Quantcast
Channel: FILMSICK
Viewing all 148 articles
Browse latest View live

2012 in review

$
0
0

The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2012 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

4,329 films were submitted to the 2012 Cannes Film Festival. This blog had 44,000 views in 2012. If each view were a film, this blog would power 10 Film Festivals

Click here to see the complete report.



ONLY HUMAN (ROUZBEH RASHIDI /2009/IRELAND) จับจ้องมองเพียงผู้คน

$
0
0

 

vlcsnap-2013-01-03-20h39m46s87

 

 

PEDRO COSTA เคยพูดถึงหนังของเขาเองไว้อย่างงดงามว่า ในหนังของเขานั้นผู้ชมจะไม่รู้อะไรเลย ผู้ชมเพียงผ่านเข้ามากลางเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผู้ชมเป็นเพียงแขกที่ไม่ได้รับอนุฐาติให้เข้าไปในชีวิตของตัวละครทำได้เพียงเงี่ยหูฟัง หหรือแอบมองจากประตูที่เปิดแง้มอยู่เพียงครึ่งเดียว

 

และดูเหมือน ONLY HUMAN จะสนับสนุนโควตของคอสตาอย่างน่าทึ่ง เพราะนี่คือหนังซึ่ง ‘จับจ้องมองเพียงผู้คน’  จ้องมองอาการ หมกมุ่น เหม่อลอย ว่างเปล่า ของผู้คน ภาพที่ไร้ความหมายของผู้คนที่ไม่ได้ทำอะไร แค่นั่งดูทีวี สูบบุหรี่ ถ้ามีอารมณ์เศร้า เราก็ไม่ได้เห็นอะไร ผู้ชายอารมณ์ทุกข์เตะกระป่อง เธอเย็บผ้า เขาเล่นเกม เขานอนดูทีวี เธอลอบมองจากหน้าต่าง เขาขับรถ เขากินอาหาร เขาทำอาหาร เธอดูทีวี สรรพสิ่งรอบๆตัวละครคือกิจกรรมของการไม่ทำอะไร เมื่อไม่ทำอะไร มันจึงไม่มีอารมณ์อันใดให้คว้าจับ ไม่มีกระทั่งความเบื่อหน่าย เพราะพวกเขาและเธอไม่ได้เบื่อหน่าย ไม่ได้รอคอยอะไร ไม่ได้คาดหวังอะไร พวกเขาก็แค่ใช้ชีิวิตไป ใบหน้าแบบที่เราไม่เคยจับสังเกต แต่เป็นใบหน้าที่สถิตอยู่บนหน้าของเรามากที่สุด ใบหน้าที่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย

หนังเลื่อนไหลไปท่ามกลางความน่าเบื่อหน่ายของผู้ชมที่เฝ้ารอเหตุการณ์ เพราะหนังไม่มีเหตุการณ์ ไม่มีการเชื่อมโยง ตัวละครอาจมีชีวิตสลับไขว้ไปมาแต่ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ไม่มีอะไรเกดิขึ้นจากต้นจนจบ  ฉากที่มีอารมณ์มากที่สุด คือฉากสั่งอาการที่ตัวละครสั่งแล้วมันไม่มีของ การทะเลาะกับบ๋อยอาจจะเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่สุดในหนัง ถ้านั่นจะเรียกว่าการทะเลาะหรือการตื่นเต้น

 

นอกจากจะไม่มีเรื่องราวหนังยังไม่มีทิวทัศน์อีกด้วย หนังเป็นเพียงการจ้องมองผู้คนโดยไม่เสียเวลาถ่ายภาพท้องฟ้า ต้นไม้  ถ้าจะมีก็เพียงแสงจันทร์อันแสนไกล และต้นไม้โยกไหวใกล้ชิดจนไม่เห็นตัว เห็นเพียงพุ่มพฤกษ์โย้เย้ ไม่มีห้อง ไม่มีย้าน โถงทางเดิน สวน ถนน  มีเพียงใบหน้าผู้คน ซึ่งไม่ทำอะไรเลย

หนังtrubute ให้ Melville มีแากตัวละครนั่งดูหนัง Melville ด้วยสีหน้าไร้อารมณ์ (ในฉากที่ระทึกสุดๆ) อย่างน้อยสองครั้ง (น่าจะเป็น Army of Shadows) ซึ่งน่าสนใจมากว่า ในขณะที่หนังของMelville เต็มไปด้วยอารมณ์ระทึกขวัญ แต่ตัวละครในหนังMelvilleก็ต้องสะกดใบหน้าตัวเองให้นิ่งๆแบบนี้   แต่ในหนังเรื่องนี้ความนิ่งของมันเกิดจากความว่างเปล่า ว่างเปล่าที่ไม่ได้แปลว่าทุกสิ่งหายไปหมด แต่แปลว่าก็ไม่ได้มีอะไรอยู่ตั้งแต่แรกว่าเปล่าเฉยๆที่ไม่มีเซนส์ของความทุกข์

 

อีกฉากหนึ่งที่น่าสนใจคึือการถ่ายภาพตัวละครระยัยประชิดนอนหงายมองเพดาน ท้องฟ้า หนังไม่ตัดไปขางนอก(มีการตัดภาพต้นไม้เพียงช่วงสั้นๆ) เราไม่เห็นว่าเขามองอะไร  ตรงข้ามกับหนังทั่วไปที่มักจะถ่ายสิ่งที่ตัวละครเหม่อมอง มากกว่าถ่ายตัวละครมองเหม่อ ฉากนี้เลยเป็นด้านกลับของหนังนิ่งช้าที่โฟกัสทัศนียภาพเพื่อแทนความรู้สึกขณะเหม่อลอยของคน แต่ในหนังเรื่องนี้มีแต่คนโดยไม่มีทัศนียภาพ และไม่มีความรู้สึก นอกจากนั้นฉากนี้ยังทำให้นึกถึงฉาก นอนหงายมองควันบุหรี่ของAlain Delon ใน Le Samourai อีกด้วย

 

ไปๆมาๆเลยกลายเป็นว่าคนที่แค่ผ่านเข้ามาในเรื่องคนที่แอบถ่าย ไม่ใช่ตัวละคร ถ่ายจากระยะไกล กลับเต็มไปด้วยอารมณืและเรื่องราวแทน ตัวละครแบบที่เรามักจะเลยผ่านไป เพราะไม่ได้เป็นตัวประกอบแต่เป็นแค่คนเดินผ่านฉาก หนังให้เราดูภาพเด็กวัยรุ่นจูบกันในฉากแรก  และเสียงหัวร่อต่อกระซิกในแสงจันทร์ในฉากสุดท้าย สองฉากนี้ดูจะมีอารมณ์ มีเรื่องราวมากที่สุด แต่มันเป็นของผู้อื่น คนที่ไม่อยู่ในหนัง  คนที่ผ่านเข้ามาหน้ากล้อง เหมือนผู้ชมที่ผ่านเข้ามาในชีวิตตัวละคร

 

แม้หนังจะไม่ถึงขั้นแนบเนื้อไปกับชีิวิตเพื่อถ่ายภาพสมจริงของชีวิตประจำวันออกมา แต่หนังก็มีศักยภาพของความว่างเปล่าที่งดงามและน่าทึ่งมากๆ


TEXAS CHAINSAW 3D ( JOHN LUESSENHOP/2013/US) การทวงแค้นของประวัติศาสตร์บาดแผล

$
0
0
Imageคิดดีๆแล้วบรรดาตัวละครวัยรุ่นในหนังเรื่องNIGHTMARE ON ELM STREET คือเหยื่อของพ่อแม่คนขั้นกลางที่ไม่เชื่อในนิติรัฐ พวกเขาไล่ฆ่าคนอื่น ที่เขาตัดสินว่าผิด ซึ่งต่อให้ผิดจริงวิธีการตั้งศาลเตี้ยก็นำผลอันเลวร้ายที่สุด

นั่นคือในที่สุดเฟรดดี้ก็กลายเป็นภูติผีมาทวงแค้นจริงๆ ทีนี้ต่อให้ไม่ว่าเขาทำผิดหรือไม่ มันก็ไม่มีความหมาย เพราะวิธีการที่ผิดไม่เคยนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ถูก เด็กวัยรุ่นในเรื่องคือเหยื่อทั้งของเฟรดดี้ที่ถูกล่วงละเมิดขณะเดียวกันก็ยังเป็นเหยื่อของพ่อแม่ที่ overprotective จนทำลายผู้อื่น แต่ในท้ายที่สุดพวกเขาซึ่งต้องต่อสู้กับสิ่งที่เป็นผีไปแล้ว ก็เลยเลือกไม่ได้ที่จะตอบโต้ด้วยวิธีการแบบเดียวกับที่พ่อแม่ทำ กล่าวอย่างง่าย เด็กๆพวกนี้ถูกทำร้ายสองชั้นและกลายเป็นเหมือนพ่อแม่เขาในที่สุด

การตั้งศาลเตี้ยในหนังจึงไม่ได้เป็นอะไรนอกจากการทำให้แย่ลง การทำลายหลักกฏหมายไม่สามารถอาศัยความเป็นพ่อแม่มาโต้แย้งได้ มันเป็นการทำลายผู้อื่นอย่างแน่นอน กล่าวถึงที่สุด การฆ่าเฟรดดี้ด้วยมือพวกเขานั่นเอง ทำให้ลูกหลานของเขาต้องตาย

ซึ่งเรื่องนี้ผู้ชมทุกท่านควรจำไว้ เมื่อเราบีบคั้นทำลายจนเขาเปลี่ยนจากคนมาเป็นผีเขาจะมาเอาคืนอย่างแน่นอน

เขียนอันนี้เอาไว้ตอนดู NMOES ฉบับ remake ตอนนั้นไม่ได้คิดว่ามันจะกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจในเวลาต่อมาจนเมื่อได้ดู HOUSE AT THE END OF THE STREET และ TEXAS CHAINSAW 3D

จะว่าไปหนังทั้งสามเรื่อง คือตัวแทนของหนังรีเมคหนังสยองขวัญอเมริกันยุค 70’s ต่อ 80’s โดยทำการขยายความสานต่อประเด็น ซึ่งหากมองในแง่พลอตคงไม่ได้ออกมาพิเศษเท่าไร (ในกรณีของ NMOES และ TCM:BEGINNINGมันออกมาแย่ด้วยซ้ำ) แต่ในแง่มุมทางการเมือง มันกลับเอามาย้อนรอยความขวาของตัวต้นฉบับ หนังสยองขวัญประจำยุคได้อย่างน่าสนใจ

ลองคิดถึงชะตากรรมของเฟรดดี้ ครูเกอร์ดังที่กล่าวไปอาจจะชัด หรืออาจจะควบกับ ชะตากรรมของโจรชั่วใน LAST HOUSE IN THE LEFT (*2) เราจะพบว่าหนังยุคนั้นซัพพอร์ตความรุนแรง แฟนตาซีที่ชนชั้นกลางมีต่อภัยคุกคามของพวกเขา เราจึงโอเกับการปั้นแต่งตระกูล ซอว์เยอร์ , ไมค์ มาเยอร์ส หรือ เฟรดดี้ ครูเกแร์ ให้เป็นป๊สาจสมบูรณ์แบบ ข้อดีของ TCM ต้นฉบับ คือมันละท้ิงส่วนของเมืองไปจนหมด และมุ่งเน้นเหตุการณ์นั้นเพียงอย่างเดียว ความไร้ที่มาที่ไปของมันทำให้มันคลาสสิค เพราะมันเป็นความกลัวที่ล่องลอยโดยไม่เกี่ยวข้องกับเมือง ผิดไปจากที่เมื่อมันกลายเป็น TCM Begining *3

TC 3D มันเลยกลายเป็นภาคขยายที่ไปเชื่อมกับ NMOES และเป็นภาคแยก ของTCM (สิ่งที่เลวร้ายคือมันยุบ TCM ให้เหลือสามนาทีในฉากเปิดเรื่อง ซึ่งมันไม่ใช่ TCM เพราะมันแต่เรื่อง ความน่ากลัวไม่มาด้วย) แล้วขยายผลไป วิจารณ์เหตุการณ์ในอดีต ทชำแหละให้เห็นว่าสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นการต่อสู้ในอดีตมันคือรูปแบบของปวศ.บาดแผล

สมมติไปเลยก็ได้ ว่า คนที่ตายในหกตุลาเป็นญวนเป็นแกว คนที่ตายในกรือเซะตากใบเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นแบบตระกูล SAWYER ในเรื่องนี้ คำถามที่เราถามไม่ใช่ว่าเขาสมควรตายไหม แต่เขาตายอย่างไร และในเมื่อความตายของเขาเป็นการฆ่าด้วยความสะใจ เพื่อตอบสนองฮิสทีเรียทางศีลธรรมโดยไม่มีหลักกฏหมาย ก็อย่าแปลกใจที่ลูกหลานของคนตายจะกลายเป็นผู้ก่อการร้ายไปจริงๆ

หนังย้อนซ้อนกลฉากในโรงฆ่าสัตว์ช่วงท้ายด้วยการทำหน้าที่เป็นเหมือนการรีเมค TCM แต่เปลี่ยนข้างคนทำเป็นแกงค์ชาวบ้านแทนจะเป็นฆาตกรโหด การเปิดโปงปวศ.ในอดีตของมันทำให้เห็นถึงแผลมืดของหนังสยองขวัญในฐานะเครื่องมือปลดปล่อยแฟนตาซีจากการถูกคุกคามของคนชั้นกลางในสมัยหนึ่งที่ไม่รู้จะจัดการกับมันยังไงดี พวกขี้ยา พวกโรคจิต พวกตุ๋ยเด็ก ตายซะ ในศาลเตี้ยที่เรามีอำนาจเพราะเราตกเป็นเหยื่อ
การที่หนังสยองขวัญในยุคนี้ซึ่งไม่โดดเด่นเท่า ไม่ดีเท่า แต่หันมาเล่นหนังสยองขวัญรุ่นก่อน ทำให้มันไปไกลกว่าการรีเมคแบบบูชาครู ที่เอาเปลือกมาเป็นแก่น แล้วลอกแก่นเดิมทิ้งจนเหลือแค่ความว่างทำให้คุณค่าขนบที่หนังสยองขวัญยึดถือถูกสั่นคลอน (ลองนึกถึง CABIN IN THE WOODS) ได้กลายไปสู่หนังที่หันมาวิพากษ์ตัวบทเสียเอง ว่าอันที่จริงศาลเตี้ยในหนังไม่ได้เป็นอะไรนอกจากการประกอบอาชญากรรมซ้ำซ้อน แม้ TCM 3D เองจะตกม้าตายตอนจบด้วยการเลือกจบที่ตอกย้ำคุณค่าเดิมแบบพลิกไปพลิกมา การเลือกจบแบบนี้ก็เป็นปารประกอบอาชญากรรมของการเพิกเฉยแบบหนึ่ง (ไม่นับว่ามันไม่เป็นเหตุเป็นผล เป็นไปไม่ได้ในโลกจริง) มันกลายเป็นการพาฝันซ้อนของคนที่ถูกกดทับทวงแค้นด้วยเหมือนกัน

ในขณะที่ HAEST กลับน่าสนใจสุดๆ เพราะมันต้องดู สองระดับคือตอนแรกมันจะเหมือนพวกฝ่ายขวาถูก แต่หนังมันไปไกลกว่านั้น ขณะที่ผู้ชมเป็นเหมือนคนที่อาจจะเข้าข้างฝ่ายซ้าย แต่มันเป็นเพราะเรามโนเอาเองว่าเขาเป็นคนน่าสงสาร พวกผ่ายขวาของเรื่องมันเลวระยำมากเพราะมันคิดว่าคนพวกนี้เป็นสัตว์ ตลอดเรื่องเราก็มโนเอาว่าเขาเป็นคนน่าสงสารจริง แต่พอหนังมันtwisted เราก็สนใจว่าจริงๆเราจะเข้าข้างฝ่ายขวาได้หรือมันเลยซ้อนสองชั้นว่า หนังมันตบหน้าพวกไปfixed คนอื่น ขณะเดียวกันมันก็โยนคำถามใหญ่มาก คือพวกขวามันคิดว่าคนเป็นสัตว์ โดยที่มันพร้อมจะทำลายได้ พวกขวาไม่รู้ว่าเป็นจริงไหม แต่ตีขลุมไปเอง จากประวัต พวกนี้ไม่ได้เจอเหมือนตอนท้ายด้วย ทีนี้พอนางเอกเจอโอเคว่ามันเป็นแบบนั้นแตค่มันเป็นคนละชุดคิด เหตุผลกัน หนังมันตอกตรงที่ว่า เรามีวิธีคิดแบบนี้อยู่ เราเป็นขวาไม่ได้ แต่เป็นซ้ายไม่ได้ แต่เราไม่ได้เกลียดซ้ายเพราะเราเป็นขวามันเลยโหดมากสำหรับตัวนางเอกkey scene มันเลยอยุ่ที่ฉากมองต้นไม้ ที่แม่(ขวา) เห็นเป็นต้นไม้ ซ้าย มองเป้นหน้าคน แล้วตอนจบมันไม่ยอมบอกว่านางเอกเห็นอะไร แต่ไปถ่ายหลังต้นไม้ คือนางเอกได้มองเห็นอีกด้านนึงไปเลย

กลับมาที่ TC 3D (อันที่จริงหนังเซตนี้ยึดโยงอยู่กับสถานที่หมดเลย ชื่อหนังเป้นชื่อของพื้นที่เฉพาะ จะเปลี่ยนจากเมือง เป็นอเมริกา ปัตตานี หรือราชประสงค์ก็ยังได้) ยิ่งแสดงชัดในฐษนะ ปวศ. ของพื้นที่ ที่มี official แบบหนึ่ง และมี myth แบบหนึ่งโดยทั้งหมด ไม่มีอะไรจริงเลย การที่ตัวละครอย่างนางเอกใน TC 3Dได้รู้ความจริงเกี่ยวกับปวศ.ของตัวเอง มันเลยยิ่งทำหน้าที่ในการทวงคืนพื้นที่ที่ถูกกดทับที่น่าสนใจ ไม่นับว่า มันกลายเป็นการย้อนรอย TCM ที่ไม่มีใครรู้อะไร เป็นทุกคนรู้ทุกอย่างอีกด้วย

กล่าวโดยสรุป TC 3D อาจไม่มีอะไรใหม่ ไม่gore ไม่น่ากลัวมาก แต่โดยรวมมันกลับมาวิพากษ์ตัวบทของหนังสยองขวัญได้ดีทีเดียว น่าตื่นเต้นที่ดูเหมือนจะมีแต่หนังสยองขวัญเกรดต่ำนี่แหละที่ทำหน้าที่ทั้งวิพากษ์สังคม เป็นแฟนตาซีของสังคม แล้วยังมีพลวัตในการขยายมุมมองของตัวเองออกไปเรื่อยๆในขนบอันจำกัด

*2http://filmsick.exteen.com/20071025/horror-me-my-dear

*1http://filmsick.wordpress.com/2010/05/31/nightmare-on-elm-streetsamuel-bayer-2010us/

*3http://filmsick.exteen.com/20061203/the-texas-chainsaw-massacre-the-beginning


Pre -Order ยูโทเปียชำรุด

$
0
0

227699_4886167879712_1112845662_n 379189_4886164359624_1270089508_n

65259_4886170279772_1759787185_n

 

เรียนท่านผู้อ่านที่รัก สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือรวมเรื่องสั้น “ยูโทเปียชำรุด” เขียนโดยนักเขียนหนุ่มไฟแรง “วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา” ซึ่งจะพิมพ์เสร็จประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ (เป็นอย่างเร็ว) เพื่อเป็นการตอบแทนนักอ่านที่สนับสนุนสำนักพิมพ์มาโดยตลอด เราจะเปิดขายหนังสือเล่มนี้ในแบบพรีออร์เดอร์ โดยจะลดราคาจากหน้าปก 25% (ราคาปก 219 บาท ลด 25% เหลือ 165 บาท ประหยัด 55 บาท)

ซึ่งราคานี้จะมีกำหนดระยะเวลาในการสั่งจอง-โอนเงิน ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 เท่านั้น

พร้อมกันนั้นเรายังทำเสื้อยืด “ยูโทเปียชำรุด” เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ซื้อในราคาที่ถูกกว่าซื้อหน้าร้าน หรือที่อื่นใด และหากท่านผู้อ่านที่รักซื้อทั้งหนังสือและเสื้อยืด เรายินดีอย่างยิ่งที่จะแถมหนังสือ NU ฉบับ 3 ที่กลายเป็นหนังสือต้องห้ามสำหรับร้านค้าให้หนึ่งเล่ม

แพคเก็ต
1.หนังสือรวมเรื่องสั้น “ยูโทเปียชำรุด” + เสื้อยืด แถมหนังสือ 1 เล่ม ฟรีค่าส่ง ราคา 385 บาท (สามร้อยแปดสิบห้าบาท)

2.ซื้อเพียงหนังสือ “ยูโทเปียชำรุด” ราคาเล่มละ 165 บาท (หนึ่งร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน) ฟรีค่าส่ง

3.ซื้อเพียงเสื้อยืด Damaged Utopia ผ้าฝ้ายสีดำสกีนขาว ราคาตัวละ 220 บาท (สองร้อยยี่สิบบาทถ้วน) + ค่าส่ง 20 บาท (มีขนาด S/M/L/XL) โปรดแจ้งขนาดทางอีเมล์ด้วย

รายละเอียดการสั่งซื้อ
แจ้งแพคเก็ตที่ต้องการผ่านทาง E-Mail: porcupinebook@gmail.com จากนั้นทางสำนักพิมพ์จะส่งรายละเอียดการโอนเงินไปให้ทางอีเมล์ เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งมายังอีเมล์สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์จะทำรายชื่อผู้สั่งซื้อที่โอนเงินแล้วตามลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ท่านได้เช็คความผิดพลาด

การส่งสินค้า
ทางสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม ส่งหนังสือผ่านทางไปรษณีย์ไทย หากท่านต้องการส่งในแบบ EMS สามารถเพิ่มเงินอีกแพคเก็ตละ 30 บาท ส่วนหนังสือและเสื้อจะจัดส่งพร้อมกัน ซึ่งทาง สำนักพิมพ์จะแจ้งให้ท่านทราบโดยเร็วเมื่อหนังสือเสร็จเรียบร้อยแล้ว และสามารถสอบถามความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลาผ่านทาง FaceBook


3 WOMEN (ROBERT ALTMAN/1977/US ) สงครามความเป็นหญิง

$
0
0

3women-screenshot1

 

X is being toward X  ใครสักคนกล่าวไว้  กล่าวให้ถูกต้องคือ  X ไม่มีอยู่จริงๆไม่ได้อยูตรงนั้น เมือ่เรากล่าวถึงX มันเป็นเพียงิ่งที่จะไปยังX กำลังจะเป็น X หรือไม่ก็เป็นร่องรอยที่ Xทิ้งเอาไว้

 

มัก็เป็นเช่นนั้นเมื่อหนังเรื่องนี้พูดถึงเรื่องสตรีสามนาง เมื่อพูโถึงสตรี  ก็ไมไ่ด้มีสตรีอยู่เป็นเพียงเด็กสาวที่กำลังจะเป็นสตรี สตรีที่กำลังจะเป็นหญิงร่าน และสตรีที่กำลังจะเป็นมารดา

 

Pinky เป็นเด็กสาวหน้าใหม่ในเมืองชายทะเลทรายรกร้าง เธอเพิ่งมาทำงานเป็นสาวนักกายภาพในโรงพยาบาลประจำเมือง เธอนอนในโรงแรม สิ่งที่มีติดตัวมาก็คือจักรเย็บผ้า แทบจะทันทีที่เข้าทำงานเธอตกหลุมคลั่งไคล้หมกมุ่นกับ Millie เพื่อนร่วมงานตัวสูงโย่งที่พูดไม่หยุดแต่ไม่มีใครฟัง Millie เฟลิร์ทไปทั่วแต่ไม่มีใครสนใจ เพื่อนร่วมงานก็ไม่ชอบเธอ อันที่จริงไม่มีใครชอบใครในที่ทำงานนี้

 

Millie ประกาศหารูมเมท Pinky เลยย้ายไปเป็นรูมเมทในห้องที่ตกแต่งด้วยสีเหลืองมะนาวของเธอ ทั้งคู่ออกไปจับผู้ชาย อันที่จริงMillie ออกไปจับผู้ชายโดยเหน็บเอา pinky ไปด้วย. ที่บาร์ชายแดนพวกเธอพบกับ wille สาวเจ้าของบาร์ ศิลปินสาวท้องแก่ ที่วาดรูปไปทั่วเมือง เพนท์พื้น ผนัง สระว่ายน้ำเป็นรูปสัตว์ประหลาดที่น่าจะมีเพศเมีย โรมรันกันและกัน หนึ่งในนั้นกำลังท้องแก่เหมือนกับเธอ

 

เรื่องดำเนินไปเช่นนั้น เรื่องของเด็กสาวที่กำลังจะกลายเป็นผู้หญิง คลั้งไคล้ไหลหลงหญิงสาวรุ่นพี่ที่กำลังจะกลายเป็นหญิงร่าน จนต้องแอบอ่านไดอารี่ของเธอ หรือทำตามที่เธอสั่งเยี่ยงบุตรสาว โดยมีหญิงสาวที่กังจะกลายเป็นแม่ เป็นดั่งเงาที่คอยครอบคลุม จับตามอง ะส่องอิทธิพลกับพวกเธออยู่

 

ว่ากันว่า Altman ทำหนังเรื่องนี้จากความฝัน เขาฝันเรื่องราวขึ้นตอนไปเฝ้าเมีย ไม่รู้ว่าพลอตมันคืออะไรหรือจะมีไหมแต่ภาพนั้นปรากฏชัด จนเขาทำหนังเรื่องนี้ออกมา ด้วยความอธิบายไม่ได้ของมันเขาถึงกับพูดว่า เขาจะพอใจ

หากมีผู้ชมวอล์คเอาท์ออหจากโรงแล้วไม่สามารถ่าเรื่องได้ บอกได้แต่เพียงว่ารู้สึกอย่างไรกับสิงที่ตัวเห็น

 

หนังจึงเต็มไปด้วยภาพกึ่งจริงกึ่งฝัน ภาพถ่ายผ่านน้ำ การต้องมองภาพวาดลึกลับคุกคามที่อธิบายไม่ได้ บรรยากาศแปลกปลอมของเมืองประหบาดปลายขอบโลกและสภาวะเปลี่ยผ่านของผู้หญิงสามคน เปลี่ยนผ่านไปเป็นผู้หญิง เปลี่ยนผ่านไปจากความเป็นผู้หญิง

 

หนังแทบไม่มีผู้ชาย และผู้ายคนเดียวในเรื่องในเวลาต่อมากลายเป็นผู้ชายที่ทั้งสามคนต้องแชร์กัน ชายไม่เอาไหนที่มีแต่ท่าควงปืนไปวันๆและโชว์ปืนไปทั่ว เมื่ Millie พาเขามานอนที่บ้าน Pinky ก็เปลี่ยนผ่านจากเด็กหญิงเป็นผู้หญิงเต็มตัวผ่านความตายของตัวเด็กสาว  การละทิ้งพ่อแม่ดั้งเดิม (ฉากที่หลอนมากฉากหนึ่งคือ ฉากพ่อแม่ของPinky  มีอะรไกันในห้องของMillie

 

Pinky ทาบวิญญาณตัวเองเข้ากับ  Millie(หนังให้สองคนมีชื่อเดียวกัน คนหนึ่งเกลียดชื่อนี่ อีกคนใช้ื่อนี่ จนเมื่ออีกคนกลายเป็นอีกคน ชื่อก็ปรากฏใหม่)  ในฉากที่เธอนอนในโณงพยาบาล เราจะเห็น เงาสะท้อนของMillie และ Willie แตกออกเปนสอง ราวกับPinky เป็นเสมือนร่างแยกของพวกเธอทั้งคู่ที่ตายลงไป ก่อนหน้านี้ ฉากแรกที่Willie  ออกเราเห็นหญิงสองคนในผับ จ้องมองออกไปเบื้อนอก แล้วมีภาพสะท้อนของWillie ในฐานะภาพของความเป็นแม่ที่ทาบลง ชี้นำ เด็กหญิงและ หญิงร่าน  ในเวลาต่อมาเมื่อ Millie กับPinky สลับตำแหน่งแห่งที่กัน ทุกอย่างก็มาจบที่ความตายของแม่

 

 

การสลับตำแหน่งแห่งที่ของตัวละครในเรื่องนี้ไม่ใช่แค่การทาบทับแล้วกลายเป้นคนเดียวกันแบบใน PERSONA แต่คือการถ่ายโอน สภาวะความเป็นหญิงแก่กัน  หญิงทั้สามเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันในแง่ที่ว่าเป็นทั้งอดีตและอนาคต ภาพฝันหวาน และภาพฝันร้ายของกันและกัน ความเป็นหญิงคือการมองภาพผ่านน้ำลึก ภาพซึ่งมีขนาดใหญ่สยอสยอง น่ากลัว และอธิบายไม่ได้

 

การอ่านไดอารี่ของกัน การวาดภาพ การตั้งครรภ์ การบ้าผู้ชาย การกลายเป็นฝาแฝด  การตาย ล้วนแต่เป็นเครื่องมืออาวุธของผู้หญิงในการจัดการกับสงครามความเป็นหญิงของตัวเอง

 

การไปไกลสุดๆในฉากจบที่อธิบายไม่ได้อีกต่อไปของเรื่องคือการกลืน คืน ย่อยสลายภาพของสตรีที่เราได้เห็นมา ตลอดเรื่อง การจัดอันดับความสัมพันธ์ใหม่  การสงบศึกในสงครามของเพศหญิง


ZERO DARK THIRTY (KATHERINE BIGELOW /2012/ US) โลกหลังบิน ลาเดน

$
0
0

Zero-Dark-Thirty-12

เรื่องที่สงสัยสุดๆตอนดูจบคือ คนอเมริกัน รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นหรือยังที่บินลาเดน ตาย โลกสงบสุขแล้วยังหลังบินลาเดนตาย แล้วเพวกเขาสะใจมากไหมที่บินลาเดนตาย

สิ่งที่น่าสนใจในหนังคือ ฉากตามล่าบินลาเดนยาวร่วมชั่วโมงตอนท้ายเรื่องนี่ให้อารมณือะไรระหว่าง ตื่นเต้น ระทึกขัวญ ลุ้นเอาใจช่วย หรือ สมเพชเวทนาการฆ่าคนในบ้านเขาเองต่อหน้าลูกๆของเขา

แล้วเจสสิก้า เชสแทนรู้สึกอย่างไรในฉากจบ เธอเศร้าที่ภารกิจทั้งชีวิตของเธอจบลง หรือ เศร้าเพราะ ว่ามันว่างเปล่า โลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงขึ้นเลย

หนังอาจจะขวามากๆที่บอกว่า กัวตานาโม ช่วยให้จับบินลาเดนได้ รบ.โอบามาทำให้เรื่องมันแย่ลง แต่ในชั่วโฒงสุดท้ายของหนัง เราก็ไม่แน่ใจในอารมณือนุรักษ์นิยมของตัวหนัง การสั่นคลอนตรงนี้น่าสนใจดีไม่ว่าหนังจงใจหรือไม่

แต่สิ่งที่น่าสนใจสุดๆคือมันเป็นหนังที่ไม่มีคนเลย หนังทั้งเรื่องคือภารกิจที่มีคนเป็นเครื่องประกอบ เพราะแม้แต่เจสสิก้าเอง เราก็ไม่รู้ว่าเธอือใคร คิดหรือรู้สึกอย่างไรมากไปกว่าการเเป็น CIA ไล่ฆ่า บินลาเดน ดูเหมือนตัวเธอเองก็น่าจะถูกควบคุมให้ไม่แสดงอะไรด้วย ซึ่งความตั้งใจของบิเกโลว์ตรงนี้น่าสนใจมากๆๆๆ มันไม่ใช่เรื่องของบินลาเดนชั่วด้วยซ้ำ มันคือเรื่องของภารกิจจับวายร้าย แต่เราไม่รู้ว่าวายร้ายร้ายยังไง แล้วก็ไม่มีฮีโร่ด้วย มีแต่คนทำงานไล่ฆ่าคนไปเรื่อยๆ ซึ่งตรงนี้ไม่ว่าจะขวาหรือไม่ขวาก็น่าสนใจมากๆว่ามันเป็นหนังที่ว่าด้วยตัวภารกิจแล้วมันยังสนุกได้อยุ่โดยไม่ต้องมีคนให้เราต้องเอาใจช่วย

แต่มันก็น่าสนใจว่า การที่เราสนุกเพราะเรามโนว่าบินลาเดนมันเลว (หนังฮินท์ด้วยฉาก 911ไร้ภาพในฉษกเปิด) การที่หนังไม่มีตัวละครทำให้มีแต่อเมริกา VSA บินลาเดน และเรายืนอยู่ช้่างอเมริกาสบายๆ บินลาเดนไม่ใช่คน เป็นคำกลมๆลวงๆของผู้ก่อการร้าย เจตนาคลุมเครือในหนังเรื่องนี้น่าสนใจมากๆ


LES MISERABLES (TOM HOOPER/2012/UK) เธอได้ยินผู้คนร้องไหม?

$
0
0

vlcsnap-2013-02-04-20h46m48s207

จุดที่ทำให้ชอบ LES MISERABLLES พอสมควรคือการที่หนังมี aesthetic ประหลาดๆ เวลาดูเราก็จะคิดถึง LA COMMUNE หนังปฏิวัติ ห้าชั่วโมงของPETER WATKINS ตลอด คือในLA COMMUNE PETER WATKINS พยายามดูโดอารมณ์ร่วมคนดูออกจนหมด ตั้งแต่ทำให้เห็นว่านี่เป็นเซตจำลอง ของอดีต เป็นแค่เวทีแคบๆ ไม่ได้เป็นเมืองจริงๆ ถ่ายเป็นขาวดำ ใช้ตัวละครหรือใส่เรื่องที่เป็นปัจจุบันเข้าไปในเหตุการณ์คอมมูน แล้วทั้งเรื่องจริงๆก็เกือบจะเป็นบทสัมภาษณ์ การพูดหน้ากล้อง ถ่ายแบบง่ายๆในที่แคบๆหมดเลย กล่าวคือมันถูกดูดอารมณ์ออกให้เหลือแต่ประเด็น แล้วมะนกลับกระทบกระแทกผู้ชมอย่างรุนแรง

แต่ใน LES MISERABLES นี่เหมือนมันดูดเอาประเด็นออกจนหมด หนังแทบไม่เล่าเรื่อง การร้องเพลงต่้อเพลงนั้น มีเพลงที่เล่าเรื่องไปข้างหน้าแค่ไม่ถึงครึ่งที่เหลือเป็นเพลงแสดงอารมณ์ล้วน พูดง่ายๆคือLES MISERABLES กลายเป็นหนังที่ดูดเอาเรื่องออกหมดให้เหลือแต่อารมณืล้วนๆในเพลงต่อเพลงต่อเพลง เราเลยไม่รู้ว่า คอร์เซตต์ กับกับ มาริอุส ไปรักกันต่อไหน ทำไมยาย อิโพเน่ถึงเสียสละจัง ทำไมจาร์แวร์ต้องต้องตามแค้น ญัง วัลญัง แล้วทำไมฟองตีนต้องซวยซับซวยซ้อน เราต้องมโนเรื่องเอาเองจากขนบของท้องเรื่องในทำนองเดียวกันที่เคยดูมาก่อน (หรือคนที่รู้เรื่องมาก่อนก็มโนเอา) การมโนโดยวางพื้นฐานว่าขยิบตาว่า ผู้ชมรู้อยุ่แล้วว่ามันต้องรักกัน แล้วใส่ความฟูมฟมายมโหฬารลงในเพลงนี่ทำให้หนังมันน่าสนใจดี มันเป็น LES MISERABLES ฉบับอีโมจริงๆ เพราะมันมีแต่อารมณือันถูกเร้าตลอดทั้งเรื่อง ที่เราสนใจก็คือ ความสามารถในการมโนเรื่องของผู้ชมเพื่อรับกับอารมณ์ของเพลงนี่แหละ ว่าช่องว่างตรงนี้มันถูกเติมเต็มอย่างไร ความรักของเด็กๆ เมตตาของคนรุ่นพ่อ มันมีบรรทัดฐานอยู่ก่อนหน้าจะเข้าไปดูแล้วเราก็เอามาทำสะพานเชื่อมเรื่องกับเรา ทั้งความรักศาสนา หรือแม้แต่การเมือง ความฟุมฟาย spectacle ของหนังคือพลังทั้งหมด มันคือการเผาอารมณ์ต่อเนื่องกันไป พอหลุดก็จะหลุดเลย เพราะมันมันไม่มีอารมณืพื้นฐานรองรับ ซึ่งในทางนึงมันแปลกประหลาดดี


ไม่รู้อะไรมาก่อนเกี่ยวกับตัวเรื่อง (มีหนังสือฉบับย่อที่หนาสัสๆตั้งแต่มัธยมแต่ไม่เคยอ่านเกินยี่สิบหน้า) เลยสนุกกับเรื่องแต่ไม่ชอบตอนจบมากๆ ไม่รู้ว่าเ็นเพราะมองจากยุคสมัยนี้ไหม

ส่วนที่ทำให้กระโดดออกจากตัวหนังทันทีคือวิธีจบของมัน เหมือ่หนังเซตให้ตัวละครหลักที่รอดพ้นจากความตายในการปฏิวัติ เป็นตัวแทนของกระฎุมพีใจพระ (พูดให้ชัดไอ้นี่คือพระเอกที่ประสาน มือกับ หัวใจใน METROPOLIS ของ Fritz lang ) ที่ตอนจบนางคอร์เซตต์ ลูกกะหรี่ขี้คุกได้อัพเกรดตัวเองด้วยการแต่งงานกัน การปฏิวัติเป็นของเล่นของกระฎุมพีนักฝัน ที่ในที่สุดก็มีเวลาเจ็บปวดกับเพื่อนที่ตายไปเป็นเวลาหนึ่งเพลงแล้วชื่นมื่นแต่งงานกับสาวสวย การปฏิวัติเลื่อนไหลเป็นเพียงภาพฝันของคนตายของ ญัง วัลญัง การปฏิวัติมีหน้าที่แค่นั้นภาพแฟนตาซีวัยหนุ่มสาวของนักฝัน เตรียมพร้อมการเป้นกระฎุมพีใจพระ (หราาาา ) ต่อไป

อย่างไรก็ดี ลองสอบถามมิตจรสหายว่ากันว่า อันที่จริงตัววรรณกรรม ก็จบแบบนี้ แต่วรรณกรรมไมไ่ด้เน้นการปฏิวัติมากกว่าการสำรวจจิตใจของตัวละคร เน้นที่พระเจ้ามากกว่าประเด็นชนชั้น เราก็เลยคิดว่าวิธีจบ และยุคสมัยของมันอาจจะพอรับได้ประมาณหนึ่ง (ในประเด็นนี้ตัวเอกเลยคือ Javert เพราะเป็นคนที่ก้าวข้ามมากกที่สุด) แต่พอมาเป็นหนังปี 2012 ที่พูดเรื่อง revolutionของคนจน การที่หนังจบด้วยการแต่งงานของคนชั้นสูง และตัวเอกไปอยุ่ัด เข้าหาศาสนาที่กดขี่ผู้คน มันรู้สึกเหมือนตบหน้าตัวเอง ถ่มน้ำลายรดฟ้า หรือตีสองหน้าพิลึกพิกล

แต่นี่ก็เป้นการมั่วเอาเองจากหนังของคนที่ไม่เคยอ่านงานของวิคเตอร์ ฮูโก้ และไม่เรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับฝรั่งเศสเลยอะนะเดี๋ยวไว้เขียนยาวๆอีกที แต่สนุกกับหนังมากทีเดียว


