยังเป็นตัวละครคนชั้นกลางกรุงเทพที่ไม่ต้องพะวักพะวงเรื่องรักข้ามชนชั้น หรือเศรษฐานะอื่นได ในโลกที่กลางๆเท่ากัน ความรักจึงแสดงฤทธานุภาพของมันได้อย่างเต็มที่ แต่เหล่าตัวละครในหนังเรื่องนี้กลับน่าสนใจในอัตลักษณ์แบบชายขอบของคนตรงกลาง ตั้งแต่ สาวบัญชีชืดเชยที่คงจะต้องลงเอยแก่เฒ่าไปกับกระเทยสาวร่วมบ้าน ตกหลุ่มรักหนุ่มหล่อขายตรงที่อาจจะเป็นเกย์ สาวอินดี้ของแท้(แบบที่ไม่ใช่อินดี้อะเดย์ แต่เป็นอินดี้เนิร์ดแบบที่พูโกับใครไม่ค่อยรู้เรื่อง) เรียนรู้รักแรกกับหนุ่มคนแรกที่ตุ้ยกับเธอรู้เรื่อง เพอร์เฟคตืไปทุกประการและแน่นอนว่ามีเจ้าของแล้ว หนุ่มสามัญคลั่งรักแท้ชั่วนิรันดร์กับสาวสวยที่รักแท้กลายเป็นสิ่งที่รัดเธอเอาไว้ หรือ หนุ่มนักเรียนนักรักที่รักแรกก็ต้องดิ้นรนกับการเปลี่ยนทอมให้เป็นเธอโดยมีเพื่อนนักเรียนแอบรักอีกที -เกย์ พวกเนิร์ด มนุษย์รักแท้ สาวทึนทึก มนุษย์ขายตรง เด็กหลอดแก้ว สาวไบเซกช่วล ดูเหมือนอัตลักษณ์ชายขอบสำหรับทำตลกพวกนี้ที่มักถูกเก็บไว้เสียดสีในstereotypeของหนังกเรื่องอื่นๆได้กลายมาเป็นตัวเดินเรื่องหลักในหนังเรื่องนี้ และอย่างละเมียดละไมหนังระมัดระวังที่จะไม่ทำให้ตัวละครเหล่านี้ตกลงในบ่วงศีลธรรมเดิม หรือ ลงเอยอย่างหมดจดงดงามพาฝันสำหรับเป็นยากล่อมประสาทลูสเซอร์ฺ แต่โฟกัสที่ความโง่ ความบ้า ความฮิสทีเรียชื่อความรักในรูปแบบต่างๆของพวกเขาแทน

4. ถ้าคุณจะพูดความจริง คุณไปพูดกัยคนอื่น อย่ามาพูดกับชั้น -ประโยคเด็ดของพริกแกงในเรื่องนี้เป็นตอนที่เด็ดขาดที่สุดเพราะมันพูดเรื่องแทงใจดำประเภทสาวทึนทึกตกบ่วงหนุ่มเกย์แอ๊บแมน เรื่องแบบที่พร้อมจะเป็นโศกนาฏกรรมหดหู่หรือเรื่องตลกขำขันเหยียดเกย์ เหยียดสาวแก่ ไปจนถึงเหยียดมนุษย์ขายตรงอย่างละอาย หากในตอนนี้มันถูกนำเสนออย่างถ้วนถี่ละเอียดละออในการสำรวจความโง่ของพริกแกงที่ในที่สุดกลายเป็นมนุษย์ขายตรงเพื่อยืดห้วงรักของตัวเองออกไปเรือยๆ อาการ ‘รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้ลอก’ เป็นเรื่องที่เอาไว้ให้เราส่ายหัว เลาเกิดกับคนชิดใกล้โดยที่เราไม่มีวันเข้าใจว่า การถูกหลอกไม่ใช่เรื่องเสียเปรียบได้เปรียบแต่เพียงถ่ายเดียว มันเจืออยู่ในรูปร่างของความสัมพันธ์ไม่มีชื่อ ที่อบอุ่น เจ็บปวด และเต็มไปด้วยความคิดๆฝันๆคล้ยอาการไฮ ยามได้รับยาเสพติด มันอาจไม่มีผลดีต่อชีวิตเท่าการหักดิบลงแดงด้วยความจริง แต่มันไม่ได้เป็น ความโง่อันชั่วช้า แต่เพียงถ่ายเดียว ความละเมียดละไมแพ้ใจของพริกแกงถ่ายเอาโมเมนต์งดงามพวกนี้ออกมาอย่างน่าสนใจ

5.แพงไม่ได้รักพี่ลอเพราะพี่ลอไม่มีใคร แต่แพงรักพี่ลอ เพราะแพงเกิดมาเพื่อที่จะรักพี่ลอคนเดียว -เรื่องของโจกับฟอง เกาะเกี่ยวกันอยู่ยนการรีเมคเรื่องเพือ่นแพงซึ่งรีเมคมากจากการที่เธอตกหลุมรักคนมีเจ้าของเสียเอง ในฐานะคนทำละครก็เลยเอามันมารีเมคเป็นละครให้คนที่เธอชอบมาเล่นเสียเลย จริงๆแล้วตอนนี้อาจจะเป็นตอนที่ผู้ชมรู้สึกเข้ากันได้มากที่สุดแต่ดูเหมือนคาแรคเตอร์ของโจจะขัดขืนความคิดๆฝันๆของผุ้ชมตลอดเวลาด้วยการที่นอจากเธอจะทำอะไรโง่ๆให้ความรักแล้ว เธอยังวิพากษ์ความรักแบบของเธอไปตลอดเวลาอีกด้วย แม้หนังจะเอาคนสวยมาเล่น แต่การไม่พยายามสร้างฉากจำพวก ‘ชั้นอินดี้แต่ที่จริงชั้นสวย’ มากล่อมใจผู้ชมมากไปกว่า ‘ชั้นอินดี้และที่จริงชั้นตกหลุมรักพ่อรูปหล่อที่ชั้นควรจะเกลียดเพราะชั้นอินดี้’ อาการละล้าละลัง ของโจที่จะไม่ตกในห้วงรักผลักใ้เธอทำอะไรโง่ๆลงไป ยิ่งการที่หนังไม่ขยายภาพคู่รักของฟองให้เป็นสาวทีตำหนิยอ่งขับเน้นความเป็นคู่ที่สมกันอย่างกับกิ่งทองใบหยก และทำให้ ปัญญาชนในห้วงรักอย่างโจยิ่งโง่และยากลำบากในการจะเรียนรักมากขึ้นไปอีก กว่าเธอจะรู้ว่า การเกิดมาเพื่อที่จะรักพี่ลอ ไม่ใช่เรื่องที่จะอธิบายได้เธอก็ต้องอาศัยปากโมโนลอกยืดยาวในบทละครที่เธอเขียนขึ้นมาเองมาขยยความ