DJANGO UNCHAINED (QUENTIN TARANTINO/2012/US)โคบาลสีนิล

$
0
0
Django_Unchained_Jamie_Foxx-pistol-Quentin_Tarantinoเหตุผลที่เราปลื้ม DJANGO UNCHAINED มากขึ้นไปอีก หลังจากดู LES MISERABLES นั่นคือการที่ที่ขริงหนังทั้งสองเรื่องนี้มีแกนที่เชื่อมโยงกันว่าด้วยคนชั้นล่างโดนกดขี่ทนทุกข์ ชีวิตประชาชนในการปกครองของกษัตริย์ฝรั่งเศส ของศตวรรษที่แล้ว กับชีวิตของทาสผิวสีในอเมริกายุคห่อนลินคอล์น ผู้คนทั้งสองแบบ หมดโอกาสลืมตาอ้าปากในทุกวถีทาง ไม่มีทางขยับเลื่อนชั้น ไม่สามารถอาศัยตรรกะทำดีได้ดี เมื่อผืนหมอนใบ หรือเศรษฐกิจพอเพียงได้เลย พวกเขาเป็นเช่นนั้นเพราะถูกทำให้เป็นเช่นนั้น ไม่มีทางขยับเคลื่อนระดับตัวเองได้ ไม่ว่าจะทำอย่างไร LES MISERABLES สเนอทางออกแบบโมเดิร์น ผ่านทางการปฏิวัติกันเสียเลย หนังเร้าผู้ชมด้วยการชี้ให้เห็นความทุกข์ทรมานของฟองตีน ญัง วัลญัง ในสังคมไร้ความเป็นธรรม ที่พวกเขาต้องตาย กลายเป้นโจร มีทางเดียวคือการล้มล้างการปกครองลงท่านั้น (และการจบลงอย่างเศร้าสร้อย ชาวยขัดสีฉวีวรรณการปฏิวัติให้เรืองรองขึ้นกว่าเดิมราวกับจะพูดในทำนอง ตายสิบเกิดแสน)
แต่นั่นคือความคิดแบบตรงไปตรงมาแบบสมัยใหม่ที่สถาปนาตัวเองเป็น เรื่องเล่าขนาดใหญ่ไปจนได้ในท้ายที่สุด DJANGO UNCHAINED กลับชี้ทางแบบหลังสมัยใหม่ (ถ้าคำนี้ไม่ใหญ่โตจนเกินไป ถ้ามันไม่ถูกต้องขอให้ถือเสียว่าผมไม่ได้ใช้คำนี้) นั่นคือการแซะระบบด้วยตัวระบบ การใช้เรื่องเล่าแบบหนังคาวบอยเชิดชูคนขาว มารองรับประวัติศาสตร์แห่งความพลัดพรากของทาสเปลือกของหนังคาวบอย กลายเป็นแก่นสำคัญที่มันเล่นรับบท และต่อต้านอย่างแยบยล

ว่ากันว่าSPIKE LEE ประกาศศักดาว่าจะไม่มดูหนังเรื่องนี้เพราะมันหมิ่นหยามบรรพบุรุษของพวกเขา มีอย่างที่ไหนทำหนังคาวบอยให้คนผิวสีเป็นตัวเอก นี่มันคือการสยบยอมต่อเรื่องเล่าขนาดใหญ่ของพวกผิวขาว โดยการอยากเป็นคนผิวขาวเสียเองชัดๆ

แต่อย่างที่รู้ว่าตารันติโนเป็นคนกวนตีน ถึงกวนตีนมาก ถ้าเชาใช้ ความพยาบาทของใหบหน้าขนาดยักษ์ ชื่อาพยนตณื เผาฮิตเลอร์ตายห่าไปก่อนจะรมแกสยิวมหาศาลได้ ทำไมเขาจะเล่าเรื่องพวกนี้ไมไ่ด้

ฉะนั้น การกลายมาเป็นนักล่าค่าหัวของจังโก้ (คนดำเหี้ยอะไร ซื่อเป็นเมกซิกัน ออ ตารันติโนมีเชื่อฮิสปานิคนี่ใช่มะ) จงไม่ใช่แบบที่สไปค์ ลีคิดง่ายๆว่า เขาอยากจะเป็นคนขาว แต่ตารันติโน ใช้จ้อจำกัดของทาสในสมัยนั้นที่ห้ามขี่ม้า เป็นคนไม่ได้เป็นได้แค่สัตว์ หรือแงรงงานแลกเปลี่ยน มาเป็นกลไกขับดันตัวเรื่อง ความแค้นแบบคนขาวคาวบอย ประเภท ฆ่าพอ่ ฆ่าน้องแย่งเมีย ไล่ที่ ถูกรื้อลงพังด้วยการทำให้เห็นว่ามันคือเรื่องของคนตามช่วยเมียรัก ซึ่งฉิบหายอยู่ภายใต้อำนาจที่พยุงหนังคาวบอยนั่นแหละ จังโก้ กลายเป็นรูปแบบของการจำนนที่ต่อต้านตัวมันเองเสียเอง เพราะเขาไม่ใช่คาวบอย แต่เป็นทาสที่ตามช่วยเมีย จากพวกคาวบอย การที่เขาแต่งเป็นตัวตลก (ชุดสีฟ้า) และเดินทางไปกับคาวบอยที่ไม่ใช่คาวบอย คาวบอยยุโรป นักล่าค่าหัวชาวเยอรมัน (ไอ้หยาลูกน้องฮิตเลอร์) มันจึงกลายเป้นว่าเราเอาใจช่วยคนที่พวกคาวบอยเหยียด (ถ้าเป็นพวกคาวบอยเกลียดแบบอินเดียนแดงมันจะเป็นความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง) ไอ้การต่อต้านแบบนี้ มันไม่ใช่การปฏิวัติและการล้มตายอันโรแมนติค (ตอนจบหนังก็คนละเรื่องกับ LES MISERABLES) แต่มันคือการสร้างความอิหลักอิเหลื่อให้กับตัวระบบ การทำให้รวน ไม่ใช่ล้มล้าง การทำให้ระบบสะดุดติดขัด เพราะค้นพบช่องโหว่ของการต่อต้านที่จัดการไม่ได้ และมาในรูปแบบทีเล่นทีจริง กลายเป็นว่า มันชำแหละความไม่เท่าเทียมการค้าทาสอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ เป็นแฟนตาซีของคนผิวสี ที่คนขาว จะ errorr เมื่อเอาตัวเข้าไปแทน เพราะมันอิหลักอิเหลือเกินไป

แน่นอนว่าหนังไม่ได้ทำหน้าที่เรียกร้องสิทธิคนดำประจำศตวรรษ หรือเป้นหนังเพื่อการล้มระบอบระยำอะไร มันแค่แซะระบบ เหยียดอย่างสนุกแล้วทิ้งร่องรอยไร้ความหมายเอาไว้ แต่เราก็รู้สึกว่า มันเป็นการต่อต้านในรูปแบบใหท่ๆที่ไม่ได้มาพร้อมกับการเป็นคำใหญ่คำโต ปฏิวัติโค่นล้มสังคมแบบเก่าจริงๆมันคล้ายการบอกว่ากูเป็นไพร่ ในบางประเทศ (ไม่ว่าถึงที่สุด จังโก้ในบางประเทศ ไม่ได้อันเชน แต่ไปเชนตัวเองเสียแทน)

ถ้าจะพูดให้ง่ายต้องบอกว่า LMSR ทำให้คุณรู้สีกเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกใหม่ที่ยังมาไม่ถึง ส่ง DGUC ทำให้คุณรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งกบัความรู้สึกที่คุณเคยรู้สึกว่าเป็นอีกต่อไปโดยส่วนตัวคิดว่า INGLORIOUS BASTERDS และ DJANGO UNCHAINED จะเป็นอะไรที่ต้องศึกษาจริงจังในอนาคต มากกว่าการกลับgenre ในPULP FICTION หรือ RESERVIOR DOGS

 


จันดารา ปัจฉิมบท (มล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล/2013/ไทย)การเมืองเรื่องความร่าน

$
0
0
Jandara2_rk05
เอาเรื่องการดัดแปลงก่อน นี่คือการ decontructtion และ recontructionที่น่าตกใจที่สุด เพราะมันเปลี่ยนเนื้อเรื่องใหม่หมดชนิดหน้ามือเป็นหลังตีน ที่สำคัญคืออะไรก็ตามที่เป้นความเป็นมนุษญ์ความคลุมเครือในหนังสือ จะถูกทำให้เป็น ดราม่าขั้นสุด มีตั้งแต่ การเปลี่ยนตัวละครชายเป็นหญิง การเติมมาร์คเกอร์ทางเวลาเพื่อหวังผลทา่งการเมือง การทำลายความรู้สึกแบบมนุษย์ให้เป็นเรีองดราม่า (คีย์ซีนคือ ไฮซินธ์ตายเมื่อเช้า และ น้าวาดกลับพิจิตร) ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกทำให้ใหญ่ ทำให้เบือน เอาออกไป เพ่ิมเติม ตัดออก มีผลทางการเมืองด้วยแต่เรายังไม่พูดตอนนี้ เอาเป็นว่า ความpassive ของจันในหนังสือกลายเป็นเพลิงแค้นที่รุนแรง จันกลายเป็นคนติดหล่มบาปโดยตั้งใจ และ คุณบุญเลื่อง น้าวาด หรือแม้แต่แม่แก้วก็กลายเป็นตัวละครแบนแต๊ดแต๋ไปหมด
สิ่งที่เราต้องพิ’ณา ว่าด้วยการดัดแปลง
1.การsterilized คุณขจร *
2.การทำให้เคน กระทิงทองเป็นpersona และ homoerotic ของจัน *
3.การstrilized จันในภาคแรก และ sterilized เคนในครึ่งหลัง *
4.การสลับหัวหางของสงครามโลกในหนัง*
5.การที่น้าวาดกลับพิจิตรเพราะจัน
6.การที่ไฮซินธ์ตายเมื่อเช้านี้
7.การที่จันเอาปิ่นโตไปให้เคน
8.การที่คุณหลวงไปอยุ่หอคอยแทนบ้านคุณบี๋
9.การที่จันไปเป็นใหญ่เป๋็นโตในพิจิตร*
10.การsterilized แม่ดารา กับ จอม *
11. ฉากสถนทรพจน์ของคุณยาย*
12.วิธีการที่คุณแก้วไม่ยอมให้ลูกของจันเกิด
13. จุดจบของปรีย์
14.การไปจากบ้านของคุณบุญเลื่อง
15.การที่คุณบุญเลื่องนอนกับจันเพราะผัว
16.ฉากที่จันสวมหน้ากาก
17.ฉากที่จันไปปล้ำคุณบุญเลื่อง
18.โดมนาซ่า
* จะกล่าวถึงในภายหลัง ในฐานะการ POLITICIZEDพอมาถึงจุดนี้ เราอาจจะบอกได้ว่า จันดาราปฐมบทนั้นเป็นพื้นปฐมของจริง การเดินเรื่องตามบทประพันธ์ในครึ่งแรก ได้ปูเข้าสู่จุดหักเหที่ชวนตะลึงพรึงเพริดที่สุดในครึ่งหลังของหนัง

ถ้าเราจำได้ในขณะที่หนังSterile จันให้บริสูทธิ์ผุดผ่องดังพระอานนท์ในอุโมงค์ หรืออนันดาในครึ่งแรกของชั่วผ้า เราพบว่าตัวละครเคนที่เป็นเหมือนด้าริยำของจันกลับถูกล้างจนสะอาดในภาพนี้เพื่อที่จะให้เป็นฝาแฝดกับจัน เป็นคนที่รับเอาความงามของจันมาพยุงตัวละครของจันเอาไว้ การที่เคน(ซึ่งในบทประพันธ์ครึ่งหลังไม่มีอีกต่อไป)รับหน้าที่นี้เท่ากับเชื่อมคนดูเข้ากับความผุดผ่องของจัน หรือความเป้นจันซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากๆว่าจันเป็นใครกันแน่ในเรื่องนี้

จากลูกไม่มีพ่อ หรือมีก็หาไม่เจอในบทประพันธ์จันถูกชะล้างให้สะอาด ด้วยความรักศักดิ์สิทธิ์ เซกส์ในหน้าที่ของพ่อกับแม่เพื่อกู้เกียรติตระกูล จากจันที่ไม่มีตัวตนในหนังือ กลายเป็นจันที่เกิดอย่างมีเกียรติ (แม้หนังจะพูดเหมือหนังสือว่าแม่จันก็โดนลูกน้องไอ้จอมฟอนไป แต่ฉากงดงามในแสงสนธยาก็ตราประทับลงในคนดูเพื่อที่จะทำให้จันนั้นสะอาดเสียทั้งตัว)

จันกลับพิจิตรแบบเจ้าไม่ใช่ไพร่ ถ้าจำได้ เรื่องทั้งหมดคือความโกลาหลที่ตอกหมุดปักลงตรงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 พูดให้ถูกอีก คุณหลวงกลายเป็๋นภาพแทนของคณะราษฎร ที่คุ้มดีคุ้มร้าย ชั่วช้า ผเด็จการ และเจ้าคิดเจ้าแค้น ทำไมน่ะหรือก็จันมาถึงพิจิตร พอดิบพอดีกับวันพระราชทานรธน. และกลับพระนครหลัง ในหลวงสละราช ฯจันจึงเป้นตัวแทนของอำมาตย์พลัดถิ่นภายใต้การปกครองอันรวนเรของคณะราษฎร จันไปอยู่พิจิตรอย่างเจ้า (ในต้นฉบับ จันไปอยู่อย่างไพร่ แลบทไพรก็ได้พ่อเคนเรารับเอาไป แถมยังเพิ่มฉากของแม่ปทุมที่นำจันไปสู่การพบชาติกำเนิดอันบริสุทธิ์อย่างไร้ขอกังขา เมื่อเขาไม่ได้ฆ่าตัวตายแต่ลงไปชำระล้างในร้ำแทน)

เคนซับเอาความงามของจันเพื่อให้จันได้เอาคืนพ่อเลี้ยงอย่างแสบสันต์ หนังลดทอนอาการลมเพลมพัด passive ของจันในหนังสือออกจนหมด กลายเป็นจันแห่งโทสะ กล่าวให้ง่ายเมื่อให้ประชาชนปกครองตนเอง ถ้าคนเท่ากันไอ้คุณหลวงได้เป็นนายทุนครองที่แม่ แลัวไอ้จันกลับไปเอาคืนบ้างเรื่องมันก็วุ่นเขเช่นนี้แหละ

สปีชของคุณยายในแผ่นดินของเราได้ช่วยตอกย้ำความเป็นราษฎรผู้จงรักภักดีลงในตัวจันและตระกูลพิจพตรวานิช การสมอ้างจังหวะการสละราชของในหลวงไม่ได้บอกว่าจันเป็นตัวแทนของอำมาตย์ แต่จัน(และเคน)คือภาพแทนผลพวงของผู้คนในยุค Post monarcj เมือ่ครั้งปี 2478 ต่างหาก ในแง่นี้การลสละราขชก็ถูกขัดสีฉวีวรรณขึ้นมาพอๆกับการพระราชทาน รธน. (แน่นอนว่าไม่มี 24 มิถุนาในหนัง )

โลกหลังการสละราชของในหลวงจึงเป็นแต่เพียงละครของการแต่งงานของจันกับคุรแก้วการจองเวรที่ล่วงถลำลงสุ่หล่มบาป หนังทำลายความงามในความสัมพันธ์ของจันกับคุณบุญเลื่องในหนังสือลงอย่างราบคาบด้วยการให้จัน นั้นกราดเกรี้ยวเสียเหลือเกินคุณบุญเลื่องก็ลดรูปจากหญิงไม่อิ่มรักที่มีจิตใจประเสริฐ ไปสุ้หญิงร่านพื้นๆที่ไร้ความสำคัญ

เรื่องมันก็มันตรงนี้เมื่อหนังทำให้ความสัมพันธ์ของคุณแก้วกับคูณขจรเรื่อเรืองเป็นความรัก แทนความใคร่อย่างในต้นฉบับ มันก็เท่ากับว่า คุณแก้วและคุณขจรคือคนที่ถูกทำลายจากระบบการปกครองของพ่อแม่ที่ปกปิดความจริง ยิ่งเมื่อคุณขจรเรืองรองขัดสีฉวีวรรณมากขึ้นด้วยการไปเป็นเสรีไทย คุณขจรก็เลยได้เชื้อของคณะราฎรด้านดีที่หนีรักในสายเลือดไปสละชีพเพื่อชาติต่างกับคุณขจรที่เป็นนเหยื่อของคุณแก้วซึ่งหนีไปจากบ้านด้วยความอับอายและขลาด

สงครามโลกในต้นฉบับนั้นดำเนินไปในที่ทางของการนำไปสู่การเปิดเผยความลับของบุญเลื่อง แต่ในคราวนี้ สงครามกับเอาไว้ขัดสีฉวีวรรณคุณขจร เสรีไทยผู้ห้าวหาญและเสียสละ เมื่อโลหในบ้านวิสนันท์ตกต่ำถึงขีดสุด สงครามโลกเป็นจุดจบของบ้านวิสนันท์ เป็นจุดกำเนิดของปรีย์ เด็กพิกลพิการจาการสังวาสร่วมสายเลือดของเสรีไทยอย่างคุณขจรและหญิงร่านลูกคุณหลวง กล่าวให้ง่าย ปรีย์ต้นฉบับที่เป้ฯเพียงผลของรักร่วมสายเลือดก็ได้มีความเป็นการเมืองขึ้นมเมื่อเราทาบทับว่านี่สิผลผลิตภายในของผู้ยึดอำนาจ

ทีนี้เคนกับจันก้เป้นเพียงผู้เฝ้ามองความวิปริต น่าเสียดายที่หนังลดทอนการกลายเป็นปีศาจโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยอย่าเงป๋็นกระจกของจันกับคุณหลว งจันไม่ได้เป็นคุณหลวง แต่จันเป็นเคน เป็นคนที่ไหลไปตามเกมอำนาจและกลับเนื้อกลับตัวในท้ายที่สุด ถ้าจันเป็นคุณหลวงก็หมดกัน คนมันเท่ากันเลวได้เท่าๆกัน จัไม่ใช่คนเฝ้าศพในถ้า กับคนตัดฟืน ในอุโมงนะ จันกับเคนคือพระอานนท์กับพี่ชายของพระอานนท์ต่างหาก

การ sterile จันให้สะอาดเอี่ยมจึงทำให้เป็นการเมืองขึ้นมาโดยมีบ้านวิสนันท์เป็นภาพแทนการโกลาหลอย่างไม่รู้จบสิ้นแลจันก็เป็นเพียงผู้เล่นตามเกมของท่านยายมากกว่าเป็นคนที่ค่อยๆเลวจากข้างใน (ฉากหนึ่งคนถึงกับบอกว่าเขามองเห้นจันคนดีอยู่ในจันคนนี้) การเป็นคนร้ายสวมหน้ากาข่มขืนคุณแก้ว ล้างแค้นคุณหลวง เป็นเพียงหน้ากากไม่ใช่เนื้อแท้ (จริงๆการขอมีลูกในหนังสือไม่ได้เป็นเรื่องของจอมกับดารา แต่เป็นเรื่องของจันกับแก้ว การเอาพลิกหัวกลับหางนอกจากจะทำให้มันสะอาดสวยงามแล้ว ยังเป็นการลดทอนความต่ำช้าของสถาณการณืเดียวกันและของการมีลูกด้วย)

ดังนี้ความตายของคุรแก้วจึงเป้นการขัดสีฉวีวรรศีลธรรมมากกว่าปล่อยให้คุณแก้วเป็นสาวทอมอย่างในหนังสือ

กล่าวถึงที่สุดจัน ดาราจึงเป็นการตีความบทประพันธ์ที่น่าสนใจมากๆๆๆๆ ด้วยการใส่ความเป็นการเมืองเข้าไปในตัวเรือง ทำลายความเป้นมนุษย์ของตัวละครเพื่อให้เป็นภาพแทนแบบจำลองลดรูปและเปลี่ยนแปลงเพื่อจะได้ใส่สุนทรียะแห่งความฟูมฟายอันเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้กำกับลงไป ไม่ว่าจะชอบหรือชัง เราคิดว่ามันน่าสนใจมากๆๆๆ


รบกวนเรียนเชิญทุกท่านครับ

มหากาพย์ภาพยนตร์แห่งฟิลิปปินส์ประเทศ สนทนากับ ลาฟ ดิแอซ และ อเล็กซิส ทีโอเซโค

$
0
0

4758349450_8d05a598eb_b

 

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารไบโอสโคป  2009

ปล. ไม่เคยดูหนังดิแอซมาก่อน ก็อ่านได้

สัมภาษณ์โดย วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา และ ไกรวุฒิ จุลพงศธร

เขาคนแรก -ลาฟ ดิแอซ- คือนักทำหนังการเมืองชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นหนึ่งในคนทำหนังยาวที่สุดในโลก เขาอีกคนคือ -อเล็กซิส ทีโอเซโค- นักวิจารณ์หนังหนุ่มชาวฟิลิปปินส์วัย 28 ปีที่พยายามสร้างพื้นที่ให้แก่หนังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเว็บไซต์ www.criticine.com

ทั้งคู่บินมาร่วมงาน ‘ความตายใต้เงาโศก มหากาพย์ภาพยนตร์ของ ลาฟ ดิแอซ’ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมา บทสัมภาษณ์นี้เรียบเรียงขึ้นจากการพูดคุยบนเวที และการสนทนาในร้านอาหาร

แต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน อเล็กซิสและ นิก้า โบฮิงค์ นักวิจารณ์หนัง  และโปรแกรมเมอร์ชาวสโลเวเนียซึ่งเป็นคู่รักของเขาถูกฆาตกรรมจากเหตุการณ์โจรปล้นบ้าน อันนำมาซึ่งความโศกศร้าต่อวงการหนังฟิลิปปินส์และเพื่อนผองทั่วโลก BIOSCOPE ขออุทิศบทสัมภาษณ์นี้   ให้กับบุคคลทั้งคู่ เราเสียใจกับการจากไปของมิตรแท้ และเราเสียดายกับการสูญเสียนักวิจารณ์หนังหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่นและมานะอุตสาหะมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้ เราหวังว่าบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จะทำให้เห็นทั้งความทุ่มเทและความปราดเปรื่องของอเล็กซิส และหวังอย่างยิ่งว่า    คำพูดของเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราทั้งหลายลุกขึ้นมาสร้างพื้นที่ทางความคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่เขา   ทำมาตลอดตั้งแต่เราได้รู้จักกัน

เวลาดูหนังฟิลิปปินส์ สิ่งหนึ่งที่ปรากฎบ่อยครั้งคือตัวละครที่มีปมขัดแย้งกับศาสนา คุณช่วยอธิบายได้ไหมว่าความกดดันของคนฟิลิปปินส์ที่มีต่อศาสนาเป็นอย่างไร

ลาฟ : ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชากร 80 เปอร์เซ็นต์เป็นคาทอลิก เป็นอิสลามอีกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาคริสต์เข้ามา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 พูดได้โดยรวมว่าเป็นสังคมที่เคร่งศาสนา อิทธิพลของคริสต์สายคาทอลิกเข้ามาอยู่ในจิตสำนึกของผู้คนและสังคม โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรู้สึกว่ามนุษย์มีบาปติดตัว ในช่วงหลังๆ อาจกล่าวได้ว่าอิทธิพลของคาทอลิกในฟิลิปปินส์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ส่วนการที่คุณเห็นเรื่องนี้ในหนังฟิลิปปินส์บ่อยครั้งก็เพราะมันเป็นเรื่องที่หยั่งรากลงลึกและเป็นส่วนหนี่งของวัฒนธรรมฟิลิปปินส์ไปแล้ว

อเล็กซิส : มันเหมือนกับเป็นภาระหรือเป็นแอกของคนทำหนังที่ต้องจัดการกับคำถามว่า ทำไมสังคมที่มีความเป็นคาทอลิกสูงมาก ก็เป็นสังคมที่มีการคอร์รัปชั่นและความยากจนสูงมากในเวลาเดียวกัน สองอย่างนี้อยู่คู่กันได้อย่างไร อุดมคติของคริสตศาสนาที่ขัดแย้งกับภาพที่เห็นอยู่ ช่องว่างที่ห่างมากๆ ระหว่างคนรวยและจน จากสิ่งทั้งหมดนี้ศาสนาคริสต์มีบทบาทอย่างไร

 

ทีนี้จะเข้าคำถามสำคัญ คือทำไมหนังของคุณถึงต้องยาวขนาดนี้ด้วย 

ลาฟ : ผมไม่ได้คิดถึงหนังของผมว่าเป็นหนังยาวหรอกครับ สิ่งที่ผมทำเวลาทำหนังคือ พอวางแผนแล้ว ผมก็ทำมันไปจนถึงจุดสิ้นสุดของที่วางไว้ ทำไปตามธรรมชาติ ในขณะที่ไอเดียยังสดอยู่ผมก็ถ่ายไป ผมไม่มานั่งคิดหรอกว่า  นี่มันเจ็ดชั่วโมงแล้วนะ ต้องหยุดทำแล้ว

ก่อนที่ฟิลิปปินส์จะเป็นอาณานิคม หรืออันที่จริงก่อนที่อิทธิพลของอิสลามจะเข้ามาด้วยซ้ำ เราไม่มีความคิดเกี่ยวกับเวลาหรอกครับ ความคิดเกี่ยวกับเวลาที่มีกันอยู่ทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ชาวตะวันตกสร้างขึ้นมา ส่วนสิ่งที่ชาวฟิลิปปินส์มีจริงๆ คือความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ พื้นที่อันเป็นเกาะแก่ง พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราเป็นมนุษย์ที่ ใช้ชีวิตผูกติดกับธรรมชาติ เราจึงมีความรู้สึก ต่อพื้นที่มากกว่าเวลา

 

คนดูส่วนใหญ่ตอบรับอย่างไรเมื่อดูหนังของคุณเสร็จ 

ลาฟ : แน่นอนครับว่าสิ่งแรกที่พวกเขาพูดคือทำไมต้องยาวขนาดนี้ด้วย ซึ่งเป็นคำถามที่   น่าเบื่อสำหรับผม แต่ผมก็เข้าใจได้ว่าต้องอธิบาย ผมต้องการปฏิเสธระบบการทำหนังตลาด ดังนั้นตรรกะของระบบหนังตลาดที่ว่าหนังต้องยาว 2 ชั่วโมงนั้นไม่ได้เป็นประเด็นสำหรับผมเลย

สำหรับคนดูแล้ว การดูหนังยาว 11 ชั่วโมงก็เป็นการไขว่คว้าต่อสู้อย่างหนึ่ง มันต้องอาศัยความอดทนสูง แต่สำหรับผู้ชมที่ไปกับหนังได้ พวกเขาก็บอกผมว่ามันเป็นประสบการณ์การเสพหนังที่สมบูรณ์ เหมือน  ผู้ชมกับหนังได้เข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วน  คนดูที่หลังจาก 11 ชั่วโมงแล้วไม่รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับหนัง ผมก็ขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วย

 

การทำหนังของคุณเป็นการทำหนังแนวทำๆ หยุดๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการถ่ายทำมาก แล้วคุณมีวิธีทำงานร่วมกับนักแสดงอย่างไร ยิ่งในกรณีนี้นักแสดงก็ไม่น่าจะได้ค่าตอบแทนมากมายนัก

ลาฟ : ขึ้นอยู่กับแต่ละเรื่องครับ อย่างใน Batang West Side (2001, หนังความยาว 5  ชั่วโมงว่าด้วยชีวิตคนฟิลิปปินส์ในอเมริกาโดยเล่าผ่านการตายของเด็กวัยรุ่น) ผมกับนักแสดงไปถ่ายที่นิวยอร์คโดยอยู่ที่นั่นด้วยกัน 1 ปีก่อนจะลงมือถ่ายทำซึ่งใช้เวลาแค่ 2 เดือน มันเป็นประสบการณ์ที่เหนื่อยยาก แต่ก็เป็นการทำงานที่ง่ายเพราะทุกคนอยู่ในที่เดียวกันตลอดเวลา แต่ใน Evolution of a Filipino Family (2004, หนังความยาว 11 ชั่วโมง  ว่าด้วยชีวิตของครอบครัวชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากการเมือง) ผมใช้เวลาถ่ายทำถึง 10 ปี มีนักแสดงตายไป 3 คนระหว่างการถ่ายทำ คนที่ยังไม่ตายก็อายุแก่ขึ้น มันเป็นสิ่งที่ลำบากมาก ผมต้องโทรศัพท์ไปหา พวกเขาว่า “คุณยังมีชีวิตอยู่ไหม ผมได้เงินก้อนใหม่มาแล้ว มาถ่ายหนังกันต่อเถอะ” ผมทำตัวเองให้สดใหม่ด้วยการดูฟุตเตจซ้ำแล้วซ้ำเล่า และให้ความสำคัญกับการพูดคุยกับนักแสดงก่อนถ่ายทำ

 

เวลาทำหนังยาวนานขนาดนี้ คุณต้องต่อสู้กับอะไรบ้าง อะไรคือ   สิ่งหนักหนาที่สุด

ลาฟ : สิ่งยากที่สุดไม่ใช่กระบวนการทำหนัง แต่เป็นการทำให้ผู้คนเข้าใจว่าสิ่งที่ผมทำอยู่นี้เป็นสิ่งที่จริงจัง คำว่าผู้คนในที่นี้หมายถึงทั้งคนดูและผู้คนรอบข้าง หมายถึงทุกๆ คน วิธีการทำหนังของผมมาจากอุดมการณ์และความเชื่อของผม ผมไม่ได้อยากทำหนังเพื่อเงิน ผมอยากทำหนังเพื่อที่จะได้สร้างเสริมความมีวัฒนธรรม หนังที่ออกมาจะได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ดี

 

วงการหนังฟิลิปปินส์ทั้งหนังกระแสหลักและหนังอิสระในตอนนี้เป็นอย่างไร

อเล็กซิส : ช่วง 7-9 ปีที่ผ่านมา ในหนังกระแสหลักนั้น แทบไม่มีหนังเรื่องไหนเลยที่มีเรื่องที่ต้องการพูดอย่างจริงจัง บรรดานายทุนเลือกหนทางที่ปลอดภัยที่สุดในการทำหนัง บริษัทใหญ่ๆ จะมีฝ่ายตรวจสอบบท บทจะถูกแก้ไข 10-15 ครั้ง ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายมันก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าสนใจอีกแล้ว ดังนั้นจึงมีช่องว่างที่ห่างมากระหว่างหนังตลาดกับหนังแนวอื่นๆ

 

สำหรับหนังอิสระ ตอนนี้มีคนมากมายลองมาทำเพราะ    พวกเขาต้องการทำหนังกระแสหลักแต่ยังไม่มีโอกาสเข้าไปได้เนื่องจากอุตสาหกรรมหนังกระแสหลักสร้างหนังน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับอดีต ย้อนไปในยุค 90 เราทำหนังปีละ 150-180 เรื่อง แต่ตอนนี้เหลือปีละ 50 เรื่องเท่านั้น มันเป็นการลดลงอย่างน่าใจหาย ดังนั้นคนรุ่นใหม่จึงต้อง   หันมาทำหนังอิสระ แต่ว่าหนังที่ออกมาก็เป็นหนังในแบบที่พวกเขาอยากทำในหนังตลาดนั่นแหละเพียงใช้ทุนสร้างน้อยกว่า ดังนั้นจึงกลายเป็นว่า ‘หนังอิสระ’ ก็คือหนังตลาดในเวอร์ชั่นที่ยากจนกว่านั่นเอง

คำที่ผมกำลังจะพูดนี้ยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายนัก แต่นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในฟิลิปปินส์คนหนึ่งกล่าวว่า มันไม่ได้มีแค่  หนังกระแสหลักและหนังอิสระ แต่เราต้องแบ่งเป็น ‘หนังกระแสหลัก’ (mainstream), ‘หนังอิสระ’ (independent) และหนังที่อยู่ตรงกลางซึ่งเขาเรียกว่า ‘กระแสกลาง’ (mid stream) (หัวเราะ) ผมว่าตลกดีแต่มันก็เป็นคำอธิบายที่ดีต่อสิ่งที่เราเจอตอนนี้ พวกหนังสือพิมพ์ที่ไม่มีความรู้ก็เรียกหนังกลุ่มมิดสตรีมว่าหนังอิสระไปหมด แต่เรารู้ดีว่าเราไม่สามารถเรียกหนังกลุ่มนี้ว่าหนังอิสระได้เต็มปากเหมือนกับหนังของ ลาฟ ดิแอซ, รายา มาร์ติน หรือ จอห์น ทอร์เรส หรอก

ตอนนี้เรามีโรงหนังที่ฉายหนังนอกกระแสอยู่สองแห่ง โรงแรกอยู่ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อีกโรงเป็นโรงหนังเดี่ยว ทั้งสองฉายทั้งหนังอิสระและหนังมิดสตรีม แต่หนังแต่ละเรื่องก็เข้าฉายได้แค่ 6-7 วันเท่านั้นเพราะจะมีหนังเรื่องอื่นมาจ่อคิวรอฉายต่อ ตอนนี้เรามีหนังมิดสตรีมและหนังอิสระขนาดยาวรวมกันประมาณ 100 เรื่องต่อปี หนึ่งในปัญหาของหนังอิสระของเราก็คือ เราไม่มีที่ฉายหนังเพียงพอต่อจำนวนหนังที่มีอยู่ ผู้กำกับหลายคนจึงเลือกไปฉายหนังตามสถานศึกษาซะเลย

 

คนทำหนังในภูมิภาคอื่นๆ ของฟิลิปปินส์ทำหนังยาวบ้างรึเปล่า

อเล็กซิส : มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารวมแล้วอาจไม่เกิน 10 เรื่องแต่ก็ถือว่ามากกว่าในอดีตมาก ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ความคิดที่ว่าจะมีหนังจากภูมิภาคอื่นๆ นั้นเรียกว่าเป็นปาฏิหาริย์เลยก็ได้

 

ในประเทศไทยเราไม่มีหนังขนาดยาวจากภูมิภาคอื่นๆ เลยนอกจากกรุงเทพฯ

อเล็กซิส : คุณก็มี อุรุพงษ์ (รักษาสัตย์) ไง

ไกรวุฒิ : อุรุพงษ์เป็นคนต่างจังหวัด หนังของเขามีความเป็นภูมิภาคอื่นมากก็จริงแต่เขาก็ต้องเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่กรุงเทพฯ

วิวัฒน์ : ผมยังถือว่าอุรุพงษ์เป็นผู้กำกับ    หนังสั้นอยู่ เพราะ Stories From The North เป็นการรวมหนังสั้นหลายเรื่องเข้าเป็นหนังยาว และก่อนหน้านี้เรามีโอกาสดูหนังของอุรุพงษ์ได้เพียงแค่ในเทศกาลหนังสั้นเท่านั้น เราก็คงต้องรอให้ Agrarian Uthopia] ข้าฉายในเมืองไทยก่อนมั้งครับ แล้วเราจะมองเขาได้อย่างเต็มตามากขึ้นในฐานะหนังจากภูมิภาคอื่น   ดังนั้นผมจึงคิดว่าเรายังไม่มีหนังขนาดยาวจากภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยเลย

อเล็กซิส : ผมคิดว่าช่วงยุค 40-60 ในฟิลิปปินส์มีอุตสาหกรรมหนังในเมืองเซบู ซึ่ง อยู่นอกเขตมะนิลา มันเป็นวงการหนังที่แข็งแรงมากแต่หนังเหล่านั้นไม่มีหลงเหลือมาให้คน  รุ่นหลังเห็นแล้ว เพราะว่าเราไม่มีหอภาพยนตร์แห่งชาติที่จะเก็บรักษาฟิล์มเหล่านั้น คนที่ทำหน้าที่เป็นหอภาพยนตร์ก็คือสถานีโทรทัศน์หรือบริษัทหนังซึ่งเก็บหนังในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมาแค่นั้นเอง

ลาฟ : เราสูญเสียหนังไปเยอะมากเพราะเราไม่มีหอภาพยนตร์

อเล็กซิส : อีกประเด็นหนึ่งก็คือ บรรดาฟิล์มที่ถูกเก็บรักษาในมะนิลานั้นถูกทำลายเนื่องจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงคราม

 

ฟิลิปปินส์มีคนทำหนังที่พูดเรื่องการเมืองเยอะไหม 

อเล็กซิส : มีคนทำหนังน้อยคนนักในฟิลิปปินส์ที่จะทำหนังการเมืองในระดับเดียวกับที่ลาฟทำ ในแง่ว่าหนังของลาฟพูดถึงปัญหาการเมืองโดยให้บริบทความเป็นมาที่กว้างและลึกมาก ขณะที่หนังการเมืองส่วนใหญ่เป็นแค่การเล่าถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นหนังบ่นๆ ด่าๆ สังคมไป แต่ไม่ได้มีความพยายามที่จะอธิบายหรือขยายให้เห็นมิติของปัญหา มีกลุ่มคนทำหนังการเมืองอยู่บ้าง เช่น กลุ่ม Southern Tagalog Exposure ซึ่งมีความคิดทางการเมือง ที่แข็งกร้าวมาก หลายคนในกลุ่มนี้มีพื้นหลังเป็นฝ่ายซ้ายจัดหรือมีมุมมองแบบคอมมิวนิสต์มาก่อน สิ่งที่น่าสนใจคือพวกเขาพยายามฝึกคนทำหนังรุ่นเด็กๆ ที่ยังไม่มีจุดยืนทางการเมืองชัดเจนนักให้ทำหนังสั้นการเมืองเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในฟิลิปปินส์ เด็กๆ เหล่านี้ต้องทำหนังสั้นเพียง 2 นาทีเพื่อฉายทางโทรทัศน์ แต่พอคณะกรรมการพิจารณาให้เรต X พวกเขาก็ต้องอุทธรณ์ต่อถึงจะได้ฉายให้คนดูวงกว้าง แต่ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ว่าหนังสั้นเหล่านี้เป็นหนังที่มีไอเดียง่ายไป ไม่มีการตั้งคำถาม เป็นหนังที่ประกาศจุดยืนบางอย่างซึ่งเป็นเรื่องน้อยนิด

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือปริมาณของคนทำหนังในฟิลิปปินส์นั้น 80 เปอร์เซ็นต์เป็นคนที่มีอายุต่ำกว่า 33 ปี พวกเขายังต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะตกตะกอนทางความคิดหรือฝีมือการทำหนัง ดังนั้นสิ่งที่เราเห็นในหนังของเขาตอนนี้คือการแสดงความรู้สึกอึดอัดต่อสภาวะการเมือง แต่ไม่มีอะไรที่ไปไกลกว่านั้น อาจจะมีอยู่เพียง 2-3 คนที่ไปไกลกว่าจุดนี้ เช่น เชอราด แอนโธนี ซานเชส, รายา มาร์ติน และแน่นอนว่าต้องมี ลาฟ ดิแอซ

ตอนนี้ประเด็นร้อนในหนังฟิลิปปินส์คือ มีผู้กำกับกลุ่มหนึ่งที่ทำหนังเล่าเรื่องของ คนยากจน แต่กลับถูกด่าว่าเป็นหนังที่ขายความยากจนให้ฝรั่งดู สิ่งที่ผมเห็นว่ายังขาดในหนังฟิลิปปินส์ตอนนี้ คือหนังที่วิเคราะห์หรือแสดงให้เห็นอย่างจริงจังถึงบทบาทของชนชั้นสูงในฟิลิปปินส์ ว่าสถานภาพที่เขาดำรงอยู่นั้นครอบงำสิ่งต่างๆ ของสังคมได้อย่างไร ภาพ คนชั้นสูงในหนังฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ถูกนำเสนอออกมาเป็นคนไฮโซทำงานบริษัทโฆษณา แล้วก็รักกับคนชนชั้นล่างกว่าตัวเอง แค่นั้น