6.ถ้าไม่รักผมแล้วจะให้ผมรอไปทำไม -คู่ของโตโน่ดูจะเป็นคู่รักในขนบมากที่สุดในเรื่อง ในแง่ของ ความรักแท้ชนะทุกสิ่ง แล้วยังเป็นภาพแทนความเป็นหนัง (จนต้องถูฏเอามาทำเป็นหนังไปจริงๆในตอนท้ายเรื่อง) ด้วยฉากการบอกรักน่ารำคาญ (ตามประสามนุษย์รับจ้างจัดงานแต่ง) ความรักแท้รักเดียวอันเป็นจุดสุดยอดของหนังรักถูกเอามาสำรวจตรวจสอบ รื้สร้างตั้งคำถามใหม่อย่างน่าสนใจว่ารักแท้คือคำตอบหรือที่จริงมันคือจุดจบ ตัวละครที่น่าสนใจที่สดในเรื่องเลยเป็นสาวคนรักของโตโน่ที่ ‘รักเธอกอดคนอื่น’ เมื่อเธอมองเห็นว่ารักแที่แน่นแนคือความแน่นอนว่าชีวิตของเธอจะพบแต่ความแน่นอนมากกว่าความไม่แน่นอนที่งดงามในน้ำเนื้อของมัน ความรักที่ดูเหมือนจะเป้นเรื่องง่ายว่าฉันรักเธอ เธอรักฉัน รักเรานั้นนิรันดร เลยไม่ลงตัวง่าย และความรักกับการรอคอยเลยเป้นลุ่มอาการชนิดหนึ่งของโรคชื่อความรัก มากกว่าตอนจบแบบแhappily ever after ในจุดนี้ฉากยกพลบอกรักที่สุวรรณภูมิจึงดลายเป๋นความพาฝันทึ่มทื่อพอๆกับความคิดว่าเราจะหยุดเครื่องบินเพื่อรักแท้ ซึ่งถูกเติมเต็มลงในหนังเรื่องที่ตัวละครเข้าไปดูในตอนท้ายในเวลาต่อมา

7.เราจะเปลี่ยนโลกของอิงเอง - อาการรักแท้แพ้ทอมของวะยรุ่นในเรื่องนี้อาจจะดูชวนหัวที่สุด และแน่นอนมันท้าทายความคาดหวังแบบเฮเทอโรเซกช่วลว่าตัวละครจะต้องเปลี่ยนมาถูกทำนองคลองะรรมลงเอยแบบชายรักหญิง และเปลี่ยนเพราะความรักชนะทุกสิ่ง หนังเติมอารมณ์ความโง่เขลาแบบวัยรุ่นที่จะแก้ทอม จนถึงขนาดเกือยจะก่ออาชญากรรม และโชคดีที่หนังไม่พยายามประนีประนอมกับความผิดพลาดบาดแผลที่ตัวละคร่อให้แก่แันในอาการที่ ความรักไม่อาจเยียวยาหรือยกเว้น ความงดงามทางเพศสภาพในตอนนี้ดูจะหลากหลายและไหลลื่นที่สุด แน่นอนว่าไม่ใช่ในแง่ของแค่การที่ทอมเป้นทอมในตอนจบ (ตกใจที่น้องมายด์ทำได้ดีจนลืมไปว่าเธอเคยเลวร้ายขนาดไหนในโลงจำนำ) แต่ฉากการไปดูหนังกับ ‘เพื่อนสนิท’ในตอนท้ายของเรื่องต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ บางทีภาพของการเป้นรักร่วมเพศในหนังเรื่องนี้อาจจะน่าสนใจกว่าหนังเกย์หลายต่อหลายเรื่องที่ไม่ได้พูดแค่เป้นหรือไม่เป็น แต่พูดถึงตำแหน่งแห่งที่ที่ไม่ใช่เกย์ต้องอยู่กับเกย์ แต่มนุษย์มีความหลากหลายกว่านั้น

8.ทุกอย่างจึงวกเข้ามาหาจุดสำคัญของหนัง นั่นคือการที่หนังมันเป็นหนัง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ กเราพบว่าหนังมันเป็นหนังมากๆกล่าวคือตัวละครมันเป็นตัวละครมากกว่าจะเป้นมนุษย์จริงๆ ความโง่ในหนังเป็นความโง่แบบบทหนังชั้นดีที่จะตบจบสรุปได้งามในตอนท้ายและการทหนังมอบบทสรุปให้ตัวละครแบบงดงามทั้งแพ้ใจขชองพริกแกง รักคือสิ่งสวยงามของโตโน่ หรือคำในใจของโจ (รวมถึงฉากที่กำลังจะเกิดของเด็กหนุ่ม) คือบทสรุปแบบที่เป็นหนังมากๆ แน่นอนมันถูฏทำให้เป็นหนังรักโรแมนติคชั้นดี แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ภายใต้ขนบความเป้นหนัง มันวิพากษขนบและความเป็นหนังของหนังรักโรแมนติคตลอดเวลาซึ่งในที่สุดมันก็ย้อนมาวิพากษ์ตัวมันเอง ในแง่ที่มันก็เป็นหนังเรื่องหนึ่ง

9.หนังเริ่มต้นด้วยตัวละครเข้าไปดุหนัง และตัวละครวิพากษ์หนัง อิทธิพลของหนัง (ในหนัง) ทำให้คนเล่นหนังรักกันในต้นเรื่องแล้วเลิกกันในท้ายเรื่อง นั่นยคือวิธีที่หนังมีอิทธิพลกับผู้ชม จนเมื่อตัวละครออกมานอกจอหนังแล้วเจอความรักจริงๆ พวกเขาก็ได้เรียนรู้ว่ามันไม่สวยเหมือนในหนัง แต่เกิดอะไรขึ้น เกิดการที่ตัวละครตัวหนึ่งกลายเป้นหนังขึ้นมาจริงๆ ในแง่ที่ว่านังเรื่องสุดท้ายที่ตัวละครเข้าไปดู เหมือนสร้างมาจากเรื่องของเขาเลย ในฉากนี้ ตัวละครพูดออกมาว่า เราไม่ได้ชอบหนังเพราะมันดี เราชอบหนังเพราะมันเหมือนเรื่องของเรา (และถูกพิสูจน์สัจจพจน์ในหนังผ่านหนังที่เหมือนเป็นภาพฝันที่สมบูรณ์ที่ตัวละครอยากจะให้เป็นในหนังเร่องที่ตัวละครไปดู เครือ่งบินถูกหยุด เธอกลับลงมาหารักแท้) เราอาจจะเรียกอะไรแบบนี้ว่าhyperrealก็ได้ ไอ้อาการที่เราเห็นความจริงแล้วบอกว่า โอ้ว นี่มันยังกับในหนังแน่ะ อาการที่หนังได้เข้ามาซ้อนทับล้วเทคโอเวอร์ความจริงของเรามอบความพึงใจขั้นเซอร์พลัสระดับที่เกินกว่าที่เราจะหาได้และกลายจากภาพฝันเป็นภาพอุดมคติที่เราเชื่อว่าชีิวตเรา ‘ต้อเงป็นอย่างในหนัง’

10.อาการไม่ได้ชอบเพราะหนังดีแต่ชอบเพราะหนังมันเหมือนเรื่องของเรา เลยกลายเป้นหัวใจหลัก เพราะหนังเรื่องนี้ในที่สุดไม่ได้ทำหน้าที่ฉายภาพ ‘ความโง่เขลา’ที่แท้ของความรัก ไม่ได้สำรวจอาการของโรคชื่อความรัก แต่มันได้สรุปจบทำหน้าที่พาฝันผู้ชมไปตามขนบหนังรักอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย’ ตัวมันเป็นหนังรัก และเป็นหนัง ดังที่โจวิพากษ์ไว้ การที่ในตอนจบตัวละครออกจากโรงแล้วมาคุยกันถึงตอนจบของความสัมพันธ์ของตัวเองจึงเป้นการคุยกันของตัวละครไม่ใช่มนุษย์ เป้นตัวละครบนจอที่หันมาทำลายกำแพงเรื่องเล่าด้วยการบอกคนดูเป็นนัยๆว่าเพระาฉันเป็นตัวละครฉันจึงมีตอนจบ ฉันจึงได้เขียนหนังสือขาย ฉันจึงได้เข้าใจ ฉันจึงได้รอ และฉันจึงได้แก้ไขข้อผิดพลาด หนังไม่ได้จบอย่างสมบูรณ์โดยแท้ แต่ความสมบูรณ์ของมันคือการบอกกับคนดูว่า โธ่เธอ ฉันเป็นแค่หนัง เหมือนที่ฉันด่าหนังในหนังของฉันนั่นแหละ ในความเป็นจริงในหนังคนที่รักกันยังเลิกกันเลย ประสาอะไรกับความสัมพันธ์ของพวกเธอ (คนดู)เล่า


MARY IS HAPPY , MARY IS HAPPY. (2013 ,นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ,ไทย) ความไร้สุขของขบถหัวอ่อนไหว

$
0
0

 

996102_10151882145808576_1510282881_n

เอาเข้าจริงๆชื่อหนังแมรี่มีความสุข แมรี่มีความสุข ซ้ำสองครั้งนั้นไม่ใช่ประโยคบอกเล่าว่า แมรี่มีความสุข แต่เป็นประโยคคำสั่งเป็นคำอาขยานสำหรับท่องจำ บอกตัวเองให้มีความสุขซึ่งไม่ได้แทนอะไรนอกจากความไม่มีความสุข  -69

และความไร้สุขของแมรี่เป็นสิ่งที่คลุมเครืออย่างยิ่ง อธิบายไม่ได้อย่างยิ่งไม่ใช่เพราะแมรี่หลงอยู่ในโลกเหวอเซอร์เรียลที่มีแต่โรงเรียนฟาสซิสต์ มีชุดเดียวให้สวมใส่หรือมีแต่คนที่แอบรักชั่วนิรันดร์  -51

แต่ความไร้สุขของแมรี่เกิดจากความพยายามจะตั้งคำถามในโลกที่มีแต่คำสั่งพยายามจะควบคุมในโลกที่ถูกควบคุมการฝ่าฝืนของแมรี่ไม่ใช่การชบถแต่เป็นการจำนนจนสงสัยว่าทำไมต้องจำนน  -24

ก็เหมือนกับการฝ่าฝืนในความจำนนที่นวพลมีต่อทวิตเตอร์410ข้อความของแมรี่มาโลนีซึ่งเป็นต้นทางของหนังเรื่องนี้  34

การสร้างบทขึ้นจากโครงข้อความไม่มีที่มาที่ไปทำคล้ายกับการแต่งเรื่องจากภาพ การเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีกฏว่าจงทำตาม แล้วนวพลก็ทำหนังสือรุ่นจากกฏเหล่านั้นอีกที -16

โลกของแมรี่ในหนังเรื่องนี้จึงเป็นโลกที่ลักลั่นไม่ต่อเนื่องสะดุดติดขัด สะเปะสะปะ บางครั้งก็เป็นโลกของการตีความtextมากกว่าจะเล่าเรื่อง  6

อาจจะเป็นความน่ารำคาญได้พอๆกับความตลกขบขันที่โลกของแมรี่บัดเดี๋ยวกวาดห้องบัดเดี๋ยวไปปารีสบัดเดี๋ยวเข้าป่า บัดเดี๋ยวยิงแกสน้ำตา 13

แต่ในอีกทางหนึ่งโลกสะเปะสะปะที่สร้างขึ้นใหม่กลับฉายภาพความเป็นไปของตัวทวิตเตอร์เอง ของโลกในsocial network ที่อันที่จริงล้วนแต่สะดุดติดขัด ไม่ต่อเนื่อง ไม่สมจริง ไม่มีเหตุผล -32

เช่นเดียวกับโลกของแมรี่ ในทวิตเตอร์ข้อความสั้นๆไม่อาจบรรจุทุกใจความได้ ไม่มีกระทั่งความต่อเนื่องเมื่อถูกจำกัดด้วยความยาว  19

หนำซ้ำการเรียงลำดับแบบ twitter ที่ย้อนเอาใหม่ไว้บน และโดนเบียดแทรกด้วยข้อความของผู้อื่นยิ่งทำให้โลกในtwitter สะดุดหยุดขาด ไม่ปะติดปะต่อ เป็นเพียงโครงร่างซึ่งอาจจะเชื่อมหรือไม่เชื่อมถึงกันก็ได้  -53

นอกเหนือไปจากนี้ในโลกที่นวพลสร้างขึ้นยังสะท้อนกลุ่มอาการ แต่งเรื่องจากภาพทั้งสำหรับผู้เขียนข้อความและผู้อ่านข้อความ 24

ความจำกัดเปิดช่องให้จินตนาการทำงานเติมน้ำเสียง บรรยากาศ ภาพ ลงในข้อความที่ที่จริงไม่ได้บอกอะไรเลย 4

ฉากอย่างการไปปารีส หรือไปเข้าป่าอาจเป็นเพียงความเปรียบในใจของเจ้าของทวีต แต่เมื่อมันกลายเป็นภาพในหัวมันก็สามารถกลายเป็นการไปจริงๆ ภาพจากเรื่องกลายเป็นสิ่งที่แตกต่างทั้งในหัวคนเขียน คนอ่านและคนทำ โลกสะเปะสะปะของนวพลจึงขยายตัวออกไปไม่หยุดยั้ง  -101

โลกแบบกึ่งจริงกึ่งฝันราวกับหนังญี่ปุ่นยุคชุนจิ อิไว หรืออะไรต่อมอิอะไรสไตล์อะนาลอกจึงทำหน้าที่เป็นเพียงภาพขยายในหัวของคนทำโดยไม่ต้องอ้างอิงกับความจริงโลกจริง -18

การจินตนการที่จากทวิตที่เป็นแค่เนื้อเพลง หรือ คำเปรียบเปรย ให้ออกมาเป็นภาพเหนือจริง ทั้งสังคโลก ป่า หรือกระทั่งลดทอนความจริง เช่นหนังสือฟอนท์เดียวสีเดียวที่แมรี่อ่าน เป็นรูปแบบของจินตนภาพที่มีต่อข้อความอันจำกัดและไม่มีที่มาที่ไปรองรับได้อย่างน่าสนใจทั้งสิ้น  -118

แต่สิ่งที่น่าสนใจก้ไมไ่ด้มีเพียงแค่โครงสร้างของหนังหากคือตัวเนื้อหาของหนังที่สอดรับกับโครงสร้างในระดับหนึ่งและสะท้อนภาพความขัดขืนของการยอมจำนนในอีกระดับหนึ่ง  -19

เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์​  102

ในโลกของแมรี่เธอไม่เคยตั้งคำถามว่าทำไมต้อง จงทำตาม ในโลกของแมรี่ เมื่อเขาบอกให้ทำตามเธอทำตาม 47

ในโลกของแมรี่เธอพยายามขัดขืนเล็กๆน้อยๆเช่นการพยายามคอย magic hour การขัดขืนเล็กๆของเธอเป็นการขัดขืนในกรอบของการยอมจำนน 21

ในโลกของแมรี่แม้จะมีครูใหญ่ผเด็จการ เธอก็จะคิดถึงการไปกินโตเกียวรอชายคนที่แอบรัก กระทั่งความรักของแมรี่ยังไม่ใช่การขบถเพราะเธอแค่รอให้เขาบอกรัก ความแร่ดที่เธอสร้างขึ้นเป็นการขัดขืนต่อการยอมจำนนต่อไอ้หน้าหนวด -67

ในโลกของแมรี่เธอไม่อาจแม้แต่จะยอมรับต่อหน้าครูว่าซูริเขียนถึงเธอ เพราะเธอยอมจำนน การขัดขืนของเธอจึงมีแต่การคิดถึงเพื่อนที่จากไปขณะที่เธอก็ค่อยๆสูญเสียการควบคุมทุกอย่างไป สัยสนอยู่ในฐานะของขบถหัวอ่อนไหว -62