ผมคิดว่าปัญหาใหญ่จริงๆ ของวงการหนังฟิลิปปินส์นั้นไม่ได้อยู่ที่หนังฟิลิปปินส์ เพราะตัวหนังเองได้เริ่มพัฒนาและท้าทายขึ้นมาแล้ว แต่เป็นที่วัฒนธรรมการดูหนังฟิลิปปินส์ที่อ่อนแอกว่าตัวหนังเองซะอีก เรามีหนังที่น่าสนใจแล้ว แต่เราไม่มีคนหรือองค์กรที่จะมาสนับสนุนหรือจัดเวทีเพื่อถกเถียงอธิบายหนังเหล่านี้ กิจกรรมเกี่ยวกับหนังในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่แล้วก็จัดขึ้นโดยคนทำหนังเองนั่นแหละ

ในฟิลิปปินส์นั้น หนังของลาฟฉายไม่เกิน 10 ครั้งต่อเรื่อง

ปีที่แล้วเมื่อตอนที่มีการเสวนาเกี่ยวกับหนังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มะนิลา มีอาจารย์คนหนึ่งยกประเด็นนี้ขึ้นมา เขาถามว่ามีคนดูหนังของลาฟน้อยมาก แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าเป็นคนทำหนังฟิลิปปินส์ได้จริงหรือ ซึ่งผมตอบไปว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่ามีคนดูหนังน้อย แต่คุณคิดว่าคนฟิลิปปินส์ควรดูหนังของลาฟรึเปล่า ซึ่งอาจารย์ตอบว่าใช่ แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมอาจารย์ไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสร้างพื้นที่ล่ะ นี่คือตัวอย่างว่าการที่คนดูหนังน้อยไม่ใช่ความล้มเหลวของตัวหนังหรือผู้กำกับ แต่มันเป็นความล้มเหลวของโครงสร้างที่ไร้วัฒนธรรมการดูหนังต่างหาก

 

หนึ่งในปัญหาของหนังไทยคือ ไม่มีใครกล้าพูดเรื่องการเมือง    คนทำหนังไทยมักเซ็นเซอร์ตัวเอง พวกเขาอาจทำหนังเหน็บแนมนักการเมืองนิดๆ หน่อยๆ แต่ก็ไม่มีใครจะทำไปมากกว่านั้น แม้กระทั่งในหนังอิสระก็มีอยู่น้อยคนนักที่จะพูดเรื่องการเมืองอย่างตรงไปตรงมา แต่เราสามารถเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ในหนังของ ลาฟ ดิแอซ สิ่งที่เราสงสัยก็คือคุณมีปัญหากับการเซ็นเซอร์ของรัฐ    บ้างไหม หรือมีผู้ชมอนุรักษ์นิยมที่โจมตีคุณบ้างไหม

ลาฟ : ผมคิดว่าในฟิลิปปินส์ ถึงเราจะมีการเซ็นเซอร์และมีรัฐบาลที่กดขี่ประชาชน แต่เราก็ยังมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นอยู่ ดังนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับศิลปินแต่ละคนแล้วล่ะว่าอยากจะพูดเรื่องอะไร ผมไม่เคยต้องมานั่งคิดว่าเราไม่สามารถถ่ายสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้เพราะเรามีคณะกรรมการ     เซ็นเซอร์หรือเราจะต้องเจอกับทหารหรือรัฐบาล ซึ่งนี่แตกต่างจากประเทศไทยมาก ผมเข้าใจดีว่าการเซ็นเซอร์ตัวเองเป็นสิ่งที่ยังอยู่ในงานของ    คนไทย เราอยู่ในเงื่อนไขของสังคมที่ไม่เหมือนกัน คนดูหนังก็ไม่เคยมาโจมตีผม แต่นั่นอาจเป็นเพราะว่าหนังของผมมีคนดูอยู่จำนวนน้อยและพวกเขาก็เป็นปัญญาชนกัน ครึ่งหนึ่งในคนดูหนังของผมอาจเป็นเพื่อนผมทั้งนั้นก็ได้

อเล็กซิส : ส่วนหนึ่งของความแตกต่างระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ก็คือ ฟิลิปปินส์มีความไม่สงบทางการเมืองเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในปัจจุบัน รัฐบาลและประธานาธิบดีก็ได้รับความนิยมน้อยมาก ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือสถานการณ์ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ผู้คนรับกันได้

ลาฟ : แม้กระทั่งในสมัยของ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (อดีตประธานาธิบดีเผด็จการ) ก็มีคนทำหนังอย่าง ลิโน บรอคกา (ผู้กำกับภาพยนตร์      ยุค 70-80) ที่กล้าใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับระบบ

อเล็กซิส : ในปัจจุบันรัฐยังทำหน้าที่เซ็นเซอร์หนังอยู่แต่ก็ต่างจากเดิม ยกตัวอย่างเช่น รัฐเซ็นเซอร์หนังของลาฟในประเด็นโป๊เปลือยมากกว่าประเด็นการเมือง แต่ผมเองมีความเชื่อว่า รัฐไม่เชื่อแล้วว่าศิลปะจะมีความหมาย พวกเขาไม่เชื่อแล้วว่าหนังจะมีผลในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในช่วงเวลาที่บรอคกาทำหนัง รัฐจะ เซ็นเซอร์หนังตั้งแต่ก่อนที่หนังจะสร้าง ซะอีก คนทำหนังต้องส่งบทให้รัฐพิจารณาก่อนถ่ายทำ ซึ่งตอนนี้มันไม่มีระบบเช่นนี้อีกแล้ว เพราะภาพยนตร์  ไม่ได้มีอำนาจต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทั้งประเทศเหมือนกับที่เคยเป็นแล้ว ในยุคที่บรอคกาทำหนังภาพยนตร์สามารถเปลี่ยนสังคมได้ แต่เมื่อมามองในปัจจุบัน เมื่อคุณมองไปยังภาพยนตร์ที่ฉายในวงกว้าง -ซึ่งคำว่าวงกว้างนั้นสำคัญมากเพราะมันต้องฉายในวงกว้างเท่านั้นถึงจะสร้างผลกระทบขนาดยักษ์ได้- ภาพยนตร์ได้สูญเสียอำนาจแบบนั้นไปแล้ว

ผมพูดเสมอว่าหนังของลาฟหรือหนังของ รายา มาร์ติน ดูคล้ายบทกวี และถ้าเราพูดกันตรงๆ ก็คือบทกวีน่ะไม่มีผู้ชมผู้ฟังมากมายหรอกครับ บทกวีเป็นสิ่งที่มีความเป็นส่วนตัวสูง คนดูก็เสพมันในลักษณะส่วนตัวกันมาก และคุณก็ไม่ได้คาดหวังว่าบทกวีจะเปลี่ยนประเทศได้   ในยุค 70-80 เราสามารถบอกได้ว่าหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างแรงกล้า ดังนั้นรัฐบาลจึงพยายามสู้กับหนังพวกนั้นอย่าง   ทันท่วงที แต่ตอนนี้ผมนึกไม่ออกและไม่คิดว่าจะเห็นหนังเรื่องไหนที่เปลี่ยนสังคมฟิลิปปินส์ หนังในปัจจุบันอาจเปลี่ยนปัจเจกบุคคล แล้วปัจเจกบุคคลนั่นค่อยไปเปลี่ยนแปลงสังคมอีกที

 

หนังฮอลลีวูดมีบทบาทอย่างไรต่อหนังฟิลิปปินส์ 

อเล็กซิส : มีผลกระทบอย่างยิ่งยวดเลยล่ะ ไม่ใช่แค่ส่งผลต่อคนทำหนัง ที่โตมาแต่กับหนังฮอลลีวูดเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปยังคนดูหนังที่ไม่รู้จักหนังอย่างอื่นนอกจากหนังฮอลลีวูดด้วย โดยเฉพาะคนดูหนังที่อายุต่ำกว่า   30 ปี เพราะในฟิลิปปินส์เวลา Harry Potter หรือ Spider-Man เข้าฉาย  โรงหนังจะไม่ฉายหนังเรื่องอื่นเลย และเราก็ไม่มีซีเนมาเธค (โรงหนังที่ฉายหนังศิลปะเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ต้องการจะทำซีเนมาเธค แต่ก็มีทุนไม่พอ ดังนั้นพวกเขาก็ต้องฉายหนังฮอลลีวูด หรือไม่ก็ฉายหนังที่ทางสถานทูตเลือกมาให้ เราจึงขาดแคลนการฉายหนังทางเลือก สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นผลแค่จากโรงหนังหรือการจัดจำหน่ายหนัง แต่ยังเป็นผลมาจากวัฒนธรรมการดูหนังที่ไม่นิยมการดูหนังที่หลากหลายด้วย แถมยังกำหนดให้เสร็จสรรพว่าหนังแบบไหนเท่านั้นที่ ผู้ชมควรจะดู

 

เมื่อปีที่แล้วเรามีโอกาสถามคำถามเดียว กันนี้กับ ยีรี เมนเซล ผู้กำกับชาวเชค เขาตอบว่า หนังฮอลลีวูดไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อคนทำหนังยุโรปมากเท่าไรหรอก แต่ มันทำให้ระดับรสนิยมของคนดูหนังยุโรป   ลดลงไปอย่างน่าใจหาย ถ้าเรานำหนัง  ฮอลลีวูดคุณภาพต่ำหลายเรื่องที่ฮิตในปัจจุบันไปฉายให้ชาวยุโรปรับชมเมื่อ 20 ปีก่อน รับรองว่าจะไม่ทำเงินแน่นอน

อเล็กซิส : จริงเลยล่ะ เพื่อนคนทำหนังของผมคนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า เขาบอกกับเพื่อนว่า “ฉันอยากฉายหนังของฉัน” เพื่อนตอบว่า “ไม่มีใครดูหนังของนายหรอก” เขาจึงตอบว่า “เหตุผลแค่นี้น่ะหรือ ที่ทำให้ไม่ฉายหนังของเรา”

ยังมีอีกเรื่องนึงที่ผมอยากเล่าให้ฟัง คือเรื่องของ คิดแลต ตาฮิมิค คนทำหนังฟิลิปปินส์ ตอนที่ยังไม่เริ่มกำกับหนัง ตาฮิมิคเรียนหนังอยู่ที่เยอรมัน แล้วบังเอิญว่าครูของเขาไม่มา แวร์เนอร์ แฮร์โซก (ผกก. ระดับอาจารย์ใหญ่แห่งวงการหนังโลก) ก็เลยมาสอนหนังสือแทน ทั้งคู่เริ่มสนิทกันจนกระทั่งแฮร์โซกชวนให้ตาฮิมิคมาแสดงบทเล็กๆ ในเรื่อง The Enigma of Kaspar Hauser วันนึงตาฮิมิคไปหาแฮร์โซกแล้วบอกว่า “ผมมีบทหนังที่อยากกำกับ ผมอยากให้คุณอ่าน” แต่แฮร์โซกตอบว่า “ผมยุ่งมากๆ เลย ไม่มีเวลาอ่านหรอก แต่ผมกำลังจะนั่งรถไป 400 กิโลเมตร และกลับอีก 400 กิโลเมตร เพื่อไปฉายหนังที่เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง ถ้าคุณยอมนั่งรถโฟล์คของผมไป ด้วยกัน คุณอาจจะเล่าเรื่องหนังของคุณให้ผมฟังระหว่างทางก็ได้” ตาฮิมิคเลยไปด้วย ปรากฏว่าพอไปถึงที่โรงหนัง มีคนรอดูหนัง  ของแฮร์โซกแค่ 35 คน ตอนนั่งรถกลับตาฮิมิค ก็เลยบ่นว่า “น่าเศร้าจริง เราขับรถกันตั้ง 800 กิโลเมตรเพื่อให้คน 35 คนดูหนังเนี่ยนะ      คุณรู้สึกแย่รึเปล่า” แฮร์โซกตอบว่า “ตาฮิมิค คุณต้องหัดรู้จักให้ความรู้กับผู้ชมซะบ้าง ถ้าเราไม่เริ่ม ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเมื่อไรคนดูหนังจะได้พัฒนากันล่ะ”

ผมคิดว่าแนวคิดนี้ล่ะใช่เลย เริ่มต้นจากคนดูกลุ่มเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายตัวขึ้น เวลาผมสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย นักเรียนทุกคนของผมเป็นคนดูหนังฮอลลีวูด มีอยู่คนนึงเกิดที่อเมริกา และคิดว่าอเมริกาเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกด้วย ในการสอนตลอดหนึ่งเทอม ผมเริ่มฉายหนังที่หลากหลาย หนังทดลอง หนังสั้นไทยบ้าง ความหมายของภาพยนตร์สำหรับพวกเขาค่อยๆ ขยายขึ้น และเมื่อคุณฉายหนังของลาฟ ดิอาซ ความหมายของภาพยนตร์ของพวกเขาก็ขยายไปถึงขีดสุด เมื่อผมฉาย Evolution of Filipino Family นักเรียนต้องดูหนังตั้งแต่ 9.00-21.00 น. โดยแบ่งพักเป็นสองช่วง และตอนท้ายลาฟก็มาร่วมตอบคำถามด้วย ผมถามว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร พวกเขาตอบว่ามันยาวมาก แต่หลังจากนั้นก็แสดงความคิดเห็นอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเขาดูหนังความยาว 11 ชั่วโมงไป ความคิดที่มีเกี่ยวกับหนังก็ถูกขยายไปอย่างมหาศาล มันได้ทำลายข้อจำกัดที่พวกเขาเคยคิดว่าหนังต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และต่อไปถ้าต้องดูหนังแนวอื่นๆ พวกเขาก็รับได้หมดแล้ว ถ้าผมบอกพวกเขาว่าจะฉายหนังความยาว 5 ชั่วโมงนะ พวกเขาก็บอกว่าสบายมาก เพราะเรา ผ่านหนัง 11 ชั่วโมงมาแล้ว

ผมคิดว่าพวกเราจะต้องขยายความคิดว่าภาพยนตร์คืออะไร เพราะว่าฮอลลีวู้ดทำให้ความหมายของมันแคบเหลือเกิน

 

คนทำหนังอิสระของฟิลิปปินส์มีวัฒนธรรมการอ่านวรรณกรรมบ้างไหม เพราะในเมืองไทย เรามีความเชื่อกันว่าคนทำหนังไทยไม่ว่าจะเป็นคนทำหนังกระแสหลักหรือคนทำหนังอิสระ พวกเขาไม่ได้เป็นนักอ่าน

อเล็กซิส : เป็นคำถามที่ตอบยากนะครับ ผมไม่คิดว่าคนทำหนังฟิลิปปินส์จะเป็นนักอ่านระดับหนอนหนังสือกันมากนัก แต่สิ่งที่น่าสนใจมากๆ ในตอนนี้คือ มีนักเขียนและอาจารย์สอนด้านวรรณกรรมหลายคนที่พยายามทำหนัง พวกเขาเป็นนักเขียนที่ได้รับความเคารพ แต่เมื่อมาทำหนัง เราก็เห็นปัญหาแบบเดียวกับคนเพิ่งหัดทำหนัง บทหนังของพวกเขาแข็งแรงมาก แต่ยังต้องการเวลาในการฝึกกำกับอีกพอสมควร

ผมไม่มั่นใจนักแต่คิดว่าคนเขียนบทเป็นนักอ่านมากกว่าผู้กำกับ โดยเฉพาะผู้กำกับที่   ไม่ได้เขียนบทหนังด้วยตนเอง ตอนนี้มีกลุ่มนักเขียนบทรุ่นใหม่ อายุช่วง 20 ปลายๆ ถึง 40 ที่ทำงานให้บริษัทหนังใหญ่ๆ หนังหลายเรื่องที่มาจากบทของคนเหล่านี้เป็นหนังดีเลยล่ะ ที่น่าสนใจ ก็คือคนเขียนบทเหล่านี้มารวมตัวกัน และต้องการเขียนบทและโปรดิวซ์หนังเอง พวกเขามีสิทธิในการเลือกผู้กำกับ หรือไม่ก็กำกับเองซะเลย พวกเขาเชื่อมั่นในบทของเขาว่ามันต้องไม่ออกมาเป็นหนังแย่ๆ หรือเป็นหนังที่ประนีประนอมแน่ๆ ตอนนี้พวกเขาโปรดิวซ์หนังออกมา 3 เรื่องแล้วและจะทำต่อไปอีก หนังเรื่องแรกของกลุ่มนี้คือ The Blossoming of Maximo Oliveros (2005, หนังสะท้อนสังคมว่าด้วยเด็กกะเทยที่หลงรักตำรวจหนุ่มสุดหล่อ) เป็นหนังที่เขียนโดยคนเขียนบทซึ่งดังมากๆ   2 คนและพวกเขาเลือกผู้กำกับเอง

ส่วนเรื่องคนทำหนังอ่านหนังสือไหม ผมไม่มีคำตอบที่ดีกว่านี้ให้ เอาเป็นว่าในบรรดา  คนทำหนังอิสระที่ผมรู้จัก เควิน เดอ ลา ครูซ (กำกับเรื่อง The Family That Eats Soil) อ่านหนังสือเยอะมากและยังเขียนเรื่องสั้นกับบทกวีอีกด้วย เชอราด แอนโธนี ซานเชซ ก็อ่านหนังสือเยอะมาก ส่วนรายา มาร์ตินนั้นเลือกอ่าน แต่สิ่งที่เขาเลือกเป็นสิ่งที่ดี

 

>ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯปีนี้ มีหนังฟิลิปปินส์ของผู้กำกับหลายคนที่ถูกอ้างถึงในบทความนี้ เช่น Imbernal ของ เชอราด แอนโธนี ซานเชซ, Independencia และ Manila ของ   รายา มาร์ติน และ Butterflies Have No Memories หนังสั้นของ ลาฟ ดิแอซ ซึ่งอยู่ในหนังชุด Jeonju Digital Project 2009

 

หมายเหตุ : การสัมภาษณ์นี้จะเกิดขึ้นมิได้ หากมิได้รับความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์งานจาก สนธยา ทรัพย์เย็น, อาดาดล อิงคะวณิช, ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์, ฟิล์มไวรัส, หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ, Bangkok Code, Conference of Birds Gallery, ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑, หอภาพยนตร์, มูลนิธิหนังไทย และที่สำคัญที่สุดก็คือคนดูหนังทุกท่าน


ความตายใต้เงาโศก : มหากาพย์แห่งคนเล็กคนน้อยของLAV DIAZ

$
0
0

photo

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เมษายน – กันยายน 2552

ครอบครัวชาวนาจบเวลายากลำบากของตนด้วยการแตกกระสานซ่านเซ็นโดยไม่อาจคาดหวัง ได้ว่าหนทางข้างหน้าจะทอดพาพวกเขาไปสิ้นสุดที่ใด  คนทุกข์ผู้สูญเสียทุกอย่างไปในกระบวนคอรัปชั่นอันเป็นระบบกินเมือง อย่าพูดเรื่องการช่วยเหลือเด็กสาวสักคนเลย กระทั่งเขาเองสุดท้ายก็ได้สิ้นไร้ไม้ตอกจนกระทั่งชีวิตก็อาจจะยังหามีไม่ กวีที่กลับมาค้นซากร่างของคนรักที่ตายลงในหล่มโคลนหลังพายุกวาดเมืองทั้ง เมืองให้ราพนาสูรค่อยๆสูญเสียจิตวิญาณให้กับแผ่นดินกินคน และผู้หญิงผัวหายค้นพบว่ากระทั่งการเป็นโสเภณีก็หาช่วยให้พ้นจากความทุกข์ ของการสูญเสียคนรักให้กับบ้านเมืองไม่

 

เหล่านี้คือตัวละครของLAV DIAZ จากชาวนาในชนบทห่างไกล ไปจนถึงคุณครูใหญ่ในกรุงมะนิลา จากกองเกวียนพ่อค้าเร่ไปจนถึงกลุ่มศิลปินในเมืองตีนภูเขาไฟ เหล่าผู้คนทั้งชายหญิงผู้มีบาปผิดติดตัวพวกเขาไปยังทุกหนแห่ง หาทางไถ่ถอนบาปจำเพาะของตน แต่ยิ่งไปยิ่งไกล และไม่มีทีท่าว่าบาปนั้นจะถูกไถ่ มีเพียงหายนะที่รายล้อมรอบพวกเขาอยู่ สำหรับDIAZ สิ่งเหล่านี้คือตัวแทนของบรรดาผู้คนแห่งฟิลิปปินส์ ดินแคนซึ่งเคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนอย่างยาวนาน เมื่อหลุดพ้นก็ตกเป็นทาสของอเมริกาผ่านการชักใยอยู่เบื้องหลัง เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส นายพลนักปกครงที่โหดเหี้ยมที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก และแม้ในที่สุดประชาชนจะรวมตัวกันอย่างมากมายมหาศาลจนขับไล่มาร์กอสออกไปได้ แต่เงื้อมเงาที่เขาทิ้งไว้ก็ยังคงเป็นรอยบากของแผ่นดินที่ยากจะประสานคืน

ตัวตนของLAV DIAZ เองก็เป็นผลผลิตอันหนึ่งของยุคสมัยกฎอัยการศึกของเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส (มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึกในปี ค.ศ. 1973 เพื่อยืดอำนาจตนเองออกไปหลังจากได้เป็นประธานาธิบดีครบสองสมัยและตามรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถเป็นซ้ำได้อีกแล้ว เขาประกาศกฎอัยกาศึกอยู่ถึง 13ปี และว่ากันว่ามีผู้ต่อต้านมาร์กอสอย่างน้อยห้าหมื่นคนถูกสังหารในช่วงเวลา นั้น*1) เขาเกิดในหมู่บ้านชาวนายากจนในหมู่เกาะมินดาเนาว์ ครอบครัวของเขาทำนาและสอนหนังสือ พ่อของเขาผู้คลั่งไคล้ในวรรณกรรมรัสเซียเป็นผู้ปูรากฐานของศิลปะให้กับเขา เพราะแม้จะยากจนแต่พวกเขาก็จะนั่งรถสองชั่วโมงเข้าไปดูหนังควบในตัวเมืองทุก วันหยุดสุดสัปดาห์  DIAZ เติบโตขึ้นในช่วงกฎอัยการศึกอันเหี้ยมโหดภายใต้การปกครองของเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ช่วงเวลาอันยากลำบากที่ทหารจะบุกเข้าไปฆ่าใครในบ้านก็ได้ตามใจ เขาอยู่ชั้นมัธยมตอนที่มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึก เคยถูกทหารบุกหมู่บ้านและตบเขาด้วยพานท้ายปืน เคยถูกเกณฑ์ไปเข้าค่ายพิเศษซึ่งจับเด็กหนุ่มรุ่นกระทงมาขังในห้องรวมซึ่ง ผนังขึงพาดภาพขนาดยักษ์ของมาร์กอสและกรอกหูด้วยเสียงสุนทรพจน์ของเขาทั้งวัน ทั้งคืน ในช่วงเวลาเหล่านั้น เขาค้นพบมนต์ของภาพยนตร์ผ่านทางหนังสะท้อนสังคมของ LIN BROCKA ผู้กำกับคนสำคัญของฟิลิปินส์ ซึ่งในเวลาต่อมาสองสิ่งนี้ (LINO BROCKA -กฎอัยการศึก)ได้ส่งอิทธิพลต่อกรอบการคิด การมองความยากเข็ญแห่งประเทศที่เขาอาศัย รวมถึงสุนทรียศาสตร์ในภาพยนตร์ของเขา

 

แรกทีเดียว LAV DIAZ เริ่มต้นด้วยการเป็นนักข่าว เขาเขียนข่าวและเรื่องสั้นก่อนจะมาชนะการประกวดเขียนบทหนังจนได้เข้าเวริ์คชอปสอนทำหนังระยะสั้นของสถาบันภาพยนตร์ Mowelfund ในกรุงมะนิลาเขาก็เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์   แรกทีเดียวเขายังคงทำหนังเล่าเรื่องทั่วไป กับสตูดิโอ ร่วมกับการรับจ้างเขียนบทภาพยนตร์ บทละครโทรทัศน์เพื่อเลี้ยงก่อนจะย้ายไปอยู่นิวยอร์คในปี 1992 ในญานะศิลปินอันเดอร์กราวนด์ (เขามีใบเบิกทางเป็นสารคดีเกี่ยวกับชีวิตแก๊งค์เด็กข้างถนน) และที่นั่นเองที่เขาเริ่มแตกหักกับแนวคิดภาพยนตร์แบบเดิมๆ ด้วยการเริ่มทำหนังที่มีความยาวมากกว่าปกติ  ใช้กล้องดิจิตัลในการถ่าย ซึ่งสำหรับDiaz เทคโนโลยีดิจิตัลช่วยประหยัดงบประมาณในการถ่ายทำได้อย่างมากมายหนำซ้ำ ทำให้เขาสามารถถ่ายฉากยาวๆ(บางฉากอาจยาวหนึ่งชั่วโมงเต็ม) โดยไม่ต้องมาคำนึงถึงความยาวฟิล์มอีกต่อไป และอาจเรียกได้ว่ามันส่งผลอย่างมากต่อระบบสุนทรียศาสตร์ในภาพยนตร์ของเขา

 

เริ่มต้นด้วยหนังยาวห้าชั่วโมงอย่าง  Batang West Side(2001) ซึ่งเล่าเรื่องเกี่ยวกับความตายข้างถนนของวัยรุ่นฟิลิปปินส์ ในนิวเจอร์ซีย์ซึ่งเป็นเสมือนภาพแทนของรัฐฟิลิปปินส์ในยุคปัจจุบัน  ในขณะที่นายตำรวจMijarez ผู้ซึ่งมีความแค้นมืดดำในอดีตได้ลงมือสืบสวนชุมชนฟิลิปปินส์ทั้งหมดเพื่อสืบ หาตัวฆาตกร หากกระทั่งหนังจบ การสืบสวนของMijarez ได้นำเขาเข้าใกล้ความจริงแต่ก็ไม่สามารถจะสรุปคดีได้ “ถ้าผมยังขืนทำคดีนี่ต่อไป ผมอาจจะต้องฆ่าคนฟิลิปปินส์อีกเป็นจำนวนมากก็ได้” Mijarez พูดขึ้นในฉากสุดท้าย ซึ่งในที่สุดเราได้เข้าใจว่าที่แท้เราทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบทั้งสิ้น น่าเสียดายที่ในตอนนี้ เราไม่สามารถหาดูหนังเรื่องนี้ได้อีก เนื่องจากก๊อปปี้เดียวของหนังที่สมบูรณ์นั้นอยู่ในมือของProducer ของหนังซึ่งในขณะให้เงินมาทำหนังเรื่องนี้เพราะเขาตกหลุมรักนักแสดงนำหญิงใน เรื่อง เมื่อทั้งคู่เลิกร้างกัน หนังซึ่งเป็นเหมือนจดหมายรักกลายๆเรื่องนี้ก็ถูกเก็บเข้ากรุตลอดกาล

 

ดังนั้นในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงขอมุ่งความสนใจไปยังภาพยนตร์สี่เรื่อง หลังสุดของLAV DIAZ อันประกอบด้วยEvolution of Fillipino Family, Heremias Book1 , Death In the Land of Encantos และ Melancholia อันนับเป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับLAV DIAZ จนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์แถวหน้าคนหนึ่งของโลก

 

ebolusyon

Evolution of Fillipno Family บ้านนาสะเทือน 

 

Hildaเก็บเด็กทารกมาจากกองขยะระหว่างการเดินโซซัดโซเซไปตามท้องถนนในกรุง มะนิลา ตอนที่เธอพบ เด็กน้อยโดนมดตอมไต่ไปทั่วตัว  เธออาจสติเลอะเลือนไม่สมประกอบ แต่เธอก็เก็บเด็กทารกนั่นมาเลี้ยงและตั้งชื่อเขาว่า Raynaldo

 

คนทั้งหมู่บ้านรู้ว่า HILDA มีสติไม่สมประกอบ กล่าวให้ถูกกว่านั้นคือในแต่ละรุ่นของตระกูลของเธอจะต้องมีใครคนหนึ่งที่ เป็นเหมือนเธอ คนทั้งหมู่บ้านเลยเรียกตระกูลของเธอว่าตระกูลคนบ้า แต่ตระกูลของเธอก็ยังคงอยู่ในหมู่บ้านนั้น   พวกเขาอยู่มาก่อนเธอและยังคงอยู่ต่อไปหลังจากเธอไม่อยู่แล้ว   เธอมักพาRaynaldo มาเล่นที่ชายทะเล สองแม่ลูกเหม่อจ้องท้องฟ้า   วันดีคืนร้ายเธอพาRaynaldo ขึ้นไปบนหน้าผาบอกให้เขากางปีกออกแล้วจะโบยบินไปด้วยกัน ถ้า Kadyo พี่ชายคนโตมาห้ามไม่ทันเธอและลูกอาจร่วงลงจากหน้าผาสู่ท้องทะเลเบื้องล่าง กระทั่งวันหนึ่งพี่ชายของเธอขโมยปืนของทหารมาให้กลุ่มนักเคลื่อนไหวในป่า พวกทหารก็พากันมาบุกหมู่บ้าน ไล่ฆ่าคนอย่างโหดเหี้ยม  Hilda เตลิดหนีไปที่ชายน้ำก่อนจะถูกคนโฉดในหมู่บ้านรุมข่มขืนแล้วฆ่าทิ้ง แม่ที่เคยชิงชังลูกสาวสติไม่ดี ทำอะไรไม่ได้นอกจากก้มหน้าซบพื้นร่ำให้  Kadyo ถูกซ้อมปางตายจนขาเสีย และถูกลากไปขังลืมในคุกที่ทั้งสกปรกและแออัด ทิ้งไว้เพียงย่าและหลานๆสาวรุ่น ขณะที่ Raynaldo เร่ร่อนไปอย่างหลงทิศหลังเสียแม่

 

หลายปีต่อมา ครอบครัวที่เหลือขอKadyo ยังคงดิ้นรนอย่างยากลำบาก ย่าและหลานสาวทั้งสามกลายเป็นชาวนารับจ้างที่ต้องนั่งเกวียนไปเกี่ยวข้าว ไกลๆ ผู้ย่ายังคงกังวลเรื่องการเรียนของหลานๆ หมายใจจะส่งหลานสาวคนที่สองไปเป็นคนรับใช้ในเมืองแลกกับการที่เธอจะได้เรียน หนังสือขณะที่เด็กสาวทั้งสามยังคงผูกสมัครอยู่กับการใช้แรงงานบนแผ่นดิน  Kadyo ติดคุกยาวนาน  และต้องเผชิญชะตากรรมกับบรรดาคนคุกที่ต่อต้านพวกทหารหลังพ้นโทษเขากลับบ้าน เพื่อจะพบว่าบ้านกลายเป็นสถานที่ต้องห้ามสำหรับเขาไปชั่วนิรันดร์ เขาจึงออกเดินลากขาเหว่ว้าตามหาหลานชายอยู่ในเมือง  ข้างฝ่ายRaynaldo หลังความตายของแม่และการชำระแค้น  เขาเร่ร่อนไปตามถนนและอาศัยอยู่กับครอบครัวคนตัดไม้ที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ผู้กำลังจะตาบอด พี่ชายสองคนที่หนึ่งในนั้นเป็นใบ้ ทั้งหมดดำรงชีพด้วยการตัดไม้ฟืนในป่า แต่ยิ่งนับวันยิ่งยากลำบาก กระทั่งผู้พ่อได้ยินเรื่องทองของมาร์กอส เขาเลยพาลูกๆเข้าไปร่อนหาทองในเหมืองร้างสุ่มเสี่ยงจากการถูกฆ่าทิ้งโดย แก๊งค์คนโฉดที่ครอบครองเหมือง หวังว่าจะหาเงินมารักษาแม่ที่กำลังตาบอด

 

แต่ทั้งหมดที่เล่ามาเป็นเพียงเศษเสี้ยวกระผีกริ้นของภาพยนตร์ที่ยาวถึง11 ชั่วโมงเรื่องนี้   ความยาวอาจทำให้คุณตกตะลึง ถึงขั้นผงะหนี  แต่ที่น่าตะลึงกว่านั้นคือ LAV DIAZ ก็ใช้เวลาในการทำหนังเรื่องนี้ทั้งสิ้นร่วม11 ปี !จากฟุตเตจที่มีทั้งฟิล์ม 16 มม. วิดีโอ ภาพข่าว ไปจนถึงกล้องดิจิตัล  จากการถ่ายทำ อันยาวนานเขาค่อยๆนำภาพทั้งหมดมาร้อยเรียงกันเข้าเล่าเรื่องราวที่เต็มไป ด้วยเหตุการณ์ประหนึ่งมหากาพย์ เพียงแต่ว่ามหากาพย์ฉบับนี้ไม่ได้เป็นของกษัตริย์ หรือของวีรบุรุษกู้ชาติ แต่เป็นของครอบครัวชาวนาที่ค่อยๆล่มสลาย ฟื้นตื่น ดิ้นรนและต่อสู้อย่างสิ้นหวังตลอดระยะเวลาอย่างน้อยก็เกือบ16ปี ตลอดยุคสมัยที่กฎอัยการศึกของเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ทอดเงามืดทึบไปทั่วทุกหมู่เกาะของประเทศนี้ หนังเล่าเรื่องของครอบครัวชาวนาในหมู่บ้านเล็กๆอันคล้ายคลึงกับหมู่บ้าน ชาวนาที่ Diaz เติบโตมา หมู่บ้านซึ่งนิ่งงันด้วยมนต์ของละครวิทยุตลอดยามบ่าย ละครวิทยุที่สักกี่สิบปีก็ยังเล่นเรื่องเดิม หมู่บ้านชนบททุรกันดารที่เป็นไปด้วยทุ่งนา   หมู่บ้านที่เต็มไปด้วยชาวบ้านผู้ยากแค้นแสนเข็ญ ดิ้นรนเงียบเชียบในการมีชีวิตอยู่รอดในยุคสมัยอันมืดทะมึน

 

เราอาจกล่าวได้ว่านี่คือหนังซึ่งเป็นแก่นแกนทั้งหมดในงานต่อมาของเขา   Evolution พาเราทอดน่องท่องไปในประวัติศาสตร์สวนบุคคลของครอบครัวชาวนา ทั้งหมดถูกถ่ายทอดเคลียคลอไปกับภาพจริงจากเหตุการณ์จริงนับตั้งแต่การประกาศ กฎอัยการศึกของมาร์กอส ไปจนถึงEDSA การเดินขบวนขับไล่ครั้งสำคัญที่สุดของชาวฟิลิปปินส์ โดยไม่ได้นำเสนออย่างเป็นเหตุเป็นผล พวกเขาเป็นเพียงชาวนาจากดินแดนห่างไกลที่ไม่เกี่ยวอะไรกับการเดินขบวนในกรุงมะนิลา  แต่ผลกระทบทางการเมืองนั้นก็มักจะมาในรูปแบบที่ไม่มีใครคาดเดาได้  ในทางหนึ่งภาพประวัติศาสตร์อาจทำหน้าที่คล้ายหมุดปักบอกช่วงเวลา แต่ในอีกทางหนึ่งมันได้แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าใครหน้าไหนก็ไม่มีทางหลบพ้นจาก เงามืดดำของการเมืองได้

 

หากประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลในหนังที่แปลชื่อไทยได้ว่า ‘ พัฒนาการของครอบครัวชาวฟิลิปปินส์นี้ก็ไม่ได้ถูกนำเสนออย่างตรงไปตรงมา เรียงลำดับเล่าตามรูปแบบที่ดีของประวัติศาสตร์ตามตำรา หนังอาจเริ่มด้วยฉากปัจจุบัน ของ HULINA ANNA MARTINA สามสาวลูกชาวนาที่เดินเท้าทางไกลไปทำนา ก่อนจะย้อนกลับไปหาการเดินอย่างไร้จุดหมายของ HILDA บนถนนค่อนคืน ภาพตัดสลับคล้ายกับผุดพรายแห่งฟองของความทรงจำ  อันเป็นวิธีการเข้าถึงประวัติศาสตร์ตามแบบของสามัญชน

 

และราวกับผู้คนในเรื่องต่างพากันติดกับ  หนังมักจดจ้องพวกเขาในกับดักของการงาน สามสาวและย่าของพวกหล่อนกับการรับจ้างทำนาที่ดูเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด ยิ่งกว่านั้น สามหนุ่มกับพ่อของเขาซึ่งค่อยๆติดกับอยู่กับการร่อนหาทองในเหมืองร้าง สองสรรพสิ่งเดินควบคู่กันไปโดยมีความหวังอันเรืองรองถึงวันข้างหน้าเป็นหลักชัย คุณย่าฝันถึงชีวิตที่ดีขึ้นของหลานๆ ถึงกับยอมส่งหลานคนกลางไปเป็นคนรับใช้ในเมืองเพื่อแลกกับการให้เธอได้เรียนหนังสือ (ส่วนคนอื่นๆที่เหลือต้องทำนาเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเทอม)  เช่นเดียวกับที่คุณพ่อของสามหนุ่มฝันถึงทองที่มากพอจะเอามารักษาดวงตาของภรรยาของเขาที่กำลังมืดบอดลง

 

แต่เหนือไปกว่านั้นดูเหมือนพวกเขาติดกับดักที่ชื่อ “ความหวังอันเรืองรอง” อย่างจริงแท้ และมันมาถึงพวกเขาในรูปของละครวิทยุน้ำเน่า หนังถ่ายภาพหมู่บ้านอันนิ่งงันในมนต์สเน่ห์ของละครวิทยุ ผู้คนละทิ้งการงานนั่งนิ่งในบ้านช่องห้องหับ จับกลุ่มอยู่ใต้ถุนเรือน นิ่งฟังละครวิทยุเกี่ยวกับลูกสาวที่ถูกพ่อเลี้ยงลวนลามถูกแม่ไล่ออกจาก บ้าน สิบปีพ้นไป ละครเปลี่ยนชื่อแต่เรื่องเล่ายังคงเดิม ภาพพาฝันที่กระทั่งคนหูหนวกยังอยากทราบความคืบหน้า เฉกเช่นกับภาพฝันที่มาร์กอสเคยวาดไว้ให้กับผู้คนของเขาตลอดหลายปี (ตัวมาร์กอสเองก็ได้เป็นประธานาธิบดีเพราะ ‘ภาพฝัน’ที่เขาสร้างขึ้นผ่านทางภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อที่สร้างขึ้นจากอัต ชีวประวัติของตนเอง ว่ากันว่าความนิยมของหนังเรื่องนี้ช่วยให้มาร์กอสได้แคะแนนเสียงล้นหลามใน ช่วงขวบปีแรกๆของการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี)  อย่างไรก็ตาม หนังตลบหลังคนดูด้วยการขยับไปถึงขั้นฉายภาพคณะละครวิทยุให้เห็นกันจริงๆ ภาพเบื้อหลังของละครอันเข้มข้นที่แท้เป็นคนมีอายุสี่ห้าคนที่หมุนเวียน เปลี่ยนกันรับบท เด็กสาว แม่ และพ่อเลี้ยง คนทำเสียงประกอบ มันเป็นแค่การแสดงทางเสียงที่ส่งผ่านคลื่นวิทยุไปให้ผู้คนพากันหลงไหลได้ ปลื้ม

 