Magic Hour ,หนังสือรุ่น และหนุ่มขนมโตเดียวจึงไม่ได้เป็นอะรนอกจากภาพแทนความล้มเหลวของการขบถนิยมการจำนน ผลที่เธอได้รับจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าความไร้สุขอันคลุมเครือ  -21

อันที่จริงแล้วสภาวะ passive ง่อยเปลี้ยเสียขาทำนองนี้ไม่ได้เพียงปรากฏอยู่ในหนังของนวพลหากยังเป็นกลุ่มอาการที่พบได้ในหนังไทยรุ่นใหม่จำนวนมาก  ราวกับเป็นกลุ่มอาการร่วมของคนชั้นกลางที่ห่างไกลจากการต่อสู้ พวกเขาหรือเธอมองเห็นปัญหา ความไม่ชอบมาพากล แต่อยู่ไกลเกินกว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่เข้าใจพอที่จะวิพากษ์ ความขบถอันคลุมเครือ ความง่อยเปลี้ยเสียขา และความอึดอัดขัดข้องจึงเป็นรูปแบบการแสดงออกที่ซื่อตรงต่อความคิดของตัวเองมากที่สุด -286

การกล่อมให้ตัวเองมีความสุขของแมรี่จึงเป็นทางออกภาพแทนของการขัดขืนอย่างจำนนหลังจากหนังสือรุ่นใช้ฟิล์มสี่ร้อยและมีหน้าปกเป็นรูปมังคุด 9

ทั้งหมดทั้งมวลจึงย้อนกลับมาที่ชื่อหนัง ซึ่งอันที่จริงแล้วมันกล่าวว่า พูดตามครูนะจ้ะ  แมรี่มีความสุข แมรี่มีความสุข และแมรี่พูดตามอย่างฝืดเฝือ เทอมสุดท้ายพ้นผ่านความรักพ้นผ่าน เพื่อนรักจากไปไม่หวนกลับ แมรี่ผู้ไร้สุขและไม่รู้ว่าทำไม -90


TOP FIFTEEN HORROR FILMS(ICK)2013

$
0
0

 

sightseers_horror

1.SIGHTSEERS (BENWHEATLY/2012/UK)

2.THE CONJURING(JAMES WAN/2013/US)

+ INSIDIOUSCHAPTER 2 (JAMES WAN/2013/US)

3.BYZANTIUM (NEIL JORDAN/2013/UK+US+IRELAND)

+ MIDNIGHT SON(SCOTT LEBERECHT/2011/US)

4.DARK TOUCH (MARINA de VAN/2012/IRELAND+FR)

+ CELIA (ANNTURNER/1989/AUSTRALIA)

5. ANTIVIRAL (BRANDONCRONENBERG /2012/CANADA)

6.รำลึกเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 (พงศกร ฤดีกุลรังสี)

7. GOD TOLD ME TO(LARRY CHOEN/1976/US)

+ SAFE HAVEN(GARETH EVANS + TIMO TJAJHANTO)

8. THE ROAD (YAMLARANAS/2012/PHILIPPINES)

+ TEXAS CHAINSAW 3D ( JOHNLUESSENHOP/2013/US)

9. MODUS ANOMALI(JOKO ANWAR /2012/INDONESIA)

+ THE COLLECTOR(MURCUS DUNSTAN/2009/US)

+ THE COLLECTION(MARCUS DUNSTAN/2012/US)

10. LOVE MASSACRE(PATRICK TAM/1981/HK)

+THE CALL ( BRADANDERSON/2013/US)

11. อวสานโลกสวย (ปัญญ์ หอมชื่น อรอุษา ดอนไสว  /2013/ไทย)

+ ไม่มีใครปกติ? (ปาลิดา ดำรงทวีศักดิ์)

12.SEEDING OF AGHOST (CHUAN YANG/1983/HK)

13.ทองสุก 13 (ทวีวัฒน์ วันทา/2013/ไทย)

14.LAST SUMMER ฤดูร้อนนั้น ฉันตาย (กิตติธัช ตั้งกิจศิริ + สิทธิศิริมงคลศิริ + ษรัณยู จิราลักษม์ /2013 /ไทย)

15.BERBERIAN SOUNDSTUDIO (PETER STRICKLAND/2012/UK)

 

 

 

 

 

 

 

1.SIGHTSEERS (BENWHEATLY/2012/UK)

 

ทริปน้ำผึ้งพระจันทร์แสนหวานของอีเนิร์ดกับไอ้เนิร์ดที่พบว่ารักกันไปฏฆ่ากันไปนี่มันช่างงดงามจริงๆความวิปริตใดๆในหนังมันบาลานซ์อยู่ระหว่างการเป็นหนังตลกหนังโรคจิตและหนังชีวิตบัดซบที่งดงามสุดๆ มันทั้งขำและขนหัวลุกในเวลาเดียวกันคาแรกเตอร์ของสองตัวละครหลักมันงดงามและเข้าใกล้เรามากๆ

 

2.THE CONJURING(JAMES WAN/2013/US) + INSIDIOUS CHAPTER 2 (JAMES WAN/2013/US)

 

สิ่งที่เรารักที่สุดใน Conjuring คือเคมีของเ๊ด และลอเรน วอร์เรน สำหรับเรามันสำคัญกว่าฉากผีหลอกอีกต่างหาก  เพราะมันโรแมนติคมากมันคือเรื่องของนักปราบผีที่เกิดมาคู่กันเหมือนสองจอมยุทธ์ที่เดินทางไปเรื่อยๆฉากที่ทั้งคู่ต้องมีกันและกันจึงจะปราบผีได้มันเป็นฉากที่หวานมากๆสำหรับเราไปไกลกว่านั้นก็แน่นอน บ้านผีสิง ครอบครัวโดนผีหลอกมันบันเทิงมากๆสำหรับเราเป็นหนังผีแบบ old schoolที่มอบอารมณ์เหมือนเรากลับไปเป็นเด็กยุคแปดสิบ

 

ในขณะที่ Insidious มันสนุกบ้าบอมากๆครึ่งหลังของหนังมันเป็นหนังผีแบบยุคแปดสิบมากๆ แล้วการมีโลกหลังความตายกับคุณป้าปราบผีมันพาเราไปหาหนังผีฮ่องกงยุคนั้นมากๆมันเลยกลายเป็นหนังที่เติมเต็มความรู้สึกที่ขาดหายในการดูหนังผียุคใหม่ของเราเอง

 

3.BYZANTIUM(NEIL JORDAN/2013/UK+US+IRELAND)+ MIDNIGHT SON (SCOTT LEBERECHT/2011/US)

 

Byzanthium มันเศร้ามากๆเพราะแม้มันจะเป็นหนังแวมไร์แต่มันพูดถึงคนชายขอบที่พยายามหลบหนีไปเรื่อยๆพยายามจะมีชีวิตที่เล็กน้อยมากๆ แล้วยังถูกตามล่าไปเรื่อยๆ มันทั้งโรแมนติคและงดงามและเศร้าและโหดเหี้ยมถ้ามีแวมไพร์บนโลกจริงๆมันก็เป็นแวมไพร์แบบนี้แหละแวมไพร์วัยรุ่นที่ไม่สามารถจะมีความรักได้และแวมไพร์รุ่นแม่ที่ต้องอยู่ในสงครามชนชั้นชั่วนิรันดร์

 

Midnight Son เล่าเรื่องพระเอกเป็นยามกะกลางคืนที่เป็นโรคแพ้แสงแดดโดนแสงแดดแล้วไหม้วันๆอยู่ในห้องทืด เฝ้าวาดรูปพระอาทิตย์ยามเย็นวันแล้ววันเล่านางเอกเป็นสาวขี้ยาขายลูกอมที่พระเอกไปพบตอนไปผับ คุยกันแล้วถูกคอเลยชวนมาบ้านในวันต่อมากำลังจะได้กันนางเอกพี้ยาเยอะไปหน่อยเลยเลือดกำเดาไหลไปโดนพระเอกตอนจูบกันพระเอกโดนเลือดมนุษย์จริงๆจังๆครั้งแรก (ปกติจะต้องไปขอเลือดตามร้านขายเนื้อ) ก็เลยเริ่มเป็นผีดูดเลือดมากขึ้นแต่ไม่ยอมหาเลือดมนุษย์มากิน เที่ยวไปหาตามขยะในโรงพยาบาลไปเจอบุรุษพยาบาลที่ขายเลือด แล้วเหตุการณ์มันก็ยุ่งๆไปเรื่อยๆจบลงอย่างประหลาดพิลึก เป็นความงามที่เลือดสาด ดี

 

หนังคว้างเหงา และพระเอกเป็นผีดูดเลือดที่ไม่มีพลังอะไรทั้งสิ้นเป็นเหมือนพวกสัตว์อ่อนแอกินเลือดมากกว่าแวมไพร์ด้วยซ้ำ ต้องอยู่หลบๆซ่อนๆ แล้วควบคุมตัวเองอย่างหนัก นางเอกก็เป็นสาวขี้ยามันเลยเป็นเรื่องรักของคนชำรุดที่จบสวยกว่าความเศร้า

 

 

4.DARK TOUCH (MARINA de VAN/2012/IRELAND+FR)+ CELIA (ANN TURNER/1989/AUSTRALIA)

 

Dark Touchพูดเรื่องChild abuse แต่มันไม่ใช่หนังประเภท เด็กตกเป็นเหยื่อตอนแรกมันเป็นเหมือนแครี่ แต่มันก็ค่อยดึงคนดูลงไปลึกกว่านั้นการปิดกั้นของนีฟมันไปไกลและรุนแรงมากขนาดว่าเธิไม่สามารถอธิบายความรู้สึกของเธอได้อีกแล้วและเธอก็ควบคุมพลังของเธอไม่ได้ มันเป็นแรงแค้นแบบที่ทุกคนต้องตายถ้าเข้าใกล้แล้วเธอก็ไม่แยแสสนใจจะควบคุมด้วย เธอพยายามแล้วจะหลบหนีไปให้ไกลแต่ทุกคนไอ้พวกคนดีๆ ไอ้พวกขวาอนุรักษษ์นิยมไม่ยอมให้เธออยู่อขงเธอเงียบๆพวกคนแสนดีจะเอาะอกลับเข้าสังคม จะทำให้เธอเป็นคนปกติซึ่งเธอไม่ได้เป็นผลก็คือพวกเขาต้องรับกรรมกับความพยายามโง่ๆของพวกเขาเองหนังไม่ได้มองเด็กเป็นผ้าขาวอะไรเลย ฉาหนึ่งที่แรงมากคือนีฟโดนบังคับไปงานวันเกิดทุกคนเล่นตุ๊กตา แล้วเธอก็ต้องเล่นด้วยพ่อแม่ๆปิดประตูพวกเด็กก็เริ่มทารุณกรรมตุ๊กตาของตัวเองอย่างบ้าคลั่งแล้วก็เริ่มทำลายคนที่ไม่ชอบขี้หน้า เด็ฏในเรื่องคือสัตว์เล็กชั่วร้ายที่ระยำมากนีฟก็เลยเผาตุ๊กตาทุกตัวต่อหน้าเด็กเปรตพวกนั้นไปไกลกว่านั้นฉากท้ายๆของหนังเธอล้างแค้น เด็กและระบบการศึกษาได้อย่างรุนแรงที่สุด

 

แต่ศัตรูที่แท้ของนีฟคือความเป้นครอบครัวนั่นแหละในฉากแรกเธอพยายามจะหนีจากครอบครัวแต่พ่อแม่มาลากเธอกลับไป พวกเขาทำร้ายเธอแต่ไม่มีใครสนใจเพราะเป็นเรื่องภายในศัตรูที่แท้คือครอบครัวแสนดีตอแหลที่ต้องทำลายล้างฉากไคลแมกซ์ของหนังจึงรุนแรงสุดขีดของที่สุดเมื่อนีฟใช้พลังของเธอในการเปลี่ยนบทบาทของพวกพ่อแม่ให้ตกอยู่ใต้บังคับของลูกดูบ้างการเปลี่ยนปบทบาทแบบนี้ทำให้เห็นอำนาจนิยมในรูปความหวังดีที่พอ่แม่ยัดใส่ลูกทำให้กลัวขู่ให้หงอปลอบด้วยรัก ฝึกให้มีวินัยฉากกลับด้านบทบาทนี้รุนแรงมากและมีเป้าหมายทิ่มแทงสถาบันครอบครัวอย่างถึงรากในฐานะหน่วย่อยที่สุดของระบบอำนาจนิยม

Celia เป็นหนังเด็กเปรตเห็นผีที่สะท้อนภัยคอมมิวนิสต์ในอออสเตรเลียได้แนบเนียนหนักแน่น และร้ายกาจมากๆ เริ่มจากผีในการ์ตูน ยายคอมมิวนิสต์ นโยบาย rabbit Proof Fenceเราได้เห็นารกลายเป็นปีศาจของเด็กผ่านภาพของหนังสยองขวัญที่คมคายมากๆ

 

 

5. ANTIVIRAL (BRANDONCRONENBERG /2012/CANADA)

 

พลอตมันมีอยู่ว่า ในอนาคตอันใกล้บริษัทยักษ์ใหญ่จะทำสัญญากับเซเลบในการขาย เชื่อโรคจากร่างของเขาและเธอเช่นเชื้อเริม เชื้อหวัด ถ้าคุณอยากชิดใกล้ดารามาที่บริษัทเราฉีดเชื้อเริมจากปากเธอสิ ฉีดข้างซ้าย เพราะเธอติดเริมข้างขวาเวลาเธอจูบคุณเริมจะติดอยู่ปากซ้ายของคุณ  พระเอกเป็นเซลล์ขายเชื้อโรคพวกนี้แต่ตัวเขาเองก็เแอบเอาเชื้อไปขายในตลาดมืดบริษัทจะควบคุมการเกิดโรคหรือการทำซ้ำไวรัส ไม่ให้มันติดไปหาคนอื่นได้อีกไวรัสจากดาราเป็นของคุณคนเดียวคนอื่นจะมาติดโรคดาราจากคุณไม่ได้พระเอกเอาเชื้อฉีดเข้าตัวแล้วเอาไปขายในตลาดมืด พวกร้านขายเนื้อที่เพาะจากตัวดาราเขาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดาราไว้ขายคุณเลย ใกล้ชิดพอไหม ปลูกถ่ายผิวหนังก็ได้เอาหนังดารามาแปะในตัวคุณ เวลาเหงาเศร้าก็ลูบผิวดาราบนท้องแขนคุณเอง

 

วิปริตเหรอ ประเด็นคือ คุณเคยอยากได้ เสื้อใส่แล้วกางเกงในใช้แล้ว ของดาราไหม คุณเคยอยากใกล้ชิดร่วมแชร์ประสบการณ์ต่างๆกับดาราคนโปรดของคุณหรือเปล่ามันก็เหมือนกันแหละ แต่คราวชิดใกล้ชนิดร่วมประสปการณ์ หวัดนก ท้องเสีย ผื่นรูทวารหรือจิ๋มอักเสบกันได้อย่างง่ายได้ในคลินิกงามหรูเลยทีเดียว

 