หากการทำนาและหาทองคือหล่มหลุมแห่งการงาน น่าสนใจที่ว่างานทั้งคู่คือการงานที่ผูกพันอยู่กับผืนแผ่นดิน การงานแห่งการค้นหา ‘ทรัพย์ในดิน’ ผืนแผ่นดินซึ่งไม่เคยเป็นของพวกเขา สามสาวต้องนั่งเกวียนไปเป็นชาวนารับจ้าง ไม่ได้มีที่ดินเป็นของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นสามหนุ่มที่เข้าไปขุดทองนั้นพวกเขาต้องมุดดินเข้าไปในแผ่นดิน ซึ่งมีเจ้าของอยู่แล้ว หนำซ้ำยังเป็นแก๊งค์อันธพาลที่ไล่ฆ่าคนไม่เลือกอีกด้วย ซึ่งใช่หรือไม่ว่านี่คือแบบจำลองความสัมพันธ์ (ซึ่งยืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง) ของประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่เคยเป็นเจ้าของแผ่นดิน ค่อยกร่อนตาย ครอบครัวแตกกระสานซ่านซ็น  หากยังต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินกระเสือกกระสนทำงานที่ยากลำบาก ผูกตัวเองเข้ากับความฝันเพ้อเจ้อที่ถูกหยิบยื่นให้โดยมือที่มองไม่เห็น จนกระทั่งล้มหายตายจากไปอย่างเงียบเชียบ เช่นเดียวกัน คนที่ยังคงหลงเหลือ ก็เพียงแต่ต้อง ‘มีชีวิตอยู่สืบไป’

 

ในขณะเดียวกัน หากบรรดาตัวละคร Fillipino Family คือประชาชนแล้ว ตัวละครอย่างKadyo และ Raynaldo ใยมิใช่ ตัวแทนของผู้คนซึ่งเป็น ‘ผลพวงของความคับแค้น’ และตัวละครทั้งสองตัว ที่แท้ถูกเนรเทศ หรือเนรเทศตัวเองออกจากแผ่นดินเกิด และการเนรเทศ ที่แท้คือหัวใจในหนังของDiaz ทุกเรื่องเลยทีเดียว

 

ในกรณีของRaynaldo เขาถือครองตำแหน่ง จิตวิญญาณของคนฟิลิปปินส์ ในฐานะ เด็กทารกซึ่งถูกทอดทิ้ง ถูกเลี้ยงมาโดยแม่ที่เป็นบ้า (ผู้หญิงบ้า ผู้หญิงที่ตายแล้ว มักถูกนำเสนอเป็นภาพแทน ผืนแผ่นดินฟิลิปปินส์เสมอ ซึ่งเราจะได้กล่าวต่อไป )  เขาชำระแค้นเชิงปัจเจกกับชาวบ้านด้วยกันซึ่งชั่วช้าฆ่าแม่ของเขา จากนั้นเขาออกพเนจรไปในฐานะผู้เนรเทศตนเองโดยแบกบาปผิดติดตัวไปด้วย  เขาเป็นจิตวิญญาณหลงทางซึ่งในความฝันได้ดุ่มเดินตามรูปปั้นกลางตลาดที่พลัน มีชีวิต หากรูปปั้นนั้นคือภาพแทนของวีรบุรุษ ใครสักคนที่เขาควรเอาเยี่ยงอย่าง รูปปั้นในฝันของRaynaldo กลับนำทางเขาเพื่อที่จะมาทิ้งเขาไว้ลำพังในความมืด! ( ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าRaynaldo และHuling คือคนที่ไดแป็น voiceover ของเรื่องเราก็จะพบว่าDiaz ได้มอบหน้าที่ เล่าเรื่องให้กับคนหนุ่มสาว จิตวิญญาณของฟิลิปปินวส์ สองจำพวกนั่นคือ หนุ่มสาวที่ยังคงผูกติดล่ามตรวนอยู่กับแผ่นดินด้วยความจน และหนุ่มสาวซึ่งเร่ร่อนไปในยามที่ถูกเนรเทศ)

 

ในขณะที่ดูเหมือนKadyo อาจครองสถานะแตกต่างจากตัวละครอื่นๆในเรื่อง (หากแต่เป็นสถานะอันเป็นแก่นแกนของตัวละครในหนังของDiaz เรื่องถัดมาแทบทั้งหมด นั่นคือชายผู้ต้องเนรเทศตนเองไป เพราะพิษภัยทางการเมือง แรกทีเดียวKadyoเป็นเพียงชายชาวบ้านธรรมดา ถ้าไม่บังเอิญว่าเขาเข้าไปขโมยปืนของทหาร (ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้ว่าเขาทำไปเพราะความคะนอง เพราะอุดมการณ์ทางการเมือง หรือเพราะความอดอยาก) และนำไปสู่การที่ทหารบุกทำลายหมู่บ้าน ทำให้เขาขาพิการชั่วนิรันดร์จับเขาไปขังคุก และสุดท้าย เขาไม่อาจย้อนกลับไปยังบ้านเกิดชั่วนิรันดร์  Kadyo คือผู้ถูกเนรเทศด้วยบาปผิดติดตัวจากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ชะตากรรมของเขาคือต้นแบบของตัวละครหลักอื่นๆในหนังเรื่องอื่นๆที่เหลือของ Diaz  ฉากความตายของKadyo ถูกถ่ายทอดอย่างยาวนาน เขาถูกแทงและเดินลากขาไปเรื่อยๆโดยแทบไม่มีการตัดต่อร่วมยี่สิบนาที และเมื่อเหตุการณ์นี้สิ้นสุดลง ซากร่างของเขาก็ถูกลากไปกองกับศพอื่นๆอีกเป็นร้อยเป็นพันศพ บรรดาผู้คนที่สาบสูญไปในหล่มหลุมประวัติศาสตร์วีรบุรุษไร้นาม หรือคนสามัญ จะอย่างไรก็แล้วแต่ มองย้อนไปเบื้องหลังยังครอบคัรวของเขา นี่คือความล่มสลายของสถาบันครอบคัรวที่ประวัติศาสตร์การเมืองไม่อาจเยียวยา ครอบครัวซึ่งย่าตายในนา(แม้ที่จริงความตายของย่าจะมาถึงเมื่อแกนั่งดูรูป – ย้อนมองประวัติศาตร์ของตัวแกเอง) และพ่อตายในเมือง น้าสาวถูกฆ่าข่มขืน และลูกพี่ลูกน้องสาบสูญไป

 

ประเด็นที่น่าสนใจมากขึ้นในหนังเรื่องนี้ คือการดำรงคงอยู่ของภาพประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นฟุตเตจข่าว  ภาพการประกาศกฎอัยการศึกของมาร์กอส การลอบสังหารนินอย อาควิโน การประท้วงเดินขบวน บนถนน EDSA (ซึ่งถูกผูกพ่วงกับการเดินเท้ายาวนานเพื่อไปทำนาของHULING การเดินลากขาไปตายของKadyo และการเดินตามรูปปั้นไปสู่ความมืดของRaynaldo) การแถลงที่มาลากันยัง ไปจนถึงการรับตำแหน่งของนางคอราซอน อาควิโน ภาพประวัติศาสตร์ทั้งหมด ในทางหนึ่งเป็นเหมือนหลักเขตทางเวลาที่บ่งบอกยุคสมัยของเรื่องราว แต่ในอีกทางหนึ่งใช่หรือไม่ที่ภาพทั้งหมดไม่ได้ถูกบอกเล่าในฐานะของภาพ ประวัติศาสตร์ซึ่งนำเสนอความจริงโดยมีนัยยะเชิดชูการต่อสู้ของประชาชน หรืออะไรทำนองนั้น ที่จริงแล้วในทางหนึ่งมันทำหน้าที่ไม่ต่างจากละครวิทยุด้วยซ้ำ การปฏิวัติซึ่งที่แท้อยู่ห่างไกลจากชีวิตชาวนาเป็นพันๆกิโลเมตร บ้างอาจล่องลอยมาตามเสียงคลื่นวิทยุรายงานข่าว ดังเช่นที่ครอบครัวของFernando (นักขุดทอง) ได้เพียงแต่ฟังการรายงานข่าวทางวิทยุแทรกระหว่างละครวิทยุเรื่อ.โปรดของพวก เขาเท่านั้น

 

พวกเขาแทบไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนี้ ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรในการประท้วงหรือความตาย แต่มือมืดทะมึนก็ยังเอื้อมมาถึง ครอบครัวของFernando (นักขุดทอง) นั้นยิ่งกว่า พวกเขาเพียงเฝ้าฟังข่าวของมันทางวิทยุช่องทางเดียวกับละครวิทยุ  หากที่พวกเขาต้องพานพบในเมืองทองร้าง (ซึ่งจะว่าไปเขาได้ความคิดเรื่องทองจากข่าวสารที่ว่ามาร์กอสขนทองออกนอก ประเทศ  ) คือแบบจำลองของขบวนการคอรัปชั่นที่กำลังกินเมือง     ในขณะที่ครอบครัวของHuling เองก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องการเมืองจนกระทั่งเมื่อกลุ่มต่อต้าน และทหารมาถึงKadyo ก็ถูกลากไปเกี่ยวโดยไม่ได้ตั้งใจ  หากในที่สุดทั้งสองครอบครัวก็ถูกลากพาเข้าไปเกี่ยวกับการเมืองได้อยู่ดี เมื่อ Fernando เชื่ออย่างที่มาร์กอสเชื่อว่า ทองนั้นดีกว่าเงิน เขาจึงพาลูกๆไปขุดทอง และเผชิญกับแกงค์อันธพาล(ที่เป็นเสมือนแบบจำลองของสังคมคอรัปชั่น)  เช่นเกียวกับkadyoหลังออกจากคุก เขาได้รับการว่าจ้างให้ไปตี Lino Brocka ก่อนที่การหยุดดูการชุมนุมริมถนนจะทำให้ชีวิตของเขาถึงจุดจบ กล่าวอย่างง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด มือที่มองไม่เห็นก็จะฉุดดึงเราสู่ห้วงหายนะได้อย่างเท่าเทียม (และอาจเป็นความเท่าเทียมเดียวที่มีอยู่จริง)

heremias

 

Heremias Book 1 กองเกวียนคนทุกข์ 

 

ดูเหมือนว่า Lav Diaz อาจเป็นตัวอย่างชั้นยอดในการยกมาตอบคำถามคลาสสิคของคนเขียนหนังสือเรื่องอำนาจของวรรณกรรมกับภาพยนตร์  อาจเพราะภาพยนตร์ของLav Diaz โดยเนื้อแท้มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับวรรณกรรมอย่างยิ่ง เขาไม่เล่นท่ายาก เล่าเรื่องหรูหราโดยใช้เทคนิคอลังการ   หากเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา มีบทต้นและมีตอนสรุป หนำซ้ำถ้าพูดถึงเรื่องเล่า หนังของเขาก็ละม้ายคล้ายคลึงกับวรรณกรรมเพื่อชีวิตของบ้านเรามาก (ซึ่งที่จริงก็มีต้นธารร่วมกัน นั่นคือวรรณกรรมรัสเซีย) ตัวละครคนทุกข์ที่ต้องเผชิญชะตากรรมจากความไม่เป็นธรรมของสังคม หากภายใต้เรื่องเล่าที่สุดแสนสามัญพิมพ์นิยมนั้น Diaz กลับก้าวไปไกลกว่าวรรณกรรมเพื่อชีวิตหลายชิ้นที่ยังคงยึดค่านิยมเก่าตาย อย่างนายทุนร้ายชาวบ้านดี ใส่สีตีไข่ชะตากรรมของคนตัวเล็กจนกลายเป็นความทุกข์ยากเหลือแสนที่โรแมนติคผ่องแผ้วจนไร้มิติอื่นใด

ในหนังของLav Diaz  เขาเล่าภาพเยี่ยงวรรณกรรมเพื่อชีวิต เขาเปิดแต่ละฉากด้วยภาพกว้างของสถานที่ ทัศนียภาพ แช่นิ่งยาวนานจนคล้ายสะกดให้ผู้ชมเลื่อนไหลจากที่นั่งไปยังถนน ป่า หรือทุ่งนา ตามที่ตัวละครอยู่  จากนั้นตัวละครจึงค่อยๆปรากฏขึ้น พวกเขาถูกจับจ้องมองอากัปกิริยา  กระทำการเพื่อเล่าเรื่อง จากนั้นจึงออกไปจากฉาก ทิ้งคนดูผู้รับฐานะบุรุษที่4  จับจ้องมองโดยไร้ปากเสียง ไม่ใช่จากจอ แต่จากทัศนียภาพซึ่งคนดูมารอท่าก่อน และยังคงอยู่เมื่อตัวละครออกจากฉากไปแล้ว ในทางภาพยนตร์ นี่คือการปรากฏขึ้นด้วยลีลาราวกับจอหนังคือผืนผ้าใบ ทิ้งสถานะดำรงคงอยู่ แม้ไม่มีตัวละคร ตัวละครเป็นเพียงองค์ประกอบที่พลัดหลงเข้ามาเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ในทางวรรณกรรม รูปแบบการบรรยายฉากเคร่งครัดก่อนเล่าเรื่องใยมิใช่ขนบอันคุ้นเคยเล่า

 

ซึ่งในบรรดาหนังของLav Diaz ทั้งหมด หนังที่ข้ามไปมาระหว่างโครงสร้างของวรรณกรรม(สายเพื่อชีวิต) กับภาพยนตร์ ได้ชัดเจนที่สุดน่าจะคือ Heremias Book 1 ซึ่งหนังเล่าเรื่องของ Heremias คนทุกข์ผู้ออกเร่ร่อนไปพร้อมกับกองเกวียนบ้านไพร พวกเขาเร่ขายงานจักสานจากหมู่บ้านชนบท เร่จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังหมู่บ้านหนึ่ง เดินทางเกาะกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือดูแลกัน หลีกเลี่ยงการแยกกลุ่มโดดเดี่ยว หลีกเลี่ยงเมืองใหญ่ๆที่ซึ่งพวกเขาอาจถูกปล้นชิง   ยิ่งเดินทางไกล Heremias นับวันยิ่งทุกข์เศร้า เขาหมดความสนใจในการค้าขายหรือผูกสัมพันธ์กับผู้คนอีกต่อไป สุดท้ายเขาบอกกับหัวหน้ากลุ่มว่าจะขอแยกตัวไปเพียงลำพัง เกวียนของเขาค่อยๆเคลื่อนแยกจากไปท่ามกลางความห่วงใยของผองเพื่อน

ในความโดดเดี่ยว เกวียนของHeremias นำพาเขามาถึงเมืองเล็กๆที่ยังโอบคลุมด้วยประวัติศาสตร์แห่งความระทมเมื่อครั้งญี่ปุ่นบุกยึดแผ่นดิน  เขาแวะพักหลบพายุในตึกร้าง พยายามหาที่กันฝนให้วัวและเกวียน คืนนั้นเขาพบชายแปลกหน้าที่อาจจะคือภูติผี พบกับชายหนุ่มสามคนที่บังเอิญมาติดฝน พวกเขาปันเหล้าให้ Heremias ดื่ม เขาเมาหลับไป พอตื่นขึ้นมาวัวก็หายไปแล้วและเกวียนก็ถูกเผามอดไหม้จนเหลือแค่ซาก

ในความหวาดวิตก Heremias ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่บ้านซึ่งพาเขาไปพบกับตำรวจหนุ่ม การสอบสวนไร้ความคืบหน้า ระหว่างการมาส่งเขาที่ท่ารถตำรวจหนุ่มร้องขอสินบนห้าหมื่นเปโซแล้วสัญญาว่า เรื่องจะจบ แต่ Heremias ผู้ทุกข์ยากจะเอาเงินจากที่ไหนมาให้ เขาจึงทำได้เพียงขึ้นรถกลับไปหาพวกพ้องอย่างเศร้าสร้อย ก่อนที่จะย้อนกลับมาเฝ้าดูจุดเกิดเหตุเงียบๆในป่า เพราะเพื่อนของเขาบอกว่าอาชญากรมักจะย้อนมายังจุดเกิดเหตุเสมอ

ที่นั่นเองเขาพบเข้ากับแก๊งค์เด็กวัยรุ่นเมายาที่พากันมายังบ้านร้าง ตะโกนโหวกเหวก เปิดเพลงเสียงดัง พลางกล่าวแก่กันถึงแผนร้ายที่จะลักพาเด็กสาวคนหนึ่งมาข่มขืนแล้วฆ่าเสีย  Heremias ได้ยินโดยตลอด และรู้สึกผิดบาปในใจจนต้องย้อนกลับพบนายตำรวจเพื่อขอร้องให้เขาช่วยเหลือ เด็กสาว แต่กลับโดนปฏิเสธ หนำซ้ำยังถูกไล่ไป เพราะบรรดาเด็กๆเหล่านั้นคือลูกหลานของบรรดาผู้มีอิทธิพลในเมือง กระทั้งหนทางสุดท้าย Heremias ผู้สิ้นไร้ไม้ตอกภาวนากับพระเจ้าขอแลกชีวิตตนเองกับเด็กสาวผู้นั้น โดยเขาจะยอมเดินเท้าโดยไม่กินอาหารสี่สิบวันหากเด็กสาวปลอดภัย

หากเทียบกับEvolution of Filippino Family แล้วHeremias จัดเป็นหนังที่เล่าเรื่องตรงไตปรงมาอย่างยิ่ง หนังเรียงลำดับเวลาตามเหตุการณ์เล่าเรื่องชีวิตคนทุกข์ที่ต้องเข้าไปพัวพันกับโลกแห่งความโหดเหี้ยม ฉ้อฉลโดยไม่สามารถจะทำอะไรได้มากไปกว่าพ่ายแพ้และทนทุกข์ต่อไป ถ้าจะว่าไปแล้วโครงสร้างของHeremias นั้นแทบจะเดินตามขนบของวรรณกรรมเลยทีเดียว(บางทีนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ Diaz เรียกหนังเรื่องนี้ด้วยสรรพนามว่า ‘เล่ม’)  เริ่มจากภาพร่างของกองเกวียนพ่อค้าเร่ และHeremias ผู้ขับเกวียนสุดท้ายซึ่งแปลกแยกจากเพื่อร่วมขบวนมากขึ้นทุกทีจนแยกตัวออกไปและพบเจอเรื่องร้ายๆต่อเนื่องเป็นชุดๆ  ซึ่งแน่นอนว่า Heremias ไม่ได้ต่างจาก Kadyo และ Raynaldo เขาคือผู้เนรเทศตนเองออกจากกลุ่ม พึงใจมากกว่าที่จะได้เร่ร่อนไปตามลำพังและจ่อมจมอยู่ในห้วงทุกข์ (ใน Heremias Book  2 ที่ยังคงเป็นฉบับที่ตัดไม่เสร็จจนถึงทุกวันนี้) หนังพาเราย้อนกลับไปดูชีวิตวัยเด็กของHeremias  ไปดูพ่อแม่และน้องสาวของเขาเพื่อจะพบว่าห้วงทุกข์ของเขาอาจผูกพันอยู่กับแผ่นดินเกิด –ซึ่งต้องสาป(อีกแล้ว) เขาจึงจำต้องเร่ร่อนไปชั่วนิรันดร์)

หรือหากเทียบHeremias กับหนังเรื่องอื่นๆ เราอาจพบว่านี่คือหนังที่มีร่องรอยประวัติศาสตร์การเมืองของฟิลิปปินส์อยู่น้อยที่สุด ไม่ประกาศตัวเข้มข้นแทรกมาในเส้นเรื่องเหมือนEvolution ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เล่าถึงตัวละครนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเฉกเช่นใน Death และ Melancholia หนังอีกสองเรื่องถัดมา หากใน Heremias การดำรงคงอยู่ของการเมืองกับแทรกสอดอยู่ในเรื่องเล่าในฐานะของแบบจำลองแห่งสังคมฉ้อฉล ความฉิบหายที่เกิดขึ้นกับ Heremias ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องทางกายภาพอย่างวัวหาย แต่ยังลึกลงไปถึงระดับศีลธรรมอันชวนเจ็บปวดยิ่งกว่า เพราะนอกจากเขาจะช่วยตัวเองไม่ได้ เขายังไม่อาจช่วยคนอื่นได้ ในสังคมฉ้อฉลนี้ กระทั่งความดีงามก็อาจนำมาซึ่งภัยร้ายได้

ภายใต้ความยาว 9 ชั่วโมงของตัวหนัง (ซึ่งถือเป็นความยาวมาตรฐานสำหรับภาพยนตร์ของLav Diaz) เป็นไปเพราะรูปแบบเชิงสุนทรียศาสตร์เฉพาะของ Diaz เอง  ดังที่ได้กล่าวไปแล้วการจ้องมองของ Diaz ทำให้จอหนังกลายป็นผืนผ้าใบซึ่งร่างฉากขึ้นมา จากนั่นจึงให้ตัวละครเข้ามามีบทบาท (บางครั้งกระทั่งตัวละครอยู่ในฉากเราก็อาจมองไม่เห็นแต่แรก )พวกตัวละครจะถูกกดให้ลีบเล็กกลืนหายไปในฉากซึ่งอาจเป็นป่า เป็นแม่น้ำเกิดใหม่ เป็นซากปรักหักพังของสรรสิ่ง กระทั่งพวกเขาขยับเคลื่อนไหว เราจึงดูออก เมื่อพวกเขาพูดเราจะไม่รู้ว่าเป็นเสียงของใคร พวกเขาราวกับถูกกดให้กลืนหาย ในจักรวาลของDiaz ตัวละครไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุด โลกในหนังอาจต้อยตามตัวละครไปแต่พวกเขาเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งท่ามกลางองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งมีทั้งทัศนียภาพ  และความยาวนานของการจ้องมอง  Diaz รื้อทำลายความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้เวลาในโลกภาพยนตร์ เขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ในวิถีชีวิตของชาวมาเลย์ (ซึ่งกินความหมายรวมถึงชนพื้นเมืองในแถบ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) นั้น พวกเราไม่มีกรอบคิดเชิงเวลา(time) มาก่อน ผู้คนสามารถพากันเอ้อระเหยลอยชาย กิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างไม่เร่งร้อน(เพราะไม่มีความจำเป็นจะต้องเข้าสู่ระบบสายพานการผลิต) พวกเขาสามารถคอยท่าฟ้าฝนหรือพักหลบนอนใต้ร่มไม้ กล่าวอย่างง่ายคือโลกเก่าของชาวมาเลย์นั้นไร้เวลา แต่ถูกกำหนดผ่านกรอบคิดเชิงพื้นที่ (space) ตามประสาผู้คนซึ่งผูกพันอยู่กับการทำเกษตรกรรม จนกระทั่งแนวคิดเกี่ยวกับเวลาก้าวเข้ามามีบทบาทในยุคสมัยของการล่าอาณานิคมนี้เอง กล่าวโดยสรุป คือแนวคิดเชิงเวลาที่บังคับให้ผู้คนตื่นเช้าทำงานถึงเย็น กลับบ้านมานอน บังคับให้หนังต้องมีเวลาสองชั่วโมง เพื่อที่คนดูจะได้ไปใช้จ่ายเวลากับสิ่งอื่นต่อไป Diaz เคยให้สัมภาษณ์ว่าในทางหนึ่งภาพยนตร์ของเขาต่อต้านกรอบคิดเหล่านั้น แต่ไม่ใช่ด้วยความจงใจ หากด้วยความไม่ใส่ใจ หลังจาก Batang West Side เขาไม่เคยกลับไปตระหนัก วิตก หรือยอมจำนน ต่อกรอบคิดเชิงเวลาอีก เขาปล่อยฉากแต่ละฉากให้ยาวจนเขาพอใจ มุ่งความสนใจไปยังกระบวนการและการจ้องมอง ยิ่งเมื่อเขาหันมาทำงานด้วยกล้องดิจิตัล ความยาวของม้วนฟิล์มก็ไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป และในHeremias หนังมีฉากเด็กติดยามีเมาบ้าอยู่ในบ้านร้างความยาวถึงหนึ่งชั่วโมงเต็มโดยไม่มีการตัดทอน  แน่นอนว่าฉากยาวๆของDiaz ไม่ได้มีไส้เพื่อเล่าเรื่อง เพื่อสำแดงเหตุการณ์พลิกผัน  หรือเพื่อโชว์เทคนิคการถ่ายทำ (ที่จริงแล้วหนังของDiaz แทบไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าตั้งกล้องทิ้งไว้เฉยๆ) แต่การต่อต้านกรอบคิดเวลาของDiaz ไปไกลกว่านั้น เพราะในฉากยาวๆนั้นคนดู(ซึ่งดังที่กล่าวไป-อยู่ในฉากก่อนตัวละคร) จะได้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของตัวละคร (ซึ่งโดยมากจะถูกทิ้งไว้เพียงลำพัง จนแทบกล่าวได้ว่า หนังของDiaz เกือบทั้งหมด มีฉากแค่สองแบบ คือฉากยาวๆของตัวละครที่อยู่ตามลำพัง และฉากสั้นๆย้อนแสงที่ถ่ายทำบทสนทนาของตัวละคร เรื่องเล่าทั้งหมดอยู่ในบทสนทนานั้น และอาจไม่ปรากฏในหนังต่อให้มันยาว 11ชั่วโมงก็ตาม) ในฉากปล่อยเดี่ยวนั้น เราอาจนั่งจ้องมองตัวละครเดินเท้าทางไกล หรือเหม่อจ้องสายฝน หรือตื่นสะลึมสะลือจากฝันร้าย ฉากยาวๆเหล่านั้นไร้เรื่องแต่กลับบรรจุสาส์นสำคัญแห่งการเฝ้าสังเกต เพราะฉากยาวเหล่านี้ได้สะท้อนภาพเล็กภาพน้อย เหตุการณ์ไร้ความสำคัญซึ่งประกอบขึ้นเป็นมิติเชิงลึกของมนุษย์ เราจะรู้ว่าคนคนนั้นเป็นคนอย่างไร ไม่ใช่รู้จากเรื่องเล่าของเขา แต่อาจจะรู้ได้จากวิธีที่เขาเหม่อจ้องสายฝน มนุษย์ประกอบด้วยส่วนเสี้ยวมากมาย การปล่อยให้เราจ้องมองส่วนเสี้ยวนั้นทำให้เราก่อร่างภาพของมนุษย์คนหนึ่งขึ้นมาแทนที่ตัวละครตัวหนึ่ง

กลับมาสู่โลกของHeremias ในโลกนิ่งงันที่เต็มไปด้วยภัยร้ายทั้งจากคนกับคน ผู้มีอิทธิพล กับคน และรัฐกับคนนี้ ดูเหมือนโลกที่Heremoas ต้องเผชิญล้วนเต็มไปด้วยเรื่องเล่า และอำนาจของมัน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็น Heremias ในฐานะคนพูดน้อยไร้ปากเสียง ในขณะที่ผู้คนอื่นๆในเรื่องล้วนเต็มไปด้วยเรื่องเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขามาถึงBarrio Hapon เมืองที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า เริ่มจากเรื่องเล่าเกี่ยวกับนายพลญี่ปุ่นที่มาตายในเมือง (ที่เล่ากันในวงเหล้าก่อนวัวหาย) เรื่องเล่าของผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับบ้านร้างที่ Heremias มาหลบฝน เรื่องเล่าของผู้ต้องสงสัยที่ถูกนายตำรวจเรียกมาสอบสวน เรื่องเล่าของนายตำรวจเกี่ยวกับพ่อของเขา ไปจนถึงเรื่องเล่าของแกงค์วัยรุ่นเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการที่พวกเขาคิดจะทำเมื่อล่อลวงเด็กสาวมาได้  ทุกคนล้วนมีเรื่องเล่าเป็นของตัวเอง และใช้อำนาจของเรื่องเล่านั้นเป็นเหมือนเกราะคุ้มกันภัย ใช้อวดอ้างอำนาจ ใช้ตอกย้ำให้รู้สึกผิด (ซวยเองที่มาอยู่ผิดที่) บิดเบือนให้มันเป็นอื่น (คำสอบสวน) หรือกระทั่งขู่ให้กลัว

ด้วยการณ์นี้ สังคมคอรัปชั่นในเมืองเล็กๆที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าซึ่งความจริงเลอะเลือนไป จึงสามารถสวมครอบลงกับสังคมฟิลิปปินส์ร่วมสมัยได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ(กับสังคมไทยก็ด้วย) ตำรวจหนุ่มผู้ร้องขอเงินจาก Heremias เพื่อให้คดีจบ หรือปฏิเสธจะให้ความช่วยเหลือเด็กสาว (เช่นเดียวกับพระที่ทำได้แค่สวดภาวนาให้เด็กสาวและไล่ Heremais ไปให้พ้นหูพ้นตาเท่านั้น) เพราะเกรงกลัวอิทธิพลมืด อาจคือตัวชั่วช้า แต่หนังเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นว่าทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นเพียงกลไกหนึ่งของระบบแห่งความหวาดกลัวและการเอารัดเอาปรียบ การดิ้นรน และความเพิกเฉยทางศีลธรรม  โดยมี Heremias คนดีที่พยายามจะทำสิ่งที่ดี พยายามที่แค่จะมีชีวิตเยี่ยงปัจเจกชนที่ไม่ผูกติดกับสังกัดใด เป็นส่วนปลายสุดของห่วงโซ่นี้

Heremias ผู้ไร้เรื่องเล่าจึงกลายเป็นเพียงผู้ฟังที่ถูกเรื่องเล่าหลอกลวง   เรื่องเล่าทำลายข้อเท็จจริงลงไป ทำลายได้กระทั่งคุณธรรมที่เขายึดถือ เรื่องเล่าในHeremias ทำหน้าที่ไม่ต่างกับละครวิทยุใน Evolution และเรื่องเล่า –สื่อเหล่านี้ยังคงถูก Diaz นำมาวิพากษ์อย่างคมคายเสมอในหนังทุกเรื่องของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนังเรื่องถัดมาอย่างDeath in The Lanc of Encantos

death-2

Death in the Land of Encantos  บ้านข้าแผ่นดินใคร 

 

Benjamin Arguson คือกวีผู้เป็นความภาคภูมิใจของบ้านเกิด แต่กว่าเขาจะได้ย้อนกลับคืนมาบ้านเกิด มันก็ไม่ได้มีอยู่อีกแล้ว

ปี 2006 พายุ Reming พัดเข้าถล่มชายฝั่งฟิลิปปินส์ มันคือพายุใต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้พัดทำลายเอาเมืองเล็กๆ ตีนภูเขาไฟให้ราพนาสูรจนเหลือแต่เพียงก้อนหินระเกะระกะ  คนรักของเขาผู้ซึ่งรอคอยจนจบชีวิตถูกกลบฝังอยู่ในหล่มโคลน เหลือเพียงบรรดาเพื่อนศิลปินที่ละทิ้งศิลปะไปเป็นคุณพ่อลูกสามที่ทำประมง  และเพื่อนสาวที่เปิดสตูดิโออยู่ตีนภูเขาไฟ เธอคัดเฉพาะหินภูเขาไฟมาแกะสลักงานเพราะเธอเกลียดมัน เธอจะให้กำเนิดความงามจากสิ่งซึ่งมันคายทิ้ง เธออาจจะเคยมีอะไรกับเขา แต่ตอนนี้ทั้งหมดได้แต่สนทนากันอย่างโศกเศร้า เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ศาสนา ปรัชญา การเมือง ศิลปะ ไม่ว่าสิ่งใดก็ดูช่างเศร้าสร้อย พวกเขาเดินทางกลับไปยังบริเวณที่ถกทำลายล้างและพบเพียงกระแสลมอื้ออึงบนแผ่นดินที่ดูราวปลายขอบโลก

ขณะที่Benjamin ค่อยๆสืบค้นประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลของตน ลึกเข้าไปในเรื่องของพ่อที่ตรอมใจตายช้าๆหลังจากแม่ของเขาค่อยๆกลายเป็นบ้า เพราะนางเชื่อในตำนานว่านางเป็นของเจ้าชายลิงดำไม่ใช่ของโลกนี้ น้องสาวของเขาฆ่าตัวตายด้วยการโดดตึก ยิ่งสืบลึกยิ่งรวดร้าวจนเหลือจะทน Benjamin เข้าเมืองไปหาเรื่องแม่และพบว่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงสะกดรอยเขา ตลอดจากฟิลิปปินส์ถึงรัสเซียที่เขาสู้อุตส่าห์หลบหนีไป เขาไม่เคยรอดสายตาของมือที่มองไม่เห็นซึ่งในที่สุดออกโรงข่มขู่เขาในร้านกาแฟที่สวนแสงตะวัน

ราวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตไหลทบกัน Benjami พบว่าการกลับบ้านค่อยๆทำให้เขากลายเป็นบ้าไปทีละน้อย เขาเรียกหาความตายเอากับเพื่อนของเขาผู้ซึ่งปฏิเสธ เขาจึงได้แต่เร่ร่อนอยู่ในแผ่นดินรกร้างภูเขาไฟโบราณและแม่น้ำกำเนิดใหม่ ค่อยกัดกินจิตวิญญาณตนเองจนนำไปสู่โศกนาฏกรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง

แรกทีเดียวDiaz ตั้งใจเพียงจะแบกกล้องลงไปยังเมืองชายฝั่งที่สูญหายไปเมืองนั้น เพราะนั่นคือเมืองที่เขาถ่ายทำ บางส่วนของ Evolution และ Heremias  โลเคชั่นทั้งหมดในหนังเรื่องก่อนของเขาสาบสูญไปหมดในพายุ บ้านที่เขาเคยไปพักขณะถ่ายหนังก็เหลือแต่ซากเศษ Diaz และทีมงานจึงลงไปเก็บฟุตเตจภาพของเมืองและผู้คน แต่ขณะที่เขาถ่ายทำอยู่ไอเดียเกี่ยวกับเรื่องเล่าก็ผุดขึ้นในหัว จนในที่สุดเขาตามนักแสดงไปที่นั่นแล้วสร้างส่วนของเรื่องเล่าขึ้นมาสวมทับส่วนที่เป็นสารคดีสัมภาษณ์ผู้คน ค่อยๆกลืนมันเข้าหากัน

หนังจึงเริ่มต้นจากภาพของซากปรักหักพังของสรรพสิ่ง ต้นไม้เหยียดกิ่งยื่นไปในหมอกเช้า แผ่นดินที่เกลื่อนกับหินภูเขาไฟ แม่น้ำกำเนิดใหม่หลังจากพายุผ่านพ้น จากนั้นเราจึงเห็นชายหนุ่มเดินทางมาจากที่ไกล มาทรุดตัวลงร้องให้ท่ามกลางแผ่นดินรกร้างและซากสิ่งของเขานั่งนิ่ง ฝันถึงแม่ผู้ซึ่งเดินเดียวดายในป่า จากนั้นภาพตัดไปสู่การเป็นสารคดีสัมภาษณ์ผู้มีชีวิตรอดจากพายุบอกเล่าถึงความรุนแรงของมัน หนังแตกแยกออกเป็นสามส่วน คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับแม่ ชีวิตของBENJAMIN (เส้นเรื่องหลัก) และ สารคดีสัมภาษณ์ชิวตผู้รอดตาย ก่อนที่ Diaz จะทำให้มันผสมกันอย่างฉับไวเพราะในฉากต่อมา กล้องของทีมสารคดีก็ตรงเข้าคุกคามสัมภาษณ์Benjamin สารคดี ปะทะกับเรื่องเล่าเสียตั้งแต่ต้นเรื่อง จากนั้นทุกสิ่งก็เลือนเข้าหากัน เราติดตามชีวิตของBenjamin Arguson และห้วงคำนึงถึงเหล่าสตรีของเขา ตัดสลับกับทัศนียภาพรกร้างและคำสัมภาษณ์ของชาวบ้าน

ดังเช่นที่เขาเคยทำกับละครวิทยุใน Evolution เรื่องเล่านานาใน Heremias  สารคดีชีวิตชาวบ้านในหนังเรื่องนี้ และ การเสนอบทภาพยนตร์ใน Melancholia (หนังเรื่องต่อมา) Diaz ให้ความสำคัญกับสื่อ และทำการวิพากษ์ ซ้อนทับ ความเป็นสื่อที่นำเสนอเรื่องเล่าชุดหนึ่งซ้อนเข้ากับเส้นเรื่องหลัก   เรื่องเล่าซึ่งส่งอิทธิพลในทางลับกับเส้นทางชีวิตตัวละคร หรือเรื่องเล่าที่ย้อนกลับมาวิพากษ์ชีวิตตัวละคร

รูปแบบหนังซ้อนหนังใน Death In the Land of Encantos ถูกนำมาใช้อย่างน่าทึ่ง Diaz ถึงกับประกาศการมีอยู่ของตัวเองในหนังในฐานะผู้กำกับหนังสารคดีที่เคยมาถ่ายหนังที่นี่   หนังไพล่ไปเล่าเรื่องแผ่นดินต้องสาป ราวกับว่าการที่แผ่นดินนี้โดนพายุพัดทำลายเป็นเพราะคำสาปโบร่ำโบราณ และ Diaz ก็ร่วมในสำนึกบาปนั้นเมื่อเขาหยิบเอา ฟุตเตจเมื่อครั้งที่เขาถ่าย Melancholia Book 2 มาใส่ไว้ในหนัง ฉากที่พูดถึงคำสาปที่มากับหางงูซึ่งยืนยันว่าพ่อแม่ของHeremias นั้นต้องสาปและจะต้องประสบกับความฉิบหาย ราวกับว่า Diaz และเรื่องเล่าของเขาต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อหายนะแห่งแผ่นดินนี้ด้วยเช่นกัน  สื่อ (เรื่องเล่า) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกกันไม่ออก เขาอาจไม่ได้วิพากษ์ความมีอยู่ของสื่อในฐานะสิ่งคุกคามแต่เพียงถ่ายเดียวเขาแสดงให้เห็นว่าที่แท้มันกลืนกันกับชีวิตจริงของตัวละครและของเขาผู้ซึ่งแอบสอดแทรกความหลงไหลในภาพยนตร์ลงไปในหนังอย่างแนบเนียน ผ่านทาง Lino Brocka ใน Evolution และ Andrei Tarkovsky ใน Encantos ซึ่งในหนังเรื่องนี้นอกจากตัวละครจะพูดถึงรัสเซียและTarkovsky แล้ว ตัวเรื่องของหนังยังคล้ายคลึงกับการเดินทางไป the xone ของตัวละครใน Stalker ของTarkovsky อย่างมาก กระทั่งฉากที่ตัวละครล้มลงนอนคว่ำบนพื้นก็แทบจะเทียบได้กับฉากคลาสสิคใน Stalker เพียงเปลี่ยนจากหนองน้ำ เป็น หินภูเขาไฟ (ที่ใช่หรือไม่ว่าเคยเป็นธารลาวามาก่อน)

พิจารณาจากชื่อหนังซึ่งแปลได้ตรงตัวว่า ‘ความตายบนแผ่นดินแห่งความลุ่มหลง’ ดูเหมือนตลอดมา แผ่นดินของ Diaz คือดินแดนต้องสาปเสมอ (หมู่บ้านและเหมืองทองใน Evoluiton เมืองแห่งตำนานนายทหารญี่ปุ่นใน Heremias book1 บ้านเกิดของ Heremias ใน Book 2  ดินแดนตีนภูเขาไฟ ใน Death In the Land of Encantos และอาจรวมไปถึงป่าแห่งความตายใน Melancholia) และเสมอมา แผ่นดินต้องสาปของ Diaz มักผูกพ่วงอยู่กับ ‘ผู้หญิงบ้า’ หรือ ‘สายเลือดแห่งความบ้าคลั่ง’ ราวกับว่าเขาเชื่อว่า ฟิลิปปินส์คือแผ่นดินต้องสาป และบรรดา ฟิลิปปิโนส์ คือเหล่าผู้สืบสายเลือดมาจากความบ้าคลั่ง แผ่นดินของ Diaz มักผูกพ่วงกับความเป็นหญิง ความเป็นผู้หญิงบ้า ซึ่งเด่นชัดอย่างยิ่งในหนังเรื่องนี้ เพราะ แม่ของBenjamin นั้นคือผู้หญิงบ้า(เฉกเช่น Hilda แม่ของRaynaldo ในEvoluiton) นางแต่งงานกับพ่อของเขา แต่เชื่อว่าตนเองที่แท้คือภรรยาข้าทาสของเจ้าชายลิงดำ (ซึ่งปรากฏในฐานะตัวประหลาดทาหน้าทาตาไล่ตาม Benjamin ในวัยเด็ก)นางเชื่อมั่นถึงขนาดที่ค่อยๆเป็นบ้าไปหลังแต่งงาน ยิ่งเมื่อพบกับดอกไม้ประหลาดที่ผุดขึ้นมากลางป่า นางยิ่งเชื่อมั่นว่านั่นคือสัญญาณที่เจ้าชายลิงดำจะพาตัวนางไป(บางทีแม่ของBenjamin อาจคือตัวแทนของแผ่นดินฟิลิปปินส์ในยุคแห่งการล่าอาณานิคม แม่ผู้ซึ่งไม่พอใจในชีวิตครอบครัวของตนหากยังปรารถนาการตกเป็นทาสของเจ้าชายไร้ใบหน้า ไม่ได้ต่างจากความสัมพันธ์ทั้งรักทั้งชังระหว่างประเทศเจ้าอาณานิคมกับชนพื้นเมือง ร่องรอยของเจ้าอาณานิคมไม่ได้เพียงฉาบทาอยู่บบนรูปรอยของการกดขี่ทางตรง หากยังอยู่ในระดับลึกซึ้งและหลากหลายกว่านั้น ซึ่งรวมถึงอาการอยากเป็นเยี่ยงเจ้าอาณานิคมซึ่งในทางหนึ่งยังคงซึมลึกผ่านทางรูปแบบวัฒนธรรมลูกผสม ) ก่อนที่พ่อของเขาจะพาแม่ไปรักษาแบบไม่กลับมาอีกเลยในโรงพยาบาลบ้า และตัวเอง(ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมือง) ค่อยๆตรอมใจตายไปเอง ในขณะที่ยังมีผู้หญิงอีกอย่างน้อยสองคนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของแผ่นดินนั่นคือภรรยาผู้ล่วงลับซึ่ง Benjamin ทอดทิ้งไป นางตายในหล่มโคลนที่โถมทับเมืองนี้ และเขาฝันถึงนางในร่างเปลือยเปล่า เฉกเช่นเดียวกับที่เขาฝันถึงร่างเปลือยของหญิงสาวอีกคนที่อาจจะเป็นคนรักของเขาในรัสเซีย (ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกลับไป สถานะของหญิงสาวที่มีต่อตัวละครชาย ก็คล้ายคลึงกับสถานะของพี่น้องสามสาวที่มีต่อ Raynaldo และ Kadyoใน Evolution และ Helena เด็กสาวที่เราไม่เห็นตัวแต่รู้ว่าเธอจะต้องถูกลากมาข่มขืนใน Heremais และลามเลยไปถึง ภรรยาในฝันของ Julian ตัวเอกใน Melancholia )  กล่าวอย่างง่าย แผ่นดินฟิลิปปินส์ในสายตาของDiazนั้นคือเพศหญิง ซึ่งถ้าไม่ตายไปนานแสนนานก็ต้องเป็นบ้าไปนั่นแหละ

หากใน Encantos ยังมีหญิงสาวอีกคนหนึ่งนั่นคือ Catalina (เล่นโดย Angeli Bayani) สาวประติมากร เพื่อนสนิทและกิ๊กเก่าของ Benjamin หล่อนแตกต่างจากหญิงสาวของ Diaz ทุกคน เพราะหล่อนคือคนเดียวที่ได้ตายหรือเป็นบ้าไป หากหล่อนคือหญิงสาวผู้เคียดแค้นชิงชังแผ่นดิน Catalina เคยร่วมก๊วนขบวนการต่อต้านรัฐกับ Benjamin แต่ตอนนี้หล่อนเป็นประติมากรผู้ซึ่งให้กำเนิดความงามแก่สิ่งซึ่งแผ่นดิน (ภูเขาไฟ) คายออกมา กล่าวอย่างง่ายหญิงสาวผู้นี้ไม่ได้เป็นแผ่นดิน แต่หล่อนกลายเป็นผู้ต่อต้านแผ่นดินและเป็นเสมือนแม่แบบให้กับตัวละคร Alberta Munoz ใน Melancholia (ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป)

หากแม่ของเขาคือคนจากยุคสมัยของการล่าอาณานิคม บางทีBenjamin อาจเป็นผู้คนในยุคสมัยของฟอร์ดินันด์ มาร์กอส   เขาผู้ซึ่งเกลียดชังเจ้าอาณานิคม(เขาเคยถูกไล่ตามด้วยเจ้าชายลิงดำ)ที่ยังหลอกหลอน ขณะเดียวกันก็ต้องพิษจากการเมืองยุคปัจจุบันจนไม่อาจอยู่ในบ้านเกิดได้

หลังจากที่เขาวนเวียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับสามัญชนคนธรรมดา ชาวนาคนเล็กคนน้อยมาสองเรื่อง คราวนี้เขาขยับขึ้นมาเล่าเรื่องของคนอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นคือบรรดาปัญญาชน นักเคลื่อนไหว บรรดาผู้คนที่ขยับขึ้นมามีบทบาททางการเมืองและได้รับผลพิษภัยทางการเมืองแบบตรงไปตรงมา หนังฉายภาพเรื่องนี้ไดอย่างเข้มข้น หลังจากที่ตลอดสี่ห้าชั่วโมงแรกหนังปลอดพ้นเรื่องของการเมืองโดยสิ้นเชิง หากจู่ๆในฉากหนึ่งเมื่อBenjamin เดินทางเข้าเมืองเพื่อตามหาความจริงเกี่ยวกับความตายของแม่  เขาไปที่โรงพยาบาลและรู้ว่าแม่ของเขากลายเป้นบ้า ทำร้ายเพื่อนร่วมโรงพยาบาลและตายอย่างน่าสมเพช เขาโสลเสลไปแวะพักในร้านกาแฟ นั่งด้านในสุดสวนแสงตะวันตั้งใจจะบันทึกเกี่ยวกับความตายของแม่กระทั่งชายคนหนึ่งเดินเข้ามาทักทายเขาในฐานะกวีคนสำคัญ ภายในภาพยอนแสงที่เราไม่อาจเห็นหน้าค่าตาเขาค่อยๆประกาศตัวว่าเขาคือเจ้าหน่าที่รัฐที่รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับBenjamin เขารู้ว่าBenjamin มาตามเรื่องแม่ รู้ว่าเขาไปรัสเซีย รู้ว่าเขากลับมา และขู่เขาว่าอย่าได้คิดทำอะไรอีกไม่เช่นนั้นเขาจะไม่อาจมีชีวิตสืบไปได้ ในที่สุด ความจริงก็เปิดเผย Benjaminและเพื่อนๆคือผู้มีส่วนรวมกับขบวนการต่อต้านรัฐ และนั่นคือเหตุผลที่แท้ในการที่เขาไปรัสเซีย หลังจากนั้น เราก็พบว่า เขาค่อยๆกลายเป็นบ้าไป

เช่นเดียวกับแม่ของเขา สุดท้าย Benjaminค่อยๆกลายเป็นบ้า ขณะที่เพื่อนของเขาอีกสองคนที่เหลือเลือกไปคนละทิศทาง คนหนึ่งเลิกเป็นกวี หันไปเป็นชาวประมง อยู่กับลูกเมียมีชีวิตเรียบง่าย หันหลังให้กับการเมืองโดยสิ้นเชิง ในขณะอีกคนก็หันหน้าศิลปะแบบเต็มตัวและเลิกสนใจแผ่นดินเกิดและประวัติศาสตร์อีก มีเพียงBenjamin ที่ยังคงกลับมาผเชิญหน้ากับแผ่นดินเกิดซึ่งฝังหญิงคนรักของเขาไว้ และขุดค้นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแม่ผู้กลายเป็นบ้า กล่าวอย่างง่าย เขาผู้สนใจในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินเกิด สุดท้ายอาจไม่มีแผ่นดินให้อยู่อีกต่อไป

คำว่า Encantos แปลตามตัวว่าความลุ่มหลงซึ่งแฝงนัยยะในเชิงเหนือจริง(หรือเราอาจจะเรียกอีกคำหนึ่งว่า ความงมงาย) ทุกคนในหนังเรื่องนี้ก็อยู่บนความลุ่มหลงบางประการทั้งสิ้น ทั้งกับ ชีวิตสามัญ ศิลปะ บทกวี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรือการเมือง พวกเขาต่างอาศัยอยู่บนแผ่นดินแห่งความงมงาย และบางคนตายที่นั่น

ในทางหนึ่งคำว่าแผ่นดินงมงายอาจมีนัยยะเชิงเสียดสี แต่ในทางหนึ่ง เรื่องเหนือจริงเกิดขึ้นได้เสมอในหนังของLav Diaz ในEvolution หนังเต็มไปด้วยฉากประหลาดอย่างเช่น ผีของแม่(ของสามศรีพี่น้อง หรือคือภรรยาที่ล่วงลับไปของkadyo) ที่ตายไปแล้วมาปรากฏอยู่หลังบ้าน หรือมาให้ลูกสาวนอนหนุนตัก หรือ Doppleganger ของเด็กสาวที่ย่าและน้องสาวHuling มองเห็นพี่สาวตัวเองเร่ร่อนไปยังที่ต่างๆทั้งที่ตัวจริงนอนหลับบนชานบ้าน ใน Heremias ผีชายคนหนึ่งปรากฏขึ้นบ้านร้าง ที่Heremias ไปหลบฝน ปรากฏชั่วครู่แล้วหายตัวไปราวกับไม่มีความเกี่ยวข้องกับหนัง  พอมาถึงใน Encantos ภูติผีเหนือจริงยิ่งปรากฏชัดเจน ผ่านทางเรื่องเล่าของเจ้าชายลิงดำ พิธีบูชาผีด้วยการฆ่าหมูเอาเลือดราดบนจอมปลวก (หนึ่งในฉากการตัดต่อสุดช๊อคแห่งปี) หรือความทรงจำที่ไหลบ่าท่วมทบเมื่อ Benjamin ในวัยหนุ่ม ได้พบเห็นฉากภาพที่พ่อพาแม่ออกไปจากหมู่บ้านเพื่อไปรักษาในโรงพยาบาลบ้าแล้วไม่กลับมาอีก หรือนิมิตของแม่ที่ปรากฏมาให้เขานอนหนุนตัก  บรรดาภูติผีเหนือจริงในหนังของDiaz ปรากฏอย่างไร้ที่มาที่ไป และไม่ประสงค์จะเล่าเรื่องใดๆ แต่ใช่หรือไม่ที่ภูติผีเหล่านี้คือวิญญาณแห่งประวัติศาสตร์ของบรรพชนซึ่งยังคงเฝ้าวนเวียนหลอกหลอนคนรุ่นหลัง เราอาจพูดได้ว่า หากในEvolution หนังเปรียบเทียบการเดินของHuling เข้ากับขบวนการEDSA ฉากDoppleganger ของเธอที่ดุ่มเดินไปนี้ใยจึงมิใช่ฉากการปรากฏของจิตแห่งประวัติศาสตร์เล่า และเช่นเดียวกันผีในHeremias อาจคือวิญญาณนายทหารญี่ปุ่นที่มาถูกฆ่าในเมืองนี้ และยิ่งผีแม่ของBenjamin ยิ่งใกล้เคียงกับประวัติศาสตร์มากขึ้นไปอีก จนกระทั่งเมื่อเขาตาย หญิงบ้าคนหนึ่งก็ยืนยันว่าเห็นเขากำลังเชือดคอตนเอง ขณะเธอเดินฝ่าความมืดไปเยี่ยมผีสามีกับลูกที่ตายไปแล้ว! ซึ่งหากเป็นดังนี้ ฉากการทรมานBenjamin โดยเจ้าหน้าที่รัฐ จึงคลุมเครือยิ่ง ผิดที่ผิดทางยิ่ง หากน่าสนใจยิ่ง เพราะในที่สุดฉากที่ปรากฏอย่างไร้ที่มานี้ ได้ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐกลายเป็นผีอีกชนิดหนึ่ง ผีที่อาจจะมีหรือไม่มีอยู่แต่ยังคงหลอกหลอน ผีในฐานะอำนาจของ ‘มือที่มองไม่เห็น’

อย่างไรก็ดีนอกจากการเล่าเรื่องผี เรื่องเหนือจริง (ที่เราอาจนิยามได้ว่าคล้ายคลึงกับ อารมณ์ Magical Realism แบบชาวลาตินอเมริกา)  ไสยศาสตร์อันเป็นความเชื่อพื้นฐานของชาวฟิลิปปินส์ (หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องคือของชาวเอเซียอาคเนย์) หนังของDiaz ก็ยังไปไกลกว่าด้วยการตั้งคำถามถึงอีกสิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับอำนาจของอาณานิคม นั่นือศาสนาคริสต์  การดำรงอยู่อย่างคลุมเครือและทับซ้อนของผีกับพระ (ในกรณีของสังคมไทยกก็คือศานพุทธ ) ได้ถูก Diaz เสียดสีท้าทายมาโดยตลอด และหนักมืออย่างยิ่งในหนังเรื่องต่อมาอย่างMelancholia

Film Title: Melancholia

Melancholia  แม้เราจะไม่พบกัน 

หล่อนมาถึงเมืองนี้เพื่อขายตัว มาถึงพร้อมๆกันกับนางชีที่มาขอบริจาคเงินคนจนไปช่วยคนจน หล่อนพบเข้ากับชายหนุ่มซึ่งประกาศตัวว่าเป็นแมงดา และรับจัดเซ็กซ์โชว์ ทั้งสามคนปะทะกันขณะๆปติดฝนในเมืองร้าง นาชีโดนนางโสเภณีและแมงดาดูถูกจนหนีเตลิดไป ก่อนที่เราจะพบว่าที่แท้แล้ว ทั้งสามคนเป็นเพื่อนกัน พวกเขาอยู่ระหว่างการทดลองเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้อื่น พวกเขาทำเช่นนี้ปีละหนมาแล้วห้าหกปี เพื่อหวังว่ามันจะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากห้วงทุกข์  ผลพวงจากการสาบสูญของบรรดาคนรักของพวกเชา สูญไปในการล้อมปราบ ลักพา ฆ่าสังหารโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

แล้วนางชีก็หายตัวไป การทดลองสิ้นสุด นางโสเภณีกลับไปเป็นคุณครูใหญ่ชื่อ ALBERTA MUNOZ ตามที่ลูกค้าคนหนึ่งทักเธอ (แต่เธอไม่ยอมรับ)   เช่นเดียวกับที่แมงดาหนุ่มที่แท้คือ JULIAN บรรณาธิการหนุ่มไฟแรง ซึ่งยังคงเฝ้าฝันว่าภรรยาที่ตายไปออกมาร้องเพลงกลางป่าทึบ เธอและเขาพบกันบ้างเป็นบางครั้งถามไถ่ถึงนางชีผู้สาบสูญ   โศกเศร้าจากบาปผิดที่ไม่อาจไถ่ถอน นอกไปจากนั้น ALBERTA กำลังมีปัญหากับลูกสาวบุญธรรม ที่หนีออกจากบ้านไปขายตัวข้างถนนจริงๆ ขณะที่ JULIAN กำลังวางแผนตีพิมพ์นิยายเล่มใหม่ของนักเขียนหนุ่มซึ่งว่าด้วยประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ของฟิลิปปินส์อันเกาะเกี่ยวอยู่กับความหลอกลวง

กระทั่งไดรับแจ้งให้ไปดูกองกระดูกในป่าลึกที่ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นสามีของ เธอซึ่งสาบสูญไปเมื่อหลายปีที่แล้ว เช่นเดียวกัน พวกเขาค้นพบว่า นางชีปลอมสุดท้ายฆ่าตัวตาย ทิ้งไว้เพียงพวกเขาซึ่งบนบ่าแบกแอกแห่งประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลไว้จนเต็มหลัง ALBERTA เร่ออกตามหาลูกสาวที่สาบสูญไปไม่รู้จบขณะJULIAN ก็ติดกดับสำนึกบาปจนค่อยๆกลายเป็นบ้าไป

Melancholia ยังคงประกอบขึ้นจากองค์ประกอบเดิมๆของภาพยนตร์แบบLav Diaz ตัวโครงเนื้อหานั้นแทบเรียกได้ว่าเป็นคู่ผัวตัวเมียกับ Death in the Land of Encantos  โดยหนังใช้นักแสดงชุดเดียวกัน และเล่าเรื่องของตำแหน่งแห่งที่ของปัญญาชนในประเทศอันฉ้อฉลเฉกกันจนราวกับว่าหนังสองเรื่องนี้เป็นภาคแยกของเรื่องเดียวกัน Melancholia อาจเป็นอีกเวอร์ชั่นของ Encantos หาก Benjamin(ใน Encantos) เลือกเข้าป่าเหมือนกับ Raynalto (ใน Melancholia) และภรรยาของเขาไม่ได้ตายกแต่กลายจาก Catalina (ใน Encantos ) เป็น Alberta(ใน Melancholia)  หากในขณะที่ Encantos เป็นการมองย้อนกลับหลังไปสู่ประวัติศาสตร์อันขมขื่นที่ถูกกลบฝังใต้หล่มโคลน Melancholia กลับทอดสายตาไปข้างหน้ามองไปยังอนาคตแห่งความยากแค้นและการมีชีวิตสืบไป และหาก Encantos พุ่งความสนใจไปยังตัววีรบุรุษแห่งประวัติศาสตร์การเมือง Melancholia ก็พุ่งเป้าไปยังบรรดาผู้คนรอบข้างเหล่านั้น Encantos พูดถึงคนตาย คนที่สาบสูญไป(อาจเปรียบให้ง่ายเข้าว่าคือบรรดาคนเดือนตุลาในบ้านเรา) และMelancholia พูดถึงบรรดาญาติๆของผู้สูญหายเหล่านั้น ที่ชวนขำขื่นคือ Encantos แปลได้ว่าความลุ่มหลงงมงาย ขณะที่ Melancholia คือความรันทดหดหู่และทั้งสองสิ่งคือสิ่งที่หลงเหลือของประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน หาใช่ชัยชนะ หรือสังคมใหม่ไม่

ตัวละครใน Melancholia ยังคงเป็นเช่นเคยพวกเขารับบทผู้ถูกเนรเทศชั่วนิรันดร์อันเกิดจากพิษภัยทางการเมือง ในกรณีนี้ผู้ถูกเนรเทศที่เด่นชัดกว่าใครย่อมคือ Raynalto สามีผู้สาบสูญตลอดกาล หากไม่เพียงแต่Raynalto ตัวละครที่เหลือทุกตัวล้วนรับบทผู้เนรเทศตนเองไปจากบ้านเกิดเมืองนอน หากในคราวนี้เป็นการเนรเทศชั่วคราว เพื่อไปลบลืมอดีตอันขมขื่น เพราะพวกเขาใช้เวลาปีละครั้งเพื่อหลบจากตำแหน่งแห่งที่เดิมไปเป็นคนอื่น  หากในขณะที่ตัวละครก่อนๆของDiaz ล้วนพากันเร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมาย บรรดาตัวละครใน Melancholia กลับเนรเทศไปอย่างมีเป้าประสงค์ การกลายเป็นคนอื่นของพวกเขาและเธอนั้น อาจถูกฉาบหน้าว่าเป็นวิธีการรักษาโรค ‘ไม่ลืมอดีต’ หากที่แท้แล้วการไปเป็นผู้อื่นของพวกเขากลับไปเพื่อที่จะไถ่บาปในฐานะของนักเคลื่อนไหวที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ การรับบท โสเภณี นางชี หรือแมงดา ใช่หรือไม่ว่าในทางหนึ่งมันคือการสละตัวตนของชนชั้นกลางซึ่งพวกเขาสังกัด ลงไปคลุกดินกินทรายแบบชาวบ้าน  การไถ่บาปด้วยการปลอมตัวเป็นชาวบ้าน ลิ้มรสทุกข์ยากของชาวบ้านแท้ๆในต่างจังหวัดเพียงปีละเดือนหรือสองเดือน อย่างน้อยมันก็ช่วยให้พวกเขาอุ่นใจว่า พวกเขาได้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ทั้งกับแกนนำ(คนรักของพวกเขา)ซึ่งตายไปแล้ว และกับประชาชนที่พวกเขาต่อสู้เพื่อ ซึ่งใช่หรือไม่ว่าสิ่งนี้ที่แท้ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการปลอบประโลมตนเอง การทำให้การต่อสู้ของตนโรแมนติค  การเพ้อพกเอาว่าตนเองมีส่วนรวมกับประวัติศาสตร์แห่งความทุกข์เข็ญ (ทั้งที่ที่จริงแล้วพวกเขาและเธอคือผู้ได้รับประโยชน์จากอำนาจรัฐ)  หนังสะท้อนฉากนี้ออกมาอย่างเจ็บปวดในฉากหนึ่งที่ Alberta ไปเยี่ยมเพื่อนคนหนึ่งในขบวนการ คนที่ตอนนี้พิการตลอดชีวิตและตัดสินใจจะเลิกยุ่งกับการเมืองโดยเด็ดขาด Alberta กล่าวโทษว่าเขาไร้ความมุ่งมั่นและขี้แพ้ ก่อนที่จะโดนสวนกลับว่าตัวเขาเองนั้นจนถึงบัดนี้ยังคงยากจน เสียขาชั่วนิรันดร์ มีลูกเมียที่ต้องเลี้ยงดู หนำซ้ำยังถูกเจ้าหน้าที่รัฐวนเวียนมาข่มขู่ทุกวัน พวกคนผู้ดีมีเงินอย่างAlberta จะไปรู้อะไร

การทำให้การปฏิวัติโรแมนติคในหนังถูกแสดงภาพชัดเจนผ่านทางฉากหนึ่งเมื่อAlberta   แสร้งเล่าเรื่องในอดีตว่าเธอถูกพ่อเลี้ยงทำร้าย และความเจ็บปวดนั้นยังคงอยู่ เรื่องเล่าของAlberta ค่อยๆแผ่ขยายจนท้ายที่สุด มันก็กลายเป็นว่าเธอเริ่มปวดท้องขึ้นมาจริงๆ ซึ่งดูเหมือนนี่จะเป็นโรคร้ายประการหนึ่งของคนรุ่นนักปฏิวัติในทุกๆที่ที่ยังคงเชื่อว่าตนเองทำในสิ่งที่ถูกต้อง กล่อมตัวเองด้วยประวัติศาสตร์ฉบับที่เขียนขึ้นมาเองจากความทรงจำและติดหลงอยู่ในมัน

หนังแบ่งตัวเองออกเป็นสามส่วน โดยส่วนแรกคือช่วงการรักษาในเมืองชนบทเชิงเขา ส่วนที่สองในมะนิลา และส่วนสุดท้ายพาคนดูย้อนกลับไปยังป่าเขา  โครงสร้างของหนังเริ่มต้นจากประวัติศาสตร์เชิงโรแมนติคของตัวละคร การกลายเป็นส่วนหนึ่งของความแร้นแค้น ก่อนจะเปิดเผยสถานะทางสังคมอันจริงแท้(ซึ่งในบางครั้งการเป็นคนชั้นกลางก็กลายเป็นบาปผิดติดตัวประการหนึ่ง) จากนั้นจึงพาคนดูย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ของจริง ความยากลำบากของแท้ที่ไม่โรแมนติคและจบลงอย่างบ้าคลั่งเมื่อบรรดาสมาชิกที่หลบหนีเข้าป่าถูกตามล่าจนเสียสติไปจริงๆ

เลยพ้นไปจากนั้น เราอาจแบ่งตัวละครใน Melancholia ได้เป็นสามรุ่น เริ่มตั้งแต่คนรุ่นแม่ของAlberta หญิงชราที่อาจจะเป็นภาพตกค้างของบรรดาคนชั้นกลางในยุคของมาร์กอส ขณะที่Alberta คือภาพแทนของคนรุ่นที่ต่อต้านมาร์กอส และHanah ลูกสาวของเธอคือตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้สนใจการเมืองอีกแล้ว  เด็กสาวที่เอาแต่เข้าใจว่าแม่ไม่รักแล้วหนีออกจากบ้านไปขายตัว ยิ่งหนังเน้นย้ำว่าเธอเป็นคนรุ่นลูกของพ่อแม่ที่สูญหายไปในช่วงการปราบปราม ยิ่งเน้นย้ำให้เห็นผลพวงของการต่อสู้ในอีกทางหนึ่ง(ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นไปในทางของความหดหู่เฉกเช่นชื่อหนัง)  คนรุ่นที่สนใจเฉพาะเรื่องของตัวเอง ฉากท้ายเรื่องAlberta เข้าไปตามหาHanah  ในผับแห่งหนึ่งและพบเด็กวัยรุ่นมากมายกำลังเต้นรำกันอย่างบ้าคลั่ง  และไม่ว่าจะหาเท่าไรเธอก็หาลูกสาวบุญธรรมของเธอไม่พบนั่นดูราวกับเป็นบทสรุปอันสิ้นหวังที่เธอจะมีต่อคนรุ่นต่อไป

นอกจากส่วนของเรื่องเล่า Melancholia ยังคงหยิบยกสื่อมาวิพาก์สื่ออย่างคมคายอีกเช่นเคย โดยคราวนี้รูปแบบของเรื่องเล่า (ที่เคยเป็นทั้ง ละครวิทยุ เรื่องเล่าตำนาน หรือการถ่ายทำสารคดี มาก่อน) ย้อนกลับมาในรูปของการนำเสนอนิยาย ‘ประวัติศาสตร์อันแท้จริงของภาพยนตร์ฟิลิปปินส์’ ที่เล่าเรื่องของผู้กำกับซึ่งค้นพบว่าตัวเองเป็นเกย์ ขณะเดียวกันค้นพบว่า ประวัติศาสตร์ที่แท้นั้นล้วนอุดมไปด้วยมายา และความหลอกลวง อุตสาหกรรมของประเทศนี้คือดินแดนแห่งเรื่องหลอกลวง ซึ่งแน่นอนเช่นทุกครั้งวงการสื่อสะท้อนภาพประเทศกลับไปประหนึ่งกระจกเงา

ในMelancholia ตัวละครสำคัญตัวหนึ่งของหนังตือ Rina หญิงสาวที่ในปีนี้เธอรับบทบาทเป็นนางชีที่เที่ยวเร่ร่อนขอเงินคนจนไปช่วยคนจน ในฉากหนึ่งเธอปะทะเข้ากับแมงดาและโสเภณีในตึกร้าง(ซึ่งที่จริงก็คือเพื่อนของเธอนั่นแหละ) พวกเขาถามเธอเรื่องภารกิจที่เธอทำว่ามันคืองานของพระเจ้าจริงหรือ พระเจ้ามีจริงกระนั้นหรือ หรือที่แท้เป็นเพียงเรื่องโกหกพกลม  คำถามที่นางชีปลอมไม่สามารถตอบได้ ทำได้เพียงวิ่งหนีไป เขวี้ยงชุดนางชีทิ้ง ดื่มหนัก ไม่นานหลังจากนั้นเธอสวมชุดนางชีอีก หายตัวไปและฆ่าตัวตาย

ประชากรส่วนใหญ่ประเทศฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์ และเคร่งครัดในเรื่องนี้ หากในจักรวาลของLav Diaz ดูเหมือนศาสนาจะทำหน้าที่เป็นเพียงกรอบกฏ ซึ่งส่งมาเพียงบททดสอบ ในแต่ละเรื่องของDiaz ล้วนแล้วแต่มีฉากภาพตัวละครแหงนหน้ามองฟ้าถามหาความยุติธรรมจากพระเจ้า Kadyo , Heremias , Benjamin ทุกคนล้วนสงสัยว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ หากมีจริงทำไมชีวิตของเขาจึงลงเอยเช่นนนี้ อย่างไรก็ตามจนกระทั่งมาถึงMelancholia นี้เอง หนังถึงกับตัวละครเล่นบท(ปลอม) เป็นคนของพระเจ้า และถูกทำร้ายอย่างถึงที่สุด ยิ่งเมื่อคิดว่าในทางหนึ่งMelancholia เป็นหนังเรื่องที่เกาะเกี่ยวอย่างแน่นหนาอยู่กับประเด็นของการไถ่บาป (การรักษาของทั้งสามคนเป็นการพยายามไถ่ถอนบาปที่ไม่อาจช่วยเหลือหรืออยู่ร่วมกับคนรักของตนได้ในสถาณการณ์คับขัน) นัยยะท้าทายพระเจ้าจึงยิ่งเด่นชัด เมื่อในที่สุด Julian พบว่า Rina ได้ตายลงไป นั่นเท่ากับว่าวิธีการของเขาไม่อาจไถ่ถอนบาปได้ หลังจากเขาไปเยี่ยมคารวะหลุมศพของRina เขาเร่ร่อนไปตามถนนท่ามกลางสายฝน ราวกับว่าพยายามจะชำระบาป แต่นี่คือบาซึ่ไวม่อาจชำระ ฉากสุดท้ายริมน้ำเขาจึงกลายเป็นบ้าอย่างสมบูรณ์ก้าวเข้าไปยังอาณาจักรฌกียวกันกับ Kadyo , Hilda ,Heremias , Benjamin และ แม่ของเขา ไม่มีชัยชนะ ไม่มีความหวัง มีแต่ความเศร้าอันหนักหนาที่รอท่าอยู่ปลายทาง

 

นี่คือทั้งหมดในจักรวาลสีขาวดำของLav Diaz โลกที่เขารีดเค้นเอาความจริงโดยการสกัดสีสันออกจากภาพจนหมดสิ้น จักรวาลที่กระบวนการเล็กน้อยของชีวิตสำคัญกว่าการเล่าเรื่องกระชับฉับไว จักรวาลซึ่งวนเวียนอยู่ในประวัติศาสตร์อันบาดเจ็บของการต่อสู้ภาคประชาชน จักรวาลที่มาจากความบ้าคลั่งและดำเนิไปสู่ต้นธารของมัน  หากวัดกันตามาตรฐานการสร้างหนัง ภาพยนตร์ของLav Diaz อาจกล่าวได้ว่าภาพยนตร์ของเขาเต็มไปด้วยริ้วรอยของความขาดแคลน  การบันทึกเสียงที่ไม่รื่นหู การตัดต่อที่ไม่กระชับฉับไว ภาพที่ไม่ได้สวยสดงดงาม เหือดจากการจัดแสงประดิดประดอย ทัศนียภาพไม่น่าดูชม  และเรื่องที่คืบเคลื่อนเชื่องช้า  แต่ใช่หรือไม่ที่ข้อกำหนดเหล่านี้ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่ารูปแบบหนึ่งของการครอบครอง การล่าอณารนิคมทางภาพยนตร์ให้ผูกติดอยู่กับโลกตะวันตกที่เครื่องมือ ทุนทรัพย์ถึงพร้อม  การยืนหยัดทำหนังขนาดยาวของLav Diaz ในทางหนึ่งอาจเป็นเพียงแค่การตอบสนองตนเอง แต่ในทางหนึ่งนี่คือการยืนหยัดต่อต้านข้อจำกัดเหล่านั้น ไม่ใช่เพียงใส่เอาไว้ในบทภาพยนตร์ หากไหลลามไปยังกระบวนการสร้างทั้งหมด ความไม่สมบูรณ์ไม่ได้เป็นข้อจำกัด หากเป็นถ้อยแถลงแห่งการต่อต้านที่เราไม่ได้พบเห็นบ่อยนักในโลกภาพยนตร์

แน่นอนว่าหนังของLav Diaz อาจไม่ใช่หนังคลาสสิค ซ้ำอาจจะไม่ใช่หนังซึ่งเปลี่ยนแปลงโลกได้ (บ่อยครั้งมันถูกค่อนแคะว่าสร้างมาสำหรับเอาใจนักวิจารณืที่ชอบของแปลกเท่านั้น) แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การมีอยู่ของหนังเหล่านี้ก็ทำให้เราอุ่นใจได้ว่ายังมีคนที่ไม่ยอมจำนนอยู่บนโลก และในขณะเดียวกันตัวหนังทั้งหมดก็ส่องสะท้อนให้เรา(โดยเฉพาะประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงฟิลิปปินส์อย่างประเทศของเรา) ได้มองดูประวัติศาสตร์ของตัวเราผ่านกระจกของผู้อื่น และนึกสงสัยไปอีกแสนนานว่าเมื่อไรเราจะกล้าหาญพอจะพูดเรื่องเหล่านี้ ด้วยวิธีการเยี่ยงนี้เสียที

 

 

*1 สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนในฟิลิปปินส์ อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ น.96-97

 

 

 


ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง (นนทวัฒน์ นำเบญจพล/2013/ไทย) พรมแดนทดลอง

$
0
0

17425_10151413979248576_253425039_n

 

ใน สิ้นเมษา ฝนตกมาปรอยๆ หลังจากเล่าเรื่องของตัวเองสิ้นสุดลง หนังพาเรามาหยุดอยู่ที่สี่แยกคอกวัว อันเป็นจุดเกิดเหตุของคืนัวนที่10 เมษา ต้นทางของการสังหารหมู่ที่ยืดยาวมาจนถึงแยก ราชประสงค์ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา

 

และฟ้าต่ำแผ่นดินสูงเริ่มต้นจากแยกราชประสงค์ คืนปีใหม่หลายเดือนต่อมา ผู้คนรื่นเริงเลือนลบร่องรอยการสังหารหมู่กลางเมือง และนนทวัฒน์ นำเบญจพลเริ่มต้นสารคดีของเขาตรงนั้น เริ่มจากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งอื่น เคลื่อนออกจากความสงสัยดั้งเดิมไปยังจุดใหม่ๆที่ไม่ว่าจะไปไกลเท่าไร มันก็สะท้อนกลับไปมาอย่างพันกันยุ่งนั่นเอง

สิ่งที่งดงามใน  ‘ สารคดีเขาพระวิหาร’ เรื่องนี้คือมันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสารคดีให้ข้อมูลเรื่องความเป็นมาและเป็นไปในความขัดแย้งแย่งชิงเขาพระวิหาร ในขณะเดียวกันมันก็ไม่ได้เป็นสารคดีแบบสืบสวนเจาะลึกลงไปในจิตใจผู้คนรายรอบ การลงไปพูดคุยกันอย่างถึงรากของปัญหา ไม่ได้เป็สารคดีเร่าร้อนรุนแรงอะไรแบบนั้น ซึ่งการที่มันเป็นไมไ่ด้ ไม่ได้เป็นกลับทำให้สารคดีเรื่องนี้น่าสนใจมากๆขึ้นไป และสิ่งงดงามที่เราพูโถึงคือสายตาแบบคนนอกของหนังเรื่องนี้เอง

 

หนังเริ่มจากการตามถ่ายชีวิตของอ๊อด ทหารเกณฑ์หนุ่มจากศรีสะเกษที่เคยลงไปปฏิบัติงานที่สามจังหวัด  ได้อยู่ในเหตุการณ์ล้อมปราบผู้ชุมนุมที่ราชประสงค์ ตอนนี้อ๊อดปลดประจำการ กำลังจะกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ หนังามถ่ายภาพทิวทัศน์ข้างทางคลอไปกับเสียงของผู้กำกับสนทนากับอ๊อด ขณะแล่นผ่านถนนเส้นต่างๆในช่วงสงกรานต์ เสียงสนทนาที่พูโถึงความอึดอัดขัดข้องคลุมเครือ ประสานสอดคล้องไปกับภาพของคนเล่นสงกรานต์สาดน้ำใส่กระจกจนเบลอ

 

หนังอาศัยเสียงเล่าของผู้กำกับผ่าน text บนจอ   เสียงเล่าของคนนอกกรอบเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยทรรศนะส่วนตัวในทางการเมือง เสียงเล่าของหนังไม่ใช่เสียงของคนใน และยิ่งหนังดำเนินไปเสียงเล่านี้ก็ลดทอนความหมายของตัวเองไป  เสียงเล่าของหนังลดทอนจากเสียงข้างในของคนทำ ไปเป็นเสียงบอกเล่าเหตุการณ์ในขณะนั้น และเคลื่อนไปสู่ความเงียบในฉากท้ายเรื่อง เสียงเล่านี้กลายเป็นกุญแจสำคัญต่อสายตาและท่าทีของหนัง จากความสงสัยใคร่รู้ไปสู่การเรียนรู้ความไม่รู้ในตัวของมันเอง

 

นอกจากท่าทีทางtext ตัวภาพของหนังก็มีท่าทีแบบคนนอกที่น่าสนใจเมื่อหนังตัดสินใจเปลี่ยนโฟกัสจากคนมาสู่เหตุการณ์ช่วงทวงคืนเขาพระวิหาร และความขัดแย้งบริเวณชายแดน กล้องเปลี่ยนท่าทีจากการตามถ่ายเรื่อยเปื่อยไปสู่ภาพของการไปดูจุดเกหิดเหตุหลังเหตุสงบ ภาพเดียวที่เราได้เห็นจากช่วงเหตุการ์คือคลิปวีดีโอสองคลิปที่ไม่ได้ถ่ายเอง คลิปของชาวพันธมิตรประท้วงทวงคืนเขาพระวิหาร และคลิปตามติดทหารในเหตุการณ์นั้น สายตาแทนค่าคนที่อยู่นอกสรรพสิ่งไม่ว่าจะอยู่ใกล้แค่ไหน สิ่งที่หนังค้นได้ ไม่ใช่เหตุการณ์แต่เป็นเพียงร่องรอยของเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้ว

 

ภาพของหนังกลายกลืนเป็นภาพของแผ่นหลัง ภาพการเดินตามคนนั้คนนี้ไปดูจุดเกิดเหตู ระเบิดลงตรงนี้ รอยกระสุนตรงนั้น ภาพของการสัมภาษณ์ชาวบ้านที่ต้องวุ่นวายหลบระเบิด ทำมาค้าขายไม่ได้ ไฟไหม้บ้าน หรือสูญเสียญาติพี่น้องให้แก่ความขัดแย้งที่ไม่มีใครที่ได้รับปลกระทบจากมันเป็นผู้ก่อขึ้น

 

ฉากหนึ่งที่แสบทรวงและสะท้อนภาพคนนอกของหนังได้ดี คือเมื่อแม่ค้าอาหารตามสั่ง ชี้หน้ามาทางทีมงานว่า เนี่ยผลงานรัฐบาลพวกเจ้าใช่ไหม พวกเจ้าที่หมายถึงคนกรุงเทพ  ที่สนีบสนุนรบ.อภิสทิธิ์ที่นำความตึงเครียดมาสู่สถาณการณ์ชายแดน

 

ถึงที่สุดหนังไม่ได้พาผู้ชมไปในความขัดแย้งแบบเขาไปเป็นส่วนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นเพียงการสังเกตุสังกาจากสายตาของคนนอก ที่เข้าไปไม่ได้  เขามา เขาเห็น เขาพูดคุย เขาท่องเที่ยวไป แต่เขาไม่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง การเป้นคนนอกที่ถูกกันออกจากสถาณการณ์ยังลามเลยไปเมื่อเขาข้ามไปฝั่งขเมร ผู้กำกับเล่านอกรอบว่าเขาต้องปลอมเป็นคนชาติอื่น และอาศัยเพื่อนขเมรช่วยในการสอบถามและถ่ายทำจึงได้ภาพบทสนทนาเผ็ดร้อนของคนขเมรในประเด็นเขาพระวิหารออกมา ถึงที่สุด หนังคือสายตาของคนที่เป็นคนนอกในบ้านตัวเอง และเป็นคนนอกในสถานที่อื่น  ซึ่งมันน่าสนใจสุดๆเพราะประเด็นเขาพระวิหารนี้ใช่หรือไม่ที่ถูกจุดขึ้นมาด้วยคนนอก

หนังบันทึกความเข้าใจในประเด็นนี้ชัดเจนว่าเหตุการณืดำเนินไปผ่านทาง ‘คนกรุงเทพ’ที่ลุกขึ้นมารื้อความขัดแย้งข้างนอก มาใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับความขัดแย้งภายในของเหลืองแดง  การใช้สายตาของคนนอกแทนตัวเป็นคนใน (ดังที่คนกรุงเทพ จะเป็นจะตายกับการเสียดินแดนแทนคนที่ภูมิซรอล) คือปัญหาที่ขับเคลื่อนเหตุการณ์เขาพระวิหารตั้งแต่มันถูกจุดประเด็นขึ้นมาภายหลังการเซ้นสัญญาร่วมกันพัฒนาในสมัยรบ.ทักษิณที่คนชั้นกลางในเมืองเกลียดชัง เราอาจกล่าวได้ว่าการที่คนนอกตีขลุมว่าตนเองเป็นคนในชนิดตารางนิ้วก็เสียไปไม่ได้นี้เองคือหัวใจของปัญหาทั้งหมด