6.รำลึกเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 (พงศกร ฤดีกุลรังสี)

 

หนังว่าด้วยการหายตัวไปของนักศึกษาหนังนอร์เวย์ที่มาเข้าพักโรงแรมในกาฬสินธุ์หนังอ้างตัวว่าเป็นฟุตเตจจากสิ่งที่ถูกถ่ายไว้ในคืนก่อนเกิดเหตุหนังมีเพียงภาพของโต๊ะรับแขก ห้องน้ำ เตียง พื้น รองเท้าผ้าม่านภาพนิ่งแทบไม่มีความเคลื่อนไหว เงียบสนิทตัดจากภาพหนึ่งไปภาพหนึ่งแต่เมื่อตัดกลับมา เฟร์นิเจอร์ก็ล้มระเนระนาดผ้าม่านพะเยิบไหว ภาพที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยเว้นแต่ช่วงท้ายที่กล้องขยับขึ้นลงอย่างน่าหวาดหวั่นด้วยภาพเหล่านี้เราสัมผัสได้ว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นและมองหามันในทุกภาพที่ปรากฏหนังทำตัวเป็นfound footage ที่แผ่รังสีชั่วร้ายใส่ผู้ชมตลอดเวลาแล้วทำให้เรารู้สึกขนบุกกรูเกรียวในการมองภาพที่ไม่มีอะไรเลยหนังไม่ได้บอกว่าอะไรเกิดขึ้นในทางหนึ่งมันทำตัวเป็นตำนานเรื่องเล่าแบบปากต่อปาก urban legend ที่ไม่มีหลักฐานไม่ใช่การจำลองเหตุการณืเป็นร่องรอยของความสยองขวัญที่ความไม่มีเหตุการณ์สร้างเหตุการณืขึ้นมันเป็นหนังสยองขวัญที่น่ากลัวมากเพราะต่อหน้าการยักย้ายถ่ายเทของเฟอร์นิเจอร์คนดูสร้างเหตุการณ์ในหัวไปแล้วเรียบร้อย

 

7. GOD TOLD ME TO(LARRY CHOEN/1976/US)+ SAFE HAVEN (GARETH EVANS + TIMO TJAJHANTO)

 

เรื่องแรกว่าด้วยตำรวจืบคดีคนร้ายปีนตึกไปไล่ยิงคนไม่รู้จักตามถนน หรือคนที่จู่ๆลุกขึ้นมาฆ่าคนใกล้ชิดทุกคนพูดคำเดียวว่า พระเจ้าบอกให้ทำ สืบไปสืบมาพบว่าเกี่ยวข้องกับลัทธิลึกลับและหนุ่ผมทองคนหนึ่ง เขาในฐานะคนที่เชื่อในพระเจ้าต้องจับให้ได้ถ้าไม่บังเอิญว่าจริงๆเขากับหนุ่มผมทงอเชื่อมกันด้วยการเป็นเด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นสาวบริสุทธิ์และถูกมนุษย์ต่างดาวลักพาตัวไปหนังเหวอ บ้า สนุก และสุดทางมากๆ ในตอนท้ายเราได้ห็นจิ๋มบนจอและจิ๋มยักษ์บนร่างของบุตรพระเจ้า หนังสยองขวัญยุคเจ็ดสิบเขาไปกันไกลขนาดนี้

 

Safe Haven เป็นตอนหนึ่งของ VHS2 ว่าด้วยการไปตายในโรงเรียนลัทธิลึกลับ หนังประหลาดพิศวงและบ้าเลือดมากๆ ช่วงท้ายมันยมีแต่การไล่ฆ่าจนกลายเป็นหนังวิปริตมากๆๆๆ หลอนมากๆ

 

 

8. THE ROAD (YAMLARANAS/2012/PHILIPPINES)+ TEXASCHAINSAW 3D ( JOHN LUESSENHOP/2013/US)

 

 

The Road เป็นหนังสยองขวัญเริ่มจากถนนผีสิงซึ่งลึกลับประหลาดและน่ากลัวมาก ก่อนจะคลี่ขยายไปยัง ประวัติศาสตร์ของปีศาจที่ย้อนเวลามทีละสิบปีจนได้เป็นหนังสยองขวัญสามแบบที่ประหลาดและมีมู้ดโทนแบบเซาทธ์อีสท์ที่น่าสนใจมากแม้หนังจะสูญเสียความลึกลับไปทีละนิดเมื่อมันคลี่คลายตัวเองแต่มันก็ยังน่าสนใจมากๆอยู่ดี

 

Texas Chainaw 3Dรีเมคและย้อนรอย ปวศ.ต้นฉบับได้อย่างน่าทึ่งเราสมมติไปเลยก็ได้ ว่า คนที่ตายในหกตุลาเป็นญวนเป็นแกวคนที่ตายในกรือเซะตากใบเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นแบบตระกูล SAWYER ในเรื่องนี้ คำถามที่เราถามไม่ใช่ว่าเขาสมควรตายไหมแต่เขาตายอย่างไร และในเมื่อความตายของเขาเป็นการฆ่าด้วยความสะใจเพื่อตอบสนองฮิสทีเรียทางศีลธรรมโดยไม่มีหลักกฏหมายก็อย่าแปลกใจที่ลูกหลานของคนตายจะกลายเป็นผู้ก่อการร้ายไปจริงๆ

 

หนังย้อนซ้อนกลฉากในโรงฆ่าสัตว์ช่วงท้ายด้วยการทำหน้าที่เป็นเหมือนการรีเมคTCM แต่เปลี่ยนข้างคนทำเป็นแกงค์ชาวบ้านแทนจะเป็นฆาตกรโหดการเปิดโปงปวศ.ในอดีตของมัน ทำให้เห็นถึงแผลมืดของหนังสยองขวัญในฐานะเครื่องมือปลดปล่อยแฟนตาซีจากการถูกคุกคามของคนชั้นกลางในสมัยหนึ่งที่ไม่รู้จะจัดการกับมันยังไงดีพวกขี้ยา พวกโรคจิต พวกตุ๋ยเด็ก ตายซะในศาลเตี้ยที่เรามีอำนาจเพราะเราตกเป็นเหยื่อ

การที่หนังสยองขวัญในยุคนี้ซึ่งไม่โดดเด่นเท่า ไม่ดีเท่าแต่หันมาเล่นหนังสยองขวัญรุ่นก่อน ทำให้มันไปไกลกว่าการรีเมคแบบบูชาครูที่เอาเปลือกมาเป็นแก่นแล้วลอกแก่นเดิมทิ้งจนเหลือแค่ความว่างทำให้คุณค่าขนบที่หนังสยองขวัญยึดถือถูกสั่นคลอน(ลองนึกถึง CABIN IN THE WOODS) ได้กลายไปสู่หนังที่หันมาวิพากษ์ตัวบทเสียเองว่าอันที่จริงศาลเตี้ยในหนังไม่ได้เป็นอะไรนอกจากการประกอบอาชญากรรมซ้ำซ้อน แม้ TCM 3D เองจะตกม้าตายตอนจบด้วยการเลือกจบที่ตอกย้ำคุณค่าเดิมแบบพลิกไปพลิกมาการเลือกจบแบบนี้ก็เป็นปารประกอบอาชญากรรมของการเพิกเฉยแบบหนึ่ง (ไม่นับว่ามันไม่เป็นเหตุเป็นผลเป็นไปไม่ได้ในโลกจริง) มันกลายเป็นการพาฝันซ้อนของคนที่ถูกกดทับทวงแค้นด้วยเหมือนกัน

 

9. MODUS ANOMALI(JOKO ANWAR /2012/INDONESIA) + THE COLLECTOR (MURCUS DUNSTAN/2009/US) + THECOLLECTION (MARCUS DUNSTAN/2012/US)