 

การแทนสายตาคนนอกของหนังจึงกลายเปนสายตาที่อาจจะถูกต้องที่สุดในการจ้องมองปัญหานี้ การพยายามปักปันเขตแดนผ่านเส้่นพรมแดนที่ไม่มีวันสิ้นสุดคือปัญหาของการ แบ่งแยกคนในและคนนอกออกจากกันด้วยพรมแดนพื้นที่ ตามกลไกของรัฐชาติกำเนิดใหม่ที่ได้ทำลายความผูกพัน ความเชื่อมโยง ความรักความชังของพี่น้องป้องปายออกจากกันอย่างน่าสมเพชในกรอบของเส้นสมมติ

 

ฉากหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ และดูเหมือนจะเป็นรอยต่อที่ไม่ได้ตั้งใจกับสารคดีสั้นก่อนหน้าของนนทวัฒน์เอง อย่าง ลิกโฮงหมาย ป๋างโหลง คือการใช้ภาษาของผู้คนบนจอ ในลิกโฮงหมาย หนังพูดถึงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของมอญในกรุงเทพ (หรือในเมืองสักแห่งที่ไม่ใช่ชายแดน) ตามขนบของหนังอัตลักษณ์ ชาวมอญควรจะพูดมอญ แต่ในนังเรากลับเห็นชาวมอญพูดขาภาษาไทยกลางอย่างฉะฉาน เพราะการกลายเป็นไทย ไม่ใช่เพียงความปรารถนาแฟนตาซี แต่คือวิธีประนีประนอมเพื่อให้อยุ่ในสังคมเมืองและรักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้  ผ่านทางการปรับเปลี่ยนไปตามสังคม

 

ในทางตรงกันข้ามในสารคดีเชิดชูชาติ คนไทยก็น่าจะพูดภาษาไทย แต่ในฉากงานหมั้นของอ๊อด เรากลับพบว่าครอบครัวอ๊อดทั้งหมดนั้นพูดขเมร  และดูเหมือนผู้ึคนในบรวเณนั้นจะใช้ขเมรเป็นภาษาหลักกมากกว่าภาษาไทย กล่าวให้ถูกต้อง  บรรดาผู้คนจากข้างนอกที่ร้องทวงคืนเขาพระวิหารซึ้งคือแบบชาตินิยมว่ามีพี่น้องคนไทยอยู่ในที่แถบนั้นคิดเหมือนกันเรื่องเขาพระวิหาร อันที่จริงแล้วความเป็นไทยแตกกระสานซ่านเซ็นออกมามากมาย และภายใต้เส้นพรมแดนสมมติ ไม่ได้มีความเป้นไทยแบบเดียว ไม่ได้มีชาติที่น่านิยมเพียงหนึ่งเดียว แต่มีความหลากหลาย ข้ามไขว้ไปมาจนเส้นพรมแดนที่แท้นั่นเลือนจางอย่างยิ่ง มีแต่คนนอกเท่านั้นมี่มโนถึงมันอย่างคมชัดกว่าคนที่อยู่กับมันในทุกวันของชีิวิต

 

และก้เป็นเส้นพรมแดนนี้เองที่ทำให้คนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมกกว่าคนร่วมเส้่นพรมแดน คือคนไทยและคนขเมรจากเส้นพรมแดนสองฝั่งได้ก่อรูปความสัมพันธ์รักชังต่อกันชั่วเวลาหลายสิบปีทุกข์ยากได้กั้นคนสองฟากออกจากกันและทำร้ายกันและกันโดยตัวเส้นสมมติ (ที่ต่างฝ่ายต่างคิดว่าถูกโยกย้ายเบียดรุกเข้ามาฝ่ายตน) และทำให้ความเกลียดชังของการถูกทหารไทยทำร้ายในสมัยขเมรแดง หยั่งรากปัญหาขัดแย้งภายในที่แท้ลงไป (แสบทรวงมากขึ้นเมื่อเราพบว่า พอล พต ข้ามฟากมาตายอยู่ในเมืองไทยอีกต่างหาก)

 

ถึงที่สุดหนังก็พาเราไปถึงเขาพระวิหารจนได้ ในสถานที่ที่สูงจนฟ้าต่ำ และมองต่ำจะเห็นแผ่นดินสูง  เขาพระวิหารเงียบใบ้ไม่ตอบคำที่มีบรรดาครอบครัวคนขเมรมาเดินเที่ยวเรื่อยเปื่อยเงียบเชียบ เขาพระวิหารที่เป็นวิหารโบราณสร้างขึ้น่อนจะมีเว้นพรมแดนของรัฐชาติ เงียบใบ้ในกองระเกะระกะของก้อนหิน หญิงสาวชาวขเมรดวงหน้าเหมือนนางัปสราในรูปสลักจ้องมองกลับราวกับคำถามจากอดีตกาล ภาพตัดไปสู่ระยะไกล เทือกเขาเหยียดยื่นไปในท้องฟ้าคลุมอยู่ด้วยป่าสีเขียวพรืด  มีเพียงถนนดินแดนเส้นเล็กที่พาคนนอกเดินทางเข้าไปเท่านั้นที่ปรากฏเป็นเส้นสั้นๆหายไปในพื้นที่สีเขียวที่เหลือ  มองจากมุมที่ฟ้ต่ำพอและแผ่นดินสูงพอ เส้นพรมแดนนั้นไม่ได้มีอยู่จริงเลยสักนิด เป็นเพียงสิ่งสมมติที่ถือครองเอาตัวเองขึ้นมากล่อมหอคนไกลก้เท่านั้นเอง

 


พี่มาก พระขโนง (บรรจง ปิสันญธนะกูล /2013/ ไทย)ผีสมัยใหม่

$
0
0

 657261-topic-ix-0
ความรู้สึกต่อหนังนั้นยังไม่แน่ใจ แต่ความรู้สึกต่อใหม่ ดาวิกา นั้นแน่นอน!

ไม่ได้เป็นหยั่งงี้มาตั้งแต่ครั้ง หวังจู่เสียน เล่นโปเย โปโลเย แล้วนะ มืออ่อนตีนอ่อน ตลอดเวลา
…………………………

ไปอ่านของอ.เกษียร กับ ของคนมองหนัง กับของอ.นิธิก่อนหน้าแล้วคิดว่าพอเกทอะไรบางอย่าง แต่ทั้งหมดไม่ได้คิดเองทั้งมวลมาต่อยอดอีกที

ของคนมองหนัง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=521418667900703&set=a.455348917841012.101837.453146938061210&type=1&theater

ของ อ.กเษียร

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=521418667900703&set=a.455348917841012.101837.453146938061210&type=1&theater

อันนี้ของ อ.นิธิ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2012&date=28&group=190&gblog=3

 

เปิดเผยเนื้อหาของหนัง

1. ความsterile ของผีนางนาก (จากข้อสังเกตของ อ.เกษียร) นี่น่าาสนใจมากๆๆๆ ผีนางนาก เวอ์ชั่นนี้ไม่หลอก
ใครเลย ไม่มีการฆ่า หรือการทำอันตรายใดๆบนจอหนัง เป็นเหยือโดยสิ้นเชิง กล่าวคือผัวไปรบ ตัวเองตายทั้งกลม มีรักแท้ แล้วแค่อยากจะอยู่กับผัวยังถูกชาวบ่านใส่ร้านเพียงเพราะเป็นผี อันนี้มีประเด็นทางการเมืองโดยตัวของมันเองแน่นอนอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจคือ ถ้าเข้าใจไม่ผิด ฉบับก่อนกน้าไปจนถึงตัวตำนาน มีผีอีนาคหักคอแน่ๆ ไม่มีแค่เก็ยมะนาวแน่ๆ การ sterile ผีนางนากทำให้ตอนจบมันรับได้ เหมือนกับว่า จริงๆชาวบ้านรับได้เพราะเธอไม่มีพิษมีภัยต่างหาก ไม่ใช่เพราะชาวบ้านเปลี่ยนแนวคิดเรื่องผี อันนี้จะตรงกับที่คนมองหนังเสนอเรื่อง การอยู่ในพื้นที่แบบ บ้านผีสิง หรือคาร์นิวัล

2. จากข้อแรกทำให้ลุยต่อไปได้ ว่า ตามฉบับเดิมบางฉบัถ้าเข้าใจไม่ผิด มากจะมีเมียอีกคนด้วยหลังจากรู้ว่าอีนากเป็นผีแล้ว อันที่จริงเวลาเรามองตัวตำนานแม่นาค เรามักจะคิดว่ามันเป็นแฟนตาซีของการแสวงอำนาจของผู้หญิงในสังคมคือต้องเป็นผีถึงมีอำนาจ หมายถึงว่า ไปพ้นจากการกดโดยเพศชาย เป็นแค่ความใฝ่ฝันจากส่วนที่ขาด แต่การเชิดชูความรักในตำนานแม่นากนั้น ไม่ได้ยืนอยุ่บนการเชิดชูความรักเชิงปัจเจก แต่เป็นการลงโทษด้วยซ้ำ ในแง่ที่ว่านางนากเวอร์ชั้นก่อน ตอนจบนี่นากจะโดนถ่วงน้ำโดยฝีมือพระ เพราะผีกับคนอยู่ร่วมกันไม่ได้ และมากมีเมียใหม่ กลับเข้าสู่ขนบสังคมแบบเดิม ความรักของนากเป็นความรักแบบฮิสทีเรียที่ต้องถูกกำจัด คือเทอดให้มันสูงแบบเรื่องโรแมนติก แล้วกันมันออกไปเป็นเรื่องเล่า คนถึงรับได้ที่นากยอมไปจากมากในตอนจบ เพราะมากต้องกลับเข้าสุ่สครรลองสังคมของคนเป็น การมีพระมาจัดการก็ยิ่งช่วยเสริมให้ความเป้นชุมชนเข้มแข็ง (แต่เข้าใจว่าพระอาจารย์โต นี่มีแค่ของนนทรีย์ ฉบับก่อนหน้าเป็นแค่พระเฉยๆ แต่มีตอกกะโหลก ถ่วงน้ำอะไรนี่แน่ๆ ) ตรงนี้มันเลยกลายเป็นว่าตัวเรื่องเล่าของนางนากต้นฉบับมันไม่ได้แรดิคัลจริงมันแค่ตอบสนองแผนตาซีโรแมนติคพาฝันคนในยุคสมัยหนึ่งแล้วก็จบลงตามขนบของคนสมัยนั้น

3.พูดแบบนี้ตอนจบของพี่มากพระขโนงนี่เลยน่าสนใจมากๆเลยว่ามันไปไกลกว่าเรื่องอื่น (จริงๆเรื่องที่เรามักจะเทียบเคียงกันคือเรื่อง นางพญางูขาวของจีน ที่เวอร์ชั่นชอว์บราเดอร์นี่พระเอกกับนางเอกยอมตายไปพร้อมกันเลย) การอยู่ร่วมกันได้ระหว่างคนกับผีในหนังมันน่าสนใจมาก แต่มันไม่ได้ขบถนะ มันไม่ได้ไปไกลถึงขนาดกลับมาย้อนถามความชอบธรรมของอีเพื้อนสี่คนในการเสือกเรื่องชาวบ้านด้วยซ้ำ จริงๆมันเป็นการเล่าใหม่ที่ตามขนบเดิมเป๊ะๆ คือตอบ status quo ของสังคม ตอนจบของพี่มาก จริงๆเป็นตอนจบที่พบได้ในหนังฮอลลีวู้ดยุคยัปปี้ 90 มากมาย มนุษยืต่างดาวอยุ่กับชาวโลก ได้ ซอมบี้อยู่กับชาวโลกได้ ปรองดองแสนสุข ตอนดูจบรู้สึกชอบตอนจบของพี่มากมากๆ แต่ไม่แน่ใจว่าทำไมถึงตะขิดตะขวงใจอยู่ ตอนนี้พอนึกออกแล้ว เพราะที่จริงตอนจบแบบนี้ไม่ได้ต่างอะไรกับตอนจบแบบดั้งเดิมเลยน่ะสิ

4.อ.ธเนศเคยเขียนว่าความรักในอดีตเป็นโรคชนิดหนึ่งดังที่ได้เขียนไปแล้ว แต่ในตอนนี้เรายกยอปอปั้นความรักเป็นสรณะของโลกใหม่แล้ว ในตอนนี้ความรักเป็นเรื่องใหญ่ เป็นความถูกต้อง ในสังคมยุคปัจจุบันเราไม่พึ่งพาชุมชน หรือขนบสังคมแล้ว เราสามารถอยู่ได้เองผ่านทางระบบต่างๆที่เอื้อให้คนอยู่ได้เองโดยพุึ่งชุมชนน้อยลง ด้วยสายตานี้เราจึงไม่ตะขิดตะขวงใจอีกแล้ว ถ้าหนังจะเลือกให้คนกับผีอยุ่ร่วมกันได้ เพียงแต่การดำรงคงอยุ่นี้มันยืนอยู่บนพื้นฐานของการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีหน้าที่ชัดเจนถ้าคุณจะแตกต่างแปลกแยก คุณต้องมีคุณค่าว่างั้น จึงไม่แปลกที่นากจะต้องอาศัย ความสามารถพิเศษในการเป็นผี เพื่อจะหาตำแหน่งแห่งที่ในสังคมให้ได้ เพื่อที่จะอยุ่ต่อไปให้ได้ มันเป็นภาพแทนของการถ่วงน้ำตอกกะโหลกในสมัยใหม่นี่แหละ กล่าวให้ถูกต้องคือ อีนากเวอร์ชั่นนี้เป็นอีนากทุนนิยม ที่จะต้องขับเคลืาอนรับบก่อนจึงมีสิทธิ์แปลกแยกแตกต่าง กล่าวให้มากกว่านั้นคือ เป็นรูปแบบของการปรองดองแต่เพียงระดับพื้นผิว คือไม่ได้มองเห็นว่ามันเป็นความต่างระดับคอนเซปต์ แต่เลือกมองข้ามมันไปตราบใดที่ยังได้ประโยชน์จากมันก็พร้อมจะัมองข้ามความเป็นผีได้

5.ความเป็นผีของอีนาก จึงไม่ใช่ความเป็นผีแบบขบถ ไม่ใช่ความเป็นอื่นที่จะต้องกำจัดออกไป ย้อนไปดูข้อหนึ่ง อีนากมันsterlie ระดับ ไม่เคยฆ่าใคร แค่เอาไว้ใช้อภิสิทธิ์ลัดคิวชิงช้าสวรรค์หรือโกงกระป๋องให้ผัวเท่านั้น อีนากจุงไม่ใช่ผีที่แท้ ในความหมายของผีที่แปลว่าความเป็นอื่น แต่เป็นผีที่เป็นเพียงความแตกต่างเบื้องนอก เป็นผีที่ไม่ได้มีความขัดแย้งมูลฐานกับชุมชน แค่ใส่เสื้อคนละสีแต่เป็นคนดีเหมือนกัน วิธีคิดแบบนี้คือวิธีคิดแบบการปรองดอง ที่ไม่ได้มองไปที่รากของปัญหา เพราะเรามาไกลเกินกว่าจะกำจัดอีนากออกจากสังคมได้ เราแค่เลือกหลับตาข้างนึงเท่านั้นแหละ

6.กล่าวโดยสรุปทางออกของผีอีนากภาคGTH จึงเป็นทางออกแบบประนีประนอมแบบGTH เหมือนเดิม ที่เหมือนเดิมยิ่งกว่าเหมือนเดิม คือประเด็นการให้พี่มากเป็นฝ่ายรู้ตัวก่อน แต่ยังรัก เชิดชูความรักสมราคาปัจเจกชนสมัยใหม่ความตายของผีนางนาก ในอดีตจึงไม่ต่างกันกับความมีอยู่ของผีอีนากในรอบนี้ เพียงแค่ผู้ชายเปลี่ยนจากการนิยม polygamy มาเป็น monogamy แบบ ชนชั้นกลางมีศีลธรรม และกำลังจากศาสนาอ่อนลงไปเท่านั้น

7.กลับไปประเด็นของ อ.นิธินี่น่าสนใจมากๆว่า ผีอีนากเหมือนจะเป็นผีไพร่คนแรกที่มีชื่อ มีตัวตน อันนี้ต้องมาร์คไว้ว่าใครจะเล่นประเด็นนี้ต่อคงน่าสนใจซึ่งมันก็น่าสนใจว่า ผีอีนาก2013 ที่ยั่วล้อกันขนาดนี้ จะเกิดขึ้นกับผีเจ้าได้หรือไม่ หรือเกิดได้ในผีไพร่เท่านั้น แล้วเป็นผีแบบไพร่หลอกๆพร่เสียด้วยสิ

8.ประเด็นเรื่องภาษาในชอตแรก หรือการแปลงให้เป็นอารมณ์ร่วมสมัยนี่อ.กเษียรกับ คนมองหนังเขียนและคิดได้มากกว่าเรามากๆ

9.ที่เราสนใจเพิ่มเติมคือ อะไรที่เพิ่มเข้ามาในความใหม่นี่ ลองดูว่าสิ่งที่เพิ่มเข้ามาไม่ใช่อัตลักษณ์แบบไทยปัจจุบันด้วยนะ อาจจะมีแค่มุกแบบซิตคอม หรือภาษาแบบชนชั้นกลางกรุงเทพ ที่เป็นอะไรที่เป็นไทยร่วมสมัยจริงๆ ที่เหลือมันจะเหวี่ยงอยู่ในอารมณ์นอสตาลเจีย จากความผสมผสานความเป็นไทยร่วมสมัยกับอารมณืฮอลลีวู้ดจากหนังนะ ฉากงานวัดในหนังน่าสนใจดี เพราะมันมีทั้งอารมณ์แบบงานวัดไทยตามชนบท ซึ่งของจริงอีเหละเขละขละมากๆ แต่บรรยากาศในพี่มากคือบรรยากาศงานในหนังอเมริกันมากกว่า (จริงๆฉากปากระป่องนี่นึกถึง IN AMERICA ด้วยซ้ำ) การรื้อสร้างโลกใหม่ลงในโลกเดิมของพี่มาก จึงไม่ได้เป็นการเอาความเป้ฯไทยปัจจุบันไปแทนที่ความเป็นไทยในอดีต แต่เป็นการผสมเผสเอาความเป็นไทย และอาการนอสตาลเจียนแบบคนชั้นกลางที่มีต่อวัฒนะรรมโลกลงไปยำรวมกัน ซึ่งอันี้เราชอบมากๆ

นึกได้เท่านี้ก่อน ยกคะแนนบวกทั้งหมดให้ใบหน้า ท่าทาง figure ของ ใหม่ ดาวิกาไปแล้วกัน ให้ดูอีก ก็จะไปดูแต่ใหม่นี่แหละ


คู่กรรม (เรียว กิตติกร /2013/ไทย) รักของอังศุมาลิน

$
0
0

13593589061359359130l

1. สิ่งที่งดงามที่สุดในหนังเรื่องนี้คือสิ่งที่เลวร้ายในหนังดัดแปลงเรื่องอื่นๆ นั้นคือ การ sterile ตัวละคร การsterile ตัวอังศุมาลินในเรื่องนี้น่าสนใจมากๆ และสำคัญมากๆด้วยในแง่ของการเปลี่ยนจาก หญิงไทยหัวใจนรักชาติมาเป็นสกอยท์ เสรีไทยจำเป็น สิ่งนี้สำคัญที่สุด เพราะถึงที่สุดแล้วสุนทรียะของคู่กรรมไม่ได้อยู่ที่อาการรักต้องห้าม แต่มันยืนอยู่บนพื้นของการเทอดชาติเอาไว้เหนือหัวแม้จะรักแต่ไหน แต่อังศุมาลินก็คือตัวแทนของชาติไทยที่ถูกย่ำยีทำลาย การที่ตัวบทโฟกัสอังศุมาลินเป็นภาพแทนของชาติทำให้ความรักไม่สมหวังของอังศุมาลิน เป็นภาพแทนของการรักชาติยิ่งชีพ ผสมผเสเปปนอยู่กับเรื่องที่ว่า พ่อดอกมะลิถูก ไทยแลนไนซื ให้คิดแบบคนไทย มองเห็นความถูกต้องจนต้องช่วยอังศุมาลิน การที่หนังsterile ตรงนี้ออกไปจนเกลี้ยง ทำให้ตัวหนังเป็นหนังรักวุยรุ่น TWILIGHT แบบสมบูรณืแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามมากๆๆๆ เพราะถ้าจะว่ากันจริงๆ อายุอานามของโกโบริ กับอังศุมาลินถ้ามีตัวตนจริงๆ น่าจะเป็นรุ่น สกอยท์เสรีไทย และหนุ่ญี่ปุ่นอินดี้ การตัดสินใจอะไรด้วยความรัก และความไร้เหตุผลที่ชาตินิยมถูกสกัดออกไป (แบบเดียวกับที่ไอ้มากบอกีนากว่า ตอนรบพีไม่คิดถึงสยาม คิดถึงแต่นากคนเดียว) เป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากๆ

2. เมื่อเปลี่ยนแกนหัวใจหลักของเรื่องเสียแล้ว ทุกอย่างที่เราเข้าใจในคู่กรรมจึงต้องเปลี่ยนออกไปหมด ดังนั้นการแสดง ท่าทาง สกอยท์แดกของอัศุมาลินในฉบับนี้จึงเป็นสิ้งที่งดงามยิ่ง โดยส่วนตัวเห็นว่าน้องริชชี่ น่าจะถูกกำกับโดยผู้กำกับอย่างแน่นหนาให้แสดงแบบสกอยท์ พูดแบบสกอยท์ น่าตบแบบสกอยท์ ในขณะที่ณเดชน์เล่นตามสบาย เพราะณเดชน์ไม่ถูกโฟกัส เอาง่ายว่า คู่กรรมละครและหนังมักจะโฟกัสความสับสนของโกโบริ (เพื่อเทอดอังศุมาลิน) แต่ในฉบับบนี้ โกโบริดูมั่นคง ฉลาดหลักแหลม ในขณะที่อังศุมาลินกลับต้องผเชิญความหวั่นไหว (เปรียบมวย(2) นี่ก็เมหือนการหนังโฟกัส ไอ้มาร์คมากกว่าอีนาค ในพี่มากนั่นแหละ ในความเห็นส่วนตัว ณเดชน์ และใหม่ดาวิกา มีฟังก์ชั่นเหมือนกันในหนังทั้งคู่ คือ เป็นspectacle สำหรับผู้ชม) กลับมาที่แม่อัง อาการสกอยท์เบลล่า แบบนี ถือว่าท้าทายอย่างยิ่ง มันจะไม่ท้าทายถ้าเป็นเรื่องอื่น แต่ถ้าเป็นคู่กรรมซึ่งในบริบทไทยมีสติกเกอร์แปะฉลากชัดเจนมากแล้วว่าแทนค่าอะไร การขัดขืนไม่ยอมแทนค่านี่เลยได้รับเสียงต้านอย่างที่เห็นรุนแรง ไม่ใช่เรื่องแปลก เสียงสะท้อนนั่นยิ่งตอกย้ำว่าพี่เรียวร้ายกาจ

3. การเปลี่ยนแกนไม่ได้ทำแค่ตัวละครแต่ยังเลยไปถึงรูปแบบการถ่ายด้วย ตอนครึ่งชั่วโมงแรกเราจะตกใจมากว่าทำไมคู่หรรมกลายเป็นหนังพี่ยอร์ชต่อมุกแบบซีนต่อซีนไปเรื่อยๆหยั่งงี้วะ พอดูไปเรื่อยๆถึงได้รู้สึกว่าจริงๆหนังกดตัวเรื่องลงหมดเลย หนังทอนนัยยะอะไรที่ซ่อนเร้นออกให้หมด จนทั้งเรื่องเราจะเห็นแค่คนสองคนนี้เท่านั้น การทอน ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม ออก มักจะทำลายตัวหนัง แต่กับหนังเรื่องนี้มันกลับเวิร์ค เมื่อเราคิดว่าฟังก์ชั่นดั้งเดิมของมันคือการเป็นหนังรักชาตินิยมที่มีหัวใจ แต่ที่จริงเป็นชาตินยม ในขณะที่ฉบับนี้เสือกมาเน้นที่หัวใจ การทอนความเป้นชาตินิยมของหนัง เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่หม่อมน้อย ทอนควมมืดดำออกจากจันดารา ที่แตกต่างคือหม่อมน้อยทอนความมืดเพื่อเติมstatus quo แต่คู่กรรม ทอนstatus quo เพื่อแฉให้เห็นโครงที่เหลือของมันที่โดนstatus quo หุ้มไว้ อย่าแปลกใจถ้าคนที่ชอบต้นฉบับจะเกลียดหนังเข้าไส้

ทีนี้ไอ้การถ่ายแบบ MV เลยกลายเป็นสิ่งสำคัญมากๆ การที่หนังมีแต่ฉาก พระเอกจียนางเอก พานางเอกหลบระเบิด ไปมาๆ เป็นการทอนสงครามทั้งหมดให้เหลือเพียงแค่เรื่องรักล้วนๆเลย การทอนให้เป็นรักสามเส้า กลายเป็นสิ่งที่ทำให้หนังตอบโต้กับตัวต้นฉบับมันเองได้อย่างน่าสนใจ (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

4.อย่างไรก็ดีมีอย่างน้อยสามฉากที่หนังไปได้ไกลมากๆ (ทั้งในแง่ไปได้ไกลในคู่กรรมด้วยกันเอง และไปได้ไกลในหนังไทย)นั่นคือ
4.1 ฉากระเบิดสะพานพุทธ
4.2 ฉากเข้าพระเข้านาง
4.3 ฉากเยอรมันบุก
สองฉากแรกนั้นน่าสนใจสุดๆทั้งในแง่ที่หนังเล่นกับความเงียบที่น่าอึดอัดได้น่าสนใจ ไม่ใช่แค่สองฉากนี้จริงๆหนังทั้งเรื่องมันน่าสนใจมากว่ามันใส่ความเงียบและเพลงประกอบ แบบประดักประเดิดมากๆ ซึ่งดีมากๆ ฉากที่ควรจะโหม อย่างฉากโกโบริตาย (อ้าวสปอยล์) ฉากเล้าโลม หรือฉากระเบิดสะพานช่วงไคลแมกซื หนังกลับเลือกตัดเพลงออกไป หลายฉากมันเงียบมากๆจนน่าอึดอัดซึ่งดีมากๆ ฉากสะพานพุทธ พอระเบิดปุ๊บ เราจะเห็นว่าพระเอกนางเอกพูดอะไรที่สำคัญมากๆ แต่เราจะไม่ได้ยินเสียง แล้วก็จะไม่เห็นปากเต็มๆด้วยซ้ำ ฉากนี้ มันเลยเป็นโลกเป็นตายที่คนดูถูกกันออกมา ในขณะที่ตามด้วยซีนขี่จักรยานแอบซบหลังที่เกาหลีมากๆ และอังศุมาลินก็ปฏิบัติการสกอยท์อย่างยอดเยี่ยมด้วยการสะบัดหัวจากหลังโกโบริอย่างรุนแรง

แต่ในฉากปล้ำน้องอังนี่ถือว่าสุดขีดมาก หนังไม่มีเพลงประกอบ ถ่ายแต่ละคัทค่อนข้างยาว และที่สำคัญฉากนี้ไม่ใช่การเมาแล้วข่มขืน เหมือนตามขนบ 1.เมา 2.ปล้ำ 3.ดิ้น 4.มือ 5.แจกันหัวเตียง ฉากนี้กลับมีส่วนสำคัญนั้นคือความเงี่ยน 1.เมา 2.เงี่ยน 3.ปล้ำ 4.ดิ้น5.ด่า 6.สงบ7.เงี่ยน 8.ปล้ำ9.สงบ10. 5นางเอกถอดใจ (ไม่ก็เงี่ยนบ้าง) การตัดแค่การกอดกันมันอีโรติคมากๆ เพราะความเงี่ยนถูกปูมาก่อนแล้ว ไม่ต้องพึ่งพาการกดข้อมือ แจกันหัวเตียงหรือภาพสายฟ้าฟาดแต่อย่างใด

มาถึงฉากที่เราชอบมากเป็นการส่วนตัวคือฉากเดียวที่หนังพูดถึงภาวะเอาแน่นอนไม่ได้ของสงครามคือฉากที่ญี่ปุ่นมารื้อบ้านพระเอก แล้วมีทหารเยอรมันมาด้วย (ตามที่เคยดู ไม่รู้ต้นฉบับมีไหม มันจะไม่มีเยอรมันเลย การมีเยอรมันนี่มันรีเฟแร์ ฮิตเลอร์และเป็นการเตือนคนดูว่าที่จริงญี่ปุ่นเป็นพวกระยำ ไม่ใช่ว่าสมัพันธมิตรสิเลวเอาแต่ทิ้งระเบิด น ซีนนี้ทำให้เราเอง(กูคนเดียว) ตระหนักได้ว่าจริงๆอังศุมาลินไม่สามารถแทนความรักชาติได้อีกแล้ว เพราะจริงๆนางคือคนไทยในจอมพล.ป. มที่ได้ประโยชน์จากโกโบริ และรอดตัวสิวๆเพราะโกโบริตายก่อนสงครามสงบ ไม่ต้องเป็นเมียไอ้แพ้สงครามอีกต่างหาก อันนี้น่าสนใจมากว่าตำแหน่งอังศุมาลินจริงๆเป็นอย่างไร ซึ่งมันคงต้องพ่วงว่า โกโบริเป็นทหารเลวเพียงใดด้วย (ในเวอร์ชั่นนี้ความเลวไม่มีแัญหา เพราะมันคือเรื่องรักวัยรุ่นนอกอำนาจชาตินิยม ความรักคือฮิสทีเรียประเภทหนึ่ง(กลับไปอ่าน พี่มากที่เขียนเมือ่คืนเพิ่มเติมนะจ้ะ)

5. ได้ข่าวมาว่าVOICEOVER ของหนังฉบับบางกอกจะมีซีนสะพานพุทธอันเดียว แต่ฉบับที่ข้าพเจ้าดูมีประมาณสี่ห้าครั้ง ซึ่งน่าเสียดายมากถ้าตัดออกจริง เพราะเสียงVOICEOVER อันไร้ประโยชน์โภชน์ผลนี้กลับตอกย้ำความเป็นสกอยท์ของอังศุมาลิน และชี้ให้เห็นว่าการกำหนดทิศทางการกระทำของเธอเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลมากกว่าเป็นเรื่องของชาติ เช่นจริงๆเธอไม่ได้เป็นห่วงวนัสมากกว่ารู้สึกว่าโกโบริจะทิ้งเธอไปแล้ว (ซีนนี้เพื่อนที่บางกอกบอกไม่มี)ฉากก่อนอีอังตกกระได นี่มันพูดตัดพ้อว่า โกโบริ นายกำลังจะทิ้งฉันไป พอมันรู้ว่าท้องแล้วโกโบริจิจะมีเสียงบอกว่า ใช่ิสเราไม่ใช่คนที่เขารอ พอโกโบริพูดเรื่องลูก อังศุมาลินจะขึ้นว่า ดูสิเขาจะทิ้งเราไป แล้วจะเอาลูกเราไปด้วย คือVoiceover มันยิ่งทำให้หนังเป็น TWILIGHT มากขึ้นแล้วมันดีมากๆ มันตบความรู้สึกอังศุมิาลินหญิงไทย ให้เป็น โธ่ อีสกอยท์หน้าโง่ ไรแบบนั้น

6. เพิ่งรู้จากเพื่อน (คือลืมไปแล้ว) ว่าจริงๆในฉบับอื่นๆ วนัสจะดีพอที่จะมาเตือนอังศุมาลินว่าอย่าให้โกโบริไปบางกอกน้อย แต่ในฉบับนี้วนัสบอกว่าจะไปบางกอกน้อย แล้วมีฉากวนัสจุดพลุ เรียกเครืองบิน น่าสนใจดีว่าเคยมีการให้วนัสเป็นตัวร้าย เป็นผู้ช่วยพระเอก แต่วนัสเวอร์ชั่นนี้เป็นอะไรคะ เป็นเสรีไทยจริงๆ(ไม่ใช่เสรีไทยปลอมๆแบบ จันดารา) การที่วนัสเป็นเสรีไทย เป็นชาติไทยยิ่วทำให้การตัดสินใจของอังศุมาลินมีน้ำหนักสกอยท์ริรักมากขึ้นไปอีก และเบียดขับความเป็นชาตินิยมให้เป็นเรื่องนอกรอบออกไปอีก

7.โควทเด็ดของหนังนี่ดีมาก คือมันบอกว่า คุณมีเหตุผลของคุณผมมีหัวใจของผม แล้วมันเป็นโกโบริน่ะใช้ใจ แต่เหตุผลขของอีอังศุมาลินสุดท้ายแล้วคือหัวใจ ไม่เห็นต้องมาอ้างเหตุผลอะไรเลย อันนีสอดรับประเด็นชาตินิยมในหนังได้น่าสนใจเว่อๆ

8. อย่างไรก็ดี หนังทำฉากสุดท้ายไม่ถึง แม้ว่าจะเป็น TWILIGHT แล้วก็ตาม เราชอบความเงียบในฉากนี้ แต่เคมีของการบอกลาครั้งสุดท้ายไม่บังเกิดเท่าที่ควร อีันนี้น่าจะพลาดที่การแสดง และการกำกับที่ปูอารมณ์ไปไม่สุดทางพอ ฉากนี้เลยยืดเหมือนฉากพี่เบริ์ดตายตอนช่องเจ็ด เอ๊ะหรือนี่คารวะชอตนั้นกัน!

9. ต่อยอดจาก Ratchapoom Boonbunchachoke เรื่องหนังไทยดัดแปลงจากบทประพันธ์ในสมัยปัจจุบันที่ไม่เคารพซื่อตรงต่อต้นฉบับ แต่กลับบิดมัน แล้วยังไม่ทำมลังเมลืองเสริมราคา นอสตาลเจียอันดีงามแบบที่ทำกันสมัย แม่นาก นนทรีย์ จันดารา นนทรีย์ หรือสุริโยทัย อันนี้น่าสนใจมาก เคส พี่มากกับคู่กรรมนี่เวิร์คสุดๆ คืออันหนึ่งพลอตบางมาก (เป็นตำนานเรื่องเล่า) แล้วมาลงดีเทลเยอะมาก ในขณะที่อีกเรื่องมีดีเทลเยอะมากๆ เพราะเป็นนิยายเป็นละครแล้วตัดออกหมด สองอันนี้น่าเขียนยาวๆแต่ให้อุ้ยเขียนนะ จบ.

10.สรุปว่า คู่กรรมภาคนี้คือหนังดัดแปลงวรรณกรรมที่ท้าทายที่สุดในรอบหลายปี ท้าทายจนต้องคารวะพี่เรียวในจุดนี้



พิศาล อัครเศรณี : พิศวาสในอุ้งมือซาตาน

$
0
0

pisal

ตีพิพม์ครั้งแรกใน นิตยสาร  OCTOBER ฉบับ SEX

 

เขาลากเธอลงจากรถ เขาผลักเธอตกลงไปในน้ำ เขาจิกผมเธอ เขาด่าเธอเป็นกะหรี่ เขาทุบตีเธอ เขาดูหมิ่นเธอ เขาทำกับเธอเหมือนเธอเป็นสัตว์ ส่วนเธอ เธอด่าท่อเขาหยาบๆคายๆ เธอเอาปืนจ่อเขา เธอบอกเขาเป็นสัตว์ เธอหนีจากเขาเพื่อที่จะกลับมา เพื่อที่ในที่สุดทั้งคู่จะรักกัน รักกันดูดดื่มหลังจากการ่วมรักกัน บ้างโดยการบังคับขู่เข็ญ บ้างโดยการสมยอม

นั่นล่ะสิ่งที่เรารู้จัก เคยได้ยิน เคยดูแต่จำไม่ได้ สิ่งซึ่งหลงเหลือตกค้างอยู่ในความทรงจำเวลาที่เราพูดถึงสิ่งที่เราเรียกกันอย่างเหมาๆว่าอาการ ‘ตบจูบ’ สิ่งซึ่งปรากฎประหนึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าในหนังของ พิศาล อัครเศรณี

เขาอาจถูกจดจำในฐานะผู้กำกับตบจูบ พระเอกซาดิสต์ ภาพผูกพ่วงอยู่กับการใช้ถ้อยคำรุนแรงด่าทอตบตี  ทำร้ายนักแสดงหญิงจนอ่วมอรทัย พ่อหนุ่มตัวเล็กเคราเฟิ้มตาดุที่ตะคอกตลอดเวลา หากที่จริงแล้วเริ่มต้นจากการเป็นนักแสดงและนักพากย์ พิศาลปรากฏตัวครั้งแรกในบทดาราสมทบในหนังเรื่องสกุลกา ก่อนจะโด่งดังเป็นพลุแตกในหนังซึ่งเป็นปฐมบทตบจูบที่จะติดไปกับตัวเขา นั่นคือการรับบทคุณเภิก เศรษฐีเจ้าของไร่อารมณ์ร้ายที่จ้างน้ำผึ้ง ครูสาวโรงเรียนประชาบาลที่กำลังเข้าตาจนมาสอนหนังสือลูกชายเจ้าอารมณ์ของเขา คุณเภิกและลูกชายเป็นคนอารมณ์ร้อน ด่าว่าแม่น้ำผึ้งเราเจ็บๆปวดๆ เสียๆหายๆ แต่น้ำผึ้งก็ต้องจำทนเพราะเขาซื้อเธอมาด้วยการแลกกับการรักษาพยาบาลพ่อแม่ของเธอ ในภาพยนตร์มนต์รักอสูร(2521)ที่กำกับโดยหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย ซึ่งพิศาล(ภายใต้ชื่อ วรรณิศา) เป็นคนเขียนบทหนังเรื่องนี้ขึ้น (นอกจาจากชื่อ วรรณิศา เขายังเขียนบทในชื่อ พิยดา อรรครพล อีกด้วย)

หนังขับเคลื่อนไปด้วยการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใอย่างต่อเนื่อง (แน่นอนรวมเอาการข่มขืนในนามของการ ‘ปล้ำ’ เข้าไว้ด้วย ) ชายผู้ซ่อนความอ่อนไหวของตัวเองภายใต้ความกักขฬะค่อยๆถูกกระเทาะเปลือกจากความดีงามของสาวน้อยที่แสนบริสุทธิ์ ยิ่งมีตัวเปรียบเทียบเป็นสาวเปรี้ยวจากในเมืองที่หยิบหย่งยิ่งฉายชัดถึงความงามน้ำใจของเธอ และทำให้ในที่สุดทั้งพ่อลุกต่างต้องการครูน้ำผึ้งมาเติมเต็มชีวิต ในขณะที่ครูน้ำผึ้งเอง หลังจาก ‘โดนไปดอกหนึ่ง’ก็ตกหลุมรักคุณเภิกเสียแล้ว และเรื่องก็จบลงตรงที่ทั้งหมดกลับมาใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเป็นสุขในไร่รักเรือนเรา

มนต์รักอสุรประสปความสำเร็จเมื่ออกฉาย และกลายเป็นปฐมบทแห่งสงครามตบจูบที่ตัวพิศาลเองได้หยิบมาทำซ้ำ บิดขนบ ล้อเล่นกับมันในหนังเรื่องต่อๆมาตลอดชีวิตการทำหนังของเขาเองซึ่งเราจะได้กล่าวต่อไป

อย่างไรก็ดีเราอาจแบ่งหนังของพิศาล อัครเศรณี ออกไปเป็นสองกลุ่ม โดนนอกจากขนบหนังขนบ ‘ตบจูบ’ แล้วนั้น พิศาลยังสร้างหนังจากบทประพันธ์โด่งดังของนักเขียนสตรี (หรือบางครั้งเขาก็เขียนบทเอง)โดยทุกเรื่องนั้นก็คล้ายคลึงกัยเพียงแต่เปลี่ยนมือผู้ตบจูบจากโจรร้ายมาเป็นชะตากรรมช้ำชอกเข้มข้นที่สาดใส่ตัวละครจนแทบย่อยยับ หนังดราม่าชีวิตหนักหน่วงที่บทสนทนารุนแรงบาดหู และภาพชีวิตเข้มข้นบาดตา หากดำเนินไปตามขนบแฮปปี้เอนดิ้งในที่สุด

ตัวอย่างเช่น ฟ้าหลังฝน(2521) เล่าเรื่องของ เด็กชายโอปอลล์ ลูกที่เกิดจากพ่อนักศึกษาและแม่แม่ค้าที่อาศัยอยู่ด้วยกันในสลัม พ่อของเขากำลังเรียนรัฐศาสตร์ และผูกสัมพันธ์ลับๆอยู่กับเพื่อนสาวนักศึกษที่ร่ำรวย ต่อมาเมื่อแม่ของเขาทราบความจริงก็หอบลูกหนีหายไปเป็นคนงานก่อสร้าง และลงเอยอย่างเศร้าๆเมื่อนางมาตายเพราะตกลงมาจากรถผสมปูน เด็กชายโอปอลล์จึงตกอยู่ในการเลี้ยงดูของป้าที่เคยอาศัยอยู่ข้าง้านในสลัม บัดนี้เธอเป็นโสเภณีหาเงินเลี้ยงผัวขี้ยาจอมโหด ที่กระทืบหนูน้อยโอปอลล์จนสลบคาตีน(หนังมีฉากกระทืบเด็กจริงๆ) จนหนูน้อยต้องหนีไปอยู่กับแกงค์เด็กขายของข้างถนนในอาณัติการดูแลของลุงคนหนึ่ง จนกระทั่งชะตาฟ้าลิขิตให้ได้มาพบพานกับพ่อของตัวเองและได้ชีวิตดีงามกลับตืนมาเหมือนท้องฟ้าหลังฝนอันสดใส

หรือในดวงตาสวรรค์(2525)(บทประพันธ์ของ กฤษณา อโศกสิน ในนามปากกา กัญญ์ชลา)  ที่เล่าเรื่องของแพนสาวบ้านนากำพร้าแม่ที่ถูกแม่เลี้ยงทารุณจนต้องหนีมาพึ่งใบบุญบ้านคนร่ำรวย เธอรักคุณชายเล็ก แต่แต่งานกับคุณชายใหญ่ พี่ชายของหญิงอรที่เป็นคู่รักของคุณชายเล้ก แล้วยังมีเพื่อนสมัยวัยเด็กมาตามรักเธออีก แต่คุณชายใหญ่เอาแต่วาดรูปและละเลยเธอ ขณะที่เธอก็ยังพยายามจะทำลายความรักของคุณชายเล็กและหญิงอรจนในที่สุดชีวิตของเธอก็จบลงอย่างเป็นโศกนาฏกรรม

เพลงสุดท้าย (2528) เล่าเรื่องที่ต่างออกไปจากหนังทุกเรื่อของเขา  นี่คือหนังที่เล่าเรื่องชีิวิตของสมหญิง ดาวราย สาวประเภทสองนางโชว์คาบาเร่ต์พัทยา ที่ได้พบกับนายบุญทิ้ง หนุ่มบ้านนาที่เข้าเมืองมาเป็นช่างซ่อมรถเพื่อหนีความจน สมหญิงจ้างบุญทิ้งให้เป็นคนขับรถต่อมาก็ยับฐานะเป็นคนรัก ซ้ำยังผลักดันจนเขาได้เป็นนักร้องหน้าม่านของคณะโชว์จนเขาโด่งดังมีชื่อเสียง ในขณะเดียวกัน บุญทิ้งก็เริ่มผูกสัมพันธ์กับเด็กสาวที่เป็นคนรักของสาวทอมเพื่อสนิทของสมหญิง ทั้งคู่แอบคบกัน แอบไปร่วมกันเปิดอู่รถ แอบตั้งใจจะแต่งงานกัน และเมื่อทั้งคู่เปิดเผยเรื่องรักต่างเพศต่อคู่รักร่วมเพศของตนเรื่องราวก็ดำเนินมาถึงจุดจบ เมื่อสมหญิงขึ้นโชว์ ‘เพลงสุดท้าย’ของเธอต่อหน้าผู้คน

ใน ชะตาฟ้า (2530)นาถยารับบทสาวเคร่งศาสนาที่เป็นคุณครูสอนร้องเพลงในโบส์ถ แต่ถูกล่อลวงโดยนักร้องหนุ่มเซียนพนัน ด้วยความต้องการจะเอาชนะเพื่อนที่ท้าพนันว่าเขาจะจีบเธอไม่ติด ทั้งคู่แต่งงานกัน ถึงกับมีลูกด้วยกันก่อนที่เธอจะพบว่า เขามีลูกเมียอยู่แล้ว แถมยังติดหนี้พนันจนเธอถูกยึดบ้าน ท่านแม่อธิการที่โบสถ์ก็ไม่ช่วยเหลือเธอ ต้องหอบลูกไปอาศัยกับเพื่อนเก่าที่เป็นพยาบาล แต่ดูเหมือนยังไม่เลวร้าสยพอ เธอฆ่าไอ้คนที่พยายามจะปล้ำเพื่อนเธอตายไม่ได้เจตนาทำให้ต้องไปติดคุกอยู่หลายปี ฝากลูกไว้ให้เพื่อนช่วยดูแล ครั้นพอออกจากคุกเธอก็เลือกเส้นทางไปเป็นโสเภณีเพื่อหาเงินเลี้ยงลูกชายคนเดียวซ้ำยังต้องปกปิดความจริงที่ว่าเธอเป็นแม่ เพราะกลัวลูกจะอับอายเพื่อนๆ จนเมื่อสามีเก่ากลับมาทวงลูกคืนเธอก็ต่อสู้จนฆ่าเขาตาย และต้องไปติดคุกอีกครั้งหนึ่ง กาลเวลาผันผ่าน ลูกชายของธอกลายเป็นคุณหมอคนดี ขณะที่เธอเพิ่งออกจากคุกและอยากมาดูหน้าลูกชายเป็นครั้งสุดท้าย

หนักหนาที่สุดคือ ซอสามสาย (2531)หนังที่เล่าเรื่องของสามพี่น้อง ของตระกูลนักดนตรี คนพี่ทำงานเป็นมือแซกโซโฟนในผับอยู่กินกับสะใภ้ปากกล้าอาศัยร่วมกันในบ้าน คนกลางเป็นนักเรียนกฏหมายเซียนพนันเจ้าอารฒณืปากสุนัขที่หาแต่เรื่องมาให้พ่อปวดหัว ส่วนคนเล็กเป็นเด็กหนุ่มขาพิการที่ช่วยพ่อรับจ้างสอนดนตรีไทย หนังฉายภาพชีวิตสามพี่น้องและพ่อขี้เหล้าในบ้านดงสลัม อาการไม่ลงรอยของน้องายคนกลางกับพี่สะใภ้ พี่ชายคนโตจอมเจ้าชู้ และน้องคนเล็กผู้เรียบร้อย ก่อนที่ด็กสาวลูกสาวของเจ้านายเก่าของพ่อจะเข้ามาเรียนดนตรีไทยที่บ้าน เธอผูกสัมพันธ์แสนงามกับน้องคนเล็กก่อนที่พี่ชายคนกลางจะทำลายมันลงอย่างย่อยยับ

กลับมายังฟากฝั่งหนังขนบตบจูบอันเป็นเครื่องหมายการค้าของพิศาลนั้น(โดยมากเขาจะรับบทนำด้วยตนเองเสียด้วย)  เราก็อาจจะเล่าเรื่องออกมาในทำนองนี้

ในเลือดทมิฬ (2522) พิศาลรับบทเป็นตชด.หนุ่มปลดประจำการที่กลับมาบ้านแล้วพบว่าคนักของเขาโดนนักเลงฉุกไปทำเมีย นักเลงพวกนั้นเป็นลูกสมุนเจ้าพ่อที่ต้องการที่ตรงบ้านของเขา สุดท้ายก็ฆ่าพ่อแม่เขาจับน้องเขาไปข่มขืนจนเป็นบ้าฆ่าตัวตาย เขาจึงขอแรงเพื่อนตชด.มาช่วยล้างแค้น ด้วยความบังเอิญในขณะนั้นเองเขาได้พบคุณหนูลูกสาวเจ้าพ่อ เขาจึงลากเธอเข้าไปทรมานในป่า ก่อนจะค่อยๆตกหลุมรักกัน กลายเป็นคู่รักอาชญากรหนีกฏหมายและลงเอยอย่างเศร้าสร้อยที่ปลายแหลม กลางแถวตำรวจที่มาล้อมจับ

ครั้นพอมาถึง หัวใจทมิฬ (2526) เขาก็กลับข้างตัวละครด้วยการเล่าเรื่องนายตำรวจที่ตามล่าแก๊งค์โจรที่มีหัวหน้าเป็นสองแม่ลูก (รับบทโดยบ มารศรีิ อิศรางกูร และพิศมัย วิไลศักดิ์) จนในที่สุดแกค์โจรส่งคนมาสังหารโหดลูกเมียของเขา หนำซ้ำยังจับเอาน้องสาวคนเดียวของเขาไปทั้งชุดนางพยาบาล เขาตามล่าไม่ละดละจนมาสารถสังหารแก๊งค์โจรได้เกือบหมด เหลือเพียงเจ้าโจรคุ้มดีคุ้มร้ายเพียงคนเดียวที่ลักพาตัวน้องสาวของเขาหนีเข้าไปในป่า ตามสไตล์ทั้งคู่ตกหลุมรักกัน ก่อนที่จะจบลงด้วยความตายเช่นเคย

ในอุ้งมือมาร  (2529) เขาเอาขนบนี้มาใช้อีก โดยการเล่าเรื่องของดำชุมพร คนหาปลาที่เป็นที่รักของคนทั้งชุมชน ครั้งหนึ่งเขาออกไปหาปลาเสียนานจนพลาดจ่ายค่างวดเรือ พอกลับเข้าฝั่งพร้อมปลาเต็มลำเขาก็พบว่าเรือโดนแจ้งอายัด เขากับอีกาหลง โศเภณคู่ใจจึงเดินทางเข้ากรุงเทพมาเจรจากับเจ้าของบริษัท แต่พอไปถึงก็พบว่าเท่าประธานเดินทางขึ้นเหนือไปน่านเพื่อเยี่ยมลูกสาวเสียแล้ว แน่นอนเจ้าดำตามไปที่นั่น ขโมยรถขนไก่จากคนแถวนั้น ทิ้งอีกางหลงไว้กลางทางแต่พอไปถึงก็พบว่าท่านไม่อยู่ อยุ่แต่คุณอ้วยลูกสาวจบนอกเจ้าอารมณ์ช่างูถูกคน เขาจึงจับคุณอ้วนใส่รถพากันเดินทางขโยกข้ามเขาไปตามหาคุณพ่อในป่า โดยตลอดทางย่อมต้องมีการตบตีด่าทอกันอย่างรุนแรงทั้งทางกายและวาจา จนในที่สุดแน่นอน ตกหลุมรักกัน

หากที่ไปได้ไกลที่สุด และทำลายขนบทุกอย่างทิ้งย่อมต้องเป็น พิศวาสซาตาน (2529)หนังที่คลายจะดัดแปลงมาจาก  The Beguiled ภาพยนตร์ปี 1971ของ Don Seigel หนังเล่าเรื่องของนักโทษประหาร (ต้นฉบับนั้นเป็นทหารหนีทัพ)  ที่หนีตายกระเซอะกระเซิงเข้าไปในเหมืองเล็กๆห่างไกลผู้คน เหมืองนั้นมีเจ้าของเป็น คุณ มาณธา อดีตภรรยาท่านเจ้าของเหมืองที่ขึ้นมากุมอำนาจกลังจากสามีตายอย่างลึกลับ เธอปลดคนงานชายออกจนเกือบหมด และไปรับเด็กสาวห้าหกคนมาอศัยอยู่ร่วมกันในบ้าน มีสัมพันธืกับเด็กบางคนในบ้านเสียด้วย  นักโทษหนุ่มหลอกว่าตัวเองเป็นเศรษฐีหนีโจรมาขอพึ่งใบบุญ แม้คุณมาร์ธาจะไม่เห็นด้วยแต่ก็ช่วยรักษาจนเขาดีขึ้น ในขณะที่เขายังเดินไม่ได้นี้เองเขาลงมือยั่วยวนหลอกลวงเอาเด็กสาวทั้งบ้านมาทำเมีย(แม้แต่เด็กเก้าขวบก็ยังไม่วายโดนเขาล่อลวง) พิศาลเปลี่ยนชายกักขฬะจากผู้ล่าเป็นเหยื่อกามของสาวๆทั้งบ้าน ก่อนที่จะหักหลังผู้ชมอย่างร้ายกาจในฉากจบของเรื่อง

จากเรื่องย่อของหนังบางส่วนของเขา เราอาจจะจับอะไรได้ไม่มากไปกว่าโครงสร้างเรื่องของผู้ชายซาดิสม์ลากผู้หญิงไปตบตีกันในป่า หรือภาพชีวิตทรมานของตัวละครที่ด่ากันไฟแลบ ไม่บันยะบันยังอารมณ์ทั้งกายและทางวาจา แต่เลยพ้นไปจากนั้นเราพบว่าหนังของพิศาล อัครเศรณีมีความน่าสนใจ ทั้งในส่วนของ ‘อาการตบจูบ’ ในตัวของมันเอง ไปจนถึงการแสดงภาพของชนชั้นไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ผ่านทางตัวเรื่องของเขา

ชนชั้นนางฟ้า และชนชั้นซาตาน

แกมันเลวยิ่งกว่าสัตว์! แหมพอตกดึกก็เป่าแซกโซโฟนให้ผัวเชียวนะ! แกมันกะหรี่ เงินที่แกหามาได้ก็เป็นเงินน้ำกาม! โธ่ อีนี่ เดี๋ยวกูถีบตกรถซะนี่ ! อีอ้วน มึงจะเอายังไงกับกู! เหล่านี้เป็นเพียงคำพูดเล้กๆน้อยที่ตัวละครกล่าวแก่กัน ทั้งในหนัง และบนใบปิดหนังที๋โฆษณาตามหนังสือพิมพ์ มากไปกว่านั้นนี่คือหนังที่มีตัวละครอันประกอบด้วย สาวก่อสร้าง เด็กขายหนังสือพิมพ์ ตชด.กะหรี่ หนุ่มสลัม เซียนพนัน ตังเกเรือประมง  ช่างซ่อมรถ กล่าวให้ถูกต้อง นี่คือหนังที่เต็มไปด้วยตัวละครชนชั้นล่างโดยแท้

หนังของเขาไม่กะมิดกระเมี้ยนที่จะใช้ภาษาแบบชาวบ้านร้านตลาด(ในครั้งกระนั้นหนังไทยก็กระมิดกระเมี้ยนน้อยกว่าตอนนี้มาก ภาษาในหนังไทยก็แสบทรวงมากกว่าตอนนี้มาก แต่พิศาบลก็ยังถูกจดจำในฐานะแนวหน้าก็การทำหนังที่ด่ากันหยาบๆคายๆ) ตัวละครที่เป็นคนชั้นล่างของจริง ด้วยกริยาตบตีต่อยชกแบบคนชั้นล่าง ที่เราแทบจะหาโอกาสเห็นได้ยากในหนังไทย ไม่ว่าจะเป็นฉากการกระทืบเด็ก หรือการอ้าขาโชว์เพื่อตอบโต้เมื่อโดนด่า การจิกหัวตบกันกลางตลาด   (หนังมีตัวละครแรงๆโดยเฉพาะ อภิรดี ภวภูตานนท์ ที่ได้เล่นบทอย่างโสเภณีคู่ขาที่เปลี่ยนโกเตกซ์กันบนจอหนัง หรือบทพี่สะใภ้ตัวแสบที่ถ่างขาโชว์เมื่อโดนน้องสามีแซวเรื่องคลอดลูก หรือรับบทเป็นสาวร่านสวาทที่เคยมีผัวกะเทยใน พิศวาสซาตาน ) เราแทบจะบอกได้ว่า นี่คือหนังที่เปิดโอกาสให้มีการใช้ ภาษาแบบคนชั้นล่าง ฉายภาพชีิวตแบบคนชั้นล่าง โดยไม่อินังขังขอบที่จะเป็นหนังเรียบร้อยหรืออย่างน้อยก็สุภาพเลยแ้แต่น้อย) กล่าวถึงที่สุดหนังของพิศาล อัครเศรณี จึงเป็นหนังที่ว่าด้วยคนชั้นล่่าง และสร้างมาเอาใจคนชั้นล่างของจริง

ตชด.ที่ถูกฆ่าล้างโคตร แก้แค้นด้วยการักพาตัวลูกสาวเจ้าพ่อ(เลือดทมิฬ) ชายชาวเรือลักพาตัวลูกสาวเจ้าของบริษัทเพื่อให้เธอนำทางไปหาพ่อ(อุ้งมือมาร) โจรร้ายลักพาน้องสาวของนายตำรวจที่สังหารครอบครัวของเขา (หัวใจทมิฬ)  แม้หนังสามเรื่องนี้แทบจะเป็นการทำซ้ำหนังเรื่องเดียวกัน (ซึ่งอันที่จริงเป็นการงอกเงยด้านกลับออกมาจากหนังเรื่อง มนต์รักอสูร และในที่นี้เราอาจผนวกรวมเอาไฟรักอสูร หนังโด่งดังที่สาบสูญไปซึ่งว่าด้วยเรื่องของชายคนหนึ่งที่ถูกภรรยาหักหลังแล้วไปจับเอาฝาแฝดแานดีของเธอมาทรมานปางตายแทน-ผูเขียยังไม่สามารถหาชมหนังเรื่องนี้ได้เว้นแต่ฉบับละครโทรทัศน์ จึงขอละไว้ในที่นี้) แต่ดูเหมือนพิศาลจะพลิกเกมไปมา  เรื่องหนึ่งเป็นคนชั้นล่างจับคุณหนูบริสุทธิ์ อีกเรื่องเป็นโจรร้ายของจริงแถมยังครึ่งดีครึ่งบ้า (สถานะของตัวละครโจรในหัวใจทมิฬนั้นไม่ใช่ตัวเอกของเรื่องเพราะตัวเอกของเรื่องคือนายตำรวจที่ถูกฆ่าล้างครัว ซึ่งแสดงโดยสรพงษ์ ชาตรี และเป็นการกลับข้างจากตัวเอกในเลือดทมิฬ) ในขณะที่อุ้งมือมารนั้นตัวละครชายแบบเลือดทมิฬ(ถูกยึดเรือ) ลักพาคุณหนุลูกผู้ดีที่ไม่ใช่สาวบริสุทธิ์แต่เป็นสาวหัวนอกที่เขาจับมาในคืนที่เธอเฟลิร์ตกับชายหนุ่มหน้าใหม่  ทำให้หนังทั้งสามเรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกันเอาเข้าจริงมีการพลิกกลับข้างของตัวละครอย่างน่าสนใจ ภายใต้รูปรอยของหนัง ที่ว่าด้วย Stockholm Syndrome  (อาการที่ผู้ถูกลักพาตัวเกิดเหนอกเห็นใจคนที่ลักพาตัวไปจนในที่สุดเปลี่ยนข้างมาช่วยคนที่ลักพาตัวเองไปเสีย ซึ่งจากการวิจัยของFBIพบว่าเกิดขึ้นถึง27% ของคดีทั้งนี้อาการนี้ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ปล้นธนาคารในกรุงสตอล์กโฮล์ม ที่บรรดาพนักงานธนาคารที่ถูกจับเป็นตัวประกันหันมาช่วยโจรเสียแทน) แต่อันที่จริง

หากในอีกทางหนึ่งเราพิจารณาหนังสามเรื่องนี้รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันในฐานะหนังที่แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ของชายกักขฬะกับสาวบริสุทธิ์นั้น (ในกรณีนี้เราอาจรวมเอา ซอสามสาย ที่ถึงแม้ไม่ได้มีการลักพาตัวหรือทำทารุณกรรม แต่มันคือเรื่องของชายกักขฬะ ข่มขืนหญิงสาวลูกผู้ดี หนำซ้ำคราวนี้ไม่มีความแค้นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป) ในทางหนึ่งชายกักขฬะเป็นภาพแทนของคนชั้นล่าง ( ตังเก ตชด. หนุ่มสลัม โจร ) ที่ลักพาเอาลูกหลานคนชั้นกลางไป ลูกหลานที่มาในฐานะของสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอหยิบหย่ง ทำอะไรไม่เป็น ไร้กำลังจะขัดขืน

ประกอบกันเข้ากับการที่หนังของพิศาลนั้นอุดมไปด้วยอาการปากว่ามือถึง ภาษาระดับปากตลาด  มีการตบตีด่าทอกันอย่างรุนแรงเต็มที่(ทั้งในส่วนของตัวหนังลามเลยไปจนถึงภาพการโปรโมทหนังที่มีการโควทคำด่าเด็ดๆมาแปะเรียกความสนใจจากผู้ชม) เราแทบจะอนุมานเอาคร่าวๆได้เลยด้วยซ้ำว่ามันเป็นหนังที่สร้างขึ้นมาสำหรับคนชั้นล่าง มากกว่าเป็นความบันเทิงที่เรียบร้อยสำหรับผู้ลากมากดี

ดังนั้นด้วยลักษณาการนี้ใช่หรือไม่ที่ผู้ชมอาจจะพากันสงสารเวทนาแม่เจ้าประคุณที่ถูกตบตีด่าทออย่างไม่เป็นธรรมเอาเสียเลย หากในขณะเดียวกันมันก็คืออาการพาฝันขั้นสูงที่ให้โอกาสและอำนาจแก่ผู้ชมคนชั้นกรรมาชีพหาเช้ากินค่ำ ได้แสดงอำนาจเหนือชนชั้นกลางอย่างจริงจัง พวกเขาและเธอได้ใช้ภาษา กริยาแบบที่พวกเขาใช้กันจริงๆด่าจริงตบจริง กับไอ้พวกลูกคุณหนู แถมยังได้ครอบครองพวกเธอเหล่านั้น ได้ชัยชนะเหนือร่างกาย(ข่มขืนบ้าง สมยอมบ้าง)  และเหนือจิตใจ(พอได้เสียเป็นเมียผัวก็รักกันขึ้นมาเสียอย่างนั้น)

การชมภาพยนตร์กลุ่มนี้ของพิศาลจึงเป็นความบันเทิงซึ่งกวัดไกวไปมาระหว่างอาการสงสารเห็นใจตัวละคร กับอาการสะใจอยู่ลึกๆที่ได้เห็นตัวละครหญิงเหล่านี้ถูกทำร้ายปางตาย  ความรักของตัวละครในหนังของพิศาลมักจะดูไม่สมจริง ไม่น่าเป็นไปได้  เป็นความรักที่ลงเอยกันตามขนบของหนังไทย นั่นคือเมื่อมีตัวพระมีตัวนาง ก็ต้องมีความรัก  รักไปย่างนั้น รักกันง่ายๆ (ไหนๆก็ได้กันแล้ว ลองถ้าได้กันโดยที่ในที่สุดไม่รักกัน ก็จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของหนังไทย เพราะนั่นจะเท่ากับผลักการปล้ำให้กลายเ็นการข่มขืน และผลักพระเอกไปเป็นผู้ร้าย)

นอกเหนือไปจากขบวนพาเหรดหนังตบจูบ หนังอีกกลุ่มของพิศาลก็ยังคงอุดมไปด้วยตัวละครชนชั้นล่างอันเข้มข้น  ในปี  2521 ตัวละครของการันต์ (รับบทโดยวิูร กรุณา) คือภาพแทนของคนชั้นล่างที่ดิ้นรนขึ้นไปเป็นคนชั้นกลางผ่านทางการศึกษา หากเป็นการดิ้นรนนี้เองที่ทำให้เมียแม่ค้าของเขาต้องหอบลูกหนีไปผเชิญชะตากรรมเลวร้าย เด็กชายโอปอลล์ลูกคนเดียวของเขากลายเป็นเด็กข้างถนน แม้เขาจะกิ้นหนีความจนได้ แต่มันก็ตามหลอกหลอนเขาอยู่เช่นนั้น (แต่หนังก้เลือกจะประนีประนอมใ้ตัวละครในตอนจบ จนอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นหนังของพิศาลเรื่องเดียวที่ตัวละครได้เลื่อนชั้นจากคนชั้นล่างขึ้นไปชั้นที่สูงกว่า ตามขนบของหนังไทยจำพวกหนังชีิวิตที่ขับเน้นโลกศักดินา ผูกกันอยู่ที่ความลับว่าใครเป็นลูกใคร (  -โปรดอ่านเพิ่มเติมในบทความ  ‘ความยุติธรรมของบานเย็น OCTOBER 09)  ในทางตรงกันข้าม แพน ในดวงตาสวรรค์ สาวบ้านนอกใฝ่สูงกลับไม่สามารถเลื่อนชั้นของตัวเองได้สำเร็จ แม้เธอจะเป็นเมียคุณใหญ่หนีไกลจากความจน จนลืมพ่อที่หอบข้าวของมาเยี่ยมจากบ้านนอก แพนเป็นภาพแทนชนชั้นล่างของแท้ในวรรณกรรมที่ครอบครองโดยชนชั้นกลาง สาวบ้านนอกที่ไม่รู้จักพอทั้งชีวิตและทั้งความรักในไม่รู้อิ่ม เธอละเมิดข้อห้ามของการเป็นคนชั้นล่างแสนดี และเธอจะต้องโดนลงโทษอย่างโหดเหี้ยม

ไม่เพียงแต่แพนเท่านั้น คู่รักอย่่างธงหนุ่มตชด.กับคุณนูดาวลูกสาวเจ้าพ่อ หรือ เจ้าโจรร้ายกับนางพยาบาลสาว ล้วนต่างต้องลงเอยอย่างโหดร้ายทารุณทั้งสิ้น ข้อห้ามของรักข้ามชนชั้นที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม (ลากกันเข้าป่่า ลักพาตัว กริยาไม่น่าดูชม) แม้แต่นายบุญทิ้งหนุ่มชาวบ้านที่ได้ดิบได้ดีได้สมรักกับลูกสาวผู้ลากมากดี ยังต้องจดจำไปจนตายว่านางกระเทยที่ส่งเสียเขานั้นฆ่าตัวตายไปต่อหน้าต่อตา  หรือแม้แต่ตัวละครแสนดีอย่างเช่นตัวเอกในชะตาฟ้า (จะว่าไปแล้วในหนังเรื่องนี้นาถยารับบทเป็นทั้งชนชั้นกลางที่ตกเป็นเยื่อชายกักขฬะ และเป็นคนชั้นล่างที่คลั่งแค้นในเวลาต่อมาเมื่อเธอเป็นโสเภณีสู้เพื่อลูกจนพลั้งมือฆ่าสามีเก่าตาย)  จนกระทั่งมาถึงคู่ของ ไอ้ดำกับอีอ้วนแห่งอุ้งมือมารนี้เอง ที่คนชั้นล่างได้มีโอากาสเอาคืน

ไอ้ดำลักพาคุณหนูอ้วนเข้าป่าไปในคืนหนึ่งที่เธอเมามายอย่างยิ่งและเ่าทอเขาเสียๆหายๆ จริงๆเขาก็แค่ต้องการให้เธอช่วยตามหาพ่อที่เข้าป่าล่าสัตว์เพื่อที่จะได้ตกลงธุรกิจเรื่องเรือของเขาที่ชุมพรเท่านั้นแต่มันก็กลับเลยเถิดไปกันใหญ่

อุ้งมือมาร อาจจะเป็นหนังตบจูบก็จริง แต่ตัวมันนั้นก็ได้แหกขนบหนังตบจูบอย่างน่าสนใจยิ่ง ด้วยการกำหนดบทของคุณหนูอ้วนให้เป็นผู้หญิงเจ้าอารมณืไม่แพ้นายดำ เธอถึงขั้นตบตีด่าทอเอาคืนพระเอกของเราด้วยดีกรีคำด่าที่แรงพอกัน กรีดร้องเสียงหลงเมื่อไม่ได้อย่างใจ และถึงที่สุด เมื่อถึงคราวจะได้กันเธอเป็นคนชักชวนพี่ดำของเราเสียด้วยซ้ำ

และในอุ้งมือมารนี้เองที่คนชั้นล่างได้ทำสิ่งที่แตกต่างออกไป พวกเขาไม่ต้องการขยับชนชั้น แต่เกี่ยวเอาคนชั้นบนลงมาคลุกขี้ดินด้วย ในตอนจบ คุณหนูอ้วนสมยอมกลับมาหานายดำ ลงเอยกันอย่างเป็นสุข ซึ่งนั่นหมายความว่า เธอจะต้องมาเป็นเมียไอ้หนุ่มตังเกนั่นเอง!

มันเป็นเช่นนั้นอีกในซอสามสาย คุณหนูคนงามถูกไอ้นักศึกษาปากเสียข่มขืนในวันฝนตก เขาหนีหายไปด้วยสำนึกบาปปล่อยให้น้องชายแสนดีรับผิดชอบแทนก่อนจะกลับมาทวงคืนเมียคืนเดียวของตัวเอง ที่สำคัญคือคุณหนูลูกผู้ดีก็ย้ายมาอยู่บ้านดงสลัมเสียแล้วในขณะนั้น

หากแต่นี่เป็นเพียงเรื่องของชนชั้นล้วนๆเท่านั้นหรือ มันคือการประกาศชัยชนะของชนชั้นหรือเปล่า บางทีอาจะตีขลุมเกินไปที่จะมองเช่นนั้น เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว ตัวละครที่สมยอมกลับมาอยู่กับคนชั้นล่างคือตัวละครหญิงล้วนๆ

กล่าวให้ถูกต้องเลยพ้นไปจากประเด็นชนชั้นที่ลอยฟ่องอยู่ในหนัง สิ่งที่ยังคงผงาดง้ำค้ำโลกในหนังของพิศาล (หรืออาจจะเป็นหนังไทย) ก็คือประเด็นเรื่องเพศนี้เอง ถึงที่สุดนี่คือหนังที่ตอกย้ำสภาวะชายเป็นใหญ่ หนังที่ตัวละครชายจะไม่ถูกลงโทษต่อสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปต่อผู้หญิง  ถึงที่สุด การก้าวข้ามไปเอาคืนชนชั้นกลางของตัวละครชนชั้นล่างในหนังจึงยืนอยู่บนการกดขี่เพศหญิงโดยเฉพาะ  ความรักที่บังเกิดขึ้นต่อตัวละครถึงที่สุดเป็นเพียงอาการลูบหน้าปะจมูกหลังจากเสียสาว และยิ่งตอกย้ำอาการรักนวลสงวนตัวให้แน่นหนามากขึ้น เพราะที่สุดแล้วตัวละครเอก ก็เสียสาวให้กับชายที่เธอจะรักในเวลาต่อมา ความรักถูกทำให้มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งจขนเธอสามารถช่วยชายคนรักบุกป่าฝ่าดง สู้กับตำรวจ หรือโจรร้ายก็ทำได้ ในเลือดทมิฬและหัวใจทมิฬนั้น การณ์กลายเป็นว่าโลกข้างนอกมีตำรวจชาย ยืนล้อมความรักโรแมนติคข้ามชนชั้นเต็มไปหมด ผู้หญิงในหนังของพิศาล โดยเฉพาะบรรดาคุรหนุลูกชนชั้นกลางจึงถูกกดขี่ซ้ำสองชั้น จากสังคมภภายนอกที่พยายามพรากเธอออกจากคนรัก และจากความรักที่ถูกจับยััดใส่เธอหลังจากเสียตัวไปล่วงหน้าเป็นค่ามัดจำเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม เรากลับผบว่ามีหนังเรื่องหนึ่งของพิศาลที่ท้าทายต่อขนบ ทั้งของหนังไทย และต่อขนบของตัวเขาเองอย่างถึงที่สุด  และหนังเรื่องนั้นคือ พิศวาสซาตาน

พิศวาสซาตานเริ่มเรื่องด้วยภาพของการขนส่งนักโทษประหารชีวิตที่หลบหนีอยู่ตามตะเข็บชายแดน เสือเภิก เป็นคนเดียวที่รอดชีวิตจากการชิงตัวประกัน เขาถูกยิงบาดเจ้บสาหัส แต่ยังเอิญได้เจอกับน้องแป้งเด็กหญิงเก้าขวบที่ออกไปถีบรถเล่นแถวเหมือง เด็กหญิงแป้งจะร้องให้คนช่วยเหลือเขา แต่เขากลับหันมาจูบเด็กหญิงเพื่อกันไม่ให้เธอร้องออกมา จากตรงนั้นเด็กหญิงแป้งก็เข้าใจว่าเขาคงชอบเธอ

เด็กหญิงแป้งพาเธอมาที่บ้านของคุณมร์ธา (รับบทโดยเพ็ญพักตร์ ศิริกุล) เจ้าแม่เหมืองอะไรสักอย่าง สามีของเธอตายหลังจากพบว่าเธอคบชู้กับคนงานเหมือง เขายิงชู้เธอแล้วหัวใจวาย เธอจึงเข้าครอบครองเหมือง เด็กสาวในอาณัติของเธอมีทั้งสาวแสนซื่อญาติห่างๆที่เคยถูกลงแขกจนต้องหลบมาอยู่กับเธอ ที่ติดตัวมาด้วยคืออาการอยากผู้ชายเป็นพักๆ (ฉากหนึ่งในหนังเธอร้องครวญครางว่า ผู้ชาย ผู้ชาย ฉันต้องการผู้ชายยยย คุณมาร์ธาจึงสนองด้วยการตบหน้าเธออย่างแรง ซ้ำๆบอกว่าจะสั่งสอนเธอให้หายอยาก และแน่นอนร่วมรักกับเธอด้วย)  ทำหน้าที่สอนภาษาอังกฤษให้เด็กสาวคนอื่นๆ(รับบทโดย นาถยา แดงบุหงา)  ส่วนอีกคนเป็นแม่หม้ายหย่าผัวที่เป็นกะเทยเป็นคนสนิทคู่เลสเบี้ยนของคุณมาร์ธา (รับบทโดย อภิรดี ภวภูตานนท์) สาวๆที่เหลือก็มีทั้งสาวธรรมดา สาวอ้วนช่างกิน ไปจนถึงสาวน้อยร้อนรักที่อยากลองรักจนตัวสั่น

นายเภิกนั้นแม่จะต้องนอนอยู่กับที่เกือบทั้งเรื่อวง เขาก็เที่ยวหลอกคนนั้นคนนี้ไปทั่ว อีนที่จริงคุณมาร์ธารู้อยู่แล้วว่าเขาเป็นักโทษหนีคดี แต่เธอก็เก็บเขาไว้ เป้นไปตามคาดเขาล่อหลอกสาวๆในบ้านมาบำเรอกามและทำให้บรรดาสาวๆ (โดยเฉพาะนาถยา และ อภิรดีถึงกับแทบจะตบกันตาย)ไม่เว้นแม้แต่เด็กหญิงแป้ง ที่ถลกเสื้อให้เขาดูว่าไม่เด็กแล้วใส่เสื้อในแล้ว ก่อนที่ความจริงจะเฉลยว่าคุณมาร์ธากำลังจะิดเหมืองย้ายไปเมืองนอก โดยเด็กสาวทุกคนจะเดินทางไปด้วย ข้างนายเภิกหลังจากหลอกคนนั้นล่อคนนี้ เขาก็ประสบอุบัติเหตุใหญ่ตกบันได จนคุณมาร์ธา(ซึ่งมีความรู้เรื่องแพทย์ ตัดสินใจตัดขาทั้งสองข้างของเขา!)  ในฉากสุดท้ายของหนัง เขากลายเป็นคนสุดท้ายที่อยู่ในหมืองกับคุณมาร์ธา ชายขาพิการสองข้างโดดเดี่ยวในความมืด โน่นแน่ะคุณมาร์ธาเดินมาในชุดนอนยั่วยวน แล้วขึ้คร่อมบนร่างของเขา ขยับขโยกเชื่องช้าก่อนที่หนังจะจบลงตรงนั้น!