 

หนังทั้งสามเรืองว่าด้วยฆาตกรโรคจิตไล่ฆ่าผู้คนแบบเว่อๆหวอๆ Collectorกับ Collection นั้นโหดดิบระยำหมาแบบเหนือมนุษย์และความฟินคือความโหดที่เป็นจริงไม่ได้เป็นแฟนตาซียังยากเกินไป  โลกแบบที่จินาการเพดานเลื่อยเลื่อนลงมาฆ๋าคนทั้งผับนี่มันเกินเหตุไปมากแต่ยิ่งมันเว่อมันเหนือมนุษยื มัเกินเหตุมันก็ยิ่งมอบโลกประหลาดให้กับเรา

 

ในขณะที่ Modus เป็นหนังเลือดสาดที่เป็นอะไรระหว่างหนังหักมุมกับหนังFunny Games ไม่มีอะไรเหมือนหนังอินโดนีเซียเลยแต่มันมันส์มากสนุกมาก บ้ามาก เลือดสาดมาก

 

10. . LOVEMASSACRE (PATRICK TAM/1981/HK) + THE CALL ( BRAD ANDERSON/2013/US)

 

 

หนุ่มหล่อโรคจิตที่ตอนแรกก็ดูดีตอนหลังเริ่มเป็น stalker ไล่ฆ่าสาวที่เขารักพลอตฟังดูเหมือนหนังเกรดสามฮ่องกงที่ฆ่ากันเลือดสาดและวับๆแวมๆใช่ไหม แต่เดี๋ยวก่อน หนังของPATRICK TAM ที่เป็นหนึ่งในฮ่องกงนิวเวฟเรื่องนี้กลับเต็มไปด้วยภาพบรรยากาศเวิ้งว้างแปลกแยก ตัวละครถูกจัดวางในเฟรมแบบเป๊ะๆหนังถ่ายภาพราวกับเป็นหนังอันโตนิโอนี่ ที่บีบอัดตัวละครในอากาศเวิ้งว้างทัศนียภาพแปลกตาของบ้านช่องห้องหับในอเมริกา (เข้าใจว่านิวยอร์ค) แต่โครงเรื่องและการตัดต่อกลับทำให้รู้สึกเหมือนหนังดาริโอ อาร์เจนโต ในฉากหนึ่ง ไอวี่ต้องเดินคุยกับฆาตกร เธอแต่งชุดขาวปลอดเขาก็แต่งชุดขาว ผนังตึกเป็นสีน้ำเงินเข้มในยามกลางคืน ถนนสวยแต่ร้างคนจนเหมือนฉากละครเวที ฉากนี้ชวนให้คิดถึงฉากคล้ายๆกันในหนังอาร์เจนโต้อย่างDEEP RED ผิดก็แต่ว่าในหนังหอาณ์เจนโต่้เราต้องหาว่าใครคือถุงมือดำ แต่หนังหนังPATRICK TAM เรารู้อยุ่แล้ว

 

การตัดต่อของหนังก็เท่ไม่หยอก แม้ยี่สิบนาทีสุดท้ายหนังจะเป็นลาบเลือด(ที่ฆ่ากันโหดมากๆ)แต่หนังก็ตัดแบบไม่ให้เห็นฉากจะๆ การโยนภาพไกลใกล้ ซ้ายขวาในหนังทำให้มันเกิดช่องกระตุกที่สุดขีดมากๆ ราวกับฉากในจินตนาการมากกว่าการตัดภาพแบบราวกับยกออกไปห้าวินาทีในแต่ละชอตทำให้เกิดการสับสนงงงวยเรื่องจังหวะและมันพิศวงสุดๆ

 

 

 

สำหรับ The Call ไม่ว่าหนังจะระทึกเพียงใด ให้เอาห้าร้อยคูณจะได้ความระทึกของใบหน้า ฮัลลี่ เบอรี่

ชอบไคลแมกซ์ของเรื่องสุดๆไม่นึกว่าจะยังมีคนบ้ากล้าผลักเรื่องให้ฮัลลี่ เบอรี่ ต้องออกโรงในตอนท้ายอีกความโง่ในตอนท้ายเรื่องทำให้หนังขยับขึ้นไปอยู่ทำเนียบหนังคัลท์แบบโง่ไม่เผื่อเพื่อนมนุษย์ที่ฟินมาก

 

อย่างไรก็ดีความเชยของหนังทำให้มันกลับไปดป็นหนังยุคแปดสิบเก้าสิบที่อุดมความขวา. เชิดชูปัจเจกเหนือระบบทีฉ้อฉลล้มเหลวฟังดูลเบอรัลแต่จริงๆมันขวาเหี้ยๆ. ลองนึกถึงพวก LAST HOUSE ON THE LEFT หรือ I SPIT ON YOUR GRAVE ดู

ฉากฮัลลี่ เบอรี่ยืนแล้วมีธงอเมริกาเป็นพื้นหลังนี่ขวาเหี้ยๆ

 

 

 

 

 

11. อวสานโลกสวย (ปัญญ์ หอมชื่น อรอุษา ดอนไสว  /2013/ไทย) + ไม่มีใครปกติ? (ปาลิดา ดำรงทวีศักดิ์)

 

อวสานโลกสวยว่าด้วยเรื่องของสาวลึกลับที่บุกไปจับเนตไอดอลคนหนึ่งมาขัง ฆ่าแม่ของเธอแล้วทรมานให้เธอรู้ทุกข์ของการเป็นคนดัง ที่ลองเอยอย่างรวดร้าวและบ้าคลั่งเซนส์ของการเลือกจบของหนังดูเหมือนจะคลิเชแต่ที่จริงมันตอกย้ำว่าอีก้อยชนะในเกมนี้

ฟินมาก ไปสุดทางมากนี่คือความงามของการเคี่ยวพลอตและเรื่องอย่างเต็มที่จนแม้การแสดงแบบแข็งๆของหนังก็ยังทำลายลงไม่ได้เสียดายที่มันบอกแรงจูงใจแบบตรงไปตรงมาและบอกหมดเลยจนคนดูไม่ได้ต้องคิดตามแต่รู้สึกว่ามันมีความร้ายกาจใช้ได้ แม้หนังจะขาดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเซนส์ของความชั่วช้าซึ่งเป็นสิ่งที่บทหรือการแสดงให้ไม่ได้ ต้องมาจากภายในคนทำหรือฉากเล็กฉากน้อยที่ไม่สำคัญ

 

สิ่งที่ชอบสุดๆของหนังเรื่องนี้อีกอย่างคือ bodyของนักแสดงหญิงที่ต้องเป็นเนทไอดอลเป็นนักเรียนหญิงที่เกลียดกัน รู้สึกว่าการเลือกตัวละครที่หน้าตาประมาณนี้คือสวยก็ได้ไม่สวยก็ได้มันไปกันได้ดีกับตัวหนังในขณะที่อีเพื่อนดัดจริตของอีก้อยเป็นหน้าตาสวยสกอยท์ทุกคน

 

 

ไม่มีใครปกติ? (ปาลิดา ดำรงทวีศักดิ์) เป็นหนังหักมุมเฉือนคมเวียร์ดๆว่าด้วยพี่น้องสองศรีที่แม่โดนลุงแฟนใหม่ข่มขืนจนตายคาบ้านน้องชายมาเห็นชอตเด็ดจนเป็นบ้ากลัวจู๋ตัวเองและเริ่มเห็นหุ่นลอเงสื้อเป็นแม่วันหนึ่งพาเพื่อนมาตัดเสื้อเพื่อนนึกว่าตลกแต่ดันเกิดหงี่กับแม่หุ่นเลยชีวิตล่มลงท้ายน้องชายตัดจู๋ตัวเอง มีแต่พี่ชายคนเดียวเท่านั้นคอยดูแลแต่มันไม่แค่นั้นน่ะซี้ ในฐานะติ่ง ณ.บ. ทันทีที่เห็นหน้านางโผล่มาเป็นตัวละครเอกเราก็รู้ทันทีว่า ในหนังเรื่องนี้ ไม่มีใครปกติจริงๆด้วยเราเลยรับรู้หนังในฐานะหนังหักมุมแน่ๆในจุดนี้เลยฟินมากกับเพลงวีนัสในฉากเฉลยที่รุนแรง ตลก เหี้ยห่ามากๆอันที่จริงครึ่งแรกของหนังคุมโทนระหว่างการเป็นหนังรอหักมุมที่เวียร์ดประหลาดบาดจิตกับหนังที่ลงลึกในความปรารถนา ความกลัวไม่แน่ไม่นอนในสภาวะทางจิตของตัวละครที่เข้มข้นมากถ้าหนังไปทางนั้นมันก็คงไปสุดทางดังที่มิตรสหายท่านหนึ่งตั้งขอสังเหตแต่พอหนังเลือกมาทางหักมุมคัลท์แตกเราก็รับได้เช่นกันจนแทบลุกขึ้นเต้นตามเพลงวีนัส ฮา!

 

12.SEEDING OF AGHOST (CHUAN YANG/1983/HK)

 

ระยำต่ำถ่อยได้ใจมาก หนังชอว์แรงๆวาด้วยเรื่องคนขับแทกซี่เมียมีกิ๊กแล้วแพลนจะทิ้ง แต่กิ๊กก็ไม่ยอมหย่าเมียนางโกรธเลยเดินลงจากรถกลางดึก โทรเรียกผัวมารับ แต่โดนทรชนคนโฉดลากไปข่มขืนแล้วฆ่า.ผัวมารู้เรื่องทั้งหมดทีหลังก็แค้นมาก แต่ทำอะไรไม่ได้ เลยไปสมคบกับหมอผีปลุกผีเมียขึ้นมาล้างแค้น

 

หนังไปสุดทางทั้งในการเป็นหนังโป๊ซอฟท์คอร์เห็นเต็มตัวแค่ไม่เห็นการสอดใส่ หรือเป้นหนังสยองขวัญโสโครกที่มีเลือดมีหนองมีผีปีศาจอุปาทว์ชาติชั่ว ไปจนถึงตอนท้ายที่กลายเป็นหนังกอรร์เหมื่อนางผีให้กำเนิดบุตรชายเป็นสัตว์ประาด มาสังหารหมู่กิ๊กของแม่. หนังมันสุดทางจริงๆจนตกใจว่าคนในสมัยนั้นคิดว่าอันนี้เป็นanothermainstream หรือเป็นหนังคัลท์เหี้ยๆกันแน่

 

13.ทองสุก 13 (ทวีวัฒน์ วันทา/2013/ไทย)

 

เสียดายมากๆ ที่ข้อจำกัดด้านเทคนิคของหนัง เช่นเสียงหรือ CGหรือภารถ่ายภาพมันไม่สามารถรองรับVision ของคนทำได้พอคนทำหนังไปไกลมากๆ แต่ทุนจำกัด มันเลยทอนพลังของหนังลงไป

 

ชอบมากๆๆๆๆที่มันเป้นหนังสยองขวัญที่ทั้งยั่วล้อหนังสยองขวัญและเป็นหนังสยองขวัญที่มีวิธีของตัวเองด้วย มันมีอารมณ์ขันแบบ Sam Reimi และมีโมเมนต์หลอนประสาทแบบหนังผีญี่ปุ่นอาจจะขาดความชั่วร้ายมืดดำสุดขีดไปบ้าง แต่มันก็ไปไกลมากๆแล้ว

 

14.LAST SUMMER ฤดูร้อนนั้น ฉันตาย (กิตติธัช ตั้งกิจศิริ + สิทธิศิริมงคลศิริ + ษรัณยู จิราลักษม์ /2013 /ไทย)

 

ทั้งหมดทั้งมวลความกดดันในชีวิตวัยรุ่นที่รายรอบชีวิตของจอยจึงไม่ได้มีที่มาอะไรมากไปกว่าความคาดหวังถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงและมองไม่เห็นการซ่อนศพจอยของสิงห์ การไม่หยิบยาของมีนหรือการถ่ายคลิปของติ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นการกระทำชั่วแล่นเพื่อตอบโ้ต่อแรงกดทับของอนาคตผีของจริงที่ตัวละครมองไม่เห็นและคอยหลกอหลอนตลอดเวลาก่อนที่หนังจะทำลายอนาคตของตัวละครทีละตัว

 

ผีอีจอยจึงทำหน้าที่เป็นอนาคตที่สูญดับคอยหลอกหลอนอนาคตของตัวละครทุกตัวที่ทมีส่วนในการดัยอนาคตของเธอแลต่คนที่สำคัญที่สุดที่ทหนังเกือบจะไปถึงคือแม่ของเธอเอง

 

เป็นไปตามคาด หนังไทย (และอาจจะหมายรวมไปถึงหนังเอเซียแทบทั้งหมด)ไม่ลงโทษตัวละครผู้ปกครองโดยเฉพาะพ่อแม่ ดังนั้นจึงแม้เมื่อหนังไปถึงจุดที่สำคัญที่สุดตือแสดงให้เห็นว่าความกดดันในชีวิตของจอยมาจากแม่ของเธอเองแต่หนังเลือกที่จะประนีประนอมหลังจากจอยฆ่าทุกคนมีแต่แม่กับน้องของเธอเท่านั้นที่เธอไม่ฆ่าถึงที่สุดหนังได้ล้างคราบไคลของผีร้ายไปจากตัวของจอยโดยการทำให้เห็นว่าเธอรักแม่ของเธอและอภัยให้น้องของเธอ ไม่ว่าความกดดันของแม่ที่เลือกรักลูกไม่เท่ากันหรือความเข้มงวดที่แม่มีต่อเธอจะผลักให้เธอออกไปจากย้านไปเจอความตายถึงที่สุดเธอให้อภัยเพราะนั่นคือแม่ ซึ่งก็สอดรับกับวิธีคิดแบบไทยๆ แบบอาเซียนๆที่ให้ความสำคัญของครอบครัวเหนือสิ่งอื่นใด เป้นความรักที่ห้ามถามห้ามเถียงและถูกต้องสูงสุด

 

15. BERBERIANSOUND STUDIO (PETER STRICKLAND/2012/UK)

 

หนังที่เป็นเหมือนภาคแยกจอ AMER ว่าด้วย Giallo film studies ที่คราวนี้เปลี่ยนจากสีมาเป็นเสียงครึ่งหลังของหนังสุดตีนมาก และโดยส่วนตัวการที่ตัวลพครข้างนอกกลายเป็นหนังในเรื่องนี้เป็นวิธีการทริบิวท์ที่เราชอบมากกว่าHOLYMOTORS โดยเฉพาะการเปลี่ยนเสียงจากอังกฤษเป็นอิตลีในตอนท้ายการหมกมุ่นจนกลายเป็นหนังของดารา ผู้กำกับ คนทำเสียงและหัวผักกาดที่ถ่ายออกมาสยองที่สุดเพราะมันคือเหยือฆาตกรรม

 

เหนือสิ่งอื่นใด คนฉายหนังในเรื่องนี้คือฆาตกรตัวจริงเพราะเขาสวมถุงมือดำ! Giallo มาก


Viewing all 148 articles
Browse latest View live