โดยไม่ต้องสงสัย เพียงแค่ครั้งนี้ครั้งแรก และอาจจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่เราจะเห็นว่าความเป็นชาย(จากนักสร้างหนังที่มาโชที่สุด) ถูกท้าทายและบดขยี้อย่างละเอียดโดยเพศหญิง  ในหนังเรื่องนี้ ตัวละครเพศชายอ่อนด้อย ถึงขั้นง่อยเปลี้ยเสียขา ลำลึงคืของเขาคือฐานที่มันสุดท้ายนที่เอาไว้หลอกลวงบรรดาสาวๆของบ้าน (เช่นเคยได้กันทีเดียวก็ตกหลุมรักเป็นเรื่องเป็นราว) หากความรักนำมาซึ่งพิษร้าย เพราะความรักนี่เองที่ทำให้เธอไม่สามารถทนเห็นเขาไปมีิอะไรกับสาวอื่นได้ และนำไปสู่อุบัติเหตุชวนสะพรึง  ถึงที่สุด ลึงคืที่เป็นอำนาจของเพศชายมาตลอด(เอากับใครคนนั้นก็จะกลายเ็นเมีย) ถูกทำให้กลายเป็นของเล่นชิ้นหนึ่งสำหรับแก้อาการร่านสวาทของคุณมาร์ธา ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ขนบทั้งหมดในหนังของพิศาล ถูกท้าทายด้วยตัวเขาเองในหนังเรื่องนี้ หนังที่ความสัมพันธ์ของชายหญิงบิดผัน การร่วมรักไม่เกี่ยวกับความรัก และผู้ชายไม่ได้เป็นใหญ่อีกแล้ว

ไม่รู้นับเป็นโชคหรือไม่ที่หนังเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นในยุคที่จัดได้ว่ามีเสรีภาพสูงสุดยุคหนึ่งในสังคมไทย หนังที่กล้าหาญทั้งเนื้อหาและการเล่าเรื่องเรื่องนี้ จึงสามารถออกฉายได้ ที่น่ขันคือหนังที่น่าจะเฟมินิสต์ที่สุดเรื่องนี้ของเขาทำให้เขาต้องมีัญหากับคณะกรรมการสภาสตรีในประเทศไทย!  และไม่รู้ว่าเป็นโชคหรือไม่ที่ในไม่กี่สิบปีหลังจากนั้นสังคมไทยจะเหวี่ยงหวือกลับไปเป็นอนุรักษ์นิยมชนิดสุดโต่ง ผลก็คือหนังแทบทุกเรื่องของเขาที่ออกขายเป็นวีซีดีราคาถูกในบ้านเรานั้นล้วนถูกดูดเสียงคำหยาบไล่เรื่อยไปจนถึงเซนเซอร์บางฉากออก​(หนึ่งในนั้นคือฉากลือลั่นที่เขาถีบเนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ตกรถจิ๊ปในเลือดทมิฬ)  ดูเหมือนพิศาลจะมาก่อนกาล และจะยังเป็นเช่นนั้นเสมอไป  หนังของเขาในที่สุดเป็นเหมือนเครื่องหมายที่บอกให้รู้ว่าสังคมไทยเคยไปได้ไกลแค่ไหน อะไรที่ถึงที่สุดด็ยังเป็นสิ่งต้องห้ามในขณะนั้น และที่หนักกว่านั้นหนังของเขาเป็นเครื่องยืนยันว่าในที่สุดบ้านเราก้าวไปข้างหน้าหรือถอยหลังลงคลอง

หากไม่นับ เพลงสุดท้ายที่เขาหยิบหนังตัวเองมารีเมคใน ปี 2549ก็เป็นเวลาเกือบยี่สิบปีแล้วที่เขาเลิกทำหนัง (เขาหันไปทำละครซึ่งก็เป็นการรีเมคบทประพันธ์ของตัวเอง หลายชิ้นก็กลายเป็นของทำเทียมที่ประนีประนอมและไม่น่าจดจำ) น่าเสียดาย ที่เขายังไม่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำกับไทยมากฝีมือคนหนึ่งที่มีความโดดเด่นในยุคสมัยของตนเอง  เป็นหนึ่งในออเตอร์ที่พอจะมีได้หากจะมี และสมควรอย่างยิ่งที่จะมีการศึกษาเกี่ยวกับหนังของเขาอย่างจริงจัง  ในฐานะผู้กำกับหนังที่ซ่อนเนื้อหาทางชนชั้นไว้ภายใต่รูปรอบของหนังไทยตามขนบ ที่ถูกเรียกว่า น้ำเน่า ได้อย่างแนบเนียนทีุ่ดคนหนึ่ง


OBLIVION (JOSEPH LKOSINSKI/2013/US )มนุษย์นิยมหลังมนุษย์

$
0
0

Tom-Cruise-Olga-Kurylenko-Oblivion-2013

ปัญหาของหนังคือมันเป็นหนังมนุษย์นิยม ในโลกยุคหลังมนุษยืนิยม

1. Art Direction by Steve Jobs อยากจะเรียกสิ่งของในหนังว่า imotorbike ispaceracer และ ihouse มากๆ มันจะสวยจะขาวจะเกลี้ยงอะไรขนาดนั้น 555

2. ชอบจังหวะของหนังมาก ตอนแรกคิดว่าหนังจะไปได้ไกลเท่า MOON หรือ SOURCE CODE แต่พอหนังเลือกเล่นท่าแบบมนุษย์นิยม มันก็ลดตัวลงไปเป็นWALL -E หรือ INDEPENDENCE DAY ทันที แต่นั่นไม่ใช่ความผิดของหนัง เพียงแต่ท่าทีมนุษย์นิยมของหนังมันอาจจะมาช้าไปในโลกที่ตอนนี้เราต้องตรวจสอบมนุษย์นิยมกันสิ


3. ดีใจที่หนังดึงจังหวะช้าเพื่อเล่นกับตัวประเด็นในเรื่องไปจนจบเรื่อง โดยไม่มัวให้เวลากับการ spectacle ผู้ชมด้วยฉากแอคชั่น

4. ตอนแรกหนังเลือกเล่าให้สนใจในประเด็นความทรงจำ การเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ การถูกเขียนประวัติศาตร์ทับลงบนของเดิม (โอค Total Recall นะ) แล้วก๋็เลยไปประเด็นโลกใต้ดินขอโลกที่ตายไปแล้ว (โอเค MAtrix) จากนั้นก็เป้นประเด็นโคลน (โอเค Moon + Resident Evil) แต่ทั้งหมดทั้งมวลซึ่งท้าทายความคิดที่มีต่อมนุษย์ ว่ามนุษย์เปาะบางเชื่อไม่ได้ตกเป็นเหยื่อ และมีแต่การต่อสู้เพื่อปลดปลอยจะทำให้เป็นอิสระ แล้วก็ต้องสู้รบกันต่อไป (ลองนึกถึงประเด็นของMatrix จะชัด) แต่หนังก็หันกลับไปใช้ครึ่งชั่วโมงสุดท้ายในการเชิดชูความเป็นมนุษย์ ซึ่งในที่นี้คือความรักแบบฮิสทีเรีย

5.จริงๆความสัมพันธ์ของ แจ๊ค กับวิกก้า นี่เป็นความสัมพันธ์แบบ โบราณมาก ผู้ชายออกไปเข้าป่า ท่องเที่ยวเดินทาง หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากัยบเรือนคอยดูแลยบ้านช่องให้เป็นระบบ แล้วผุ้ชายก็ไปเจอความexotic ภายนอกที่จะมาสั่นคลอนความเชื่อพื้นฐานดั้งเดิม ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้น อะไรแบบนั้น เป็นพลอตแบบเก่าๆเลย ซึ่งในที่นี้ผู้หญิงเป็นการแสดงความจำนนต่อระบบ เพราะครอบครัวจะฟอร์มขึ้นไดก็ด้วยพื้นฐานที่มั่นคง ความมั่นคงถูกจัดหามาโดยรัฐ (ในนามของศูนย์ควบคุม) ดังนั้นการเล่นบทเด็กดีของรัฐจึงไมไ่ดแค่ทำไปเพราะเป็นคนของรัฐ แต่เป๋็นเพราะความหวาดกลัวความไม่มั่นคงด้วย (ในที่นี้คือการไม่ได้กลับไททัน) ในขณะที่ผ่ายชายรักการผจญภัยและอยากอยู่บนโลกนี้การผจญภัยทำให้พบสิ่งใหม่ที่ต่อต้านระบบ และการskeptic ของฝ่ายชายนี้เองที่ทำให้เปิกปัญหา แต่เขาไม่ได้เป็นขบถนะ เขาจะกลับไปหามโนธรรมอีกแบบหนึ่ง

6.การค้นเจอโลกที่แท้ ทำให้ประเด็นความทรงจำตกไปเลยนะ คือมันก็เลิกเ่นกับความทรงจำของตัวเองนั้เชื่อไม่ได้ ไปเลย การที่ความทรงจำสูญหายไม่ใช่เพราะความทรงจำเชื่อไม่ได้แต่เพราะถูกสร้างขึ้นและเพราะมนุษยืมีความดีงามอยู่ภายใน มันจึงมีสิ่งดีพยายามจะหลับมาหามนุษย์เสมอ สิ่งนั้นเรียกว่าความรัก และไอ้ความรักนี่เองคือหัวใจหลักของหนัง หัวโจหลักในการเชิดชูมนุษยืซึ่งหนังก๋็ทำท่าจะสำรวจมันแต่ก็ผละไป

7.พอประเด้นนี้ตกไปก็จะมีประเด็นการเป็นโคลนมาแทนที่ มันน่าสนใจมากกว่า ในขณะที่ประเด็นโคลนมักจะเอามาใช้ทำลายความเป้นออริจินัลของมนุษยืกลฃ่าวคือ คุณไม่รุ้ว่าคุณเป็นตัวจริงหรือโคลน แล้วพอเราสูญเสียตวามเป็นตัวตนจริงๆควาเมป็นมนุษย์ก็จะสูญหายไปด้วย เหมือนที่พอมาถึงจุดนึง ลิซ่าในRESIDENT EVIL ไม่รู้แล้วว่าเธอเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง และไม่รู้ว่านี่คือลูกโคลนหรือลูกจริง การเลือกสุ่มหยิบเด็กสักคนในตอนท้ายของภาค5 มันเลยท้าทายดี ในขณะที่หนังเรื่องนี้ได้ให้คำตอบต่อการกระทำของลิซ่าเลยว่ามึงทำถูฏแล้ว เพราะไม่ว่าจะโคลนสักกี่คนมนุษย์ก็ยังมีจิตดวงเดียวกัน มีความดีงามเหมือนๆกันอยู่ นางเอกจึงรับโคลน49ได้ แบะการมาถึงของโคลน 52 ก้ใช้หลักการเดียวกัน ประเด็นความไม่ออริจินตกไป แต่ประเด็นมนุษย์มีความดีงามที่แท้ก็กลับมาฉวีวรรณขึ้นเรื่อยๆ

8. ทีนี้พอความจริงปรากฏ พระเอกก็ค้นพบบทกวีโบราณของโรมัน เรื่องการตายเพื่อพระเจ้า(ทดไว้เรื่องนี้) แล้วออกไปกู้โลก แบบผู้เสียสละ อันนี้มันจะเข้าแก๊ปชาตินิยมเลย คือรู้สึกถึงเพื่อนร่วมโลกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่สิ่งที่เปลี่ยนตัวเอกทั้งหมดคือความรัก ที่น่าสนใจคือความรักนี้มันไม่skeptic เท่าการskepticของตัวเอกด้วยซ้ำ เพราะมันเจอปุ๊บปกป้องเลย เพราะว่ามนุษยืเป็นความดีงามอะไรแบบนั้น (หนังคงต่างไปถ้าตอนหลังเฉลยว่านางเอกเป็นโคลน)ความรักแบบฮิสทีเรีย((อีกแล้ว) คือสิ่งที่หนังเชิดชู มนุษยืเชิดชู ควาเมป้นปัจเจกที่ทำให้พระเอกแตกต่างจากโคลนคนอื่นและทำให้ภารกิจสำเร็จ

กล่าวโดยสรุปคือประเด็นท้าทายน่าสำรวจทั้งหลายในหนังวิทยาศาสตร์ถูกปัดตกไปในเรื่องนี้ด้วยความจริงเพียงพอข้อเดียวว่ามนุษยืเป็นสิ่งดีงามเป็นบุตรของพระเจ้า และต่อสู้เพื่อความดีงามนั้น พูดให้ถูกคือมันเป็นหนังไซไฟที่ศาสนามากๆๆๆๆ

9.แต่พอเล่นท่านี้ปุ๊บมันตีย้อนกลับไปน่าสนใจอีกชั้นเมื่อเราพบว่าสิ่งที่พระเอกทำคือ suicide bomb แล้วการทีพระเอกเป็นโคลน ทำให้ในทางตรงกัยข้าม(ซึ่งลักลั้นย้อนแย้งดีมาก) พระเอกก้คือควจำนวนมากที่เป้นบุตรของพระเจ้าเหมือนกัน เป็นคนไร้ชื่อที่แทนที่กันได้ (สิ่งที่ตอกย้ำคือการที่52มาแทนที่49ในตอนจบ) ดังนั้นบทกวีโรมันที่อ่าน และSUICIDEBOMB ที่นอกอวกาศจึงน่าสนใจมากว่า มันลักลั่นย้อนแย้งดีถ้าเอาไปแทนค่ากับ เหตุการณ์ ระเบิดพลีชีพใน 911 ซึ่งถูฏขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์เดียวกันกับที่ผู้ชมซาบซึ้ง ตายเพื่อพระเจ้า อเมริกาคือระบบที่หลอกลวง และเราต่อสู้ด้วยการจิฮัด การตีกันเองในเรื่องไม่ใช่การสะดุดขาตัวเองล้ม แต่เป็นการต่อยอดออกไปที่น่าสนใจมากๆ

10. เนื่องจากมนุษย์ในหนังเป็นมนุษยดี เราจึงเห้นแต่ความร่วมมือร่วมใจ ตั้งแต่ต้นจนจบ และฉากจบของหนังถ้าอยู่ในหนังไซไฟมันจะน่ากลัวมากว่ามนุษย์ได้รุกล้ำสวนสวรรค์อีเด็นแล้ว และปัยาจะตามมามากมาย มนุษยืด้วยกันเองจะทำลายกัน แต่ไม่เลย หนังบอกว่ามันคือการทำความดีพาคนรักมาหาอะไรทำนองนั้น

สรุปก็คือหนังมันเป็นมนุษยืนิยมมากๆ และความเป็นมนุษย์นิยมนี้เองที่เป็นปัญหากับตัวมนุษย์เอง ซึ่งหนังเล่าได้น่าสนใจดีมากๆ คือมันทั้งโมเดิร์น และ แสดงจุด่อนของโมเดิร์นไปพร้อมๆกันไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตา


FLORENTINA HUBALDO CTE ( LAV DIAZ /2012/PHILIPPINES) รูปทรงของความสิ้นหวัง

$
0
0

FlorentinaHubaldo

 

เธอชื่อ Florentina Hubaldo เด็กสาวเลี้ยงแพะและปู่ของเธอเดินไปตามถนนชนบทกรกร้าง จูงแพะตัวหนึ่งเร่ร่อนไปเรื่อยเปื่อยนานนับนาน บางเวลาเธอหยุดเหม่อจ้องถนนเมื่อได้ยินเสียงยวดยานอยู่ไกลๆ เสียงที่ไม่เคยมาถึง บางครั้งเธอแวะพักให้แพะกินหญ้า  เฝ้าถามปู่ของเธอซึ่งอ่อนล้าไร้เรี่ยวแรงว่าทำไมเราถึงไม่หนีไปเล่าปู่ ไปจากที่นี่ไปอยู่ที่อื่น แต่่่ปู่ไม่เหลือเรี่ยวแรงแล้วละ ปู่ไม่ไหนไม่ไหวอีกแล้ว ปู่บอกกับเธอ เธอฮึมฮัมชื่อตัวเอง ออกเดินทางเอาแพะไปส่ง ชายคนนั้นจ่ายค่าแพะ แล้วยัดเงินอีหลายเปโซให้กัปู่ บอกว่าตกลงกับบิดาของเธอไว้แล้ว ฉุดข้อมือเธอเอาไว้ ปู่ฮึดสู้กับชายผู้นั้น แพะวิ่งเตลิด เธอวิ่งเตลิด ลึกเข้าไปในป่า พอกลับถึงบ้านพ่อโกรธมาก  ทุบตีเธอ และล่ามโซ่เธอไว้กับเตียง นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นกับเธอ ซ้ำไปซ้ำมาราวกับวงจรชั่วร้ายไม่รู้จบ

 

เธอชื่อ Florentina Hubaldo  พ่อของเธอล่ามเธอไว้กับเตียงนอน รับเิงนจากคนในหมู่บ้านให้มาข่มขืนเธอ เสียงกรีดร้องกับโซ่เหล็กกระทบขาเตียง บางเวลาเธอฝันถึงยักษ์   พวกยักษ์แบบที่เอาคนมาสวมหุ่นขนาดใหญ่ เดินไปเดินมาในเทศกาล ยักษ์ที่เธอไม่เคยเอื้อมมืคว้าจับไว้ได้เลยสักครั้ง  บางครั้งเธอเพริดตามยักษ์ในจินตนาการเข้าไปที่ในเมือง  ยื่นมือไขว่คว้าหาอากาศกลางสายฝนที่แสนเศร้า  และเมือ่เธอกลับบ้านหลังจากหนีออกไป พ่อเธอจะจับเธอล่มอีกครั้ง ทุบตีีอีกครั้ง และขู่ว่าจะฆ่าปู่ของเธอเสีย  ยิ่งถูกทุบตียิ่งอ่อนระโหย สรรพสิ่งสูญดับจากความคิดเชื่องช้า เธอจดจำเรื่องของแม่ที่ตายไปไม่ได้เสียแล้ว จดจำเรื่องของเธอในตอนเด็กๆไม่ได้แล้ว เธอจึงลงมือเล่าเรื่องตัวเองซ้ำไปซ้ำมา เล่าแล้วก็วนกลับมาที่เดิม ราวกับพูดซ้ำเพื่อท่องจำมันเอาไว้ เพื่อที่จะจดจำ มาถึงจุดหนึ่งเธอก็นึกอยุ่เป็นนาน เรื่องมันเริ่มต้นที่เธอของเธอ บางที่เธอก็นึกไม่ออกว่าเธอชื่ออะไร

 

ในทางการแพทย์ CTE ย่อมาจาก Chronic Traumatic Encephalopathy ที่กล่าวให้ง่ายก็คือโรคสมองเสื่อมที่สืบเนื่องจากการ ศรีษะถูกกระทบกระเทือนทำร้ายซ้ำๆจนเกิดบาดแผลในเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยมักมีอาการซึมเศร้า สับสน ก้าวร้าว และสูญเสียความทรงจำไปในที่สุด โดยอาการดังก่าวสามารถเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุได้นานนับเดือนับปี และอาการความทรงจำสึกกร่อน สับสน ซึมเศร้า คืออาการสำคัญที่เราจะใช้อธิบายหนังเรื่องนี้

 

เราอาจแบ่งงานของLav ได้เป็นสองแบบคร่าวๆตามตัวละครหลักที่เขาใช้ งานกลุ่มแรกคือตัวละครปัญญาชนผู้ทนทุกข์ที่โฟกัสไปยังบรรดานนักขียน ศิลปิน กวี ที่ยากแค้นแสนเข็ญตลอดชีวิตด้วยการเกี่ยวเนื่องกับการเมือง งานอย่าง Death in the Land of Encantos (กวีที่กลายเป็นบ้าหลังครอบครัวล้มตายในพายุ) Melancholia (ปัญญาชนที่ออกแก้ไขความสำนึกผิดที่ไม่ได้ตายตามคนที่รักในช่วงล้อมปราบ) และ  Century of Birthing (ผู้กำกับที่ทำหนังไม่เสร็จและไม่มีเงินถ่ายต่อ) ในขณะที่งานอีกกลุ่มของเขาโฟกัสไปยังคนเล็กคนน้อย ครแบครัวชาวนาที่แตกกระสานซ่านเซ็น (Evolution of Flippino Family) พอค้าเร่ในเมืองบาป (Heremias) หรือสาวเกลี้ยงแพะโสเภณีจำเป็นในเรื่องนี้  และแน่นอนทุกคนในจักรวาลของ Lav ล้วนตกเป็นเหยื่อของประวัติศาสตร์ และการเมอืงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

 

ในขณะที่หนังกลุ่มปัญญาชนของเขาพูดถึงผลกระทบทางตรงผ่านทางการยุ่งเกี่ยวทางการเมืองของปัญญาชน หนังกลุ่มที่สองกลับโฟกัสที่บรรดาผู้คนที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับการเมืองเลยแม้แต่น้อย แต่เพียแงค่ดำรงอยู่ก็ถูกมือที่มองไม่เห็นของการเมืองซัดสาวกวาดชะตากรรมของตัวเอง ตั้งแต่ในระดับใหญ่ไปจนถึงระดับภาพแทนจำลองทางการเมือง

 

Florentina  Hubaldo CTE มีความคล้ายคลังกับ Heremias  Book 1 อยู่มากทีเดียวในแง่ที่ตัวมัน ดู ปราศจากการเมืองอย่างยิ่งแต่กลับเป็นภาพจำลองทางการเมืองอย่างยิ่ง  ในขักรวาลของLav ผู้หญิงมักเป้นภาพแทนของแผ่นดินแม่ แผ่นดินฟิลิปปินส์ ที่ถูกครอบครอง ถูกทารุณกรรม ถูกทำร้ายครั้งแล้วครั้งเล่า และมากกว่านั้นผู้หญิงภาพแทนประเทศในหนังของLav ยังเป็นผู้หญิงบ้าด้วยซ้ำ  (แม่ของRaynaldo ใน  Evolution ,  เด็กสาวไม่มีหน้าที่จะถูกข่มขืนใน Heremias Book1 , แม่ของกวีใน Encantos , โสเภณีกับนางชีปลอมใน Melancholia หรือสาวคลั่งศาสนาที่เป็นบ้าไปใน Century of Birthing

 

อาจจะน่าเบื่อแต่นี่เป็นวิธีการอย่างง่ายที่สุดในการอ่านหนังของLav  เริ่มผ่านอาการสติเลอะเลือนประสาทเสื่อมของFlorentina  ซึ่งเอาเข้าจริงมันคืออาการจากการถูกทารุณกรรมซ้ำๆ ภาพแทนง่ายๆของแผ่นดินพิเศษที่ถูฏปกครองผลัดมือมายาวนานทั้งสเปน อเมริกาหรือมาร์กอส ถูกทำลายซ้ำจนในที่สุด ประวัติศาสตร์และความทรงจำไหลทับซับซ้อนเลอะเลือนและไร้ความหมาย

 

ยักษ์ในฝันของ Florentina ไม่ต่างกับร่องรอยของเจ้าอาณานิคมที่ทิ้งไว้ ความปรารถนาที่ไปไม่ถึง พวกยักษ์ยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยช่วยอะไรได้ นอกจากทิ้งร่องรอยเลอะเือนไว้ในความฝัน ในขณะที่บิดาของเธอคือกฏอัยการศึกของมารกอสที่ล่ามโซ่เธอไว้ให้เป็นโสเภณีแล้วริบเงินทั้งหมดไปจากเธอ ฉากหนึ่งเธอถามปู่อันง่อยเปลี้ยของเธอว่า ทำไมปู่ถึงสร้่างอสุรกายตนนี้ขึ้นมาไม่ต่างกับที่คนฟิลิปินส์สร้างมาร์กอสขึ้นมาเองและให้เขาดูดกินทำร้ายยาวนานหลายสิบปี  จนผู้คนสติไม่สมประดี จดจำไม่ได้อีกแล้วแม้แต่ชื่อตัวเอง

 

ในเวลาต่อมา Florentina หลบหนีจากบิดาของเธอได้ แต่เธอสะบักสะบอมจนตายลงไม่นานจากนั้น เธอได้รับความช่วยเหลือจากหนุ่มกรรมกรที่รับจ้างขุดหลุม เธอมีธิดาที่ป่วยไข้คนหนึ่ง คนที่บิดาปลอมๆ ชายหนุ่มคนที่ช่วยเธอ ทุ่มกำลังกายขุดหลุมชั่วนิรันดร์หาเงินมารักษาอาการป่วยไข้ที่ไม่อาจเยียวยา จนในที่สุดเด็กสาวก็ตายลงและพบกับวิญญาณของแม่ของเธอ

 

เจ็บปวดรวดร้าว ผู้คนที่พร่องพิการ ให้กำเนิดบุครธิดาที่ป่วยไข้ อาการเรื้อรังจากการถูกทารุณกรรมซ้ำๆกลายเป็นการประชดแป่นดินที่เจ็บแสบโศกศัลย์นี้ ผู้คนจากยุคสมัยมาร์กอส และ EDSA (ที่อาจจะเทียบเคียงได้กับฉากการกระเสือกกระสนของFlorentina ในช่วงท้ายเรื่อง)บอบช้ำเกินจะเยียวยา การฝากความหวังไว้กับคนรุ่นหลังไม่ได้เป็นอะไรมากว่าความสิ้นหวัง เพราะลูกหลานกลับถือกำเนิดใต้โลกอันพิกลพิการและเจ็บปวดป่วยไข้จนทำอะไรไปไม่ได้มากไปกว่าการรอความตาย คตนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ต้องทำงานอย่างหนักหนาเพื่อรักาษาอาการป่วยไข้นี้

 

นี่คือหนังที่เล่นกับความสิ้นหวังขั้นสูงสุด ครั้งหนึ่งแม้จะเดินไปในความมืด แต่ Raynaldo  ยังคงมุ่งหน้าเดินไปในตอนจบ แต่มาตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว เด็กสาวตายโลกใกล้แตกดับ หนังเลือกจบในช่วงที่เจ็บปวดที่สุด แต่เรืองรองที่สุดด้วย โมโนลอกยืดยาวของFlorentina หลังจากหนีบิดาเธอมาได้ เธอพูดชื่อตัวเองซ้ำๆ เล่าเรื่องไปแล้วขาดตอน วกกลับมาเล่าใหม่ เริ่มต้่นจากชื่อ แน่นอนว่ามันเป็นฉากที่รวดร้าวทรมาน แต่ใช่หรือไม่ว่านั้นคือเวลาที่มีความหวังเรืองรองที่สุดในหนังเรื่องนี้

 

โดยส่วนตัวหนังจึงเป็นเสมือนฝาแฝดของ THE TURIN HORSE โดยไม่ได้ตั้งใจในแง่ของความสิ้นหวังถึงที่สุด นอกจากการถ่ายขาวดำ ต่อเนื่องยาวนาน และกิจวัตรซ้ำๆแล้ว เราก็พบว่าแก่นแกนของความสิ้นหวังสัมบูรณ์ทำให้หนังทั้งสองเรื่องเป็นคู่หนังสิ้นโลกที่รุนแรงสุดๆ

 

เคยพูดเรื่องสุนทรียศาสตร์ในหนังของLav ไปเยอะมากๆแล้วไม่ขอพูดซ้ำอีก  แต่ Florentina ดูเหมือนจะหลักLav  ไปไกลขึ้นเมื่อหนังไม่ได้มีแค่กล้องแช่นิ่งอีกต่อไป หากยังมี ฉากโคลสอัพ การถ่ายชัดตื้นภาพือไขว่คว้าขอบจอราวกับตัวละครอยากจะปีนออกจากจอภาพไปสู่ที่ที่ว่างไสวกว่านี้ ไขว่คว้าอย่างสิ้นหวังเป็นภาพที่งดงามและรุนแรงอย่างยิ่ง ดูเหมือนลาฟได้นักแสดงที่มีความสามารถมากพอจะเล่นหนังได้สุดทางมากๆ  Hazel Orencio ช่วยให่้หนังสองเรื่องหลังของLav เป๋็นความบ้าคลั่งที่ไปไกลขึ้นไปอีก ด้วยการแสดงที่น่าทึ่งที่สุดในรอบปีนี้สำหรับผู้เขียน  และดูเหมือนว่ายิ่งทำหนังLav จะยิ่งฝนความสามารถของเขาให้คมคายมากขึ้น โดยยังคงความไม่ประนีประนอมไว้อย่างมั่นคงและนี่คือความงดงามประจำปีของเรา ความสิ้นหวังที่งดงาม

 

 


LE CAMION (MARGUERITE DURAS/1977/FR)โลกของการเล่า

$
0
0

LE CAMION_03BLG2

หญิงคนหนึ่ง โบกรถบรรทุกคันหนึ่ง รถบรรทุกสีฟ้า แล่นเอื่อยไปตามถนน บนรถมีชายคนขับ คนขับอีกคนนอนหลับที่เบาะหลัง เขาจะนอนหลับไปตลอดเรื่อง หญิงผู้นั้นนั่งรถไปกับชายคนขับ อยู่ในสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน จ้องมองภูมิทัศน์เดียวกัน แต่พวกเขาไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรมากไปกว่านั้น เธอพูด เธอร้องเพลง เธอนิ่งเงียบ เธออาจจะร้องให้ด้วย เขาขับรถ เขาฟัง ถามบ้าง ร้องเพลงบ้าง รถแล่นเอื่อยเฉื่อย ถนนเลียบทะเล สายหมอกเทาเศร้าโอบล้อม เรื่องมันก็เพียงเท่านั้นมีเพียงเท่านั้นเอง ไม่ได้รู้อะไร ไม่มีความหมาย

ดูราส์ กับเดอปาดิเออนั่งอยู่ในห้อง อยู่สถานที่เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน จ้องมองภูมิทัศน์เดียวกัน ภูมิทัศน์บนแผ่นกระดาษ ทั้งคู่กำลังนั่งอ่านบทหนังเรื่องหนึ่ง หนังเล็กๆถ่ายรวบรัด ง่ายดาย ถ่ายอย่างธรรมชาติ อย่างธรรมชาติในความหมายของทุนต่ำๆ ว่าด้วยหญิงคนหนึ่งโบกรถบรรทุกคันหนึ่ง ในวันหนึ่งๆ เวลาหนึ่งๆ

และหนังทั้เงรื่องก็เป็นเช่นนั้น ดูราส์กับเดอปาดิเออ อ่านบท สนทนา นิ่งเงียบ ตัดสลับภาพของสองข้างทางท้องถนน จากหน้าต่างรถซึ่งแล่นเอื่อยเฉื่อยในสายหมอก ในยามสนธยากาลสีน้ำเงินเข้ม วันสีเทา ต้นไม้เฉาแห้ง ตึกสูง ที่ไกลๆ ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ภาพนิ่งยาวของคนสนทนาและภาพเคลื่อนไหวจากหน้าต่างรถ ไร้ทิศทาง ไร้ความหมาย ไม่มีเหตุผล เป็นเพียงเรื่องเล่าบางชนิด

มาถึงจุดหนึ่ง ผุ้ชมไม่อาจรู้อีกแล้วว่าตัวเองดูหนังเรื่องอะไรอยู่ ระหว่างหนังที่ว่าด้วยผู้หญิงบนรถบรรทุก หรือหนังว่าด้วยผุ้กำกับกับนักแสดงอ่านบทหนังว่าด้วยผู้หญิงกับรถบรรทุก หรืออีกที่สิ่งที่เขาแลเ้ธออ่าน ซึ่งเต็มไปด้วยการแวะพักหายใจ การเติมข้อคิดเห็น การตั้งคำถามไปมา ต่างหากที่คือบทหนังที่แท้ สิ่งที่เขาและเธอออ่านคือทั้งหมดของบทหนัง ถ้าเช่นนั้นมันคือหนังที่ว่าด้วยคนสองคนอ่านบทหนังเกี่ยกวับผู้หญิงคนหนึ่งกับรถบรรทุก แล้วไหนจะเรื่องเล่าของเธอ ผู้หญิงบนรถบรรทุกที่เล่าให้คนขับรถฟังอีกเล้า

ด้วยการณ์นี้สรรพสิ่งจึงไหลทบเชื่อมกัน และแตกแยกออกจากกัน ในความไม่แน่นอนของความพยายามจะทำให้แน่นอน ถ้อยคำที่ยิ่งค้นหาความหมายยิ่งไร้ความหมาย หนังไปสุดขอบของความเป็นหนัง ทำในสิ่งที่วรรณกรรมอาจจะทำไม่ได้ การพูดถึงขอบเขตอันพร่าเลือนในตัวมันเองในกาละเทศะหนึ่งๆ พื้นที่ เวลา ไม่ได้เชื่อมโยงกัน แต่ซ้อนทับกัน ในขณะเดียวกันก็พยายามแยกขาดออกจากกัน เมื่อเราดูมัน เราไม่ได้มองเห็นเรื่องเล่าเดี่ยวๆแต่มองเห็นการซ้อนทับกันที่ไม่ได้แนบกันสนิทแต่เหลือมซ้อนกันจนสะท้อนกันเป็นเงาพร่าเลือนเหมือนกระจกสองบานที่หันใส่กันจนเราไม่สามารถอธิบายภาพที่เห็นได้หมดจดครบถ้วนอีกต่อไป เพราะมันต่างสะท้อนใส้กันไม่รู้จบ

ฉากหนึ่งที่บรรยายความงดงามของการไมรู้ว่าอะไรคืออะไรกันแน่คือฉากเสียงบรรยายของดูราส์ที่เธอเล่าเรื่องผู้หญิงบอกว่าเรามาถึงสุดขอบโลกแล้วขณะที่ภาพตัดไปยังภาพจากกระจกรถแทนที่ภาพของเธอกับเดอปาาดิเออ เดอปาดิเออถามเธอว่า แล้วภาพมันคืออะไรล่ะ ภาพเหรอ ทะเล ภาพชายหาดน่ะสิ กล้องจับจ้องมองถนน ฟ้ามืดลงยามสนธยา หมุ่ตึกอยู่แสนไกล ไม่มีท้องทะเล ไม่มีชายหาด ไม่มีสุดขอบโลก ที่สุดขอบโลกภาพที่ปรากฏคือรถแล่นซ้ำวงเวียนหมุนกลับมาที่เดิมแล้วเลี้ยวออกไป ดูราสเล่าเรื่องต่อ จากนั้นเธอร้องเพลง ทันใดเสียงดนตรีที่คลอเคียงหนังตลอดก็เงียบเสียงลงเห็นเพียงรถแล่นไปในความมืด

ความงามในความหลงทิศผิดทาง สรรพสิ่งซึ่งอวลลอยอยู่แต่บอกไม่ได้ว่าคือสิ่งใดแน่ และการห้ามจำกัดความ ยังคงเป็นลวดลายของดูราส์อย่างเข้มข้น เริ่มต้นจากการไม่มีข้อมูลอะไรให้จับต้องนอกจากรถบรรทุกสีฟ้า ดูราสค่อยๆเผยเรือนร่างของผู้หญิงต่อเดอปาดิเออ เล็ก บาง และเทา ช่วงวัยของเธอค่อยๆเปิดเผยขึ้น วัยที่ชายคนขับไม่ได้สนใจไถ่ถามอะไรหรอก ความคิดค่อยๆเปิดเผยขึ้น ผ่านทางการกล่าวชื่อเต็มของผู้คน ลีออน ทรอตสกี้ คาร์ล มาร์กช์ ทั้งหมดมันจบลงแล้ว พวกปฏิกิริยา คนขับรถสรุปอย่างนั้น ถึงที่สุดเรื่องราวชีวิตของเธอ ก็ถูกเล่า เล่าอย่างนึกขึ้นมาลอยๆเชื่อไม่ได้ เธออาจจะไปเยี่ยมญาติ หรือไปท่องเที่ยว ดูราส์เล่า ว่าเธอเล่าว่าเธอจะไปเยี่ยมหลาน ลูกสาวของเธอกำลังจะมีลูก ลูกสาวเธอจะตั้งชื่อเด็กว่า อับราฮัมทั้งที่ไม่ได้เป็นยิวหรืออาหรับ เธอจะไปเยี่ยมลูก เธอร้องเพลง เธอร้องให้ เธอนิ่งเงียบ คนขับรถไม่ได้แยแสอะไร ไม่มีความสัมพันธ์อะไรเกิดขึ้น ดูราส์ตรากฏเหล็กตั้งแต่ก่อนลงมือเล่า แล้วเธอก็ขอบลงจากรถตรงกลางป่า ตรงความไม่มีอะไรเลย นั่นดูราสเล่า และบางคนอาจจะเล่ากับคนขับรถ ว่ามีผู้หญิงบ้าวนเวียนขอขึ้นรถผู้คนอยู่แถวนี้ พอขึ้นมาก็เล่าเรื่องต่างๆ แล้วก็ลงจากรถดื้อๆ แต่ไม่มีใครรู้ว่าอะไรเป็นอะไรจริงๆ ผู้หญิงลงจากรถ รถบรรทุกสีฟ้าเคลื่อนที่จากไปในวันอาาศซึมเซา เรื่องจะจบลงตรงนี้ ดูราสประกาศ

อับราฮัม เดอปาดิเออยังค้างเติ่ง เขาสูบบุหรี่คนละชนิดกับดูราส์ เธอชวนเขาสูบบุหรี่ เธอสูบบุหรี่ กล้องเคลื่อนขยับ เราเห็นเงาของไฟ หลอดไฟที่ไว้ใช้ถ่ายหนังสาดส่องทั้งคู่ เราคิดว่าโลกของพวกเขาอยู่ข้างนอกโลกของเรื่องเล่า แต่โลกของการเล่ากับปรากฏเป็นเรื่องเล่า แล้วเรื่องอะไรคือเรื่องที่เราเพิ่งได้ยินไป เรื่องเล่าคือเรื่องไหนกันแน่ ยิ่งเราคิดถึงเรื่องเล่า เราก็ยิ่งไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร ‘การพยายามทำให้ถ้อยคำชัดแจ้งจะยิ่งทำให้มันขุ่นมัว ‘นี่ดูราสก็เอ่ยขึ้นมาลอยๆ

ทั้งหมดนี้เป็นหนังเรื่องนี้ แต่อะไรคือหนังเรื่องนี้ มันคือหนังที่เราไม่ได้ดูเพราะมีคนมานั่งเล่าเรื่องให้เราฟัง หรือหนังที่ว่าด้วยการเล่าเรื่อง ซึ่งเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เล่า หลายครั้งดูราส์ต่อเรื่องไปเรื่อยเปื่อย เดอปาดิเออถามแทรก เฉไฉไป ประกาศกฏเหล็ก แล้วกลับเข้ามา แล้วเปลี่ยนมัน หรือบางทีเธอก็จ้องมองกล้องราวกับรู้ว่ากล้องจ้องมองอยู่ หรือที่แท้ทั้งหมดที่เราดูคือหนังทั้งหมด แม้แต่การเพิ่มเติมข้อคิดเห็น หรือการถามแทรก หรือการมองกล้องก็เป็นสิ่งที่เขียนอยู่ในกระดาษที่พวกเขาอ่าน พวกเขาอ่าน หรือพวกเขาแสดงการอ่าน หรือทั้งการอ่านและแสดงการอ่านคือการแสดง ยิ่งเราถอยออกมาเราก็ยิ่งหาอะไรไม่พบทั้งหมดพร่าเลือน เรนั่งบรถบรรทุกที่เคลื่อนลับไป และยังคงสงสัยเรื่องเล่าของผู้หญิงที่ขอลงกลางทาง

และนี่คือหนังที่กล้าหาญ งดงาม เชื่องช้า และท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่งของดูราศื การเล่นสนุกกับเสียงเล่าเรื่องเล่า และความเจ็บปวดภายในขจองสิ่งที่ถูกเล่ายังคงถูกถ่ายทอดออกมาอย่าคมคายและทรงพลัง แม้หนังจะมีนักแสดงแค่สองคนและมีฉากเพียงสองแบบเท่านั้นเอง


FROM MOSCOW TO MEKHONG ( /1965) จากมอสโคว์ถึงแม่โขง

$
0
0

 

59734_10151435818668576_1673869541_n

watch the film here
http://www.youtube.com/watch?v=q9hQFtGsKzM

1. สิ่งที่รุนแรงที่สุดในหนังคือการประกาศโต้งๆเลบว่า ปรีดี(พร้อมรูป) คือหัวหน้าคอมในเมืองไทย ยำหลายครั้งว่าอดีตนายกคนนี้จะพาเมืองไทยเข้าสู่ความเป็นคอมมิวนิสต์

2. หนังเป็นพรอพากันด้าแบบของแท้ ชอบการลำดับคาร์ล มาร์กซ เลนิน ทรอตสกี้ สตาลิน ยกหนังสือมาให้ดู ไล่ไปจนถึง ยุโรปตะวันออก ไปจนถึง เหมา คิม อิล ซุง และ โฮจิมินห์ โดยบอกว่าทั้งหมด มีรัสเซียเบื้องหลังทั้งสิ้น

3.ไทยในหนังเป็นดินแนสงบสุขงดงาม เป็นวรรคืบนดินที่มีเกษตรกรรม มีศาสนา มีผู้คนรุ่มรวย ตลกมากที่หลายสิบปีต่อมาเราจะเห็นภาพแบบเดียวกันนี้ได้เฉพาะในหนังไทยชาตินิยมเท่านั้น กล่าวคือ หนังไทยกระแสหลัก หนังไทยเทอดพระเกียริต หนังแบบที่มิตรสหายท่านหนึ่งเรียกว่า ไทยบูชัวรส์เฮอริเทจซีเนม่า

4.แต่สิงที่ทำให้เราให้เกรดหนังเรื่องนี้สูงมากๆ ไม่ใช่แค่เพราะมันเป็นหลักฐานทางปวศ. แต่ aesthetic ของมันสุดขีดมากๆ โดยเฉพาะการใช้ภาพเล้กภาพน้อย เช่นการซูมใบหน้าชาวบ้านที่ไม่พอใจต่อการตัดสินใจในยุโรปตัวะนออก การซูมหน้าปูเลี่ยนๆ ของเหมา หรือการแสดงให้เห็นว่าโฮจิมินห์เป็นคอม โดยการแสดงให้เห็นภาพการขายรูปโฮจิมินห์พร้อมกับรูปของผู้นำคอมรัสเซีย อย่างไรก็ดี ภาพของปรีดีเป็นภาพนิ่งและมีสถานะเหมือนประกาศจับ นอกจากนี้ชอตปรีดีเป็นชอตเดียวที่ใช้เสียงจีนไม่พากยื ราวกับแสดงให้เห็นว่าปรีดีสนิทกับเหมา เป็นเด็กเหมาอะไรแบบนั้น

5.หนังไม่เลือดีเฟนด์สถาบันอย่า.โจ่งแจ้ง แต่ดีเฟนด์ให็ การเกษตร ศาสนา การศึกษา การหรีสปีช และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน อย่างไรก็ดี นาทีสุดท้ายของหนัง สิ่งสุดท้ายที่หนังพูดคือ defend for our king มันคือภาพสุดท้ายเลย และ king ร 5 ร 6 ในหนังมีสถานะสูงส่งมากๆๆ เราคิดว่าการพูดแค่นิดเดียวในหนังมันทรงพลังมากๆ แต่ทีนี้ก็ไม่มีclue ว่าสถานะสถาบันในปี 65 ในยสายตาคนไทยตอนนั้นเป็นยังไง

สรุปว่า สมควรดูด้วยประการทั้งปวง จบ.


Viewing all 148 articles
Browse latest View live